จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2558

จันทรุปราคาเต็มดวง
4 เมษายน พ.ศ. 2558

แคลิฟอร์เนีย, 12:02 UTC

ภาพแสดงลำดับปรากฏการณ์โดยดวงจันทร์ค่อยๆโคจรเข้าไปในเงาของโลก
วงรอบซารอส 132 (30 จาก 71)
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
คราสเต็มดวง 00:04:43
บางส่วน 03:29:00
เงามัว 05:57:32
สัมผัส (UTC)
P1 9:01:27
U1 10:15:45
U2 11:57:54
ลึกที่สุด 12:00:14
U3 12:02:37
U4 13:44:46
P4 14:58:58

จันทรุปราคาเต็มดวง จะเกิดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นจันทรุปราคาครั้งแรกของปี พ.ศ. 2558 และเป็นครั้งที่สามสำหรับอุปราคาที่อยู่ในเทแทรด (ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 4 ดวงติดต่อกัน) นั้นคือ 15 เมษายน พ.ศ. 2557, 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

เวลาที่คราสเต็มดวงครั้งนี้จะมีเวลาเพียง 4 นาที 43 วินาที[1]

การสังเกต แก้

อุปราคาครั้งนี้จะสังเกตเห็นได้เหนือทวีปอเมริกาเหนือด้านตะวันตก, มหาสมุทรแปซิฟิก, เอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

ประวัติ แก้

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงาของโลก เมื่อเริ่มเกิดคราสขึ้น เงาของโลกที่ดวงจันทร์สัมผัสครั้งแรกจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงเล็กน้อย เงามืดจะเริ่ม "ครอบคลุม" ส่วนของดวงจันทร์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งดวงจันทร์เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง-น้ำตาลเข้ม (ซึ่งสีที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพของชั้นบรรยากาศ) ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงเพราะการกระเจิงแสงของเรย์ลี (Rayleigh scattering) (เช่นเดียวกับการที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นสีแดงในขณะตก) และการหักเหแสงจากชั้นบรรยากาศโลกไปที่เงาบนดวงจันทร์[2]

การจำลองการเกิดปรากฏการณ์แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ปรากฏโดยประมาณของดวงจันทร์ผ่านในเงาของโลก บริเวณตคำแหน่งทางใต้ของดวงจันทร์จะอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์กลางของเงาทำให้เป็นจุดที่มืดที่สุด และส่วนใหญ่ของดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดง

 

เวลา แก้

เวลาที่เกิดปรากฏการณ์
เขตเวลา +7h +8h +11h +13h -9h -8h -7h -6h -5h -4h
เหตุการณ์ ตอนเย็น วันที่ 4 เมษายน ตอนเช้า วันที่ 4 เมษายน
P1 ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 16:01:24 17:01 18:01 22:01 00:01 01:01 02:01 03:01 04:01 05:01
U1 เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:15:44 18:16 21:16 23:16 01:16 02:16 03:16 04:16 05:16 06:16
U2 เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 18:57:30 19:58 21:58 00:58 02:58 03:58 04:58 05:58 ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก
ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 19:00:15 20:00 23:00 01:00 03:00 04:00 05:00 06:00 ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก
U3 สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 19:03:02 20:03 23:03 01:03 03:03 04:03 05:03 06:03 ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก
U4 สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 20:44:48 21:45 00:45 02:45 04:45 05:45 06:45 ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก
P4 ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 21:59:02 22:59 01:59 03:59 05:59 06:59 ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก ดวงจันทร์ตก

ระเบียงภาพ แก้

ปรากฏการณ์เกิด ณ ช่วงเช้ามืดของวันที่ 4 เมษายน:

ปรากฏการณ์เกิด ณ ช่วงเย็นของวันที่ 4 เมษาย:

อ้างอิง แก้

  1. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEplot/LEplot2001/LE2015Apr04T.pdf
  2. Fred Espenak and Jean Meeus. "Visual Appearance of Lunar Eclipses". NASA. สืบค้นเมื่อ April 13, 2014.

ลิงก์เชื่อมโยงภายนอก แก้