จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558

จันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยสังเกตได้ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน ในทวีปอเมริกา ขณะที่ในทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลาง มองเห็นได้ในเวลาใกล้เช้ามืดของวันที่ 28 กันยายน โดยครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2558 และเป็นครั้งสุดท้ายของเทแทรด (จันทรุปราคาเต็มดวงสี่ครั้งในชุด) โดยครั้งอื่น ๆ เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

จันทรุปราคาเต็มดวง
28 กันยายน พ.ศ. 2558
คราสบดบังด้านเหนือจุดสูงสุด
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงาของโลกจากขวาไปซ้าย (ตะวันตกไปตะวันออก)
ประเภทของอุปราคา
ประเภทเต็มดวง
แกมมา−0.3296
ความส่องสว่างเงามัว2.2296
ความส่องสว่างเงามืด1.2764
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
เต็มดวง01:11:55
บางส่วน03:19:52
เงามัว05:10:41
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มจันทรุปราคาเงามัว00:11:47
(U1) เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน01:07:11
(U2) เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง02:11:10
บดบังมากที่สุด02:47:07
(U3) สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง03:23:05
(U4) สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน04:27:03
(P4) สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว05:22:27
แหล่งอ้างอิง
แซรอส137 (28 จาก 78)
บัญชี # (LE5000)9685
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงาของโลกในกลุ่มดาวปลา จากตะวันตกไปทางตะวันออก (จากขวาไปซ้าย) ที่แสดงในภาพ ดาวยูเรนัส มีความส่องสว่างปรากฏ 5.7 สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องสองตา ห่างจากดวงจันทร์ขณะจันทรุปราคาเต็มดวงทางตะวันออก 16 องศา

ขณะกึ่งกลางปรากฏการณ์ ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติเนื่องจากเพิ่งโคจรผ่านเข้าใกล้โลกมากที่สุดในปี พ.ศ. 2558 เพียง 59 นาที ในบางครั้งเรียกว่า ซูเปอร์มูน นั่นคือดวงจันทร์มีขนาดเชิงมุมเมื่อสังเกตจากโลกใหญ่กว่า 34' ซึ่งครั้งนี้มองเห็นได้โดยตรงเหนือศีรษะของชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล[1][2]

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้มืดกว่าที่คาดหมายไว้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด (ในเดือนเมษายน) ของภูเขาไฟกัลบูโก[3]

การมองเห็น แก้

อุปราคาสามารถมองเห็นได้เหนือทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา

 
มุมมองของโลกจากดวงจันทร์ขณะบดบังลึกที่สุด
 
การจำลองลักษณะภายนอกของโลก และวงแหวนแสงอาทิตย์ของชั้นบรรยากาศ
 

ระเบียงภาพ แก้

ซูเปอร์มูน แก้

 

อุปราคาครั้งนี้ ดวงจันทร์มีขนาดเชิงมุมปรากฏใหญ่กว่า จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2558 12.9% วัดได้ที่ 29.66' และ 33.47' ในเส้นผ่านศูนย์กลางจากศูนย์กลางของโลก ซึ่งเปรียบเทียบอยู่ในภาพจำลอง

ซูเปอร์มูน คือ ความบังเอิญของดวงจันทร์เต็มดวงหรือจันทร์ดับ ขณะที่โคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวงโคจร ผลที่ได้คือขนาดปรากฏของดวงจันทร์จะใหญ่ที่สุดเมื่อมองจากโลก

เบื้องหลัง แก้

วิดีโอภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ซูเปอร์มูน พ.ศ. 2558 และจันทรุปราคาเต็มดวงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านภายในเงามืด (เงา) ของโลก ขณะที่เริ่มอุปราคา เงาแรกของโลกจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงเล็กน้อย หลังจากนั้น เงาจะเริ่ม "ปกคลุม" ส่วนของดวงจันทร์ เปลี่ยนแปลงให้มันเริ่มมีสีน้ำตาลอมแดงเข้ม (โดยปกติ สีสามารถปรวนแปรได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในชั้นบรรยากาศ) ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงเนื่องจากการกระจัดกระจายของเรย์ลี (เป็นปรากกฎการณ์เดียวกันกับที่ทำให้ดวงอาทิตย์เป็นสีแดงขณะตก) และการหักเหแสงนั้นโดยชั้นบรรยากาศของโลกเข้าสู่เงามืด[4]

ตามการจำลองแสดงให้เห็นถึงลักษณะภายนอกโดยประมาณของดวงจันทร์ ขณะกำลังเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลก ความสว่างของดวงจันทร์เพิ่มขึ้นภายในเงามัว บางส่วนตอนเหนือของดวงจันทร์เคลื่อนเข้าใกล้ศูนย์กลางเงา ทำให้บริเวณนั้นมืดที่สุด และมีลักษณะภายนอกโดยมากเป็นสีแดง  

เวลา แก้

เวลาท้องถิ่นของสัมผัส
เขตเวลา
ปรับแก้จาก
UTC
-7ชม. -6ชม. -5ชม. -4ชม. -3ชม. -2ชม. -1ชม. 0ชม. +1ชม. +2ชม. +3ชม.
PDT
MST
MDT CDT
PET
EDT
BOT
ADT
AMST
ART
GMT
WET
WEST
CET
BST
CEST
EET
MSK−1
EEST
FET
MSK
เหตุการณ์ ช่วงเย็นวันที่ 27 กันยายน ช่วงเช้าวันที่ 28 กันยายน
P1 เริ่มเงามัว* 18:12 19:12 20:12 21:12 22:12 23:12 00:12 01:12 02:12 03:12 04:12
U1 เริ่มบางส่วน 19:07 20:07 21:07 22:07 23:07 00:07 01:07 02:07 03:07 04:07 05:07
U2 เริ่มเต็มดวง 20:11 21:11 22:11 23:11 00:11 01:11 02:11 03:11 04:11 05:11 06:11
กึ่งกลางอุปราคา 20:47 21:47 22:47 23:47 00:47 01:47 02:47 03:47 04:47 05:47 06:47
U3 สิ้นสุดเต็มดวง 21:23 22:23 23:23 00:23 01:23 02:23 03:23 04:23 05:23 06:23 07:23
U4 สิ้นสุดบางส่วน 22:27 23:27 00:27 01:27 02:27 03:27 04:27 05:27 06:27 07:27 08:27
P4 สิ้นสุดเงามัว 23:22 00:22 01:22 02:22 03:22 04:22 05:22 06:22 07:22 08:22 09:22

* ดิถีขณะเงามัวของอุปราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงปรากฏกับดวงจันทร์เพียงเล็กน้อยและโดยทั่วไปไม่น่าสังเกต[5]

 
จุดสัมผัสสัมพัทธ์ของเงามืดและเงามัวของโลก ในณะที่ดวงจันทร์ใกล้จุดโหนดลง

การวัดเวลาของจันทรุปราคาเต็มดวงตัดสินโดยสัมผัสของจันทรุปราคา:[6]

P1 (สัมผัสแรก): การเริ่มต้นของจันทรุปราคาเงามัว โดยเงามัวของโลกแตะกับของด้านนอกของดวงจันทร์
U1 (สัมผัสที่สอง): การเริ่มต้นของจันทรุปราคาบางส่วน โดยเงามืดของโลกแตะกับขอบด้านนอกของดวงจันทร์
U2 (สัมผัสที่สาม): การเริ่มต้นของจันทรุปราคาเต็มดวง โดยพื้นผิวของดวงจันทร์เข้าสู่ภายในเงามืดของโลก
บดบังลึกที่สุด: ช่วงสูงสุดของจันทรุปราคาเต็มดวง โดยดวงจันทร์อยู่ใกล้กับเงามืดของโลกมากที่สุด
U3 (สัมผัสที่สี่): การสิ้นสุดของจันทรุปราคาเต็มดวง โดยขอบนอกของดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลก
U4 (สัมผัสที่ห้า): การสิ้นสุดของจันทรุปราคาบางส่วน โดยเงามืดของโลกออกจากพื้นผิวของดวงจันทร์
P4 (สัมผัสที่หก): การสิ้นสุดของจันทรุปราคาเงามัว โดยเงามัวของโลกไม่ได้ทำให้เกิดสัมผัสกับดวงจันทร์

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

จันทรุปราคาหนึ่งจากสี่ครั้งในชุดช่วงสั้น ณ จุดโหนดลงในวงโคจรของดวงจันทร์

ในชุดปีจันทรคติ จะวนซ้ำหลังจาก 12 ลูเนชัน หรือ 354 วัน (เคลื่อนกลับประมาณ 10 วันในปีต่อเนื่องกัน) เนื่องจากการเลื่อนวันที่ เงาของโลกจะอยู่ประมาณ 11 องศาทางตะวันตกในเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน

ชุดอนุกรมจันทรุปราคา พ.ศ. 2556–2559
โหนดขึ้น   โหนดลง
ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท
112
 
25 เม.ย. 2556
 
บางส่วน
 
117 18 ต.ค. 2556
 
เงามัว
 
122
 
15 เม.ย. 2557
 
เต็มดวง
 
127
 
08 ต.ค. 2557
 
เต็มดวง
 
132
 
04 เม.ย. 2558
 
เต็มดวง
 
137
 
28 ก.ย. 2558
 
เต็มดวง
 
142 23 มี.ค. 2559
 
เงามัว
 
147 16 ก.ย. 2559
 
เงามัว
 
ชุดก่อนหน้า 25 พ.ค. 2556 ชุดก่อนหน้า 28 พ.ย. 2555
ชุดถัดไป 11 ก.พ. 2560 ชุดถัดไป 18 ส.ค. 2559

วัฏจักรครึ่งแซรอส แก้

จันทรุปราคาจะอยู่ข้างหน้าหรือตามหลังสุริยุปราคา 9 ปี 5.5 วัน (ครึ่งแซรอส)[7] จันทรุปราคานี้เกี่ยวข้องกับสองสุริยุปราคาวงแหวนในแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 144

22 กันยายน 2549 2 ตุลาคม 2567
   

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sky and Telescope
  2. Here’s the Scoop on Sunday’s Supermoon Eclipse, Bob King
  3. http://www.universetoday.com/122666/why-was-septembers-lunar-eclipse-so-dark/
  4. Fred Espenak & Jean Meeus. "Visual Appearance of Lunar Eclipses". NASA. สืบค้นเมื่อ April 13, 2014.
  5. Espenak, Fred. "Lunar Eclipses for Beginners". MrEclipse. สืบค้นเมื่อ April 7, 2014.
  6. เควิน คลาร์ก. "On the nature of eclipses". Inconstant Moon. Cyclopedia Selenica. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  7. Mathematical Astronomy Morsels, Jean Meeus, p.110, Chapter 18, The half-saros

แหล่งข้อมูลอื่น แก้