จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557

จันทรุปราคาเต็มดวง
15 เมษายน พ.ศ. 2557

ชาร์เลสตัน, เวสท์เวอร์จิเนีย 7:44 UTC
ภาพถ่ายโดย อาร์ เจย์ กาบานี

ภาพแสดงลำดับปรากฏการณ์โดยดวงจันทร์ค่อยๆโคจรเข้าไปในเงาของโลก
วงรอบซารอส 122 (56 จาก 74)
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
คราสเต็มดวง 1:17:48
บางส่วน 3:34:43
เงามัว 5:43:54
สัมผัส (UTC)
P1 4:53:40
U1 5:58:19
U2 7:06:46
ลึกที่สุด 7:46:48
U3 8:24:34
U4 9:33:02
P4 10:37:33

สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในกลุ่มดาวราศีกันย์ (กลุ่มดาวหญิงสาว) ใกล้กับดาวรวงข้าวและดาวอังคาร ที่อยู่เยื้องไปทางตะวันตกของอุปราคา

จันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นจันทรุปราคาแรกของจันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2557 และยังเป็นจันทรุปราคาครั้งแรกสำหรับอุปราคาที่อยู่ในเทแทรด (ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 4 ดวงติดต่อกัน) นั้นคือ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557, 4 เมษายน พ.ศ. 2558 และ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ปรากฏการณ์นี้สามารถสังเกตได้ในทวีปอเมริกาและแถบมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยระยะเวลายาวนาน 5 ชั่วโมง 44 นาที ดวงจันทร์ได้โคจรผ่านใจกลางเงาของโลกด้านทิศใต้ เป็นผลให้ทางตอนเหนือของดวงจันทร์เป็นสีเข้มอย่างชัดเจนกว่าทางตอนใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งตลอดเหตุการณ์คราสเต็มดวงกินเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 18 นาที เป็นส่วนหนึ่งของชุดซารอสดวงจันทร์ที่ 122

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย[1]

ประวัติ

แก้

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงาของโลก เมื่อเริ่มเกิดคราสขึ้น เงาของโลกที่ดวงจันทร์สัมผัสครั้งแรกจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงเล็กน้อย เงามืดจะเริ่ม "ครอบคลุม" ส่วนของดวงจันทร์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งดวงจันทร์เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง-น้ำตาลเข้ม (ซึ่งสีที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพของชั้นบรรยากาศ) ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงเพราะการกระเจิงแสงของเรย์ลี (Rayleigh scattering) (เช่นเดียวกับการที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นสีแดงในขณะตก) และการหักเหแสงจากชั้นบรรยากาศโลกไปที่เงาบนดวงจันทร์[2]

การจำลองการเกิดปรากฏการณ์แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ปรากฏโดยประมาณของดวงจันทร์ผ่านในเงาของโลก บริเวณตำแหน่งทางเหนือของดวงจันทร์จะอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์กลางของเงาทำให้เป็นจุดที่มืดที่สุด และส่วนใหญ่ของดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดง

 
แบบจำลองการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนผ่านเงามืดของโลก

คำอธิบาย

แก้
 
ดาวอังคาร ที่อยู่ในช่วงกำลังเข้าใกล้โลกที่สุด, ดังแสดงในภาพการเคลื่อนไหวทางภูมิศาสตร์จากศูนย์กลางดาวอังคาร ช่วง พ.ศ. 2546 - 2561

เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558 ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านทางตอนใต้ของเงามืดของโลก[3] ซึ่งส่วนใหญ่จะสังเกตได้จากซีกโลกตะวันตก รวมถึงทางทิศตะวันออกของออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มหาสมุทรแปซิฟิก และอเมริกา[4] ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาคราสก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นจากท้องฟ้า ส่วนในยุโรปและแอฟริกา ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงาคราสก่อนจะตกลับขอบฟ้าไป[3] ส่วนดาวอังคารที่อยู่ในช่วงใกล้โลกมากที่สุด (opposition) มีโชติมาตร (magnitude) อยู่ที่ -1.5 ใกล้กับดวงจันทร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ระยะ 9.5°[4][3][5][6] ดาวรวงข้าวอยู่ทางตะวันตกของดวงจันทร์ที่ระยะ 2° ส่วนดาวอาร์คตุรุสอยู่ทางเหนือของดวงจันทร์ที่ระยะ 32°, ดาวเสาร์อยู่ทางตะวันออกของดวงจันทร์ที่ระยะ 26°, และดาวแอนทาเรสอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของดวงจันทร์ที่ระยะ 44°[3]

ดวงจันทร์เคลื่อนตัวเข้าสู่เงามัวของโลกในเวลา 4:54 น. (UTC) และเข้าสู่เงามืดในเวลา 5:58 น. (UTC) คราสเต็มดวงกินเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 18 นาที จาก 7:07 น. ถึง 8:25 น. (UTC) ช่วงเวลาที่คราสกินลึกที่สุดเกิดขึ้นในเวลา 7:47 น. (UTC) ณ เวลานั้น ดวงจันทร์อยู่บนจุดจอมฟ้า ใกล้กับหมู่เกาะกาลาปาโกสไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่ระยะ 3,000 กิโลเมตร ต่อมาดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลกในเวลา 9:33 น. (UTC) และออกจากเงามัวในเวลา 10:38 น. (UTC)[3]

แมกนิจูดของเงามืดที่สูงที่สุดคือ 1.2907 ขณะที่ทางตอนเหนือของดวงจันทร์เป็น 1.7 อาร์คนาที ทางใต้ของใจกลางเงามืดของโลก ในขณะที่ทางตอนใต้ของดวงจันทร์เป็น 40.0 อาร์คนาที จากศูนย์กลาง ส่วนแกมม่าของอุปราคานี้คือ -0.3017[3]

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นสมาชิกของชุดซารอสดวงจันทร์ที่ 122 เป็นครั้งที่ 56 ในชุดอุปราคาทั้งหมด[3]

การสังเกตภาคพื้นดิน
 

เวลา

แก้
เวลาที่เกิดปรากฏการณ์
เขตเวลา +12h -9h -8h -7h -6h -5h -4h -3h
เหตุการณ์ ตอนเย็น วันที่ 15 เมษายน ตอนเย็น วันที่ 14 เมษายน ตอนเช้า วันที่ 15 เมษายน
P1 ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก* N/A 19:54 20:54 21:54 22:54 23:54 00:54 01:54
U1 เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:58 20:58 21:58 22:58 23:58 00:58 01:58 02:58
U2 เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 19:07 22:07 23:07 00:07 01:07 02:07 03:07 04:07
ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 19:47 22:47 23:47 00:47 01:47 02:47 03:47 04:47
U3 สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 20:25 23:25 00:25 01:25 02:25 03:25 04:25 05:25
U4 สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 21:33 00:33 01:33 02:33 03:33 04:33 05:33 06:33
P4 ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 22:38 01:38 02:38 03:38 04:38 05:38 06:38 07:38

* ดิถีของเงามัวของอุปราคามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของดวงจันทร์เล็กน้อยเท่านั้น คนทั่วไปไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด[7]

† ดวงจันทร์ไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลาส่วนนั้น ๆ ของเขตเวลาต่าง ๆ

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2014eclipses.html#1
  2. Fred Espenak and Jean Meeus. "Visual Appearance of Lunar Eclipses". NASA. สืบค้นเมื่อ April 13, 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Espenek, Fred. "Eclipses During 2014". NASA. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
  4. 4.0 4.1 Elizabeth Weise (April 3, 2014). "Blood moon eclipse on April 15 is a special event". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
  5. "Sneak peek and quick observing guide to April's opposition of Mars". Astro Bob. February 3, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.
  6. Beish, Jeffrey D. (April 12, 2013). "The 2013-2014 Aphelic Apparition of Mars". alpo-astronomy.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.
  7. Espenak, Fred. "Lunar Eclipses for Beginners". MrEclipse. สืบค้นเมื่อ April 7, 2014.