จักรพรรดิซูจิง (ญี่ปุ่น: 崇神天皇โรมาจิSujin-tennō) มีพระนามในโคจิกิว่า มิมากิอิริฮิโกอินิเอะ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 御眞木入日子印恵命โรมาจิMimakiirihikoinie no Mikoto) และในนิฮงโชกิว่า มิมาอิริฮิโกอินิเอะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 御間城入彦五十瓊殖天皇โรมาจิMimakiiribikoinie no Sumeramikoto หรือ ฮัตสึกูนิชิราซุ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 御肇國天皇โรมาจิHatsukunishirasu Sumeramikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 10[4][5] ในขณะที่ซูจิงเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีตัวตนจริง พระองค์ยังได้รับการกล่าวถึงเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ และระยะเวลาครองราชย์มีหลากหลายแบบ[6][7]

จักรพรรดิซูจิง
崇神天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์97 – 30 ปีก่อน ค.ศ. (ธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าไคกะ
ถัดไปซูอินิง
ประสูติ148 ปีก่อน ค.ศ.[2]
มิมากิ (御間城尊)
สวรรคต30 ปีก่อน ค.ศ. (118 พรรษา)
ฝังพระศพยามาโนเบะ โนะ มิจิ โนะ มางาริ โนะ โอกะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 山邊道勾岡上陵โรมาจิYamanobe no michi no Magari no oka no e no misasagi; นาระ)
คู่อภิเษกมิมากิ-ฮิเมะ
(กับมเหสีอีก 2 พระองค์)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิซูอินิง
พระนามหลังสวรรคต
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิซูจิง (崇神天皇)

ชิโงอบบญี่ปุ่น:
มิมาอิริฮิโกอินิเอะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (御間城入彦五十瓊殖天皇)
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิไคกะ
พระราชมารดาอิกางาชิฮิโกเมะ[a]
ศาสนาชินโต

รัชสมัยของจักรพรรดิซูจิงเชื่อกันว่าอยู่ใน 97 – 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช[8][9] ในช่วงที่คาดว่าพระองค์มีชีวิตอยู่นั้น พระองค์เป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสธิดา 12 พระองค์จากอัครมเหสี (จักรพรรดินี) และมเหสีอีก 2 พระองค์ ซูจิงทรงเลือกทายาทในอนาคตตามฝันของพระราชโอรสสองคน ในกรณีนี้ทำให้พระราชโอรสองค์เล็กกลายเป็นจักรพรรดิซูอินิงหลังจักรพรรดิซูจิงสวรรคตใน 30 ปีก่อน ค.ศ. ยังไม่มีใครทราบที่ตั้งพระบรมศพ พระองค์ทรงเป็นที่เคารพสักการะตามประเพณีที่โคฟุงอันดนยามะ ในเท็นริ นาระ

เรื่องราวในตำนาน แก้

ชาวญี่ปุ่นยอมรับการดำรงอยู่ทางประวัติศาสตร์ของพระองค์มาโดยตลอด และปัจจุบันยังคงมีการดูแลรักษาโคฟุง (สุสานโบราณ) ของพระองค์ โดยยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แม้ว่าจะข้อมูลทางประวัติศาสตร์สนับสนุนก็ตาม ข้อมูลที่มีอยู่นำมาจากโคจิกิและนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันว่า คิกิ (ญี่ปุ่น: 記紀โรมาจิKiki) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น พงศาวดารเหล่านี้รวมตำนานและความเชื่อ ตลอดจนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งถูกทำให้เกินจริงและ/หรือบิดผันไปเรื่อย ๆ บันทึกเหล่านี้ระบุว่าซูจิงเสด็จพระราชสมภพในช่วง 148 ปีก่อน ค.ศ. โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิไคกะ[2][5] พระราชมารดาของซูจิงคือ อิกางาชิโกเมะ โนะ มิโกโตะ ผู้เป็นพระสนมของจักรพรรดิโคเง็ง พระอัยกาของซูจิง[8][b] ก่อนที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วง 97 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนหน้านั้นพระองค์มีพระนามว่าเจ้าชาย มิมากิอิริฮิโกอินิเอะ โนะ มิโกโตะ, มิมากิอิริบิโกอินิเอะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ หรือ ฮัตสึกูนิชิราซุ ซูเมรามิโกโตะ[2][10] พระนามแรกปรากฏในโคจิกิ ส่วนสองพระนามหลังปรากฏในนิฮงโชกิ ซูจิงขึ้นครองราชย์ในช่วง 97 ปีก่อน ค.ศ. และในช่วงปีที่ 3 มีบันทึกว่าพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังชิกิ (ญี่ปุ่น: 磯城) โดยตั้งชื่อเมืองหลวงว่า มิซูงากิ โนะ มิยะ (ญี่ปุ่น: 瑞籬宮โรมาจิMizugaki-no-miya)[10][c]

บุคคลทางประวัติศาสตร์ แก้

 
โคฟุงอันดนยามะ (อ้างว่าเป็นที่ฝังพระศพของจักรพรรดิ)

ในขณะที่จักรพรรดิซูจิงเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่นักประวัติศาสตร์ระบุว่าอาจมีตัวตนจริง พระองค์ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็ยนบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่มีตัวตนจริง รัชสมัยของพระองค์ถูกโต้แย้งเนื่องจากมีข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติมไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพระองค์[11] ช่วงชีวิตที่เป็นไปได้ของซูจิงได้รับการเสนอแนะว่าเร็วสุดคือคริสต์ศตวรรษ 1 ถึงช้าสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึ่งข้ามช่วงรัชสมัยตามธรรมเนียมที่ 97  – 30 ปีก่อน ค.ศ. Louis Frédéric นักประวัติศาสตร์ กล่าวถึงแนวคิดในหนังสือ Japan Encyclopedia ว่าซูจิงอาจมีชีวิตใน (คริสต์) ศตวรรษที่ 1 ข้อมูลนี้ยังคงเป็นที่โต้แย้ง โดยเฉพาะจากนักวิจัยที่วิจารณ์หนังสือนี้[12][13] ถ้าซูจิงมีตัวตนจริง พระองค์อาจเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ยามาโตะ[14] Richard Ponsonby-Fane นักประวัติศาสตร์ เสนอแนะว่า ซูจิงอาจเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่จัดทำสำมะโนประชากรและจัดตั้งระบบภาษีให้เป็นปกติ[9]

ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม (ทั้งสมมติหรือไม่สมมติ) ชนรุ่นหลังเป็นผู้ให้พระนาม ซูจิน-เท็นโน หลังจากที่พระองค์สวรรคต[15] พระนามของพระองค์อาจทำให้เป็นปกติหลายศตวรรษหลังจากช่วงชีวิตที่กำหนด ซึ่งอาจอยู่ในช่วงเวลาที่ตำนานเกี่ยวกับต้นกำเนิดราชวงศ์ยามาโตะได้รับการรวบรวมเป็นพงศาวดารที่รู้จักกันในปัจจุบันภายใต้ชื่อโคจิกิ[8] ผู้รวบรวมรุ่นหลังเขียนอายุที่ยืนยาวของซูจิง โดยอาจขยายอายุของพระองค์เกินจริง เพื่อปิดช่องว่างในช่วงเวลา[16] ในขณะที่ไม่มีใครทราบที่ตั้งสุสานที่แท้จริงของซูจิง พระองค์ได้รับการเคารพที่โคฟุงอันดนยามะในเท็นริ นาระ สำนักพระราชวังหลวงจัดให้พื้นที่นี้เป็นโคฟุง (สุสานโบราณ) และมีชื่อทางการว่า ''ยามาโนเบะ โนะ มิจิ โนะ มางาริ โนะ โอกะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ[4][9] โคฟุงของซูจิงเป็นหนึ่งในหกโคฟุงที่ปรากฏในบริเวณนี้ เนินนั้นคาดว่าสร้างขึ้นในช่วง ค.ศ. 250 ถึง 350[17]

สำหรับข้อมูลนอกโคจิกิ รัชสมัยของจักรพรรดิคิมเม[d] (ป. ค.ศ. 509 – 571) เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยสามารถกำหนดวันที่ที่ตรวจสอบได้[20] The conventionally accepted names and dates of the early Emperors were not confirmed as "traditional" though, จนกระทั่งรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุ[e] ที่ครองราชย์ ค.ศ. 737 ถึง 806[8] บรรพบุรุษสายตรงของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันสามารถสืบได้ถึงจักรพรรดิโคกากุที่มีชีวิตเมื่อพันปีที่แบ้ว

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา แก้

จักรพรรดินี: มิมากิ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 御間城姫โรมาจิMimaki-hime) พระธิดาในเจ้าชายโอฮิโกะ

พระมเหสี: โทอตสึอายูเมมางูวาชิ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 遠津年魚眼眼妙媛โรมาจิTootsuayumemaguwashi-hime) พระธิดาในคิอิ โนะ อารากาฮาโตเบะ

พระมเหสี: โอวาริ-โนะ-โออามะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 尾張大海媛โรมาจิOwari-no-ōama-hime) พระธิดาในเจ้าชายทาเตฮิโรชินาบิ

หมายเหตุ แก้

  1. มีวิธีถอดเสียงสองแบบ: สึโตมุ อูจิยะ ถอดเสียงออกเป็น "อิกะ-กาชิโกะ-เมะ" ส่วนวิลเลียม จอร์จ แอสตันถอดเสียงเป็น "อิกะ-ชิโกะ-เมะ"[3]
  2. อิกางาชิโกเมะ (อิกะ-ชิโกะ-เมะ) กลายเป็นจักรพรรดินีของจักรพรรดิไคกะ แต่ก่อนหน้านั้นพระนางเคยเป็นพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อน (โตเง็ง) มีบันทึกว่าพระนางให้กำเนิดโคเง็ง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากในการที่จะเป็นพระราชมารดาของซูจิง พระนางจะต้องคลอดบุตรอีกครั้งโดยห่างกัน 50 ปี[8] เมื่อพิจารณาบันทึกในเวลานั้น ทำให้สถานการณ์ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้อย่างมาก
  3. สึโตมุ อูจิยะ นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า พื้นที่นั้นน่าจะอยู่ในบริเวณคานายะ (ญี่ปุ่น: 金屋โรมาจิKanaya) ซากูไร นาระ[3]
  4. จักรพรรดิองค์ที่ 29[18][19]
  5. จักรพรรดิองค์ที่ 50 แห่งราชวงศ์ยามาโตะ
  6. โทโยกิ-อิริ-ฮิโกะ โนะ มิโกโตะ คามืพระราชโอรสขิงซูจิง ได้รับการเคารพในจินจะฟูตารายามะที่อุตสึโนมิยะ แคว้นชิมตสึเกะ

อ้างอิง แก้

  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. 3.0 3.1 Ujiya, Tsutomu (1988). Nihon shoki. p. 121. ISBN 978-0-8021-5058-5.
  4. 4.0 4.1 "崇神天皇 (10)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
  5. 5.0 5.1 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. p. 248 & 253. ISBN 9780520034600.
  6. Yoshida, Reiji (March 27, 2007). "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  7. Henshall, Kenneth (2013-11-07). Historical Dictionary of Japan to 1945 (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-7872-3.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. p. 109 & 149–150. ISBN 9780524053478.
  9. 9.0 9.1 9.2 Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. pp. 31–32 & 418.
  10. 10.0 10.1 Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. pp. 150–164. ISBN 9780524053478.
  11. Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
  12. Nussbaum, Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press. p. 910. ISBN 9780674017535.
  13. Miller, R. A. (2003). "Journal of Asian History". Journal of Asian History. 37 (2): 212–214. JSTOR 41933346. Review of Japan Encyclopedia
  14. Shillony, Ben-Ami (2008-10-15). The Emperors of Modern Japan (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 15. ISBN 978-90-474-4225-7.
  15. Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Britannica.Com. p. 21. Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.
  16.   Brinkley, Francis (1911). "Japan/09 Domestic History" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 252–273, see page 253, lines 7 and 8.
  17. Brown, Delmer M. (1993). History of Japan, Volume 1. Cambridge University Press. p. 114. ISBN 0-521-22352-0.
  18. Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 34–36.
  19. Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. pp. 261–262. ISBN 9780520034600.
  20. Hoye, Timothy. (1999). Japanese Politics: Fixed and Floating Worlds. Prentice Hall. p. 78. ISBN 9780132712897. According to legend, the first Japanese Emperor was Jimmu. Along with the next 13 Emperors, Jimmu is not considered an actual, historical figure. Historically verifiable Emperors of Japan date from the early sixth century with Kimmei.

อ่านเพิ่ม แก้

(นิฮงงิ / นิฮงโชกิ) →ดูรายการบรรณานุกรมทั้งหมดในนิฮงโชกิ

(ข้อมูลทุติยภูมิ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า จักรพรรดิซูจิง ถัดไป
จักรพรรดิไคกะ    
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(98 ปีก่อนค.ศ. - 29 ปีก่อน ค.ศ. (วันที่ตามธรรมเนียม))
  จักรพรรดิซูอินิง