จักรพรรดิไคกะ[a] (ญี่ปุ่น: 開化天皇โรมาจิKaika-tennō) มีพระนามในโคจิกิว่า วากายามาโตะ เนโกฮิโกะ โอบิบิ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 若倭根子日子大毘毘命โรมาจิWakayamato Nekohiko Ōbibi no Mikoto) และในนิฮงโชกิว่า วากายามาโตะ-เนโกฮิโกะ-โอบิบิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 稚日本根子彦大日日天皇โรมาจิWakayamato Nekohiko Ōbibi no Sumeramikoto) เป็จักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 9 ตามลำดับการสืบทอด[4][5] นักประวัติศาสตร์รู้จักพระองค์ในฐานะ "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากข้อโต้แย้งการมีตัวตนของพระองค์ โดยในโคจิกิไม่มีข้อมูลใดเลยนอกจากพระนามและพงศาวลีของพระองค์ มีการอ้างว่ารัชสมัยของไคกะเริ่มต้นใน 158 ปีก่อน ค.ศ. หลังสวรรคตใน 98 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิซูจิง[3][6]

จักรพรรดิไคกะ
開化天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์158 – 98 ปีก่อน ค.ศ. (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าโคเง็ง
ถัดไปซูจิง
ประสูติ208 ปีก่อน ค.ศ.[2]
สวรรคต98 ปีก่อน ค.ศ. (110 พรรษา)
ฝังพระศพคาซูงะ โนะ อิซากาวะ โนะ ซากะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 春日率川坂上陵โรมาจิKasuga no Izakawa no saka no e no misasagi; นาระ)
คู่อภิเษกอิกางาชิโกเมะ-โนะ-มิโกโตะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิซูจิง
พระนามหลังสวรรคต
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิไคกะ (開化天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
วากายามาโตะ-เนโกฮิโกะ-โอบิบิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (稚日本根子彦大日日天皇)
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโคเง็ง
พระราชมารดาอุตสึชิโกเมะ
ศาสนาชินโต

ข้อมูลตามตำนาน แก้

ในโคจิกิและนิฮงโชกิมีเพียงบันทึกพระนามและพงศาวลีของไคกะ ตามธรรมเนียม ชาวญี่ปุ่นยอมรับการมีตัวตนทางประวัติศาสตร์ของจักรพรรดิองค์นี้ และปัจจุบันมีการบำรุงรักษามิซาซากิหรือสุสานของไคกะ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการค้นพบบันทึกร่วมสมัยหลงเหลืออยู่ที่ยืนยันมุมมองว่าบุคคลในประวัติศาสตร์องค์นี้ครองราชย์จริง ๆ ไคกะน่าจะพระราชสมภพในช่วง 208 ปีก่อน ค.ศ. โดยบันทึกเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิโคเง็ง[2] กับพระราชมารดานาม อุตสึชิโกเมะ ผู้เป็นพระราชธิดาใน โอยากูจิซูกูเนะ[ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วง 158 ปีก่อน ค.ศ. พระนามของพระองค์คือ เจ้าชายนิโกฮิโกพ โอ-ฮิบิ โนะ มิโกโตะ[6] โคจิกิบันทึกว่าพระองค์ปกครองจากพระราชวังซาไกฮาระ-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 軽之堺原宮โรมาจิSakaihara-no-miya) ที่คารุ ซึ่งภานหลังเป็นที่รู้จักในชื่อแคว้นยามาโตะ[5] จักรพรรดิไคกะมีอัตรมเหสี (จักรพรรดินี) นาม อิกางาชิโกเมะ กับพระมเหสี 3 พระองค์ ซึ่งทั้งหมดให้กำเนิดพระราชโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ไคกะครองราชย์จนกระทั่งสวรรคตใน 98 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์ที่สองขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป[6] ชนรุ่นหลังตั้งพระนามพระราชโอรส/ผู้สืบทอดราชบัลลังก์หลังสวรรคตเป็น ซูจิง แลพถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าอาจมีตัวตนจริง[7]

ข้อมูลที่มีอยู่ แก้

 
สุสานหลวงของจักรพรรดิไคกะที่เมืองนาระ

การมีตัวตนของจักรพรรดิ 9 องค์แรกยังคงเป็นข้อพิพาทเรื่องจากข้อมูลในการยืนยันและศึกษามีไม่เพียงพอ[8] ทำให้นักประวัติศาสตร์จัดให้ไคกะเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" และถือเป็นพระองค์ที่ 8 ใน 8 จักรพรรดิที่ไม่มีตำนานเฉพาะที่เกี่ยวกับพระองค์[b] ส่วนพระนามไคกะ-เท็นโน ชนรุ่นหลังเป็นผู้ระบุให้หลังพระองค์สวรรคต[10] ในขณะที่ไม่มีใครทราบสุสานจริงของไคกะ มีการให้ความเคารพที่ศาลเจ้าชินโต (มิซาซางิ) ที่นาระ สำนักพระราชวังหลวงจัดให้ที่ตั้งของสุสานไคกะมีชื่อทางการเป็น คาซูงะ โนะ อิซากาวะ โนะ ซากะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ[3][4]

หมายเหตุ แก้

  1. บางครั้งก็ใช้พระนามว่า Kaikwa[3]
  2. มีอีกชื่อว่า "เค็ชชิฮาจิได" (ญี่ปุ่น: 欠史八代โรมาจิKesshi-hachidai)[9]

อ้างอิง แก้

  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
  2. 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. 3.0 3.1 3.2 Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 30 & 418.
  4. 4.0 4.1 "開化天皇 (9)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
  5. 5.0 5.1 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. p. 252. ISBN 9780520034600.
  6. 6.0 6.1 6.2 Nussbaum, Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press. p. 451. ISBN 9780674017535.
  7. Yoshida, Reiji. (March 27, 2007). "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl". The Japan Times Online. Japan Times. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
  8. Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
  9. Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. pp. 109, 148–149. ISBN 9780524053478.
  10. Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21. Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.

อ่านเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า จักรพรรดิไคกะ ถัดไป
จักรพรรดิโคเง็ง    
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(158 ปีก่อนค.ศ. - 98 ปีก่อน ค.ศ.)
  จักรพรรดิซูจิง