จักรพรรดิโคเง็ง
จักรพรรดิโคเง็ง (ญี่ปุ่น: 孝元天皇; โรมาจิ: Kōgen-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 8 ตามลำดับการสิบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[3][4] เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับจักรพรรดิพระองค์นี้น้อยมาก เนื่องจากขาดข้อมูลที่สามารถตรวจยืนยันและศึกษาเพิ่มเติมได้ นักประวัติศาสตร์รู้จักโคเง็งในฐานะ "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากมีข้อถกเถียงเรื่องการมีตัวตนของพระองค์ ในโคจิกิไม่ได้ระบุอะไรนอกจากพระนามและพระราชพงศาวลี เชื่อกันว่ารัชสมัยของโคเง็งเริ่มต้นใน 214 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์มีพระมเหสีหลัก และพระมเหสีรองสองพระองค์ ซึ่งมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 6 พระองค์ หลังพระองค์สวรรคตเมื่อ 158 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิไคกะ[5]
จักรพรรดิโคเง็ง 孝元天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 214 – 158 ปีก่อน ค.ศ. (ตามธรรมเนียม)[1] | ||||
ก่อนหน้า | โคเร | ||||
ถัดไป | ไคกะ | ||||
พระราชสมภพ | 273 ปีก่อน ค.ศ.[2] | ||||
สวรรคต | 158 ปีก่อน ค.ศ. (115 พรรษา) | ||||
ฝังพระศพ | สึรูงิ โนะ อิเกะ โนะ ชิมะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 劔池嶋上陵; โรมาจิ: Tsurugi no ike no shima no e no misasagi; คาชิฮาระ) | ||||
คู่อภิเษก | อุตสึชิโกเมะ-โนะ-มิโกโตะ | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | จักรพรรดิไคกะ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคเร | ||||
พระราชมารดา | คูวาชิ-ฮิเมะ | ||||
ศาสนา | ชินโต |
เรื่องราวตามตำนาน
แก้ในโคจิกิและนิฮงโชกิบันทึกเฉพาะพระนามและพระราชพงศาวลีของโคเง็ง โดยจักรพรรดิโคเง็งเสด็จพระราชสมภพในช่วง 273 ปีก่อน ค.ศ. และได้รับการบันทึกว่าเป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิโคเร[2] พระราชมารดามีพระนามว่า "คูวาชิ-ฮิเมะ" ธิดาในชิกิ โนะ อางาตานูชิ โอโอเมะ[ต้องการอ้างอิง] พระองค์มีพระนามก่อนครองราชย์คือ เจ้าชายโอ-ยามาโตะ-เนโกะ-ฮิโกะ-คูนิ-คูรุ โนะ มิโกโตะ ก่อนขึ้นครองราชย์ใน 214 ปีก่อน ค.ศ.[6] โคจิกิบันทึกว่าพระองค์ปกครองจากพระราชวังซาไกฮาระ-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 軽之堺原宮; โรมาจิ: Sakaihara-no-miya หรือนิฮงโชกิระบุเป็น 軽境原宮) ที่คารุ ในบริเวณที่ภายหลังรู้จักในนามแคว้นยามาโตะ[4] จักรพรรดิโคเง็งมีพระมเหสีหลวง (จักรพรรดินี) นาม อุตสึชิโกเมะ ร่วมกับพระมเหสีอีกสองพระองค์ พระราชโอรสองค์แรกมีพระนามว่า เจ้าชายโอฮิโกะ และเป็นบรรพบุรุษสายตรงของตระกูลอาเบะ (ตามที่ปรากฏในนิฮงโชกิ)[7] เจ้าชายฮิโกฟุตสึโอชิโนมาโกโตะ พระราชโอรสองค์หนึ่งของพระองค์ เป็นปู่ของทาเกโนอูจิ โนะ ซูกูเนะ วีรบุรุษ-รัฐบุรุษญี่ปุ่นในตำนาน[8] จักรพรรดิโคเง็งครองราชย์จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 158 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์ที่สองขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรดริองค์ถัดไป[6]
ข้อมูลเท่าที่มีอยู่
แก้การดำรงอยู่ของจักรพรรดิอย่างน้อยเก้าพระองค์แรกยังคงเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากมีข้อมูลสำหรับการตรวจยืนยันและศึกษาเพิ่มเติมไม่เพียงพอ[9] นักประวัติศาสตร์จึงถือให้โคเง็งเป็น "จักรพรดริในตำนาน" และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 7 จากจักรพรรดิ 8 พระองค์ที่ไม่มีตำนานเฉพาะเกี่ยวกับพระองค์[a] พระนามโคเง็ง-เท็นโนพระราชทานแก่พระองค์หลังสวรรคตโดยคนรุ่นหลัง[11] พระนามของพระองค์อาจได้รับการกำหนดให้ถูกต้องตามหลักการหลังช่วงชีวิตที่ระบุเข้ากับโคเง็งมาหลายศตวรรษ โดยอาจอยู่ในช่วงเวลาที่มีการรวบรวมตำนานต้นกำเนิดราชวงศ์ญี่ปุ่นเข้าเป็นพงศาวดารที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโคจิกิ[10]
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
แก้- จักรพรรดินี: อุตสึชิโกเมะ (ญี่ปุ่น: 欝色謎命; โรมาจิ: Utsushikome; สวรรคต 157 ปีก่อน ค.ศ.) พระธิดาในโอยากูจิซูกูเนะ
- เจ้าชายโอฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 大彦命) บรรพบุรุษของลูกหลานตระกูลอาเบะทั้งหมด[7][b]
- เจ้าชายซูกูนาโอโกโกโระ (ญี่ปุ่น: 少彦男心命)
- เจ้าชายวากายามาโตเนโกฮิโกโอโอบิ (ญี่ปุ่น: 稚日本根子彦大日日尊) ภายหลังเป็นจักรพรรดิไคกะ[4]
- เจ้าหญิงยามาโตโตโตะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 倭迹迹姫命)
- พระมเหสี: อิกางาชิโกเมะ (ญี่ปุ่น: 伊香色謎命; โรมาจิ: Ikagashikome) พระธิดาในโอเฮโซกิ
- เจ้าชายฮิโกฟุตสึโอชิโนมาโกโตะ (ญี่ปุ่น: 彦太忍信命) ปู่ของทาเกโนอูจิ โนะ ซูกูเนะ (ญี่ปุ่น: 武内宿禰; โรมาจิ: Takenouchi no Sukune)[8]
- พระมเหสี: ฮานิยาซุ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 埴安媛; โรมาจิ: Haniyasu-hime) พระธิดาในคาวาจิ-โนะ-อาโอตามากาเกะ
- เจ้าชายทาเกฮานิยาซูฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 武埴安彦命; สวรรคต 88 ปีก่อน ค.ศ.)
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
- ↑ "孝元天皇 (8)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. pp. 22, 248 & 252. ISBN 9780520034600.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. pp. 24, 30 & 418.
- ↑ 6.0 6.1 Nussbaum, Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press. p. 542. ISBN 9780674017535.
- ↑ 7.0 7.1 Asakawa, Kan'ichi (1903). The Early Institutional Life of Japan. Tokyo Shueisha. p. 140. ISBN 9780722225394.
- ↑ 8.0 8.1 Shimazu Norifumi (March 15, 2006). "Takeshiuchi no Sukune". eos.kokugakuin.ac.jp. สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
- ↑ Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
- ↑ 10.0 10.1 Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. pp. 109, 147–148. ISBN 9780524053478.
- ↑ Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21.
Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.
อ่านเพิ่ม
แก้- Asakawa, Kan'ichi. (1903). The Early Institutional Life of Japan. Tokyo: Shueisha. OCLC 4427686; see online, multi-formatted, full-text book at openlibrary.org
- Aston, William. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Chamberlain, Basil Hall. (1920). The Kojiki. Read before the Asiatic Society of Japan on April 12, May 10, and June 21, 1882; reprinted, May, 1919. OCLC 1882339
- Nussbaum, Louis-Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 58053128
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโคเง็ง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโคเร | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (214 - 158 ปีก่อน ค.ศ.) |
จักรพรรดิไคกะ |