จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇โรมาจิKammu-tennō; ค.ศ. 735 – 9 เมษายน ค.ศ. 806) จักรพรรดิองค์ที่ 50 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น[2] และเป็นช่วงที่พระราชอำนาจของจักรพรรดิเรืองอำนาจถึงจุดสูงสุด[3] โดยพระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า จักรพรรดิคาชิวาบาระ ซึ่งมีที่มาจากพระนามสุสานของพระองค์

จักรพรรดิคัมมุ
桓武天皇
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิคัมมุ, คริสต์ศตวรรษที่ 16
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์30 เมษายน ค.ศ. 781 – 9 เมษายน ค.ศ. 806
ราชาภิเษก10 พฤษภาคม ค.ศ. 781
ก่อนหน้าโคนิง
ถัดไปเฮเซ
พระราชสมภพ4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 736
ยามาเบะ (山部)
สวรรคต9 เมษายน ค.ศ. 806(806-04-09) (70 ปี)
ฝังพระศพคาชิวาบาระ โนะ มิซาซางิ (柏原陵) (เกียวโต)
คู่อภิเษกฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระนามหลังสวรรคต
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิคัมมุ (桓武天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตเนโกอามัตสึฮิตสึงิอิยาเตริ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (日本根子皇統弥照天皇)
ราชวงศ์ยามาโตะ
พระราชบิดาจักรพรรดิโคนิง
พระราชมารดาทากาโนะ โนะ นีงาซะ

จักรพรรดิคัมมุครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศระหว่าง ค.ศ. 781 - 806

ในเวลาต่อมาพระนาม คาชิวาบาระ ของจักรพรรดิคัมมุได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของจักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ จักรพรรดิในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16

พระราชประวัติ แก้

 
จักรพรรดิคัมมุ

พระนามส่วนพระองค์ของคัมมุ (อิมินะ) คือ ยามาเบะ (ญี่ปุ่น: 山部โรมาจิYamabe)[4] เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในเจ้าชายชิรากาเบะ (ภายหลังรู้จักกันในพระนามจักรพรรดิโคนิง) และประสูติก่อนที่ชิรากาเบะจะขึ้นครองราชย์[5] โชกุนิฮงงิ (ญี่ปุ่น: 続日本紀โรมาจิShoku Nihongi) รายงานว่า ยามาโตะ โนะ นีงาซะ (ภายหลังเรียกว่าทากาโนะ โนะ นีงาซะ) พระราชมารดาของยามาเบะ เป็นทายาทรุ่นที่ 10 ของพระเจ้ามูรยองแห่งแพ็กเจ (ค.ศ. 462-523)[6]

และนอกจากนี้ยังเป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิอีก 3 พระองค์คือจักรพรรดิเฮเซ จักรพรรดิองค์ที่ 51, จักรพรรดิซางะ จักรพรรดิองค์ที่ 52 และ จักรพรรดิจุนนะ จักรพรรดิองค์ที่ 53

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิคัมมุ แก้

เจ้าชายยะมะเบะมิได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทเนื่องจากพระอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์คือ เจ้าชายโอะซะเบะ ที่ประสูติแต่จักรพรรดินีคือ เจ้าหญิงอิโนะเอะ พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สาปแช่งจักรพรรดิโคนิงทำให้จักรพรรดินีและเจ้าชายโอะซะเบะถูกปลดและถูกเนรเทศเจ้าชายยะมะเบะจึงได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทแทน

  • 773:[7] ได้รับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร
  • 30 เมษายน ค.ศ. 781[8](ปีเท็นโอที่ 1, วันที่ 3 เดือน 4[9]): จักรพรรดิโคนิงสละราชสมับติในปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระองค์[10] หลังจากนั้นไม่นาน คัมมุจึงขึ้นครองราชย์[11] ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการย้ายเมืองหลวงญี่ปุ่นจากนาระ (เฮโจเกียว) ไปยังนางาโอกะเกียวใน ค.ศ. 784[12] จากนั้นจึงย้ายเมืองหลวงอีกครั้งใน ค.ศ. 794[13]
  • 28 กรกฎาคม ค.ศ. 782 (ปีเอ็นเรียกุที่ 1, วันที่ 14 เดือน 6[14]): ซาไดจิง ฟูจิวาระ โนะ อูโอนะมีส่วนในเหตุการณ์ที่ทำให้เขาถูกถอดออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปยังคีวชิ[12] อูโอนะได้รับอนุญาตให้กลับไปยังเมืองหลวงโดยอ้างว่าป่วย หลังเสียชีวิตที่นั่น จึงมีการเผาคำสั่งเนรเทศและฟื้นฟูตำแหน่งของเขา[12] โดยเป็นช่วงเดียวกันที่ฟูจิวาระ โนะ ทามาโระได้รับการแต่งตั้งเป็นอูไดจิง ในช่วงนั้นทั้งตำแหน่งซาไดจิงและอูไดจิงว่าง ที่ปรึกษาหลัก (ไดนางง) และจักรพรรดิรับหน้าที่และอำนาจที่จะได้รับการมอบหมายเป็นอย่างอื่น[15]
  • 783 (ปีเอ็นเรียกุที่ 2, เดือน 3[16]): อูไดจิง ทามาโระเสียชีวิตตอนอายุ 62 ปี[15]
  • 783 (ปีเอ็นเรียกุที่ 2, เดือน 7[17]): ฟูจิวาระ โนะ โคเรกิมิกลายเป็น อูไดจิง คนใหม่ต่อจากฟูจิวาระ โนะ ทามาโระ[15]
  • 793 (ปีเอ็นเรียกุที่ 12[18]): เริ่มต้นก่อสร้างวัดเอ็นเรียกุ ภายใต้การนำของเด็งเงียว[13]
  • 794:[13] ย้ายเมืองหลวงไปยังเฮอังเกียว โดยมีพระราชวังชื่อว่า เฮอังโนะมิยะ (平安宮?, "palace of peace/tranquility")[4]
  • 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 794 (ปีเอ็นเรียกุที่ 13, วันที่ 21 เดือน 10[19]): จักรพรรดิเสด็จด้วยแคร่จากนาระไปยังเฮอังเเกียว เมืองหลวงใหม่ พร้อมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่[13] ถือเป็นจุดเริ่มต้นยุคนาระ
  • 794 แต่งตั้งโอโตโมะ โนะ โอโตมาโระเป็นโชกุนคนแรก ร่วมกับซากาโนอูเอะ โนะ ทามูรามาโระที่อยู่ภายใต้เอมิชิที่ฮนชูเหนือ[20]
  • 806:[4] คัมมุสวรรคตตอตพระชนมพรรษา 70 พรรษา[21] รัชสมัยของพระองค์มีระยะเวลา 25 ปี

แผนผัง แก้

[22]

พระราชวงศ์ แก้

จักรพรรดิคัมมุมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 36 พระองค์[23]

อ้างอิง แก้

  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 桓武天皇 (50); retrieved 2013-8-22.
  2. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Etchū" in Japan Encyclopedia, p. 464; Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 61–62.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 86–95, p. 86, ที่ Google Books; Brown, Delmer M. Gukanshō, pp. 277–279; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 148–150.
  4. 4.0 4.1 4.2 Brown, p. 277.
  5. Titsingh, p. 86, p. 86, ที่ Google Books; Varley, p. 149.
  6. Watts, Jonathan. "The emperor's new roots: The Japanese emperor has finally laid to rest rumours that he has Korean blood, by admitting that it is true," The Guardian (London). December 28, 2001.
  7. Brown, p. 34.
  8. วันที่จูเลียนนำมาจาก NengoCalc
  9. 天安一年四月三日
  10. Titsingh, pp. 85–6, p. 85, ที่ Google Books; Brown, p. 277.
  11. Titsingh, p. 86, p. 86, ที่ Google Books; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  12. 12.0 12.1 12.2 Brown, 278.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Brown, 279.
  14. 延暦一年六月十四日
  15. 15.0 15.1 15.2 Titsingh, p. 86, p. 86, ที่ Google Books.
  16. 延暦二年三月
  17. 延暦二年七月
  18. 延暦十二年
  19. 延暦十三年十月二十一日
  20. "Shogun". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ November 19, 2014.
  21. Varley, p. 150.
  22. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.
  23. Ponsonby-Fane, p. 62.

ข้อมูล แก้