สุมาเอี๋ยน
จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ (จีนตัวย่อ: 晋武帝; จีนตัวเต็ม: 晉武帝; พินอิน: Jìn Wǔ Dì; เวด-ไจลส์: Chin Wu-Ti) ชื่อตัว สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 263 - 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290[b]) หรือในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า เหยียน (จีน: 司馬炎; พินอิน: Sīmǎ Yán) ชื่อรอง อานชื่อ (จีน: 安世; พินอิน: Ānshì) เป็นหลายปู่ของสุมาอี้ หลานลุงของสุมาสู และบุตรชายของสุมาเจียว สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้นหลังจากบังคับโจฮวนจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของรัฐวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้พระองค์ พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 290 และหลังจากการพิชิตรัฐง่อก๊กในปี ค.ศ. 280 พระองค์ก็ทรงเป็นจักรพรรดิของจีนที่กลับมารวมเป็นหนึ่ง จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนยังทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องความฟุ่มเฟือยและความหมกมุ่นโลกีย์ โดยเฉพาะภายหลังจากการรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่ง มีหลายตำนานที่เล่าขานสมรรถภาพอันเหลือเชื่อของพระองค์ในการทรงมีสัมพันธ์กับสนมนับหมื่นคน
สุมาเอี๋ยน (ซือหม่า เหยียน) 司馬炎 จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ 晉武帝 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในยุคราชวงศ์ถัง วาดโดยเหยียน ลี่เปิ่น | |||||||||||||
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น | |||||||||||||
ครองราชย์ | 8 กุมภาพันธ์ 266[a] – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ | ||||||||||||
จีนอ๋อง / อ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง) | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 7 กันยายน[1] ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สุมาเจียว | ||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 7 กันยายน ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สุมาเจียว | ||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 236 | ||||||||||||
สวรรคต | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 (53-54 พรรษา)[2] | ||||||||||||
พระมเหสี | หยาง เยี่ยน หยาง จื่อ หวาง เยฺวี่ยนจี | ||||||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ ซือหมา เจี่ยน ซือหมา เหว่ย์ ซือหมา ยฺหวิ่น ซือหม่า เยี่ยน ซือหม่า เสีย ซือหม่า อี้ ซือหมา อิ่ง ซือหมา เหยี่ยน จักรพรรดิจิ้นหฺวายตี้ เจ้าหญิงฉางชาน เจ้าหญิงผิงหยาง เจ้าหญิงซินเฟิง เจ้าหญิงหยางผิง เจ้าหญิงอู่อาน เจ้าหญิงฝานชาง เจ้าหญิงเซียงเฉิง เจ้าหญิงสิงหยาง เจ้าหญิงสิงหยาง เจ้าหญิงอิ่งชฺวาน เจ้าหญิงกว่างผิง เจ้าหญิงหลิงโช่ว | ||||||||||||
| |||||||||||||
พระราชบิดา | สุมาเจียว | ||||||||||||
พระราชมารดา | หวาง ยฺเหวียนจี |
จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงมักถูกมองว่าเป็นผู้มีพระทัยกว้างขวางและมีพระเมตตา แต่ก็ทรงถูกมองว่าเป็นผู้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายด้วย ความมีพระทัยความกว้างขวางและพระเมตตาของพระองค์นั้นบ่อนทำลายการปกครองของพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงกลายเป็นผู้โอนอ่อนต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความสุรุยสุร่ายของตระกูลขุนนาง (世族 ชื่อจู๋ หรือ 士族 ชื่อจู๋, ชนชั้นเจ้าของที่ดินทางการเมืองหรือทางระบบข้าราชการตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงยุคราชวงศ์ถัง) มากเกินไป ซึ่งตระกูลเหล่านี้รีดเอาทรัพย์สินของของราษฎรไป นอกจากนี้ เมื่อจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้นขึ้น พระองค์ทรงวิตกกังวลในเรื่องเสถียรภาพของการปกครอง และทรงเชื่อว่ารัฐก่อนหน้าอย่างวุยก๊กต้องล่มสลายเนื่องจากความผิดพลาดที่มอบอำนาจให้ตระกูลสุมา พระองค์จึงพระราชทานอำนาจอย่างสูงให้กับเหล่าพระปิตุลา พระภาดา และพระโอรสของพระองค์ รวมถึงพระราชทานอำนาจทางการทหารอย่างอิสระด้วย การดำเนินการเช่นนี้กลับส่งผลทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เนื่องจากเหล่าอ๋องต่างทำสงความภายในต่อกันและกันที่รู้จักในคำเรียกว่าสงครามแปดอ๋องภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนไม่นาน และจากนั้น "ห้าชนเผ่า" ก็ก่อการกำเริบขึ้น ซึ่งเป็นโค่นล้มราชวงศ์จิ้นตะวันตก และทำให้ราชวงศ์จิ้นตะวันออกที่สืบทอดอำนาจต่อมาจำต้องย้ายไปภูมิภาคทางฝั่งใต้ของแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ)
พระประวัติก่อนการก่อตั้งราชวงศ์จิ้น
แก้สุมาเอี๋ยนเกิดในปี ค.ศ. 236 ในฐานะบุตรชายคนโตของสุมาเจียวและภรรยาคือหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอองซกบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ ในช่วงเวลานั้น สุมาเจียวเป็นข้าราชการระดับกลางในราชสำนักของรัฐวุยก๊กและเป็นสมาชิกของตระกูลที่มีเอกสิทธิ์ในฐานะบุตรชายของขุนพลสุมาอี้ หลังสุมาอี้ยึดอำนาจจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โจซองในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาเจียวก็ขึ้นมามีอำนาจในรัฐมากยิ่งขึ้น หลังการเสียชีวิตของสุมาอี้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 251 สุมาเจียวขึ้นมาเป็นผู้ช่วยของสุมาสูผู้เป็นพี่ชายและเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใหม่ หลังสุมาสูเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 255 สุมาเจียวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดในราชสำนักวุยก๊ก
สุมาเอี๋ยนเริ่มมีบทบาทสำคัญครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 260 เมื่อกำลังทหารที่ภักดีต่อสุมาเจียวที่นำโดยกาอุ้นเอาชนะความพยายามของโจมอจักรพรรดิแห่งวุยก๊กที่จะทรงชิงพระราชอำนาจขึ้น แล้วปลงพระชนม์โจมอ ในช่วงเวลานั้น สุมาเอี๋ยนในฐานะขุนพลระดับกลางได้รับมอบหมายจากสุมาเจียวผู้บิดาให้ไปเชิญและถวายการอารักขาโจฮวน (ในเวลานั้นยังมีพระนามว่าเฉา หฺวาง) จักรพรรดิองค์ใหม่ จากเขตศักดินาเดิมของพระองค์มายังนครหลวงลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) สุมาเอี๋ยนจึงเดินทางไปเงียบกุ๋น (鄴城 เย่เฉิง; ปัจจุบันคือนครหานตาน มณฑลเหอเป่ย์) เพื่อรับโจฮวน[4] หลังจากสุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจินก๋ง (晉公 จิ้นกง) หรือก๋งแห่งจิ้นในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 263 จากการพิชิตจ๊กก๊กได้ สุมาเอี๋ยนก็ได้รับการเสนอให้เป็นทายาท แต่ในช่วงเวลานั้น สุมาเจียวลังเลว่าคนใดระหว่างสุมาเอี๋ยนหรือสุมาฮิวที่เป็นน้องชายของสุมาเอี๋ยนที่จะเหมาะสมในการเป็นรัชทายาทมากกว่า เนื่องจากสุมาฮิวถือว่าเป็นผู้มีความสามารถและยังไปเป็นบุตรบุญธรรมของสุมาสูพี่ชายของสุมาเจียวที่ไม่มีบุตรชายสืบสกุลของตน และสุมาเจียวระลึกถึงบทบาทของสุมาสูพี่ชายในการยึดอำนาจให้ตระกูลสุมา จึงเห็นว่าตควรจะคืนอำนาจให้เชื้อสายของพี่ชาย แต่ข้าราชการระดับสูงหลายคนสนับสนุนสุมาเอี๋ยน และสุมาเจียวก็เห็นด้วย หลังจากสุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจีนอ๋อง (晉王 จิ้นหวาง) หรืออ๋องแห่งจิ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 264 (ซึ่งเป็นการมาถึงขั้นสุดท้ายก่อนการชิงราชบัลลังก์) สุมาเอี๋ยนได้รับการแต่งตั้งเป็นราชทายาทแห่งจิ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 265[5][c]
ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 สุมาเจียวเสียชีวิตโดยยังไม่ได้ชิงราชบัลลังก์วุยก๊ก สุมาเอี๋ยนขึ้นเป็นจีนอ๋องในวันถัดมา ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนบังคับโจฮวนให้สละราชบัลลังก์ ถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐวุยก๊ก สี่วันต่อมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2566 สุมาเอี๋ยนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น
ในฐานะจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น
แก้ต้นรัชสมัย: การก่อตั้งระบบการเมืองของราชวงศ์จิ้น
แก้จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์เห็นว่าเป็นจุดอ่อนร้ายแรงของวุยก๊ก นั่นคือการขาดอำนาจของเหล่าเจ้าชาย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ทันทีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระปิตุลา พระภาดา พระอนุชา และพระโอรสเป็นอ๋อง อ๋องแต่ละพระองค์มีอำนาจบัญชาการทหารทหารอย่างอิสระและมีอำนาจเต็มในอาณาเขตของตน ระบบนี้แม้ว่าถูกปรับลดลงหลังสงครามแปดอ๋องและการสูญเสียดินแดนทางเหนือของจีน แต่ก็ยังคงอยู่ในราชวงศ์จิ้นตลอดช่วงเวลาที่ราชวงศ์ดำรงอยู่ และถูกนำมาปรับใช้โดยราชวงศ์ใต้ที่มีอำนาจถัดจากราชวงศ์จิ้นด้วย
อีกปัญหาหนึ่งที่จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงเห็นในระบบการเมืองของวุยก๊กคือความเข้มงวดของกฎหมายอาญา พระองค์จึงทรงหาทางปฏิรูประบบการลงอาญาให้มีความปรานีมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ที่ได้ผลประโยชน์หลักจากการปฏิรูปนี้กลับกลายเป็นชนชั้นสูง เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่าความปรานีนั้นถูกมอบให้ในลักษณะที่ไม่เท่าเทียม ชนชั้นสูงที่กระทำความผิดมักเพียงถูกตำหนิ ในขณะที่ไม่มีการลดโทษอาญาให้กับสามัญชนอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องนี้นำไปสู่การทุจริตใหญ่หลวงและการใช้ชีวิตอย่างสุรุ่ยสุร่ายของชนชั้นสูง ในขณะที่คนยากจนไม่ได้รับการช่วยเหลือจากราชสำนัก ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 267 เมื่อข้าราชการระดับสูงหลายคนถูกพบว่ามีความผิดฐานร่วมมือกับนายอำเภอในการยึดที่ดินสาธารณะมาเป็นของตนเอง จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงปฏิเสธที่จะลงโทษข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ แต่กลับให้ลงโทษนายอำเภออย่างรุนแรง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กลางรัชสมัย: การรวมจักรวรรดิจีนเป็นหนึ่ง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปลายรัชสมัย: การก่อตัวของภัยพิบัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชื่อศักราช
แก้พระราชวงศ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บรรพบุรุษ
แก้สุมาหอง (ค.ศ. 149–219) | |||||||||||||||
สุมาอี้ (ค.ศ. 179–251) | |||||||||||||||
สุมาเจียว (ค.ศ. 211–265) | |||||||||||||||
จาง วาง | |||||||||||||||
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189–247) | |||||||||||||||
ชานชื่อ ชาวเมืองโห้ลาย | |||||||||||||||
สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 236–290) | |||||||||||||||
อองลอง (เสียชีวิต ค.ศ. 228) | |||||||||||||||
อองซก (ค.ศ. 195–256) | |||||||||||||||
หยางชื่อ ชาวเมืองฮองหลง | |||||||||||||||
หวาง ยฺเหวียนจี (ค.ศ. 217–268) | |||||||||||||||
หยางชื่อ | |||||||||||||||
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ วันปิ่งอิ๋น (丙寅) ของเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนสวรรคตขณะพระชนมายุ 55 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในวันจี๋โหยว (己酉) ของเดือน 4 ในศักราชไท่ซี (太熙) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ เทียบได้กับวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 ในปฏิทินกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้วปีประสูติของพระองค์ควรเป็นปี ค.ศ. 263[3]
- ↑ เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 265 ในปฏิทินจูเลียน แต่ในจือจื้อทงเจี้ยนเล่มที่ 78 ระบุว่าสุมาเอี๋ยนได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท (世子 ชื่อจื่อ) ในวันปิ๋งอู่ (丙午) ของเดือน 10 ในศักราชเสียนซี (咸熙) ปีที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 264 ในปฏิทินจูเลียน
อ้างอิง
แก้- ↑
SGZ has: "On the day renchen (September 7), the Crown Prince of Jin, Sima Yan, succeeded to his enfeoffment and inherited his rank; he assumed the Presidency of the myriad officials and had gifts and documents of appointments conferred upon him, all in conformity with ancient institutions". Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.
- ↑ ฝาน เสฺวียนหลิงและคณะ. จิ้นชู, เล่มที่ 3, บทพระราชประวัติจักรพรรดิอู่ตี้
- ↑ ([太熙元年四月]己酉,帝崩于含章殿,时年五十五...) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ (使中护军司马炎迎燕王宇之子常道乡公璜于邺,以为明帝嗣。炎,昭之子也。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77
- ↑
Jin shu, Chronicle of Wudi states: "In the second year of Xianxi, in the fifth month, Sima Yan was appointed Crown Prince of Jin. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.
ก่อนหน้า | สุมาเอี๋ยน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โจฮวน วุยก๊ก |
จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 266–290) |
จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ |