จรูญ วัฒนากร
จรูญ วัฒนากร (12 มีนาคม พ.ศ. 2462 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 5 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 อดีตผู้ร่วมก่อตั้งสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี
จรูญ วัฒนากร | |
---|---|
ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มีนาคม พ.ศ. 2462 อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี |
เสียชีวิต | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 (66 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย |
ประวัติ
แก้จรูญ วัฒนากร เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2462 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา ทางนิติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[1]
จรูญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ในสังกัดพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม โดยนายจรูญ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎรชุดดังกล่าว
ต่อมาได้รับเลือกตั้งสมัยต่อมา คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคชาติไทย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย (ในขณะนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนพรรคการเมืองเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง) ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2526 ได้มีการจดทะเบียนพรรคสยามประชาธิปไตยขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง และนายจรูญ ได้รับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค[2] แต่ต่อมานายจรูญได้ลงออกจาพรรคและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย
นายจรูญ วัฒนากร เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสหกรณ์โคนมหนองโพ โดยมีนายทวิช กลิ่นประทุม ส.ส.ราชบุรี เป็นจัดซื้อที่ดินทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างสหกรณ์โคนม และนายจรูญเป็นผู้ติดต่อหาผู้รับซื้อนมให้กับเกษตรกร[3]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้จรูญ ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่ง ส.ส.ราชบุรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529[4] สิริอายุรวม 62 ปี และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[7]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2528. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2528
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย)
- ↑ "สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๒๙ (นายจรูญ วัฒนากร ถึงแก่กรรม จึงกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๙)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำตักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๘, ๖ ธันวาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๙, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑