งูแบล็กแมมบา

(เปลี่ยนทางจาก งูแบล็คแมมบา)
งูแบล็กแมมบา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Elapidae
สกุล: Dendroaspis
สปีชีส์: D.  polylepis
ชื่อทวินาม
Dendroaspis polylepis
(Günther, 1864)[2]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของงูแบล็กแมมบา (สีแดงหมายถึง ที่ที่มีอยู่แน่นอน, สีเขียวหมายถึง ไม่แน่ชัดว่ามีหรือไม่)

งูแบล็กแมมบา (อังกฤษ: Black mamba, Common black mamba, Black-mouthed mamba) งูพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendroaspis polylepis อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ในแถบตอนใต้และตอนกลาง

งูแบล็กแมมบา มีรูปร่างเพรียวยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ท้องมีสีเทาขาวจนไปถึงสีเหลืองหรือเขียว เส้นขอบปากมีสีน้ำตาลดำ คอแบน ภายในปากสีดำสนิท มีต่อมพิษขนาดใหญ่ ตากลมโตขนาดใหญ่ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร แต่มีขนาดยาวเต็มที่เกือบ 4 เมตร

งูแบล็กแมมบาเป็นงูที่มักไม่ขึ้นต้นไม้ แต่จะหากินและอาศัยบนพื้นเป็นหลัก เป็นงูที่เลื้อยคลานได้ไวมาก โดยสามารถเลื้อยได้ไวถึง 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงถูกจัดให้เป็นงูที่ไวที่สุดในโลก

นอกจากนี้แล้ว งูแบล็กแมมบายังได้ถูกจัดให้เป็นงูที่อันตรายและเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ด้วยความเป็นงูที่หากินบนพื้นเป็นหลัก คล่องแคล่วว่องไว อีกทั้งยังเป็นงูที่ไม่กลัวมนุษย์ มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เมื่อปะทะกับมนุษย์ซึ่ง ๆ หน้า จะไม่หลบหนีเหมือนงูชนิดอื่น ๆ

โดยคำว่า "แมมบา" นั้น หมายถึง "โลงศพ" เนื่องจากมีส่วนหัวแลดูคล้ายโลงศพของชาวตะวันตก ซึ่งชื่อนี้มีนัยถึงถึง "ความตายที่มาเยือน"[3]

งูแบล็กแมมบา ใช้พิษในการหากินโดยใช้กัดเหยื่อให้ตาย แล้วจึงกลืนเข้าไปทั้งตัว ซึ่งได้แก่ กระต่าย, นก, ค้างคาว และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงกบหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วไป และยังกินงูด้วยกันเป็นอาหารได้อีกด้วย มีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวัน

พิษของงูแบล็กแมมบานั้นถือว่าร้ายแรงมาก ถูกจัดให้เป็นงูที่มีพิษอันตรายมากที่สุดติด 1 ใน 10 อันดับของโลก[4] ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาเซรุ่มแก้พิษนั้น ผู้ที่โดนกัดจะถึงแก่ความตายทั้งหมด โดยการกัดครั้งหนึ่งจะปล่อยพิษออกมาประมาณ 100-250 มิลลิกรัม มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในเวลาเพียง 20 นาที แต่โดยเฉลี่ยคือ 2-4 ชั่วโมง จากความล่าช้าของการรักษา

งูแบล็กแมมบาสามารถที่จะฉกกัดได้อย่างว่องไว และสามารถขู่ แผ่แม่เบี้ย และชูหัวได้เหมือนกับงูเห่า (Naja spp.) หรืองูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งอยู่ร่วมวงศ์กัน แม้จะไม่ใหญ่เท่า แต่ก็สามารถฉกและชูหัวได้สูงถึง 2 เมตร[5][6][7]

อ้างอิง แก้

  1. Spawls, S. (2009). "Dendroaspis polylepis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 3.1. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. Chelonian, วิเคราะห์ประเด็น "กรีนแมมบ้า" หรือ "เกรียนแมมบ้า" อ่านเนื้อหาให้จบ แล้วฟันธง หน้า 144-155 จากนิตยสาร AquariumBiz ฉบับที่ 18 ปีที่ 2: ธันวาคม 2011
  4. Zug, George R. (1996). Snakes in Question: The Smithsonian Answer Book. Washington D.C., USA: Smithsonian Institution Scholarly Press. ISBN 1-56098-648-4.
  5. "Black Mamba Fact File (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28.
  6. ["Black Mamba (ไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-06. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28. Black Mamba (ไทย)]
  7. Marais, Johan (1985). Snake versus man: A guide to dangerous and common harmless snakes of southern Africa. Braamfontein, Johannesburg (South Africa): Macmillan South Africa. ISBN 0-86954-267-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dendroaspis polylepis ที่วิกิสปีชีส์