ความขัดแย้งเขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก

ความขัดแย้งเขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก เป็นความขัดแย้งระดับต่ำในเขตห้ามบินผ่านสองแห่งในประเทศอิรักที่ประกาศโดยสหรัฐ, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสหลังสงครามอ่าวใน ค.ศ. 1991 สหรัฐระบุว่าเขตห้ามบินผ่านมีจุดประสงค์ในการป้องกันชนกลุ่มน้อยเคิร์ดในอิรักตอนเหนือและมุสลิมชีอะฮ์ในอิรักตอนใต้ อากาศยานของอิรักถูกห้ามไม่ให้บินในบริเวณนี้ อากาศยานตรวจการณ์ของสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสบังคับใช้นโยบายนี้ จนกระทั่งฝรั่งเศสถอนตัวใน ค.ศ. 1996[2]

เขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก
ส่วนหนึ่งของ ผลที่ตามมาของสงครามอ่าว

รายละเอียดเขตห้ามบินผ่าน
วันที่1 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 20 มีนาคม ค.ศ. 2003
(12 ปี 2 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่
ผล

สรุปไม่ได้

คู่สงคราม
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 ฝรั่งเศส
 ออสเตรเลีย
 เบลเยียม
 เนเธอร์แลนด์
 ซาอุดีอาระเบีย
 ตุรกี
 อิตาลี
ประเทศอิรัก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช (จนถึง 20 มกราคม ค.ศ. 1993)
บิล คลินตัน (20 มกราคม ค.ศ. 1993 – 20 มกราคม ค.ศ. 2001)
จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2001)
จอห์น ชาลีกัชวีลี (จนถึง ค.ศ. 1997)
ฮิว เชลตัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1997)
ที. ไมเคิล มูซลีย์
จอห์น เมเจอร์
โทนี แบลร์
ฟร็องซัว มีแตร็อง

ฌัก ชีรัก
สมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮัด
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์
ซัดดัม ฮุสเซน
กำลัง
ช่วงหนึ่งมีทหารราบ 6,000 นาย
อากาศยาน 50 ลำ และเจ้าหน้าที่ 1,400 นาย
ไม่ทราบจำนวนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอิรักและกำลังตำรวจอิรัก
ความสูญเสีย
เฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์กถูกยิงตก 2 ลำ (ยิงกันเอง, เสียชีวิต 26 นาย)
เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐถูกฆ่าในปฏิบัติการการวางระเบิดอัลคุบัรทาวเวอร์ 19 นาย
โดรน RQ-1 Predator 5 ลำถูกยิงตก
ไม่ทราบจำนวนทหารที่ถูกฆ่า
ไม่ทราบจำนวนระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ถูกทำลาย
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 ถูกยิงตก 1 ลำ
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 ถูกยิงตก 1 ลำ
Fitters Su-22 ถูกยิงตก 2 ลำ
พลเมืองอิรักถูกฆ่า 1,400 คน (อ้างโดยรัฐบาลอิรัก)[1]

รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเมือง 1,400 คนถูกฆ่าจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเขตห้ามบิน[3] ชาวเคิร์ดที่อยู่ทางเหนือได้สิทธิปกครองตนเองและได้รับการปกป้องจากความกลัวว่าจะมีการสังหารหมู่อัลอันฟาลใน ค.ศ. 1988 ที่ทำให้มีผู้ถูกฆ่ามากกว่าหมื่นคน ในช่วง 9 ปีแรกของมาตรการเขตห้ามบินผ่าน มีอากาศยานฝ่าเขตห้ามบินในบริเวณนี้มากกว่า 280,000 ลำ[4]

สหประชาชาติไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมทางทหารนี้[5] และบุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี เลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้น ภายหลังได้ให้สัมภาษณ์แก่จอห์น พิลเจอร์ โดยกล่าวว่าเขตห้ามบินผ่านนั้น "ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"[6][7]

อ้างอิง แก้

  1. Carrington, Anca. "Iraq: Issues, Historical Background, Bibliography." Page 18.
  2. "BBC News | FORCES AND FIREPOWER | Containment: The Iraqi no-fly zones". news.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
  3. Sponeck, Graf Hans-Christof; Sponeck, H. C. von; Amorim, Celso N. (October 2006). A Different Kind of War: The UN Sanctions Regime in Iraq. Berghahn Books. ISBN 9781845452223.
  4. "Iraq Under Siege: Ten Years On". www.globalpolicy.org. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
  5. "No-fly zones: The legal position". 2001-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
  6. A People Betrayed เก็บถาวร 14 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ZNet, 23 February 2003
  7. ITV - John Pilger - Labour claims its actions are lawful while it bombs Iraq, starves its people and sells arms to corrupt states

แหล่งข้อมูลอื่น แก้