การทัพอัลอันฟาล

การทัพอัลอันฟาล (อาหรับ: حملة الأنفال; เคิร์ด: شاڵاوی ئەنفال) มีอีกชื่อว่า การสังหารหมู่อันฟาล หรือ การสังหารหมู่ชาวเคิร์ด[3][4][5][6] เป็นปฏิบัติการปราบปรามการก่อกบฏแบบสังหารหมู่ที่ดำเนินการในอิรักสมัยบะอัษ ซึ่งทำให้มีชาวเคิร์ดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียชีวิตระหว่าง 50,000[7] ถึง 182,000 คน[8] ประกอบด้วยกองทัพอิรักที่นำโดยอะลี ฮัสซัน อัลมะญีด ตามคำสั่งของประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ต่อสู้กับชาวอิรักเคอร์ดิสถานในอิรักตอนเหนือในช่วงสุดท้ายของสงครามอิรัก–อิหร่าน จุดประสงค์ของการทัพนี้คือการกำจัดกลุ่มกบฏชาวเคิร์ดกับการแผลงเป็นอาหรับในเขตผู้ว่าการคีร์คูก[9]

การทัพอัลอันฟาล
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอิรัก–เคิร์ดและสงครามอิรัก–อิหร่าน

กระดูกมนุษย์ในสุสานหมู่ที่เคอร์ดิสถานของอิรัก 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2005
วันที่ค.ศ. 1986–1989
(เจาะจงคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 – 6 กันยายน ค.ศ. 1988)
สถานที่
ผล

การก่อความไม่สงบลดลงแต่ยังไม่สงบ

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กำลัง
200,000 3,500
ความสูญเสีย
พลเมืองชาวเคิร์ดถูกฆ่า 50,000–100,000 คน (ฮิวแมนไรท์วอทช์)[2]

ชื่อของการทัพมาจากชื่อบทที่ 8 ในอัลกุรอาน (อัลอันฟาล) ซึ่งอดีตรัฐบาลบะอัษอิรักใช้เป็นชื่อรหัส (code name) กลุ่มการโจมตีอย่างเป็นระบบต่อนักรบชาวเคิร์ดในอิรักตอนเหนือช่วง ค.ศ. 1986 ถึง 1989 โดยอยู่ในช่วงสูงสุดใน ค.ศ. 1988 ประเทศที่ยอมรับให้การทัพนี้เป็นการสังหารหมู่คือประเทศสวีเดน, นอร์เวย์, เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร[10]

Autumn Cockrell-Abdullah นักวิจัยกล่าวว่าอันฟาลกลายเป็น "องค์ประกอบสำคัญของเอกลักษณ์ชาวเคิร์ด"[11]

ชื่อ แก้

อัลอันฟาลเป็นซูเราะฮ์หรือบทที่ 8 ในอัลกุรอานที่กล่าวถึงชัยชนะของมุสลิม 313 คนต่อพวกนอกรีตเกือบ 900 คนในยุทธการที่บะดัร ค.ศ. 624 "อัลอันฟาล" มีความหมายตรงตัวว่า สิ่งที่ริบมาได้ (จากสงคราม) และถูกใช้พรรณาถึงการทัพที่มีการทำลายล้างและการปล้นสะดมตามคำสั่งของอะลี ฮัสซัน อัลมะญีดในการทำจัช (ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวเคิร์ดกับบะอัษ ในภาษาเคิร์ด แปลว่า "ลูกของลา") นั่นคือ การลักขโมยโค แกะ แพะ เงิน อาวุธ และแม้แต่ผู้หญิงถูกกฎหมาย[12]

อ้างอิง แก้

  1. "TRIAL : Profiles". Trial-ch.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2016. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  2. Black, George (1993). Genocide in Iraq: The Anfal Campaign Against the Kurds (ภาษาอังกฤษ). Human Rights Watch. p. 345. ISBN 978-1-56432-108-4.
  3. Fazil Moradi (2016) "The Force of Writing in Genocide: On Sexual Violence in the al-Anfāl Operations and Beyond." in Gender Violence in Peace and War: States of Complicity, 102–115, edited by Victoria Sanford, Katerina Stefatos and Cecilia Salvi. New Brunswick, NJ and London: Rutgers University Press.
  4. .Fazil Moradi (2017) "Genocide in Translation: On Memory, Justice, and Future Remembrance." in Memory and genocide: on what remains and the possibility of representation, edited by Fazil Moradi, Ralph Buchenhorst, and Maria Six-Hohenbalken London and New York: Routledge.
  5. Faraidoun Moradi, Mia Söderberg, Fazil Moradi, Bledar Daka, Anna-Carin Olin, Mona Lärstad. (2019) "Health Perspectives among Halabja’s Civilian Survivors of Sulfur Mustard Exposure with Respiratory Symptoms—A Qualitative Study" PLOS ONE 1–16.
  6. "Anfal Genocide: activists say Kurdish perpetrators remain at large". RUDWAW. 14 April 2017.
  7. GENOCIDE IN IRAQ Human Rights Watch, 1993
  8. The Crimes of Saddam Hussein – 1988 The Anfal Campaign PBS Frontline
  9. Kirmanj, Sherko; Rafaat, Aram (2021). "The Kurdish genocide in Iraq: the Security-Anfal and the Identity-Anfal". National Identities. 23 (2): 163–183. doi:10.1080/14608944.2020.1746250. S2CID 216482100.
  10. "British Parliament officially recognizes 'Kurdish Genocide'". Hurriyet Daily News. 1 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  11. Cockrell-Abdullah, Autumn (2018). "Constituting Histories Through Culture In Iraqi Kurdistan". Zanj: The Journal of Critical Global South Studies. 2 (1): 65–91. doi:10.13169/zanjglobsoutstud.2.1.0065. ISSN 2515-2130. JSTOR 10.13169/zanjglobsoutstud.2.1.0065.
  12. Jonathan C. Randal, After Such Knowledge, What Forgiveness?: My Encounters with Kurdistan, 356 pp., Westview Press, 1998, ISBN 0-8133-3580-9, p.231

36. ^Documenting the Kurdish Genocide – https://www.journalscene.com/article/20140131/SJ02/140139940/1048 เก็บถาวร 2016-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 31 January 2014

แหล่งข้อมูลอื่น แก้