มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25

มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 (อังกฤษ: Mikoyan-Gurevich MiG-25 Foxbat) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟอกซ์แบท) เป็นเครื่องบินสกัดกั้น ทิ้งระเบิด และลาดตระเวนความเร็วเหนือเสียงที่ออกแบบโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต ต้นบบได้ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2507 มันได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2513 มันมีความเร็วสูงสุดที่ 3.2 มัค เรดาร์ที่ทรงพลังและขีปนาวุธอากาศสู่อากาศสี่ลูก มิก-25 เป็ยภัยคุกคามต่อฝั่งตะวันตกและก่อให้เกิดการสร้างเอฟ-15 อีเกิลขึ้นมา

มิก-25
บทบาทเครื่องบินสกัดกั้น/ลาดตระเวน
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตมิโคยัน
บินครั้งแรก6 มีนาคม พ.ศ. 2507
เริ่มใช้พ.ศ. 2513
สถานะประจำการอย่างจำกัด
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศแอลจีเรีย
กองทัพอากาศซีเรีย
กองทัพอากาศอาร์เมเนีย
จำนวนที่ผลิต1,190 ลำ
แบบอื่นมิโคยัน มิก-31

ความสามารถที่แท้จริงของมันไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อฝั่งตะวันตกจนกระทั่งปีพ.ศ. 2519 เมื่อวิกเตอร์ เบเลนโค นักบินมิก-25 ของโซเวียต ถูกตรวจจับโดยสหรัฐอเมริกาผ่านทางญี่ปุ่น การประเมินผลในเวลาต่อมาเผยว่ามีการออกแบบที่ใช้ท่อลมอิเลคทรอนิก เครื่องยนต์ไอพ่นที่ทรงพลังสองเครื่อง และใช้วัสดุพิเศษอย่างไทเทเนียม มิก-25 ได้ผลิตออกมา 1,190 ลำ[1] มิก-25 ปัจจุบันประเทศรัสเซียปลดประจำการแล้ว เพราะปัญหาด้านเชื้อเพลิง [3]

รายละเอียด มิโกยัน มิก-25 แก้

 
  • ผู้สร้าง:(โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือ สำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์
  • ประเภท
    • เจ๊ตขับไล่สกัดกั้นทุกกาลอากาศที่นั่งเดียว (ฟอกซ์แบท-เอ)
    • เจ๊ตตรวจการณ์เพดานบินสูงที่นั่งเดียว (ฟอกซ์แบท-บี)
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต ตูมันสกาย ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 8,000 กิโลกรัม และ 11,000 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก:14 เมตร
  • ยาว:22.3 เมตร
  • สูง:5.6 เมตร
  • พื้นที่ปีก:56 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 20,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขั้นสูง: 35,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง: 2.8 มัค(3,000 กม/ชม) ที่ระยะสูงมาก
  • รัศมีปฏิบัติการ: 950 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่
  • พิสัยบินไกลสุด: 2,000 กิโลเมตร
  • เพดานบินใช้งาน: 22,000 เมตร
  • อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ จีเอสเอช-23 ลำกล้องคู่ ขนาด 23 มม 1กระบอก
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอเอ-6 อซิต(ACID) 4ลูก

[2]

อ้างอิง แก้

  1. Aircraft Museum - MiG-25 'Foxbat', Aerospaceweb.org
  2. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522

3.หนังสือเอาชีวิตรอดในอวกาศ เล่ม 1