มาลีฮวนน่า

(เปลี่ยนทางจาก คฑาวุธ ทองไทย)

มาลีฮวนน่า (อังกฤษ: Maleehuana) เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ (Marijuana) แปลว่า กัญชา แต่ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรีแนวเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งหมายถึง การปลดปล่อยอิสรภาพจากกรอบกำบังของสังคม กรอบแห่งความคิด

มาลีฮวนน่า
ปกซีดีชุดแรก บุปผาชน (2537)
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย สงขลา ประเทศไทย
แนวเพลงเพื่อชีวิต, เพลงปักษ์ใต้, โฟล์ค, อะคูสติก
ช่วงปีพ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงไมล์สโตน (พ.ศ. 2538 - 2543)
ดรีม เรคคอร์ด (2543 - ปัจจุบัน)
สมาชิกคฑาวุธ ทองไทย (ไข่)
อดีตสมาชิกธงชัย รักษ์รงค์ (ธง)
สมพงค์ ศิวิโรจน์ (พงค์)
เชิดชัย ศิริโภคา (โก๊ย)
เว็บไซต์maleehuana.net

อดีตสมาชิก

แก้

• จรูญศักดิ์ วิวัฒนพงษ์ (ป้อม) - กลอง จ.สงขลา

• ไพฑูรย์ รักษ์รงค์ (ฑูรย์) - แอคคอร์เดียน ขลุ่ย จ.นครศรีธรรมราช

• ศุภชัย ชัยนุรักษ์ (ชัย) - กลอง จ.นครศรีธรรมราช

• สมเกียรติ หนูในน้ำ (แบงค์) - ระนาด ขลุ่ย แอคคอร์เดียน จ.ภูเก็ต

• สมคิด แซ่แต้ (มุด) - กลอง จ.ภูเก็ต

• อภิเชษ ฐานะกาญจน์ (นัน) - เพอร์คัสชั่น ทอมบ้า บองโก จ.นครศรีธรรมราช

• สุรพงศ์ เรืองณรงค์ (พงศ์) - เบส จ.พัทลุง

• ประวิทย์ ชุมจันทร์ (ติ) - เบส จ.นครศรีธรรมราช

• อรรณพ อินทรภักดี (ตุ้ย) - คีย์บอร์ด จ.พัทลุง

• เจริญชัย สมผลึก (น้อย) - กีตาร์/เสียชีวิต จ.พัทลุง

• ทศพร คำร้อง (มิว) - กีต้าร์/จ.นครศรีธรรมราช

• อรรถพล เยี่ยมสิริวุฒิ (อรรถ) - แอคคอร์เดียน จ.สงขลา

  • อนุกูล นราพงศ์ (โอ๋) - เบส จ.นครศรีธรรมราช
  • ธงชัย รักษ์รงค์ (ธง) - ร้องนำ/กีต้าร์/แต่งเพลง จ.นครศรีธรรมราช
  • สมพงค์ ศิวิโรจน์ (พงค์) - แต่งเพลง , กีตาร์/ร้องเพลงเทียมฟ้าชุดกลับกลาย จ.สงขลา
  • เชิดชัย ศิริโภคา (โก๊ย) - แต่งเพลง/ร่วมทุน

สมาชิก(ยุคปัจจุบัน)

แก้
  • คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) - ร้องนำ/แต่งเพลง จ.สงขลา
  • สุรศักดิ์ พันธ์ดี (น้อย) - แอดคอร์เดียน/คีบอร์ด จ.สงขลา
  • สมประสงค์ โกละกะ (สงค์) - กีตาร์ จ.สุราษฎร์ธานี
  • อนุเทพ ยี่รงค์ (เอ้) - กีตาร์ จ.สงขลา
  • มณเฑียร แสงสุวรรณ (อ้วน) - เพอร์คัสชั่น จ.สงขลา
  • นฤดล สุธีรศักดิ์ (น็อต) - เพอร์คัสชั่น
  • ไชยาพร ธงสุทัศน์ (เต้) - เบส
  • สมพงศ์ ภูววิมล (พงศ์) - กีตาร์
  • สุชาต หิรัญวิญญ (เอก) - กลอง จ.ปัตตานี

ประวัติ

แก้

คฑาวุธ ทองไทย เป็นชาวสงขลาเกิดที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2510 บิดามีอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณและช่างตัดผม มารดาเป็นแม่ค้า ฐานะทางบ้านยากจน เป็นลูกคนสุดท้องและเป็นลูกชายคนเดียวจากพี่น้องสามคน คฑาวุธจบการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และจบมัธยมปลายที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช ก่อนไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเขาได้เกียรตินิยมอันดับ 1 อีกด้วย

ก่อกำเนิด

แก้

มาลีฮวนน่าเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยคฑาวุธ ทองไทย ที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับธงชัย รักษ์รงค์ ซึ่งเล่นดนตรีอยู่ตามผับทางภาคใต้ และสมพงษ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป โดยสมพงษ์เป็นผู้ตั้งชื่อวง ซึ่งผันมาจากคำว่า มารีจัวน่า ที่แปลว่ากัญชา ด้วยความชื่นชอบในดนตรีแนวเร็กเก

ทั้งสามร่วมกันทำงานเพลงที่มีแรงขับมาจากความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสภาพสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อระบายความอัดอั้นอันเกิดจากความแตกต่างของวัย และปมด้อยทางสถานภาพสังคม แต่วงก็ต้องหยุดลงเพราะสมพงษ์เกิดท้อถอยกับปัญหาสังคม ทุกคนจึงจำต้องแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 วงมาลีฮวนน่าได้ออกอัลบั้มแรกใช้ชื่อว่า "บุปผาชน" บันทึกเสียงที่ห้องอัดของฮิเดกิ โมริ ย่านบางบัวทอง โดยสมพงษ์เป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้ม ส่วนคฑาวุธวาดภาพลายเส้นที่ปกใน และมีเชิดชัย ศิริโภคา เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับการทำเทป โดยออกวางขายแบบใต้ดิน ฝากขายตามแผงเทปต่าง ๆ เช่น ร้านน้องท่าพระจันทร์ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

มีชื่อเสียง

แก้

ในปี พ.ศ. 2538 บริษัทไมล์สโตน ของมาโนช พุฒตาล ได้ชักชวนวงมาลีฮวนน่าเข้าไปร่วมงาน ทำให้พวกเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และมีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศในปีต่อมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 พวกเขามีอัลบั้มชุดที่ 2 "คนเช็ดเงา" และอัลบั้มชุดที่ 3 "กลับกลาย" ในอีกสองปีหลังจากนั้น

ในปี พ.ศ. 2543 มาลีฮวนน่าย้ายเข้าสังกัด ดรีม เรคอร์ดส์ ซึ่งธงชัยก่อตั้งเมื่อปี 2540 โดยคฑาวุธร่วมเป็นหุ้นส่วนใหญ่[1] มีอัลบั้มชุดที่ 4 "เพื่อนเพ" ออกมาเป็นอัลบั้มแรก อัลบั้มชุดนี้มีที่มาจากการได้พูดคุยกับ กลุ่มศิลปิน นักประพันธ์ ที่หลายคนเขียนงานเพลงขึ้นมาแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้เผยแพร่ มาลีฮวนน่าจึงนำบทเพลงของพวกเขามาใส่ในอัลบั้มนี้ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ไปในที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

มาลีฮวนน่ายังสานต่อผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2545 พวกเขาออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด "ระบำสยาม" ซึ่งแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตามด้วย "ลมใต้ปีก" ในปี 2546

แยกวง

แก้

หลังจากอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" สมาชิกของวงได้พักการทำงานดนตรีในนามมาลีฮวนน่าลงชั่วคราว โดยต่างคนต่างก็หันไปทำงานประจำ หรืองานที่ตัวเองสนใจ คฑาวุธ ทองไทย เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว, ธงชัย รักษ์รงค์ ทำธุรกิจห้องอัดเสียง, สมพงษ์ ศิวิโรจน์ ใช้เวลากับการเขียนเพลง

ในปีเดียวกับที่อัลบั้มดังกล่าววางแผง มีกระแสข่าวว่าคฑาวุธและสมพงษ์ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง อันเนื่องจากจากการจัดสรรผลประโยชน์ของค่ายเพลงที่ไม่ลงตัว แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับวงระบุว่า ต่างคนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งหวาดระแวงถึงขั้นกล่าวหาว่ามีการจ้างมือปืนจากภาคใต้ และจากจังหวัดชลบุรีเพื่อลอบสังหารทั้งสอง[2] ด้านธงชัยกล่าวในปี พ.ศ. 2561 ว่ามีบุคคลระดับผู้บริหารนำคนในครอบครัวของตนเข้าทำงาน เพื่อหวังฮุบบริษัทเป็นของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว[1]

อัลบั้มชุดต่อมาของวง จึงเหลือเพียงคฑาวุธเป็นสมาชิกหลักคนเดียวจนถึงปัจจุบัน

ผลงาน

แก้

อัลบั้ม

แก้
  • บุปผาชน (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
  1. ลมเพ-ลมพัด
  2. หัวใจละเหี่ย
  3. วิถีคนจร
  4. นิรันดร์
  5. ไปไกล
  6. เรือรักกระดาษ
  7. หัวใจพรือโฉ้
  8. ลานนม-ลมเน
  9. รักสาวพรานนก
  10. ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
  • คนเช็ดเงา (1 มีนาคม พ.ศ. 2539)
  1. เขเรือ
  2. หมาหยอกไก่
  3. ร้องไห้กับเดือน
  4. เด็กน้อย
  5. คนเช็ดเงา
  6. ชะตากรรม
  7. โมรา
  8. ฝุ่น (CHIRI CHIRI)
  9. คนเลว
  10. คืนใจ
  11. ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
  • กลับกลาย (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)
  1. ลืม
  2. ถนนแปลกแยก
  3. ตุ้งแกวด
  4. ก้าวย่าง-ทางเดิน
  5. หมาล่าเนื้อ
  6. กลับกลาย
  7. อาวรณ์
  8. แปรเปลี่ยน
  9. สำนึก
  10. ยุควิบัติ
  11. เทียมฟ้า
  • เพื่อนเพ (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543)
  1. แสงจันทร์
  2. สมิหลา-รูสมิแล
  3. พร้าว
  4. คืนมา (SEASON IN LOVE)
  5. เรือน้อย (ขับร้องโดย สุพัณณดา พลับทอง อดีตสมาชิกวงเดอะซิส)
  6. น้ำตา
  7. พี่ชาย(ที่แสนดี)
  8. นักดนตรี
  9. นกกรงหัวจุก
  10. ขอทานน้อย
  11. MUK
  • เปรือย (23 ธันวาคม พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546)
  1. ชบา
  2. ระบำชีวิต
  3. เรียนรู้
  4. มาลีฮวนน่าปาตี้
  5. สายน้ำ..สายเลือด
  6. ลัง
  7. ไกลบ้าน
  8. ละหมาดอารมณ์
  9. ธารหัวใจ
  10. ระยำชีวิต
  • ลมใต้ปีก (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) (อัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อ คฑาวุธ ทองไทย)
  1. ลัง
  2. จันทร์ฉาย
  3. ว่าวจุฬา
  4. วัยรุ่น
  5. สายน้ำ (KILLING FIELD)
  6. มุดก้อนเมฆ
  7. มายา
  8. กลัว
  9. สหายสุรา
  10. รอยทาง
  • บังใบ้ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
  1. ไอ้ใบ้
  2. อีสาระภา
  3. โจใจ
  4. แผลเมือง
  5. พี พี มายเดียร์
  6. บางเงา
  7. หนาวเล
  8. เสียสาว
  9. โปรดทิ้งฉันไว้ที่ปลายขอบฟ้า
  10. มองอย่างนก
  11. คนโซ
  12. ออกเล
  • ปรายแสด (19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  1. กระท่อมกัญชา (ต้นฉบับโดย คำรณ สัมบุญณานนท์)
  2. บัวทอง
  3. เพียงลมพัดผ่าน
  4. ยิ้มให้กับฝัน
  5. ช่วยจันทร์(ราหูอมจันทร์)
  6. ถนนชีวิต
  7. เพ้อรัก
  8. แดดสุดท้าย
  9. นกบินลัดฟ้า
  10. ในฝัน (ต้นฉบับโดย ทูล ทองใจ)
  • ลัง (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) (เป็นการนำอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" มาเปลี่ยนชื่อใหม่)[3]
  1. ลัง
  2. จันทร์ฉาย
  3. ว่าวจุฬา
  4. วัยรุ่น
  5. สายน้ำ (KILLING FIELD)
  6. มุด ก้อนเมฆ
  7. มายา
  8. กลัว
  9. สหายสุรา
  10. รอยทาง

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • ลู-กะ-นู - เสียงฝัน..ปลาสองน้ำ (2550)
  • รูปทรงแห่งสวรรค์ (2550)
  • รวมเพลงฮิต ติดเพลงดัง (มีนาคม 2560)
  • บันทึกความทรงจำ ดอกไม้ราตรี (1 มีนาคม 2562)

คอนเสิร์ต

แก้
  • คอนเสิร์ต ระบำสยาม (21 ธันวาคม พ.ศ. 2544)
  • คอนเสิร์ต รักษ์เขาหลวง (13 เมษายน พ.ศ. 2546)
  • คอนเสิร์ต พันธุ์เล-๑๐๐๐ โล..พรรลำ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 1 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 2 (11 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม พ.ศ. 2555)
  • ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.1" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
  • คอนเสิร์ต โอโซน ดอกไม้ดนตรี มาลีฮวนน่า (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 5 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 6 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
  • คอนเสิร์ต กองทุนพิทักษ์ป่าแก่งกระจาน (16 มกราคม พ.ศ. 2558)
  • ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.2" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
  • คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า แคมป์ไฟปีสุดท้าย (พ.ศ. 2559)
  • คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive กอดดินถิ่นพ่อ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
  • คอนเสิร์ด การกุศล มาลีฮวนน่า เพื่อมูลนิธิบัณฑิตอาสาสมัคร (13 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 8 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2560)
  • คอนเสิร์ต 50 ปี ม.อ. เพื่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ (11 มีนาคม พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (22 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive 4 ย้อนเงา สีสรร ตะลุงเท่ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ต เมื่อใจมันอ่อนล้า มาลีฮวนน่า คือคำตอบ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ต 26 ปี มาลีฮวนน่า เพื่อนกัญ ไว-ฉะ-กัญ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
  • คอนเสิร์ต สหายสุรา มาลีฮวนน่า (6 กันยายน พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต เพื่อวัดพระบาทน้ำพุ กับ อ.ไข่ ดอกไม้ดนตรี (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 9 (3 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต เปีดลานกลางแจ้งนั่งกองฟาง ลงมือทำคือคำตอบ (11 มีนาคม พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 10 (2 ธันวาคม พ.ศ. 2566)

ภาพยนตร์

แก้
  • มหาลัยวัวชน (พ.ศ. 2560) รับบท ไข่
  • คืนรัง (พ.ศ. 2562) รับบท ไข่

ซิงเกิล

แก้

เพลงพิเศษ

แก้
  • ชีวิตสัมพันธ์ - ใครรักป่า ยกมือขึ้น (2561)
  • จะอยู่กับเธอ (2564) - จัดทำขึ้นเพื่อสร้างกำลังใจให้คนไทยทุกคน ที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ก้าวผ่านในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ด้วยเนื้อหาที่พูดถึงช่วงเวลาที่ทุกคนท้อแท้ เหนื่อยล้า ยังคงมีใครคนหนึ่ง ที่พร้อมจะอยู่กับคุณเสมอ

อัลบั้มของอดีตสมาชิก

แก้
ธงชัย รักษ์รงค์
  • THC มาลีฮวนน่า
  • THC ธงชัย รักษ์รงค์ - Yan in Bangkok (เถื่อน กรุงเทพมหานคร)
  • Editor
สมพงษ์ ศิวิโรจน์
  • มาโนช พุฒตาล - บุตรของนายเฉลียงกับนางอำไพ & สมพงษ์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น (ร่วมกับ มาโนช พุฒตาล)
  • วิกฤติวัยกลางคน
  • พ.ประสบโชคดีจริง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "เผยอดีตคาใจบุปผาชนเกือบ 20 ปี! สาเหตุที่ "มาลีฮวนน่า" วงแตก "พระเอกลิเก" ตัวละครสำคัญ". mgronline.com. 2018-05-08.
  2. Annop (2004-08-03). "มาลีฮวนน่า วงแตก!!". annop.me.
  3. "เว็บไซต์ siamsouth.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.