คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร)
Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University | |
สถาปนา | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 |
---|---|
คณบดี | ศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง |
ที่อยู่ | คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
วารสาร | วารสารศิลป์ พีระศรี |
สี | สีหรดาล[1] |
มาสคอต | พระคเณศ |
เว็บไซต์ | www.finearts.su.ac.th |
ประวัติ
แก้คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีกำเนิดและประวัติความเป็นมาสรุปโดยย่อดังนี้
- พ.ศ. 2476 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการใน กรมศิลปากร จัดตั้งกองประณีตศิลปกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476 จุดเริ่มต้น "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร"
- พ.ศ. 2477 กองประณีตศิลปกรรมแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 แผนกคือ แผนกช่างและแผนกโรงเรียน คือโรงเรียนประณีตศิลปกรรม มีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการ จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกหัดอบรมวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและยุวชนไทยโดยมิได้เก็บค่าเล่าเรียน
- พ.ศ. 2480 โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"
- พ.ศ. 2481 นักเรียนจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจบการศึกษาเป็นรุ่นแรก และเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการสร้างอนุสาวรีย์สำคัญในเมืองไทย
- พ.ศ. 2486
- จัดการแสดงศิลปกรรมของนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณค่าของศิลปกรรม
- วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรแผนกช่างขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[2] โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม คณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2488 มหาวิทยาลัยศิลปากรผลิตอนุปริญญาศิลปบัณฑิตรุ่นแรก จำนวน 8 คน
- พ.ศ. 2497 คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ผลิตบัณฑิตสาขาประติมากรรมเป็นคนแรกจำนวน 1 คน
- พ.ศ. 2505
- ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมฯ ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
- พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นครั้งแรก พร้อมกันนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรมเป็นพระองค์แรก
- พ.ศ. 2509 คณะจิตรกรรมและประติมากรรมได้ขออนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติ จัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์ขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกทำปริญญาทางสาขาวิชาภาพพิมพ์ได้เช่นเดียวกับภาควิชาจิตรกรรมและภาควิชาประติมากรรม การจัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์มีผลต่อชื่อของคณะฯ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์"
- พ.ศ. 2511 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ได้ผลิตศิลปบัณฑิตทางภาพพิมพ์ขึ้นเป็นรุ่นแรก จำนวน 4 คน
- พ.ศ. 2514
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ รักษาการในตำแหน่งคณบดี ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2514
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
- มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โดยจัดให้มีการศึกษาภาคพื้นฐานขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทั่วไปในวิชาศิลปศาสตร์ อันจะทำให้เป็นบัณฑิตผู้รอบรู้ มีทัศนคติอันดีงาม รู้จักวินิจฉัย มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นทางนำคุณประโยชน์มาสู่สังคม และเพื่อให้ระบบการสอนแบบหน่วยกิตที่ได้มาตรฐานสากลคณะจิตรกรรมฯ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของคณะฯ ขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้สำเร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2517
- พ.ศ. 2517
- เปิดหลักสูตรใหม่เพื่อให้เข้าสู่ระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยสากล ศึกษาโดยใช้ระบบหน่วยกิตและมีการศึกษาวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทุกคณะวิชา
- คณะจิตรกรรมฯ ได้รับอนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปิดสอนระดับปริญญาโทเป็นปีแรก 3 สาขา คือ สาขาจิตรกรรม สาขาประติมากรรม และสาขาภาพพิมพ์ มีนักศึกษาจำนวน 4 คน
- คณะจิตรกรรมฯ เปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2517
- พ.ศ. 2518
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ลาออกจากตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ รับตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2519
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาศิลปไทย เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ในลักษณะไทยประเพณีและลักษณะไทยสร้างสรรค์ มีนักศึกษาจบการศึกษารุ่นแรก ใน พ.ศ. 2521 จำนวน 2 คน
- พ.ศ. 2520 คณะจิตรกรรมฯ จัดแสดงศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ ครั้งที่ 1 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ณ อาคารภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2523
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2527
- รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2529 คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างจำนวนหน่วยกิต นักศึกษาในระดับปริญญา เลือกศึกษาสาขาวิชาเอกและสาขาวิชาโทอย่างละหนึ่งสาขาวิชา มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงกลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไปใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา มีวิชาสังคมศาสตร์ วิชามนุษย์ศาสตร์ วิชาภาษา และวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- พ.ศ. 2530 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาทฤษฎีศิลป์ เพื่อรวบรวมรายวิชาทฤษฎีศิลป์เข้าไว้ด้วยกัน และเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิชาการและการวิจารณ์ศิลปะ
- พ.ศ. 2531
- อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- คณะจิตรกรรมฯ จัดตั้งหอศิลป์ของคณะจิตรกรรมฯ ขึ้น และเปิดการแสดงศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 โดยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการแสดงผลงานของคณาจารย์ และนักศึกษาของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่มีผลงานได้มาตรฐาน
- คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย
- พ.ศ. 2534
- รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
- อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2535 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนิทรรศการศิลปกรรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และทรงเขียนภาพพระราชทาน ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535
- พ.ศ. 2536 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโอกาสนี้คณะจิตรกรรมฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ 10 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษจำนวน 50 ท่าน ได้ร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ 50 ปี คณะจิตรกรรมฯ สร้างอุทิศแก่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เป็นบิดาของศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย ชื่อผลงานคือ 50 ปี : 50 จินตภาพ ติดตั้งถาวรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
- พ.ศ. 2538
- อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2539 คณะจิตรกรรมฯ จัดพิมพ์หนังสือ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1–8" และ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9" เนื่องในปีมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- พ.ศ. 2542
- อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- คณะจิตรกรรมฯ จัดโครงการ "ทัศนศิลป์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ" ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า
- คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 100 ปี ในการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มอบแก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 34 แห่ง
- พ.ศ. 2543 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 17 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมชื่อ "กำแพงแห่งศรัทธา" เป็นผลงานชิ้นใหญ่ติดตั้งถาวรที่ ธนาคารกสิกรไทย รายได้จากการจำหน่ายผลงานชุดกำแพงศรัทธา นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
- พ.ศ. 2544
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2544
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระสหาย จัดแสดงผลงานศิลปกรรม "11 Calamity" ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะจิตรกรรมฯ ได้รับอนุมัติจาก ทบวงมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการแยกสอบวิชาเฉพาะ ใน การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นไป
- พ.ศ. 2545 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 19 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานชื่อ "ศิลปกรรมดินเผา 60 ปี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" ติดตั้งผลงานที่ด้านหน้าตึกคณะจิตรกรรม 1 เนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีอายุครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2546
- พ.ศ. 2546
- คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี จัดนิทรรศการโครงการมหกรรมศิลปกรรม นักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี และในปีการศึกษา 2546 คณะฯ ได้ดำเนินการตัดโครงการเนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี ทั้งหมด 6 โครงการคือ
- โครงการมหกรรมศิลปกรรมของนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- โครงการนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- โครงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมระหว่างชาติ
- โครงการนิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวาระครบ 60 ปี "ศิลปกรรมสุวรรณภูมิ"
- โครงการผลิตตำรา–วารสาร–บทความทางวิชาการศิลปะ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- โครงการศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 20
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี จัดนิทรรศการโครงการมหกรรมศิลปกรรม นักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี และในปีการศึกษา 2546 คณะฯ ได้ดำเนินการตัดโครงการเนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี ทั้งหมด 6 โครงการคือ
- พ.ศ. 2547
- ศาสตราจารย์ธนะ เลาหกัยกุล ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
- อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- พ.ศ. 2548 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ เกียรตินิยมอันดับ 2 ในปีการศึกษา 2548
- พ.ศ. 2549 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ รับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ครั้งแรกในภาคการศึกษา 2/2549
- พ.ศ. 2550 คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย และเริ่มใช้ในภาคการศึกษา 1/2551
- พ.ศ. 2551
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมฯ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย ในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย (ฉบับปรับปรุง 2550) ในแผน ก แบบ ก1
- คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 เป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ และเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในภาคการศึกษา 1/2551
- คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ จัดตั้งหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาวิชาประติมากรรม สาขาวิชาภาพพิมพ์ สาขาวิชาศิลปไทย เป็นหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2552
- อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- พ.ศ. 2556
- รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
- พ.ศ. 2560
- อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
- รองศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
- ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ประจำปีการศึกษา 2560[3]
- การจัดแสดง นิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 34 ภายใต้หัวข้อ "ส่งเสด็จ"
หน่วยงาน
แก้- สำนักงานคณบดี
- ภาควิชาจิตรกรรม
- ภาควิชาประติมากรรม
- ภาควิชาภาพพิมพ์
- ภาควิชาศิลปไทย
- ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
หลักสูตร
แก้
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) 5 ปี
|
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี
แก้รายนามคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ | ||
---|---|---|
ลำดับ | คณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี | พ.ศ. 2486 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501 1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505[4] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ | รักษาราชการแทนคณบดี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2514 | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ | รักษาราชการแทนคณบดี 15 มีนาคม พ.ศ. 2514 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[5] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ | รักษาราชการแทนคณบดี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ | 13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 12 เมษายน พ.ศ. 2527[6] รักษาราชการแทนคณบดี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534[7] | |
อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน | 13 เมษายน พ.ศ. 2527 – 12 เมษายน พ.ศ. 2531[8] 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542[9] | |
รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ | 13 เมษายน พ.ศ. 2531 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (ลาออก)[10] รักษาราชการแทนคณบดี 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[11] | |
อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2538[12] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2546[13] | |
ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2548[14] | |
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย ชินะตังกูร | รักษาราชการแทนคณบดี 20 มีนาคม พ.ศ. 2548[15] | |
อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[16] | |
รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[17] | |
อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[18] | |
รองศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน[19] |
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
เกร็ด
แก้- คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย
- คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เดิมใช้ชื่อคณะว่า "คณะจิตรกรรมและประติมากรรม"
อ้างอิง
แก้- ↑ สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
- ↑ ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 71/2514 ลงวันที่ 14 เมษายน 2514
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 485/2534 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2534
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 263/2527 ลงวันที่ 5 เมษายน 2527
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 721/2538 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2538
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 271/2531 ลงวันที่ 14 เมษายน 2531
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 400/2548 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 710/2534 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2534
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 635/2542 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2542
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 819/2546 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2546
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 360/2548 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 745/2548 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 376/2552 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2552
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 740/2556 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2556
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1012/2560 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2560