ของขวัญดัตช์ ของปี ค.ศ. 1660[1] (อังกฤษ: Dutch Gift) คือภาพเขียนจำนวน 28 ภาพที่ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี, ประติมากรรมคลาสสิก 12 ชิ้น และเรือยอชต์หลวง “แมรี” (HMY Mary) และเฟอร์นิเจอร์ที่รัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ถวายให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1660[2] เนื่องในโอกาสที่ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์ ก่อนหน้าที่จะเสด็จกลับอังกฤษไปขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ประทับลี้ภัยอยู่ในสาธารณรัฐดัตช์เป็นเวลาหลายปี ระหว่างที่อังกฤษตกอยู่ในสมัยที่เรียกว่า “สมัยไร้กษัตริย์” ที่ปกครองภายใต้ระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ วัตถุประสงค์ของการถวายของขวัญเหล่านี้ก็เพื่อเป็นการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างอังกฤษและสาธารณรัฐดัตช์ แต่เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้นสองชาติก็เข้าสู่สงครามกันอีกครั้งหนึ่งในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1665-ค.ศ. 1667

“ภาพเหมือนของจาโคโป ซานนาซาโร” โดย ทิเชียน, ราว ค.ศ. 1514-ค.ศ. 1518

ภาพเขียนส่วนใหญ่และประติกรรมทั้งหมดมาจากงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ ซึ่งเป็นงานสะสมงานศิลปะอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่สำคัญที่สุดของดัตช์ ที่สะสมโดยพ่อค้าชาวดัตช์ยาน เรย์นสท์ (Jan Reynst) และเพิ่มเติมต่อมาโดยพี่ชายเกอร์ริท เรย์นสท์ (Jan Reynst)[3] งานศิลปะที่ถวายเป็นงานที่สะท้อนถึงพระราชนิยมทางศิลปะของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ที่ทรงมีร่วมกับพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้ทรงมีงานสะสมที่เป็นเยี่ยมที่สุดงานหนึ่งในยุโรป แต่มาถูกขายไปในต่างประเทศหลังจากที่ทรงถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1649[4] ในด้านการสะสมศิลปะ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ไม่ทรงมีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหางานสำหรับการสะสมเท่ากับพระราชบิดา แต่ทรงมีความซาบซึ่งในคุณค่าของงานศิลปะ และต่อมาก็ทรงสามารถเสาะหางานต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนสงครามกลางเมืองที่ยังคงอยู่ในอังกฤษกลับมาได้หลายชิ้น และได้ทรงซื้องานเขียนของจิตรกรรมชั้นครูสำคัญๆ เพิ่มเติมอีกหลายชิ้นด้วย[5]

หลายสิบปีต่อมา สถานะการณ์ก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อภาพเขียน 36 ภาพจากงานสะสมศิลปะหลวง รวมทั้งภาพหนึ่งจากชุดของขวัญดัตช์ที่ได้รับมาในปี ค.ศ. 1660 ถูกนำกลับไปเนเธอร์แลนด์โดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ไปเก็บไว้ยังพระราชวังเฮ็ทลู (Het Loo) ของพระองค์ ผู้ครองราชบัลลังก์อังกฤษต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ทรงพยายามเรียกร้องให้เนเธอร์แลนด์คืนภาพเหล่านี้หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมในปี ค.ศ. 1702 แต่ปราศจากความสำเร็จ งานสะสมจึงยังคงเป็นงานสะสมของสาธารณชนดัตช์[6] ภาพเขียน 14 ภาพที่ได้รับมาในปี ค.ศ. 1660 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวง ส่วนภาพอื่นๆ ก็กระจัดกระจายไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมต่างๆ ทั่วโลก

ของขวัญ แก้

ภาพเขียนอิตาลี 24 ภาพ และประติมากรรมอีก 12 ชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ ที่สะสมโดยพี่น้องยาน เรย์นสท์และเกอร์ริท เรย์นสท์ ผู้ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เวนิสอยู่หลายปี งานหลายชิ้นมาจากงานสะสมของตระกูลเวนดรามิน (Vendramin) แต่ก็มีที่เป็นงานที่ซื้อมาต่างหาก[7] หลังจากเกอร์ริท เรย์นสท์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 แม่หม้ายก็ขายงานชั้นดีบางชิ้นให้กับรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1660 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 80,000 กิลเดอร์ดัตช์

ในปี ค.ศ. 1660 งานศิลปะกลุ่มนี้และงานประติมากรรมโรมันอีก 12 ชิ้นก็ได้รับการถวายให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พร้อมกับงานเขียนอีกสี่ชิ้นที่ไม่ใช่งานเขียนของจิตรกรอิตาลี ผู้จัดการเรื่องของขวัญคือกลุ่มผู้ว่าราชการสาธารณรัฐดัตช์ (Regenten) โดยเฉพาะคอร์เนลิส เดอ เกรฟฟ์ (Cornelis de Graeff) ผู้มีอิทธิพลและน้องชายอันดรีส เดอ เกรฟฟ์ (Andries de Graeff) งานประติมากรรมเลือกโดยประติมากรคนสำคัญของดัตช์สองคน อาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) และ เกอร์ริท ฟาน อุยเลนเบอร์ห (Gerrit van Uylenburgh) ลูกชายของผู้แทนขายงานศิลปะของแรมบรังด์--เฮ็นดริค ฟาน อุยเลนเบอร์ห (Hendrick van Uylenburgh) ที่แนะนำรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ในการทำการซื้อ แต่ต่อมาเกอร์ริทก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องหนีไปอังกฤษไปมีตำแหน่งเป็น "พนักงานดูแลรักษางานสะสมศิลปะหลวง" (Surveyor of the King's Pictures) ให้แก่ให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1676 จนกระทั่งเสียชีวิตสามปีต่อมา[8] ของขวัญนี้เป็นที่คัดค้านกันในบรรดาประชาชนชาวดัตช์ และเป็นข้อบาดหมางข้อหนึ่งระหว่างฝักฝ่ายการเมืองต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์[9]

จิตรกรรมอิตาลี แก้

จิตรกรรมอิตาลีสำคัญทั้ง 14 ชิ้นเดิมเป็นของงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวง[10] รวมทั้ง:[11]

  • “ภาพเหมือนของจาโคโป ซานนาซาโร” โดย ทิเชียน, ราว ค.ศ. 1514-ค.ศ. 1518, และ “เวอร์จินแมรีและพระบุตรในภูมิทัศน์ กับโทไบอัสและเทวดา” (ร่วมกับห้องภาพ, ราว ค.ศ. 1535-ค.ศ. 1540)[12]
  • “ภาพเหมือนของอันเดรีย โอโดนิ” (ค.ศ. 1527) และ “ภาพเหมือนของชายมีหนวด” (ราว ค.ศ. 1512-ค.ศ. 1515) โดย ลอเร็นโซ ล็อตโต
  • “การตัดสินของไมดาส” (Judgement of Midas) โดย อันเดรอา เชียโวเน (Andrea Schiavone) ราว ค.ศ. 1548-ค.ศ. 1550 และ “พระเยซูต่อหน้าไพเลท”
  • “ภาพเหมือนของมาเกอรีตา พาเลาโลกา” (Portrait of Margherita Palaeologa) โดย จูลีโอ โรมาโน ราว ค.ศ. 1531[13]
  • “พาลลัส อธีเน” (Pallas Athene) โดย พามิจานิโน (Parmigianino), ราว ค.ศ. 1531-ค.ศ. 1538
  • “การแต่งงานของนักบุญแคทเธอริน” โดย เพาโล เวโรเนเซ, ราว ค.ศ. 1562-1569
  • “วงดนตรี” (The Concert) ระบุว่าเขียนโดยวิททอเร เบลลินิอาโน (Vittore Belliniano), ราว ค.ศ. 1505-ค.ศ. 1515 (ต่อมาระบุว่าเขียนโดยจอร์โจเน[14])
  • “วีนัสนอน” (Reclining Venus) โดย จิโอวานนี คาริอานี (Giovanni Cariani), ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่สืบได้ว่ามาจากงานสะสมเวนดรามิน[15]

งานสะสมศิลปะเรย์นสท์รวมทั้งภาพ “Genius of Painting” ที่เดิมระบุว่าเขียนโดยจุยโด เรนิ (Guido Reni) ชิ้นที่เก่ากว่ายังคงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงที่อยู่ในรายการบันทึกสำรวจทรัพย์สินของปี ค.ศ. 1688 ของพระราชวังไวท์ฮอลล์ ที่ได้รับการระบุว่าเขียนโดยจุยโด เรนิ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “เขียนแบบเรนิ”[16] แต่ภาพนี้และงานต้นฉบับไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญหรือไม่ แต่ภาพใดภาพหนึ่งในสองภาพเป็น

ภาพเขียนที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงแล้วก็ได้แก่ภาพ “Semiramis Receiving Word of the Revolt of Babylon” (ค.ศ. 1624) โดย เกอร์ชิโน (Guercino)[17] ที่ปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, บอสตัน ภาพนี้เป็ภาพที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์พระราชทานแก่เจ้าจอมบาร์บารา วิลเลียรส์ หรือแก่ ชาร์ลส์ ฟิทซ์รอย ดยุคแห่งคลีฟแลนด์ที่ 2 พระโอรสกับบาร์บารา, “พระเยซูแบกกางเขน” โดย จาโคโป บาซซาโนที่ปัจจุบันเป็นของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนที่ตกไปเป็นของสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน[18] หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสวรรคต

งานเขียนเกี่ยวกับคริสต์ศาสนานอกไปจากงานของบาซซาโนที่ที่อยู่ในรายการบันทึกสำรวจทรัพย์สินของปี ค.ศ. 1688/1689 ของที่ประทับในสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน ภาพหนึ่ง “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” เชื่อกันว่าเป็นภาพที่เขียนโดยราฟาเอล และภาพหมู่ “พระมหาไถ่พระบาทบนเบาะ กับพระแม่มารี นักบุญจอห์น และนักบุญเอลิซาเบธ” แต่อาจจะเป็นภาพที่ทรงนำติดพระองค์กลับไปโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1692 ก็เป็นได้[19]

งานอื่นๆ แก้

งานสี่ชิ้นที่มิได้เขียนโดยจิตรกรอิตาลี สองชิ้นเป็นงานเขียนโดยเกอร์ริท ดู,[20] “แม่สาว” (The Young Mother) (ค.ศ. 1658) เพิ่งเขียนได้เพียงสองปีก่อนหน้านั้น ผู้ว่าราชการของเมืองไลเดนอาจจะเลือกภาพนี้เพื่อเสริมชื่อเรือยอชต์หลวง “แมรี” เพื่อเป็นนัยให้สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงลืมที่จะดูแลผลประโยชน์ของราชวงศ์ออเรนจ์ในเนเธอร์แลนด์ ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในปี ค.ศ. 1650 เมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์ เจ้าฟ้าหญิงแมรีพระปิตุจฉาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ทรงอยู่ในภาวะคับขันทางการเมือง เมื่อทรงเป็นผู้ดูแลพระโอรสเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 แห่งออเรนจ์[21] ภาพนี้ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ทรงนำกลับไปเนเธอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันอยู่ที่ Mauritshuisในกรุงเฮก[22]

ภาพที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก “เยาะเซเรส” (The Mocking of Ceres, ราว ค.ศ. 1605) โดยจิตรกรเยอรมันอาดัม เอลสไฮเมอร์ที่เดิมเชื่อกันว่าเป็นงานก๊อปปี แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นงานต้นฉบับ ที่ปรากฏขึ้นในวงการตลาดศิลปะในคริสต์ทศวรรษ 1970 ปัจจุบันเป็นงานสะสมส่วนบุคคลที่มิลวอกี งานเขียนทราบว่ามีได้จากหลักฐานของภาพก๊อปปีที่ปราโด และงานแกะพิมพ์ และภาพนี้ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2[23] ความเสียหายของภาพเกิดขึ้นจากเพลิงไหม้ ที่อาจจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1698 เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระราชวังไวท์ฮอลล์ และงานศิลปะเป็นจำนวนพอสมควรของงานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษสูญเสียไปกับเพลิงไหม้ ที่อาจจะรวมทั้งงานประติมากรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของของขวัญดัตช์ของปี ค.ศ. 1660 ซึ่งยังคงอยู่เหลืออยู่เพียงชิ้นหนึ่งในอังกฤษ[24]

งานอีกสี่ชิ้นที่มิได้เขียนโดยจิตรกรอิตาลีเป็นงานเขียนของเปียเตอร์ ยานสซ์ แซนเรอดัม (Pieter Jansz Saenredam) ที่เพิ่งเขียนในปี ค.ศ. 1648) ที่เป็นภาพขนาดใหญ่กว่าปกติของ “Groote Kerk” ในฮาร์เล็ม[25] ที่อาจจะเป็นภาพที่เป็นนัยยะที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ทรงรำลึกถึงบรรยากาศของเนเธอร์แลนด์ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมอาจจะพระราชทานให้แก่วิลเลียม ฟาน ฮุลส์พนักงานพระภูษามาลาคนหนึ่งของพระองค์ เพราะอยู่ในบรรดาภาพที่ฟาน ฮุลส์ขาย ปัจจุบันภาพนี้เป็นของหอศิลป์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์[26]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Previous diplomatic "Dutch Gifts" had been presented to Henry, Prince of Wales in 1610 (J. G. van Gelder, "Notes on the Royal Collection — IV: The 'Dutch Gift' of 1610 to Henry, Prince of 'Whalis', and Some Other Presents", The Burlington Magazine 105 No. 729 [December 1963:541-545]) and to Charles I in 1636, which had included six horses and a state carriage, four paintings, a fine watch, a chest veneered with mother-of-pearl and a precious lump of ambergris (J. G. van Gelder, "Notes on the Royal Collection — III: The 'Dutch Gift' to Charles I", The Burlington Magazine 104 [1962:291-94]). ).
  2. Whittaker and Clayton: pp. 31-2 for the art, Gleissner for the furniture and yacht. The yacht was the gift of the Dutch East India Company, according to Liverpool Museums (with model), or the City of Amsterdam according to other sources.
  3. Emil Jacobs, "Das Museo Vendramin under die Sammlung Reynst", Repertorium für Kunstwissenschaft, 46 (1925:15-38), noted in Denis Mahon I p. 303 note 1. Mahon notes that the Reynst collection was as well known for its antiquities as for its paintings (Mahon p 304 note 14). See also Halbertsma on the sculpture, and Logan on the collection as a whole.
  4. The tradition that many of the paintings had previously been in Charles I's collection, disseminated by George Vertue in the eighteenth century and often repeated was laid to rest by Denis Mahon 1949 — see Mahon I.
  5. Lloyd, Christopher, The Queen's Pictures, Royal Collectors through the centuries, (National Gallery Publications) 1991, p. 75 ISBN 0947645896
  6. Lloyd, p.75
  7. Mahon I, p.303
  8. Church Times, 11 August 2006
  9. Broekman and Helmers
  10. Mahon III, 12. Not all the paintings were included in the engravings of the Reynst collection, and some of these provenances remain highly probable rather than certain.
  11. Whitaker and Clayton: pp. 31-2 describe the gift in general, and the individual paintings listed immediately below all have full catalogue entries, except the Schiavone Christ before Pilate and the Cariani, which are not covered by Whitaker and Clayton.
  12. Charles' favourite, according to the Dutch ambassadors sent with the gift. See Whitaker and Clayton, pp. 194-7, who justify the atrtribution to Titian, sometimes questioned in the past.
  13. Catalogued in 1666-7 as a Raphael. Whitaker & Clayton, 136.
  14. Penny, 471
  15. Grove Art
  16. Levey, 93 (nos 582, 583), also pp. 19, 39
  17. "Boston MFA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
  18. Say Whitaker and Clayton, p. 41, n 113. National Gallery. See Penny 13-14 for more detail on the tangled status of the paintings in Catherine's "custody".
  19. Penny, 13-14
  20. "Thesis by Denise Giannino, p.14, n. 37" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  21. Greg Beaman, Nature, Nurture, Mythology. http://etd.lsu.edu/docs/available/etd-11152007-221012/unrestricted/Beaman_thesis.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p.41
  22. "Maurithuis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
  23. Klessmann, pp. 138-145, 198, 205 (the last two on the provenance, on which the authors seem not wholly in accord)
  24. Halbertsma, 10, note 12
  25. Identified by Ellis Waterhouse and published in a note in The Burlington Magazine 92 No. 569 (August 1950:238) by Denis Mahon.
  26. Penny, 471

บรรณานุกรมและอ่านเพิ่มเติม แก้

  • Lucy Whitaker, Martin Clayton, The Art of Italy in the Royal Collection; Renaissance and Baroque, Royal Collection Publications, 2007, ISBN 978 1 902163 291
  • Gleissner, Stephen, Reassembling a royal art collection for the restored King of Great Britain, Journal of the History of Collections 1994 6(1):103-115
  • Halbertsma, R. B. (2003), Scholars, Travellers, and Trade: The Pioneer Years of the National Museum of Antiquities in Leiden, 1818-1840, Routledge, p. 9-10
  • Inge Broekman, Helmer Helmers, ‘Het hart des offraers’ – The Dutch Gift as an act of self-representation, Dutch Crossing: A Journal in Low Countries Studies, Vol. 31, No. 2 (Winter 2007)
  • Rüdiger Klessmann and others, Adam Elsheimer 1578-1610, 2006, Paul Holberton Publishing/National Galleries of Scotland; ISBN 1 903278 783
  • Michael Levey, Pictures in the Royal Collection, The Later Italian Pictures, 1964, Phaidon Press, London
  • Logan, Anne-Marie S. , "The 'Cabinet' of the Brothers Gerard and Jan Reynst" (Amsterdam, 1979).
  • Denis Mahon, Notes on the 'Dutch Gift' to Charles II:, The Burlington Magazine, Vol. 91, Part I in: No. 560 (Nov., 1949), pp. 303-305, Part II in No. 561 (Dec., 1949), pp. 349-350, Part III No. 562 (Jan., 1950), pp. 12-18. (All on JSTOR: Pt I, Pt II, Pt III and a letter.)
  • Notes on the Royal Collection, 3 : The 'Dutch gift' to Charles I / Bruyn, J.; Millar, Oliver, Sir, 1923-. 1962
  • Penny, Nicholas, National Gallery Catalogues (new series): The Sixteenth Century Italian Paintings, Volume II, Venice 1540-1600, 2008, National Gallery Publications Ltd, ISBN 1857099133
  • Thiel, P. J. J. Van, Het Nederlandse geschenk (Dutch gift) aan Koning Karel II van Engeland 1660, Amsterdam, Rijksmuseum, 1965

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้