พระราชวังไวต์ฮอล

(เปลี่ยนทางจาก พระราชวังไวท์ฮอลล์)

พระราชวังไวต์ฮอล (อังกฤษ: Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530-1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ใน ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม้ พระราชวังไวต์ฮอลเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง

พระราชวังไวต์ฮอล
พระราชวังไวต์ฮอลโดยเฮ็นดริค ดังเคิร์ตส (Hendrick Danckerts) ประมาณ ค.ศ. 1675[1] มองจากทางตะวันตก ตึกองค์รักษ์ม้าอยู่ทางซ้ายสุดโดยมีห้องเลี้ยงรับรองอยู่ข้างหลัง สิ่งก่อสร้างสี่หอเป็นบ้านยามที่มีชื่อว่า "Holbein Gate"[2]
ที่ตั้งนครเวสต์มินสเตอร์ มิดเดิลเซ็กส์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
พิกัด51°30′16″N 00°07′32″W / 51.50444°N 0.12556°W / 51.50444; -0.12556
สร้างเมื่อประมาณ ค.ศ. 1240, คริสต์ศตวรรษที่ 15–17
รื้อถอนค.ศ. 1698 (เนื่องจากไฟไหม้)
พระราชวังไวต์ฮอลตั้งอยู่ในใจกลางลอนดอน
พระราชวังไวต์ฮอล
ที่ตั้งของพระราชวังไวต์ฮอลในลอนดอนกลาง

ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่าง ๆ ของรัฐบาลอังกฤษ

ที่ตั้ง

แก้

เมื่อพระราชวังมีเนื้อที่เต็มที่ ตัวพระราชวังทางเหนือติดถนนนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ ทางด้านใต้ติดถนนดาวนิงและดาร์บีเกท ทางตะวันตกอยู่หน้าถนนฮอร์สการ์ด และทางตะวันออกติดแม่น้ำเทมส์โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 23 เอเคอร์ (9.3 เฮ็คตาร์)

ประวัติ

แก้

ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 13 พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ก็กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลของอังกฤษ และเป็นที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1049 บริเวณนั้นจึงเป็นที่นิยมและราคาสูง วอลเตอร์ เดอ เกรย์ (Walter de Grey) อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กซื้อที่ดินในบริเวณนั้นไม่นานหลังปี ค.ศ. 1240 และเรียกว่า “ยอร์กเพลซ” (York Place)

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ประทับที่นี่ในหลายโอกาสขณะที่มีการก่อสร้างที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ และต้องขยายเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับผู้ติดตามของพระองค์ ยอร์กเพลซได้รับการสร้างใหม่และขยายอย่างใหญ่โตในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยพระคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) จนมีเพียงแต่วังแลมเบ็ธ (Lambeth Palace) เท่านั้นที่ใหญ่กว่ารวมทั้งพระราชฐานของพระเจ้าแผ่นดินด้วย หลังจากพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ปลดคาร์ดินัลโวลซีย์จากอำนาจในปี ค.ศ. 1530 ออกจากตำแหน่งพระองค์ก็ทรงยึดยอร์กเพลซเพื่อใช้แทนพระราชวังเวสต์มินสเตอร์เป็นที่ประทับในลอนดอน พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงสำรวจอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมากับคู่หมั้นเลดีแอนน์ โบลีน

 
ผังพระราชวังไวต์ฮอลในปี ค.ศ. 1680.
 
ส่วนหนึ่งของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเขียนโดยคริสโตเฟอร์ เร็น ในปี ค.ศ. 1698 แต่ก็ไม่ได้สร้างใหม่

ต่อมาพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงออกแบบยอร์กเพลซใหม่ และทรงขยายและสร้างใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ตามแบบพระราชวังริชมอนด์ นอกจากนั้นก็ยังทรงสร้างสนามโบว์ลิงกลางแจ้ง, คอร์ตเทนนิสต้นตำรับ (Real tennis) ในร่ม, เล้าสำหรับตีไก่ และลานในการประลองทวนบนหลังม้า (jousting) ประมาณกันว่าทรงใช้เงินจำนวนกว่า £30,000 (ประมาณ £11 ล้านในปี ค.ศ. 2007)[3] ในคริสต์ทศวรรษ 1540 กว่า 50% ของเงินที่ใช้สร้างวังบริดเวลล์ (Bridewell Palace) ทั้งหมด พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงเสกสมรสที่พระราชวังไวต์ฮอลสองครั้งๆ แรกกับแอนน์ โบลีน ในปี ค.ศ. 1533 และครั้งที่สองกับเจน เซมัวร์ ในปี ค.ศ. 1536 และเป็นที่เสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1547 ใน ค.ศ. 1611 เป็นที่แสดงละครที่เขียนโดยวิลเลียม เชกสเปียร์ “The Tempest” เป็นครั้งแรก

พระเจ้าเจมส์ที่ 1ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชวังไวต์ฮอลครั้งใหญ่โดยการมีพระราชโองการให้สร้างตึกเลี้ยงรับรอง โดยอินิโก โจนส์ ในปี ค.ศ. 1622 เพื่อใช้แทนตึกเลี้ยงรับรองอื่นๆ ที่สร้างมาตั้งแต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 การตกแต่งเสร็จในปี ค.ศ. 1634 โดยมีเพดานที่เขียนโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ที่จ้างโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ผู้ทรงถูกปลงพระชนม์หน้าพระราชวังใน ค.ศ. 1649) ภายในปี ค.ศ. 1650 พระราชวังไวต์ฮอลก็กลายเป็นสิ่งก่อสร้างหมู่ที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างทางศาสนาใหญ่ที่สุดในอังกฤษโดยมีห้องทั้งหมดกว่ากว่า 1,500 ห้อง ผังของพระราชวังซับซ้อนมากและเป็นสถาปัตยกรรมจากหลายสมัยจึงทำให้ดูเหมือนเป็นเมืองเล็ก ๆ มากกว่าที่จะเป็นสิ่งก่อสร้างเดียว

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่ไม่มากนักโดยคริสโตเฟอร์ เร็น รวมทั้งชาเปลใหม่ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1687 สร้างที่ประทับของพระราชินีใหม่ (ค.ศ. 1688?) และที่ประทับส่วนพระองค์ของพระราชินี (ค.ศ. 1689)

ปัญหา

แก้

ในปี ค.ศ. 1691 เมื่อเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดในยุโรป—และสิ่งก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ—ที่เมื่อเกิดไฟไหม้ก็เป็นการทำลายโครงสร้างส่วนใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเดิม เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1698 ก็เกิดไฟไหม้ขึ้นอีกครั้งๆ นี้ทำลายที่อยู่อาศัยและที่ทำการของรัฐบาลส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีการสร้างใหม่แต่ก็เป็นไปอย่างจำกัดเพราะขาดงบประมาณ ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 บริเวณส่วนใหญ่ก็ให้เช่าเพื่อสร้างทาวน์เฮาส์

ระหว่างที่เกิดไฟไหม้พระราชวังไวต์ฮอลก็สูญเสียงานศิลปะชั้นเอกไปมากมายที่อาจจะรวมทั้งงานประติมากรรม “Cupid” มีเกลันเจโล ที่ซื้อจากงานสะสมของตระกูลกอนซากา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ปัจจุบัน

แก้

ในปัจจุบันตึกเลี้ยงรับรองเป็นส่วนสำคัญของพระราชวังไวต์ฮอลที่ยังเหลืออยู่แม้ว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงบ้าง ส่วนต่างๆ ที่ยังคงอยู่รวมไปกับสิ่งก่อสร้างใหม่อื่น ๆ ในตึกชุดของสำนักงานรัฐบาล ที่รวมทั้งหอและส่วนอื่น ๆ ของคอร์ตเทนนิสในร่มจากสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8[4]

เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1938 ด้านตะวันออกสร้างใหม่เป็นสำหรับเป็นสำนักงานของกระทรวงกลาโหม ห้องใต้ดินจากพระคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า “ห้องเก็บไวน์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8” เป็นงานชิ้นสำคัญของสถาปัตยกรรมเพดานโค้งที่ทำด้วยอิฐจากสมัยทิวดอร์ที่ยาว 70 ฟุตและกว้าง 30 ฟุต พบว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ แต่ในปี ค.ศ. 1938 สมเด็จพระราชินีแมรีทรงขอให้รักษาห้องใต้ดินไว้ ห้องนี้จึงถูกบรรจุไว้ในคอนกรีตและย้ายไปจากที่เดิม 9 ฟุตทางตะวันตกและลึก 19 ฟุตในปี ค.ศ. 1949 หลังจากการก่อสร้างเริ่มขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบันห้องนี้ก็อยู่ในใต้ถุนตึกใหม่

งานประติมากรรมหินอ่อนจากโบสถ์น้อยเดิมในพระราชวังไวต์ฮอล ที่สร้างโดยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ในปัจจุบันอยู่ที่โบสถ์ที่เบอร์แนมออนซีในซอมเมอร์เซ็ท ที่ย้ายไปจากเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในปี ค.ศ. 1820

อ้างอิง

แก้
  1. "Hendrick Danckerts". Government Art Collection. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 January 2010.
  2. The buildings are identified in a pictorial map of 1682 by William Morgan. Reproduced in Barker, Felix; Jackson, Peter (1990). The History of London in Maps. London: Barrie and Jenkins. pp. 42–43. ISBN 0-7126-3650-1.; the so-called "Holbein Gate" as it was known in the 18th century, though any connection with Hans Holbein was fanciful (John Summerson, Architecture in Britain 1530–1830, 9th ed. 1993: 32) survived the fire and was demolished in 1769.
  3. "Measuring Worth calculator". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2009-03-07.
  4. Duncan, Andrew (2006). "Cabinet Office". Secret London (5 ed.). London: New Holland. p. 111. ISBN 978-1-84537-305-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้