อำเภอนาคู

อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก กิ่งอำเภอนาคู)

นาคู เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์

อำเภอนาคู
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Khu
คำขวัญ: 
น้ำตกผานางคอย รอยเท้าไดโนเสาร์ แหล่งเก่าสลักหิน สนามบินเสรีไทย ก้าวไกลการศึกษา ล้ำค่าวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอนาคู
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอนาคู
พิกัด: 16°46′48″N 104°1′54″E / 16.78000°N 104.03167°E / 16.78000; 104.03167
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด203.092 ตร.กม. (78.414 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด30,990 คน
 • ความหนาแน่น152.59 คน/ตร.กม. (395.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46250
รหัสภูมิศาสตร์4616
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาคู หมู่ที่ 11 ถนนนาคู-บ้านชาด ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 46250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอนาคูตั้งอยู่บริเวณทิวเขาภูพาน ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ แก้

ประมาณ พ.ศ.2324 ชาวเมืองเซโปน จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอพยพมาครั้งแรกประมาณ 20 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำห้วยขามตอนใต้ ระหว่างบ้านโพนสวางกับบ้านโนนศาลา ปัจจุบันนี้ให้ชื่อว่าบ้านท่าไม่

ประมาณปี พ.ศ.2338 ได้ย้ายบ้านเรือนมาตั้งอยู่เชิงเขาภูแดนช้าง บ้านเถียงนาชุม เชิงเขาแห่งนี้เป็นแดนหากินของช้างป่าอยู่ก่อน ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีลำน้ำห้วยขาม และห้วยโป่งห่างหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านหนองขามเฒ่า และลำห้วยพะยังห่างหมู่บ้าน ประมาณ 2 กิโลเมตร ตอนใต้ลงไปอีกมีห้วยแสง ห้วยน้ำปุ้น ห่างหมู่บ้าน 3 กิโลเมตร เป็นทำเลทำการเกษตรอย่างดี จึงตั้งชื่อว่าบ้านนาคลอง

สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีโคตรหลักคำ และพรหมดวงสี ท้าวเพียเมืองวังไม่พอใจจำราชการกับเมืองวัง จึงอพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งตะวันตก พักอยู่เชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตก ขณะนั้นมีหมู่บ้านเป็นหลักอยู่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านนาขาม บ้านนาคู และบ้านนาคลอง ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ครองราชย์สมบัติเมืองเวียงจันทร์ เป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ จึงนำท้าวเพียทั้ง 2 ลงไปเฝ้าสวามิภักดิ์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอตั้งเป็นเมืองภูแดนช้าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมือง ภูแล่นช้าง

ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าเมืองภูแล่นช้างกับเมืองกุดสิมนารายณ์ มีอาณาเขตคับแคบและตั้งอยู่ใกล้กัน จึงได้ยุบเมืองภูแล่นช้างให้ไปตั้งเป็นเมืองใหม่ที่อำเภอยางตลาดในปัจจุบัน แล้วให้รวมอาณาเขตเมืองภูแล่นช้างเข้ากับเมืองกุดสิมนารายณ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445

และ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลคุ้มเก่าขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเขาวงโดยมี ตำบลคุ้มเก่า ตำบลสงเปลือย ตำบลหนองผือ ตำบลภูแล่นช้าง และตำบลนาคู อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอเขาวง

ทางราชการเห็นว่าพื้นที่ตำบลนาคูมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น ได้แบ่งพื้นที่ ต.นาคู ต.ภูแล่นช้าง ต.สายนาวัง ต.โนนนาจาน และต.บ่อแก้ว ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอนาคู ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] จนกระทั่งในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอนาคู โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอนาคูแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาคู (Na Khu) 14 หมู่บ้าน
2. สายนาวัง (Sai Na Wang) 8 หมู่บ้าน
3. โนนนาจาน (Non Na Chan) 9 หมู่บ้าน
4. บ่อแก้ว (Bo Kaeo) 14 หมู่บ้าน
5. ภูแล่นช้าง (Phu Laen Chang) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอนาคูประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาคู
  • เทศบาลตำบลภูแล่นช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูแล่นช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาคู)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายนาวังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนนาจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนนาจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแก้วทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • สนามบินเสรีไทย สนามบินลับเมืองนาคู
  • อ่างเก็บน้ำห้วยมะโน
  • น้ำตกผานางคอย
  • วนอุทยานภูแฝก
  • ผาระแงง
  • วัดผาเจริญธรรม

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาคู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 69. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.