กำธร ลาชโรจน์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 2 สมัย

กำธร ลาชโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2476
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เสียชีวิต30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (47 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
สาเหตุการเสียชีวิตการฆาตกรรมด้วยการแทง

ประวัติ

แก้

กำธร ลาชโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2476[1] สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาขั้นสูง จาก วิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวาย[2]

กำธร ถึงแก่อนิจกรรม จากการถูกฆาตกรรม เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 สิริอายุรวม 47 ปี[3]

เขาถูกนางสุมาลี โพธิ์สุวรรณ และนางสาวพุฒิพรรณ วงศ์คำลือวางยานอนหลับเพื่อชิงทรัพย์ที่โรงแรมย่านสะพานควาย แต่ทั้งสองกลัวความผิดจึงพยุงกำธรออกจากโรงแรม และไปรับนายอ๊อต พืชพันธ์ กับ นายบุญ พืชพันธ์ ในเวลา 09.00 น. ทั้งสี่ได้จอดรถริมถนนธนบุรี-ปากท่อ ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร และอ๊อตได้ใช้มีดแทงกำธรที่ลำคอจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อมั่นใจว่ากำธรถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ทั้งสี่ได้แบ่งทรัพย์สินและนำศพของกำธรทิ้งไว้ข้างทาง ก่อนจะแยกย้ายกันหลบหนีไป[4]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ศาลได้พิพากษาประหารชีวิตผู้ต้องหาทั้งสี่ แต่ทั้งสี่ให้การรับสารภาพจึงลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต[5]

การทำงาน

แก้

กำธร เคยทำงานเป็นข้าราชการสังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม[6] ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 2 ครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

กำธร ลาชโรจน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)พรรคสยามประชาธิปไตย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รัฐสภาสาร (ฉบับพิเศษ) พ.ศ. 2522. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2522
  2. ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (21)
  3. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน. กองบรรณาธิการมติชน. 2549
  4. ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (21)
  5. ล่าตัว “นางนกต่อ” แก๊งพยาบาลฆ่า “สส.กำธร ลาชโรจน์”
  6. โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดปัตตานี. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๗, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙