เสียงจากหู
เสียงจากหู (อังกฤษ: otoacoustic emission, ตัวย่อ OAE) เป็นเสียงที่หูชั้นในสร้างขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ได้พยากรณ์ว่ามี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 แล้วต่อมาจึงพิสูจน์ด้วยการทดลองได้ในปี 2521[1] เสียงมีเหตุจากการทำงานของเซลล์และกลไกการทำงานของหูชั้นใน[2][3] งานศึกษาได้พิสูจน์แล้วว่า เสียง OAE จะหายไปหลังจากที่หูชั้นในเสียหาย และดังนั้น จึงมักจะใช้ในแล็บและคลินิกเพื่อตรวจสุขภาพหู โดยทั่วไปแล้ว มีการปล่อยเสียงสองแบบ คือ การปล่อยเสียงเอง (spontaneous otoacoustic emission, SOAE) และการปล่อยเสียงเนื่องด้วยสิ่งเร้า (evoked otoacoustic emission, EOAE) นักวิทยาศาสตร์บางพวกสันนิษฐานว่า เสียงที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานแสดงการขยายเสียงในหูชั้นใน เหมือนกับที่ระบบขยายเสียงหอนเมื่อทำงานเกิน[4]
กลไก
แก้OAE พิจารณาว่าสัมพันธ์กับหน้าที่การขยายเสียงของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) เมื่อขาดสิ่งเร้าภายนอก การขยายเสียงของคอเคลียจะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดเสียง
หลักฐานจากการศึกษาหลายแนวแสดงนัยว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cells, OHC) ของคลอเคลีย เป็นตัวเพิ่มความไวต่อเสียงและความถี่เสียง โดยเป็นตัวขยายเสียง ทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า OHC ช่วยทำให้แยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ดีขึ้นโดยลดเสียงกลบ (masking effect)[5] อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อกระตุ้น OHC ที่อยู่เดี่ยว ๆ ด้วยไฟฟ้า เซลล์จะสามารถยืดและหดได้โดยเป็นกระบวนการปรับทิศทางของโปรตีน prestin ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเรียกว่า somatic electromotility (การเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองอาศัยไฟฟ้า)[6][7][8]
แต่เนื่องจากว่า แม้แต่สัตว์ที่ไม่มี OHC ก็มีเสียง OAE จากหู ก็ไวเสียงที่ความถี่เฉพาะ ๆ และก็ไวเสียงค่อย ๆ เหมือนกัน ดังนั้น การเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองไม่น่าจะเป็นเหตุเดียวที่ให้เกิด OAE การทดลองในสภาพแวดล้อมเทียม (in vitro) แสดงว่า นอกจากจะมีหน้าที่ตรวจจับเสียงแล้ว ขนของเซลล์ขนยังสามารถออกแรงต่อหัวอุปกรณ์ทดลองภายใต้สถานการณ์บางอย่าง และจะทำงานใต้ภาวะไม่เสถียรที่เรียกว่า Hopf bifurcation ซึ่งแสดงถึงการกลับไปกลับมาของขนเซลล์ได้เอง สภาพเช่นนี้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของหูชั้นในรวมทั้งการขยายเสียง การตอบสนองต่อความถี่ในที่เฉพาะ ๆ การไวต่อระดับเสียงดังค่อยไม่เท่ากัน ความไม่เสถียรของขน และการปล่อยเสียงจากหู การขยับเองของเซลล์ขนเช่นนี้เรียกว่า การเคลื่อนไหวเองของมัดขน (hair-bundle motility) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิด OAE อีกอย่างหนึ่ง[9]
รูปแบบ
แก้เกิดเอง
แก้เสียงปล่อยจากหูเอง (Spontaneous otoacoustic emission, SOAE) เป็นเสียงที่หูสร้างขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอก และสามารถวัดได้ด้วยไมโครโฟนไวเสียงในช่องหูด้านนอก SOAE อย่างน้อยชนิดหนึ่งสามารถตรวจจับได้ในประชากรประมาณ 35-50% โดยมีความถี่ที่เสถียรระหว่าง 500-4,500 เฮิรตซ์ แต่มีระดับเสียงที่ไม่เสถียรระหว่าง -30-+10 dB SPL แม้คนโดยมากจะไม่รู้ว่าหูของตนสร้างเสียง แต่ก็มีคนประมาณ 1-9% ที่ได้ยิน SOAE โดยเป็นเสียงในหู (tinnitus)[10]
มีงานศึกษาอื่นที่แสดงว่า 70% ของคนปกติทั้งในผู้ใหญ่และในเด็กอาจมี SOAE โดยเกิดจากกระบวนการขยายเสียงของหูชั้นใน เหมือนกับเครื่องขยายเสียงหอนเมื่อทำงานเกิน และต้องทำงานเช่นนี้เพื่อแก้สัญญาณเสียงที่ลดลงเนื่องจากต้องวิ่งผ่านน้ำและเนื้อเยื่อของหูชั้นใน มีแม้แต่รายงานจากแพทย์ว่า ได้ยินเสียงที่เกิดในหูของทารกเกิดใหม่[11]
เร้าให้เกิด
แก้เสียงปล่อยจากหูเองโดยเร้า (Evoked otoacoustic emission, EOAE) เกิดได้อย่างน้อยโดย 3 วิธี Stimulus Frequency OAEs (SFOAEs) เป็นค่าที่วัดเมื่อเร้าด้วยเสียงความถี่เดียว โดยวัดความต่างกันระหว่างเสียงที่ใช้เร้าและเสียงที่มาจากหู ส่วน Transient-evoked OAEs (TEOAEs หรือ TrOAEs) จะเกิดเมื่อใช้เสียงกริ๊กที่มีความถี่กว้าง หรือ toneburst ที่ใช้เวลาสั้น ๆ มีความถี่เดี่ยว เสียงจากหูที่ได้จากเสียงกริ๊กมีความถี่จนถึงประมาณ 4 กิโลเฮิรตซ์ ในขณะที่ toneburst จะทำให้เกิดเสียงในความถี่ที่ใกล้ ๆ กับความถี่เสียงที่ส่งแต่แรก
Distortion product OAEs (DPOAEs) จะเร้าด้วยเสียงคู่ที่ความถี่ และ โดยปกติดังที่ 65, 55 dBSPL หรือ 65 สำหรับทั้งสอง และมีอัตรา เสียงที่ปล่อยจากหูเพราะเสียงเร้าเหล่านี้อยู่ที่ความถี่ ซึ่งสัมพันธ์กันทางคณิต โดยความถี่สองอย่างที่ชัดที่สุดคือ ("cubic" distortion tone ซึ่งใช้เพื่อตรวจคัดกรองมากที่สุด) และ ("quadratic" distortion tone หรือ distortion tone)[12][13]
โดยย่อ ๆ แล้ว เสียงกริ๊กที่ส่งเข้าในหูจะทำให้หูชั้นในส่งเสียงตอบรับภายในไม่กี่มิลลิวินาที โดยปกติจะตอบจำกัดที่ความถี่โดยเฉพาะ ๆ ถ้าตอบสนองเป็นเสียงความถี่สูงจะตอบเร็วกว่า (5 มิลลิวินาที) ถ้าเป็นความถี่ต่ำจะตอบช้ากว่า (20 มิลลิวินาที) และนี่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เสียงสะท้อน แต่เป็นเสียงที่คอเคลียตอบสนองต่อเสียงโดยแรงกล[14]
ความสำคัญในการรักษา
แก้เสียงจากหูสำคัญในการรักษาเพราะเป็นวิธีง่าย ๆ เพื่อตรวจสอบความพิการทางการได้ยินของทารกเกิดใหม่หรือเด็กเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการทดสอบทั่วไปได้ ประเทศตะวันตกหลายประเทศปัจจุบันมีโปรแกรมตรวจคัดกรองการได้ยินของเด็กเกิดใหม่ และก็ยังมีโปรแกรมตรวจการได้ยินของเด็ก ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี OAE ด้วย โปรแกรมตัวอย่างหนึ่งก็คือ Early Childhood Hearing Outreach Initiative ที่ศูนย์ประเมินและการบริหารการได้ยินแห่งชาติ (NCHAM) ที่มหาวิทยาลัย Utah State University ที่ส่งเสริมโปรแกรมช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ยากจน (Early Head Start) ทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อให้มีการตรวจคัดกรองแบบ OAE และปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อช่วยเด็กในเรื่องการศึกษาช่วงต้นชีวิต[15][16][17] การตรวจคัดกรองหลักจะทดสอบการมี click-evoked OAE นอกจากนั้นแล้ว เสียงจากหูยังสามารถช่วยวินิจฉัยอาการต่าง ๆ ของคอเคลียและการไม่ได้ยินทางประสาทได้ละเอียดยิ่งขึ้น (เช่น auditory neuropathy) ได้มีการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเสียงจากหูกับเสียงในหู (tinnitus) งานศึกษาหลายงานแสดงว่า คนปกติประมาณ 6-12% ที่มีทั้งอาการเสียงในหู และ SOAEs เสียงจากหูจะมีส่วนทำให้เกิดอาการเสียงในหู[18]
งานศึกษาได้พบว่า บางคนที่มีอาการเสียงในหูมี EOAEs แบบขึ้น ๆ ลง ๆ หรือแบบสม่ำเสมอ แต่ในกรณีเหล่านี้ สันนิษฐานว่า เสียงจากหูและอาการเสียงในหูมีเหตุโรคอย่างเดียวกัน โดยเสียงจากหูไม่ได้เป็นเหตุ[18] นอกจากจะใช้ทดสอบระดับการได้ยินแล้ว เสียงจากหูยังสามารถใช้ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของการได้ยินอีกด้วย
งานศึกษาพบว่า การได้ยินเสียงดัง ๆ สามารถลดการตอบสนองด้วย OAE คือ งานหนึ่งเปรียบคนงานอุตสาหกรรมที่ได้ยินเสียงระดับ 84.5 dBA เทียบกับคนงานที่ได้ยินระดับ 53.2 dBA โดยเปรียบเทียบเสียงเบาที่สุดที่ได้ยิน และ OAE ก่อนและหลังทำงานเป็นเวลา 5 วัน งานศึกษานี้แสดงว่า เสียงเบาที่สุดที่ได้ยินและ OAE จะแย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญในคนงานที่ได้ยินเสียงที่ดังกว่า[19]
งานศึกษาหนึ่งพบว่า distortion product otoacoustic emissions (DPOAE’s) จะสามารถตรวจจับการเสียการได้ยินแบบน้อย ๆ ต่อเสียงความถี่สูงเทียบกับ transient evoked otoacoustic emissions (TEOAE)[20] ซึ่งชี้บอกว่า DPOAE สามารถช่วยตรวจจับการเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงดังได้ งานศึกษาหนึ่งที่วัดขีดเสียงเริ่มได้ยินและ DPOAE ในทหารพบว่า DPOAE ลดลงหลังจากได้ยินเสียงดัง แต่ขีดเสียงที่เริ่มได้ยินไม่เปลี่ยน ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่า OAE สามารถตรวจจับความเสียหายต่อหูที่เกิดจากเสียงได้เร็ว[21]
ความสำคัญทางชีวมิติ
แก้ในปี 2552 นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันได้ทำงานวิจัยเพื่อใช้เสียงจากหูเป็นตัวระบุบุคคลทางชีวมิติ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีไมโครโฟนที่สามารถจับเสียงค่อย ๆ ที่ปล่อยจากหูเพื่อระบุบุคคล ดังนั้น ช่วยให้เปิดใช้อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านปกติ[22] แต่สันนิษฐานกันว่า หวัด การทานยา การตัดขนหู การอัดเสียงไว้แล้วเล่นเสียงใส่ไมโครโฟนจะสามารถหลอกระบบได้[23]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ Kemp, D. T. (1 January 1978). "Stimulated acoustic emissions from within the human auditory system". The Journal of the Acoustical Society of America. 64 (5): 1386–1391. Bibcode:1978ASAJ...64.1386K. doi:10.1121/1.382104. PMID 744838.
- ↑ Kujawa, SG; Fallon, M; Skellett, RA; Bobbin, RP (August 1996). "Time-varying alterations in the f2-f1 DPOAE response to continuous primary stimulation. II. Influence of local calcium-dependent mechanisms". Hearing Research. 97 (1–2): 153–64. doi:10.1016/s0378-5955(96)80016-5. PMID 8844195. S2CID 4765615.
- ↑ Chang, Kay W.; Norton, Susan (1 September 1997). "Efferently mediated changes in the quadratic distortion product (f2−f1)". The Journal of the Acoustical Society of America. 102 (3): 1719. Bibcode:1997ASAJ..102.1719C. doi:10.1121/1.420082.
- ↑ Principles of Neural Science, 5th edition (2013), "Chapter 31: The Inner Ear", pp. 671-674
- ↑ Lilaonitkul, W; Guinan JJ, Jr (March 2009). "Reflex control of the human inner ear: a half-octave offset in medial efferent feedback that is consistent with an efferent role in the control of masking". Journal of Neurophysiology. 101 (3): 1394–406. doi:10.1152/jn.90925.2008. PMC 2666406. PMID 19118109.
- ↑
Brownell, WE; Bader, CR; Bertrand, D; de Ribaupierre, Y (1985-01-11). "Evoked mechanical responses of isolated cochlear outer hair cells". Science. 227 (4683): 194–196. Bibcode:1985Sci...227..194B. doi:10.1126/science.3966153. PMID 3966153.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Principles of Neural Science, 5th edition (2013), "Chapter 31: The Inner Ear", pp. 672-674
- ↑ Dancing Hair Cell (A movie clip showing an isolated outer hair cell moving in response to electrical stimulation can be seen ) [เซลล์ขนเต้นระบำ (คลิปภาพยนตร์แสดงเซลล์ขนด้านนอกเดี่ยว ๆ ไหวตอบสนองต่อการเร้าด้วยไฟฟ้า)] (ภาพยนตร์). คณะกายวิภาคศาสตร์, มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ Principles of Neural Science, 5th edition (2013), "Chapter 31: The Inner Ear", pp. 674
- ↑ Penner, M. J. (1990). "An estimate of the prevalence of tinnitus caused by spontaneous otoacoustic emissions". Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 116 (4): 418–423. doi:10.1001/archotol.1990.01870040040010. PMID 2317322.
- ↑ Principles of Neural Science, 5th edition (2013), "Chapter 31: The Inner Ear", pp. 672
- ↑ Kujawa, SG; Fallon, M; Bobbin, RP (May 1995). "Time-varying alterations in the f2-f1 DPOAE response to continuous primary stimulation. I: Response characterization and contribution of the olivocochlear efferents". Hearing Research. 85 (1–2): 142–54. doi:10.1016/0378-5955(95)00041-2. PMID 7559170. S2CID 4772169.
- ↑ Bian, L; Chen, S (December 2008). "Comparing the optimal signal conditions for recording cubic and quadratic distortion product otoacoustic emissions". The Journal of the Acoustical Society of America. 124 (6): 3739–50. Bibcode:2008ASAJ..124.3739B. doi:10.1121/1.3001706. PMC 2676628. PMID 19206801.
- ↑ Principles of Neural Science, 5th edition (2013), "Chapter 31: The Inner Ear", pp. 672-673
- ↑
Eiserman, W; Shisler, L (2010). "Identifying Hearing Loss in Young Children: Technology Replaces the Bell". Zero to Three Journal. 30 (5): 24–28.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Eiserman, W; Hartel, D; Shisler, L; Buhrmann, J; White, K; Foust, T (2008). "Using otoacoustic emissions to screen for hearing loss in early childhood care settings". International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology. 72: 475–482. doi:10.1016/j.ijporl.2007.12.006.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Eiserman, W; Shisler, L; Foust, T (2008-11-04). "Hearing screening in Early Childcare Settings". The ASHA Leader.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 18.0 18.1 Norton, SJ; และคณะ (1990), "Tinnitus and otoacoustic emissions: is there a link?", Ear Hear, 11 (2): 159–166, doi:10.1097/00003446-199004000-00011, PMID 2340968.
- ↑ 勇, 加部; 安夫, 古賀; 勇, 幸地; 博幸, 宮内; 葵, 蓑添; 大介, 桑田; いづみ, 堤; 雅文, 中川; 茂, 田中 (2015-01-01). "製造業における騒音曝露作業者の耳音響放射(oae)に関する現場調査". 産業衛生学雑誌. 57 (6): 306–313. doi:10.1539/sangyoeisei.E15002.
- ↑ Kemp, D. T (2002-10-01). "Otoacoustic emissions, their origin in cochlear function, and use". British Medical Bulletin. 63 (1): 223–241. doi:10.1093/bmb/63.1.223. ISSN 0007-1420.
- ↑ Marshall, Lynne; Miller, Judi A. Lapsley; Heller, Laurie M.; Wolgemuth, Keith S.; Hughes, Linda M.; Smith, Shelley D.; Kopke, Richard D. (2009-02-01). "Detecting incipient inner-ear damage from impulse noise with otoacoustic emissions". The Journal of the Acoustical Society of America. 125 (2): 995–1013. doi:10.1121/1.3050304. ISSN 0001-4966.
- ↑ "Ear noise can be used as identification". Telegraph. 2009-04-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
- ↑ "Your Ear Noise as Computer Password". IEEE Spectrum. 2009-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (2013). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-139011-8.
- M.S. Robinette and T.J. Glattke (eds., 2007). Otoacoustic Emissions: Clinical Applications, third edition (Thieme).
- G.A. Manley, R.R. Fay, and A.N. Popper (eds., 2008). Active Processes and Otoacoustic Emissions (Springer Handbook of Auditory Research, vol. 30).
- S. Dhar and J.W. Hall, III (2011). Otoacoustic Emissions: Principles, Procedures, and Protocols (Plural Publishing).