การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941

การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็นการประชุมระหว่างอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของพรรคนาซี โดยมีผู้นำคนสำคัญเกือบทุกคนของพรรคเข้าร่วมการประชุม เพื่อฟังฮิตเลอร์ประกาศการทำลายล้างชนชาติยิวในอนาคต แต่การประชุมดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าการประชุมวานเซ

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กล่าวปราศรัยต่อไรชส์ทาค 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941

เบื้องหลัง แก้

ฮิตเลอร์ได้ประกาศต่อไรช์ซไลเทอร์และเกาไลเทอร์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม โดยยกคำพูดมาจากถ้อยแถลงก่อนหน้านี้เมื่อ 30 มกราคม ค.ศ. 1939[1]:

ถ้าอาณาจักรการเงินระดับโลกของพวกยิวทั้งในและนอกยุโรป ประสบความสำเร็จในการผลักเหล่าประชาชาติไปสู่สงครามโลกอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผลลัพธ์จะไม่จบลงที่โลกกลายเป็นของบอลเชวิกและทั้งชัยชนะของยิว แต่ผลลัพธ์จะเป็นการขุดรากถอนโคนเชื้อสายยิวในยุโรป!

ด้วยการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาของนาซีเยอรมนีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม สงครามดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาข้อความข้างต้นแล้ว ก็ถือว่าได้กลายมาเป็น "สงครามโลก" อย่างแท้จริง[1]

ในที่ประชุมไรชส์ทาค อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ประกาศสงครามต่อสหรัฐ โดยมีการถ่ายทอดคำปราศรัยออกทางวิทยุด้วยเช่นกัน วันรุ่งขึ้น ตอนบ่ายของวันที่ 12 ธันวาคม เขาได้ประชุมกับผู้นำคนสำคัญที่สุดของพรรคนาซี

การประชุม แก้

ตอนบ่ายวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้สมาชิกระดับผู้นำของพรรคนาซีให้เข้าประชุมในห้องส่วนตัวของเขาในทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์[2] เนื่องจากการประชุมมีขึ้นในห้องส่วนตัวแทนที่จะเป็นห้องทำงานของฮิตเลอร์ จึงไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการถึงการประชุมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อความในบันทึกประจำวันของเกิบเบลส์และแฟรงก์ได้ยืนยันถึงการประชุมดังกล่าว[3]

โยเซฟ เกิบเบลส์ได้บันทึกถ้อยคำของฮิตเลอร์ไว้ในบันทึกของเขา:

เกี่ยวกับปัญหาชาวยิว ฟือเรอร์ได้กำหนดให้ยกเลิกการรอกำหนดเสีย เขาชาวยิวว่าถ้าพวกเขาก่อสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง มันจะนำไปสู่การล่มสลายของพวกเขาเอง คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่เพียงการกล่าวอย่างไร้ความหมาย ขณะนี้สงครามโลกได้มาถึงแล้ว การทำลายล้างของชนชาติยิวจะต้องเป็นผลสืบเนื่องอย่างแน่นอน คำถามนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแสดงความรู้สึกแต่อย่างใด เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อมีความรู้สึกเห็นใจพวกยิว แต่ย่อมจะเป็นชาวเยอรมันของพวกเรา ถ้าชาวเยอรมันเสียสละชีวิต 160,000 ชีวิตในการทัพด้านตะวันออก แล้วผู้ที่ริเริ่มความขัดแย้งอันนองเลือดนี้จะต้องชดใช้ด้วยชีวิตของพวกเขา

นอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ว่า "สงครามยุโรป" ได้ขยายตัวเป็น "สงครามโลก" อีกเหตุผลหนึ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องมองข้อเท็จจริงที่ว่าการเข้าสู่สงครามของสหรัฐอเมริกาหมายความว่าประชากรชาวยิวได้สูญเสียคุณค่าของการเป็นตัวประกันสำหรับฮิตเลอร์ ซึ่งมีไว้ป้องกันการเข้าสู่สงครามนี้ และเขาจึงมีอิสระที่จะตัดสินใจดำเนินการตามแผนการระยะยาว[4]

สำหรับการประชุมวานเซที่เป็นที่รู้จักกันมากกว่าในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เป็นก้าวต่อไปสำหรับแผนการของนาซีที่จะกำจัดชาวยิว อย่างไรก็ตาม ไม่เหมือนกับการประชุมครั้งนี้ การประชุมวานเซมีผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นข้ารัฐการอาวุโส ทั้งยังเป็นการทำลายคำกล่าวอ้างที่ว่าฮิตเลอร์ไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการล้างชาติโดยนาซีและเป็นเพียงการดำเนินการของผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาโดยที่ไม่รู้เห็นเลย[2]

การประชุมดังกล่าวถือเป็นจุดหักเหของทัศนคติรัฐบาลนาซีที่มีต่อชาวยิว โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการโฆษณาชวนเชื่อ การข่มขู่และการโจมตีมาเป็นการทำลายล้างอย่างสมบูรณ์และมีการเตรียมการไว้ ซึ่งสำหรับขั้นตอนหลังนี้ได้เริ่มขึ้นแล้วในบางส่วนของยุโรปตะวันออกตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1941[5]

ผู้เข้าร่วมประชุม แก้

ผู้เข้าร่วมประชุมในการประชุมดังกล่าวจะต้องเป็นสมาชิกระดับสูงของพรรคนาซี ไม่มีรายนามผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวอย่างเป็นทางการ แต่รายชื่อผู้นำของนาซีเยอรมนีด้านล่างนี้ จากทั้งหมด 50% เป็นที่ทราบกันว่าได้ร่วมประชุมด้วย[2][6]:

ผู้ที่ทราบกันว่าไม่ได้เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ แฮร์มันน์ เกอริง ซึ่งไม่มีตำแหน่งภายในพรรค และรีนฮาร์ด เฮย์ดริช

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 The Holocaust: Critical Concepts in Historical Studies page: 81, accessed: 29 June 2008
  2. 2.0 2.1 2.2 The Holocaust History Project - December 12, 1941 เก็บถาวร 2009-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Götz Aly, accessed: 29 June 2008
  3. Hitlers "Prophezeiung" des Völkermords an den Juden เก็บถาวร 2010-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in German) Die Gazette, published: January 2001, author: Friedemann Bedürftig, accessed: 29 June 2008
  4. The Holocaust: Critical Concepts in Historical Studies page: 82, accessed: 29 June 2008
  5. The Holocaust: Critical Concepts in Historical Studies page: 68, accessed: 29 June 2008
  6. The Holocaust: Critical Concepts in Historical Studies page: 81-82, accessed: 29 June 2008

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้