การประชุมที่วันเซ

(เปลี่ยนทางจาก การประชุมที่วานเซ)

การประชุมที่วันเซ (อังกฤษ: Wannsee Conference; เยอรมัน: Wannseekonferenz) เป็นการประชุมข้าราชการระดับสูงของนาซีเยอรมนีและผู้นำเอ็สเอ็ส จัดขึ้นที่เมืองวันเซ ชานกรุงเบอร์ลิน ณ วันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1942

คฤหาสน์ ณ 56–58 เอเอ็ม โกเบน วันเซ (Am Großen Wannsee) ที่ประชุมวันน์เซ ปัจจุบันเป็นหออนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์

ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช ผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงหลักไรช์แห่งหน่วยเอ็สเอ็ส เป็นผู้เรียกประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า หัวหน้าบริหารกรมกองทั้งหลายจะร่วมมือกันกระทำให้การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายสัมฤทธิ์ผล ซึ่งจะทำให้ชาวยิวส่วนใหญ่ในดินแดนยุโรปที่เยอรมนียึดครองต้องถูกเนรเทศไปโปแลนด์และถูกสังหาร ผู้เข้าประชุม ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงทบวงกรมหลายแห่ง รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้แทนหน่วยเอ็สเอ็ส ในระหว่างการประชุมนั้น เฮย์ดริชพรรณนาเค้าโครงวิธีการกวาดต้อนชาวยิวในยุโรปจากภาคตะวันตกไปยังภาคตะวันออกเพื่อส่งไปประหาร ณ ค่ายมรณะในเขตปกครองสามัญ (General Government) อันเป็นภูมิภาคที่ถูกยึดครองของโปแลนด์[1]

ไม่ช้าหลังการรุกรานโปแลนด์ในเดือนกันายน ค.ศ. 1939 การบีฑาชาวยิวในยุโรปก็ยกระดับขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทว่า การสังหารชายหญิงและเด็กตามอำเภอใจนั้นมาเริ่มเอาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 หลังเปิดปฏิบัติการบาร์บารอสซาต่อโซเวียตแล้ว ครั้นวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แฮร์มันน์ เกอริง ได้ออกหนังสืออนุมัติให้เฮย์ดริชเตรียมเสนอแผน "แก้ปัญหาชาวยิวโดยสิ้นเชิง" เพื่อไปดำเนินการ ณ ดินแดนที่อยู่ในความควบคุมของเยอรมนี และประสานการมีส่วนร่วมขององการรัฐบาลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เฮย์ดริชเน้นย้ำที่วันน์เซว่า เมื่อการเนรเทศหมู่สุดสิ้นลงแล้ว หน่วยเอ็สเอ็สจะเข้าดูแลรับผิดชอบการกวาดล้างทั้งหมดเอง ส่วนเป้าหมายรอง คือ กำหนดให้ได้อย่างเป็นทางการว่า ใครบ้างคือชาวยิว เพื่อจะได้วางกรอบการล้างเผ่าพันธุ์

ยังมีสำเนาฉบับหนึ่งของพิธีสารการประชุมพร้อมด้วยหนังสือเวียนรายงานการประชุมเหลือรอดหลังสงคราม เอกสารนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรพบเข้าในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ในแฟ้มทั้งหลายที่ยึดได้จากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี จึงใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง ส่วนอาคารวันน์เซ ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมนั้น บัดนี้เป็นหออนุสรณ์การฆ่าล้างชาวยิว

ผู้เข้าร่วมประชุม

แก้
รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม[2]
ชื่อ รูป ตำแหน่ง องค์กร ผู้บังคับบัญชา
เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์
ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช
  หัวหน้าของสำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ(RSHA)
ผู้อารักขาแห่งไรซ์ของโบฮีเมียและโมราเวีย
ประธาน
ชุทซ์ชทัฟเฟิล (SS) ไรช์ฟือแรร์-เอ็สเอ็ส (ไรซ์ ผู้นำเอ็สเอ็ส) ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์
เอ็สเอ็ส-กรุพเพินฟือเรอร์
ออโต ฮอฟมันน์
  หัวหน้าของเอ็สเอ็ส สำนักงานการเชื้อชาติและการตั้งถิ่นฐาน(RuSHA) ชุทซ์ชทัฟเฟิล (SS) ไรช์ฟือแรร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์
เอ็สเอ็ส-กรุพเพินฟือเรอร์
ไฮน์ริช มึลเลอร์
  หัวหน้าของหน่วย Amt IV (เกสตาโป) สำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ(RSHA), ชุทซ์ชทัฟเฟิล หัวหน้าของสำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพนฟือเรอร์ ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช
เอ็สเอ็ส-โอเบอร์ฟือเรอร์
ดร. Karl Eberhard Schöngarth
  ผู้บังคับบัญชาการของซีโป(ซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ)และเอสดี(ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์) ในเขตปกครองสามัญ ซีโปและเอสดี, สำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ(RSHA), ชุทซ์ชทัฟเฟิล หัวหน้าของสำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ(RSHA) เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช
เอ็สเอ็ส-โอเบอร์ฟือเรอร์
Gerhard Klopfer
  ปลัดกระทรวง ที่ทำการพรรคนาซี หัวหน้าของที่ทำการพรรค มาร์ติน บอร์มันน์
เอ็สเอ็ส-โอเบอร์ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์
อดอล์ฟ ไอชมันน์
  หัวหน้าของหน่วย Referat IV B4 ของเกสตาโป
เลขานุการบันทึก
เกสตาโป, RSHA, ชุทซ์ชทัฟเฟิล หัวหน้าของหน่วย Amt IV เอ็สเอ็ส-กรุพเพินฟือเรอร์
ไฮน์ริช มึลเลอร์
เอ็สเอ็ส-ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์
ดร. Rudolf Lange
ผู้บังคับบัญชาการของซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ(ตำรวจความมั่นคง;ซีโป)และซีแชร์ไฮท์สดีนสท์(SD)(หน่วยความมั่นคง) ของเขตสามัญตำบลลัตเวีย
ปลัดของผู้บังคับบัญชาการของซีโปและเอสดีของไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์
หัวหน้าของหน่วย Einsatzkommando 2
ซีโปและเอสดีของ,สำนักงานความมั่นคงแห่งรัฐ(RSHA) , ชุทซ์ชทัฟเฟิล เอ็สเอ็ส-Brigadeführer (นายพลจัตวา) และ Generalmajor der Polizei (นายพลตรีของตำรวจ) ดร. Franz Walter Stahlecker
ดร. เกออร์ก ไลบ์บรันท์   Reichsamtleiter (สำนักงานหัวหน้าไรซ์) กระทรวงดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง ดร. อันเฟรด โรเซินแบร์ก
ดร. Alfred Meyer   Gauleiter (หัวหน้าพรรคภูมิภาค)
เลขานุการรัฐและปลัดกระทรวงไรซ์
กระทรวงดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง ดร. อันเฟรด โรเซินแบร์ก
ดร. Josef Bühler   เลขานุการรัฐ เขตปกครองสามัญ
(เขตอำนาจการยึดครองโปแลนด์)
ผู้สำเร็จราชการสามัญ ดร. Hans Frank
ดร. โรลันด์ ไฟรซเลอร์   เลขานุการรัฐ กระทรวงยุติธรรมแห่งไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแห่งไรซ์ ดร. Franz Schlegelberger
เอ็สเอ็ส-บริกาเดอฟือเรอร์
ดร. Wilhelm Stuckart
  เลขานุการรัฐ กระทรวงมหาดไทยแห่งไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งไรซ์ ดร. Wilhelm Frick
เอ็สเอ็ส-โอเบอร์ฟือเรอร์
Erich Neumann
  เลขานุการรัฐ สำนักงานของผู้ทรงอำนาจสำหรับแผนการสี่ปี ผู้ทรงอำนาจสำหรับแผนการสี่ปี จอมพล แฮร์มันน์ เกอริง
Friedrich Wilhelm Kritzinger   ปลัดกระทรวง ทำเนียบรัฐบาลไรช์ รัฐมนตรีและหัวหน้าของทำเนียบรัฐบาลไรช์ เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพนฟือเรอร์ ดร. Hans Lammers
มาร์ทิน ลูเธอร์   Under Secretary กระทรวงต่างประเทศแห่งไรซ์ Ernst von Weizsäcker, เลขานุการรัฐของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ Joachim von Ribbentrop

อ้างอิง

แก้
  1. Longerich 2010, pp. 309–310.
  2. Roseman 2002, p. 66.

บรรณานุกรม

แก้
  • Longerich, Peter (2010). Holocaust: The Nazi Persecution and Murder of the Jews. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280436-5.