ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช
ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช (เยอรมัน: Reinhard Tristan Eugen Heydrich, ภาษาเยอรมัน: [ˈʁaɪnhaʁt ˈtʁɪstan ˈɔʏɡn̩ ˈhaɪdʁɪç] ( ฟังเสียง); 7 มีนาคม ค.ศ. 1904 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1942) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและสมรู้ร่วมคิดหลักในการล้างชาติโดยนาซี เขาเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็ส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ (เทียบเท่าพลโท) และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามัญ และยังเป็นหัวหน้าของกรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์ (รวมทั้งตำรวจลับ, ตำรวจอาชญากรรม, สำนักอำนวยความปลอดภัย และตำรวจความมั่นคง) นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้อารักขาไรช์ประจำโบฮีเมียและโมราเวีย (ในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก) ไฮดริชทำหน้าที่เป็นประธานขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICPO หรือเป็นที่รู้จักคือตำรวจสากล) และเป็นประธานการประชุมวันน์เซในเดือนมกราคม 1942 ที่ได้วางมาตราการแผนสำหรับทางออกของปัญหาชาวยิวคือทำการเนรเทศและสังหารหมู่ชาวยิวในยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง
ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช | |
---|---|
Reinhard Heydrich | |
ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ใน ค.ศ. 1940 | |
รองผู้อารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย | |
รักษาการผู้อารักขา | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน 1941 – 4 มิถุนายน 1942 | |
แต่งตั้งโดย | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
ก่อนหน้า | ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท (อารักขาถึง 24 สิงหาคม ค.ศ. 1943) |
ถัดไป | ควร์ท ดาลือเกอ (รักษาการอารักขา) |
หัวหน้าศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน 1939 – 4 มิถุนายน 1942 | |
แต่งตั้งโดย | ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ (รักษาการ) |
ประธาน องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม 1940 – 4 มิถุนายน 1942 | |
ก่อนหน้า | ออทโท ชไตน์ฮอยส์ |
ถัดไป | อาร์ธูร์ เนเบอ |
ผู้บัญชาการตำรวจลับแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน 1934 – 27 กันยายน 1939 | |
แต่งตั้งโดย | ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ |
ก่อนหน้า | รูดอล์ฟ ดีลส์ |
ถัดไป | ไฮน์ริช มึลเลอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช 7 มีนาคม ค.ศ. 1904 ฮัลเลออันแดร์ซาเลอ ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ปราก-ลีเบน รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย (ปัจจุบันคือปราก ประเทศเช็กเกีย) | (38 ปี)
ที่ไว้ศพ | Invalidenfriedhof เบอร์ลิน |
พรรคการเมือง | พรรคนาซี |
คู่สมรส | Lina von Osten (สมรส 1931) |
บุตร | 4 |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | Heinz Heydrich (พี่/น้องชาย) |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | |
สังกัด | |
ประจำการ | 1922–1942 |
ยศ |
|
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
รางวัล | ดูservice record section |
นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวว่าเขาคือบุคคลที่มืดมนที่สุดในระดับสูงของนาซี[5][6][7] อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า เขาคือ"บุรุษที่มีหัวใจดั่งเหล็ก"[4] เขาเป็นผู้ก่อตั้งตำรวจความมั่นคง (ไซโพ) เขายังช่วยจัดอำนวยความสะดวกในเหตุการณ์ คืนกระจกแตก (Kristallnacht) ชุดปฏิบัติการโจมตีต่อต้านชาวยิวทั้งในเยอรมนีและดินแดนบางส่วนของออสเตรียในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 ชุดปฏิบัติการโจมตีถูกดำเนินงานโดยหน่วยชตูร์มับไทลุง (SA) พร้อมอาสาสมัครพลเรือน และกลายเป็นเครื่องหมายสัญลักณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี เมื่อเขาได้ไปยังกรุงปราก, ไฮดริชได้พยายามขจัดความขัดแย้งต่อการปกครองของนาซีเยอรมนีด้วยการทำลายล้างวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงการเนรเทศและประหารชีวิตสมาชิกกลุ่มต่อต้านของเช็ก เขายังเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงของหน่วยไอน์ซัทซกรุพเพน กองกำลังปฏิบัติการภารกิจพิเศษซึ่งได้เดินทางในการปลุกปั่นกองทัพเยอรมันและทำการสังหารหมู่ประชาชนกว่าสองล้านคน รวมไปถึงชาวยิวกว่า 1.3 ล้านคนด้วยการยิงเป้าและรมควันด้วยแก็สพิษ
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1942 ไฮดริชถูกลอบโจมตีบริเวณชายเมืองทางเหนือของปราก ไฮดริชได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในกรุงปราก การลอบโจมตีครั้งนี้ปฏิบัติโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอังกฤษซึ่งได้ทำการฝึกทหารคอมมานโดชาวเช็กและชาวสโลวักที่ถูกส่งโดยรัฐบาลพลัดถิ่นเชคโกสโลวาเกียที่ต้องการสังหารเขาในปฏิบัติการแอนโธรพอยด์ ไฮดริชเสียชีวิตจากการบาดเจ็บในสัปดาห์ต่อมา หน่วยสืบราชการของนาซีได้เชื่อมโยงการลอบสังหารไปยังหมู่บ้านลิดยิตแซและแลฌากี ทั้งสองหมู่บ้านถูกทำลายอย่างราบคาบ; ผู้ชายทั้งหมดและเด็กผู้ชายทุกคนอายุกว่า 16 ถูกยิงทิ้ง, และทั้งหมดแต่หนึ่งในจำนวนกำมือของผู้หญิงและเด็กถูกเนรเทศและสังหารในค่ายกักกันของนาซี
ช่วงชีวิตวัยแรก
แก้ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช[8] เกิดใน ค.ศ. 1904 ในฮัลเลอร์อันแดร์ซาเลอ บิดามารดาของเขาคือนักแต่งเพลงและนักร้องโอเปร่านามว่า ริชาร์ด บรูโน ไฮดริช และภรรยาของเขานามว่า อลิซาเบธ แอนนา อมาเลีย ไฮดริช (นามสกุลเดิมคือ เครนตซ์) บิดาของเขานับถือนิกายโปรเตสแตนต์และมารดาของเขานับถือนิกายโรมันคาทอลิก สองคำชื่อแรกของเขามาจากบทสรรเสริญทางดนตรีของความรักชาติ: "ไรน์ฮาร์ท" หมายถึง วีรบุรุษที่น่าสลด มาจากโรงละครโอเปร่าของบิดาที่มีชื่อว่า อาแมน และคำว่า "ทริสทัน " มาจากละครที่ชื่อว่า ทริสทันกับอีซอลเดอ ของริชชาร์ท วากเนอร์ ส่วนชื่อที่สามของไฮดริช "อ็อยเกน" เป็นชื่อแรกของคุณตาผู้ล่วงลับของเขา (อ็อยเกน เครนตซ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแห่งราชวิทยาลัยดนตรีเดรสเดิน)[9]
ครอบครัวของไฮดริชมีฐานะทางสังคมและมีทรัพย์สมบัติมากมาย ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของไฮดริช พ่อของเขาได้ก่อตั้งโรงเรียนฮัลเลอร์สำหรับวิชาดนตรี โรงละคร และการสอน และมารดาของเขาได้สอนเปียโนที่นั่น[10] ไฮดริชได้พัฒนาความหลงใหลในไวโอลินและนำความสนใจนั้นไปสู่วัยผู้ใหญ่ เขาได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังด้วยความสามารถทางดนตรีของเขา[11]
บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมชาวเยอรมันผู้ปลุกฝังแนวคิดความรักชาติให้กับเหล่าลูกชายสามคนของเขา แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด ๆ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[12] ครอบครัวไฮดริชนั้นเข้มงวดมาก ในวัยเด็ก เขากำลังต่อสู้กับน้องชายคนเล็กของเขาอย่างไฮนซ์ในการดวลฟันดาบจำลอง เขาเป็นที่หนึ่งของโรงเรียนของเขา-โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาวิทยาศาสตร์-ที่ "Reformgymnasium"[13] ด้วยการเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ เขากลายเป็นนักว่ายน้ำและนักฟันดาบที่เชี่ยวชาญ เขาเป็นคนขี้อาย ขาดความมั่นใจ และมักจะถูกกลั่นแกล้งอยู่บ่อย ๆ เพราะเสียงพูดที่แหลมและเป็นที่โจษจันกันว่า ต้นตระกูลของเขามาจากชาวยิว คำกล่าวอ้างภายหลังทำให้เขาได้รับฉายาว่า "โมเสส ฮันเดล"[14]
ใน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติลงด้วยความปราชัยของเยอรมนี ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในเมือง—รวมทั้งการนัดหยุดงานและการปะทะกันระหว่างกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์และกลุ่มต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์—ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองฮัลเลอร์ที่เป็นบ้านเกิดของไฮดริช ภายใต้คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนามว่า Gustav Noske หน่วยรบกองกำลังกึ่งทหารปีกขวาได้ถูกก่อตั้งขึ้นและได้รับคำสั่งใน"การยึดคืน" ฮัลเลอร์ กลับคืนมา[15] ไฮดิรช ซึ่งอยู่ในวัย 15 ปี เข้าได้เข้าร่วมกับหน่วยทหารอาสาสมัครปืนไรเฟิลของนายพลมาร์คเกอร์ (หน่วยไฟรคอร์ ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร ) เมื่อการสู้รบได้ยุติลง ไฮดริชได้เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ได้รับมอบหมายในการปกป้องทรัพย์ส่วนบุคคล[16] ไม่ค่อยมีใครรู้จักเกี่ยวกับบทบาทของเขา แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สร้างความประทับใจอย่างมากมาย มันเป็น"การตื่นตัวทางการเมือง" สำหรับเขา[16] เขาได้เข้าร่วม Deutschvölkischer Schutz- und Trutzbund (สันนิบาตอารักขาและที่หลบภัยแห่งชาติเยอรมัน) ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านชาวยิว
ด้วยผลลัพธ์ของเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซาย ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงได้แผ่กระจายไปทั่วเยอรมนี และหลายคนต่างสูญเสียเงินออมเลี้ยงชีพไปจนหมดสิ้นเสียแล้ว เมืองฮัลเลอร์ก็ไม่เว้น ใน ค.ศ. 1921 มีชาวเมืองเพียงแค่ไม่กี่คนที่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนวิชาดนตรีให้กับโรงเรียนสอนดนตรีของบรูโน ไฮดริชได้ สิ่งนี้ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเงินสำหรับครอบครัวไฮดริช[17]
อาชีพทหารเรือ
แก้ใน ค.ศ. 1922 ไฮดริชได้เข้าร่วมในกองทัพเรือเยอรมัน (ไรชส์มารีเนอ) เพื่อใช้ผลประโยชน์จากความมั่นคง โครงสร้าง และเงินบำนาญที่ได้เสนอมาให้ เขากลายเป็นนักเรียนนายร้อยทหารเรือที่คีล ฐานทัพเรือหลักของเยอรมนี เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1924 เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นว่าที่นายเรืออาวุโส (Oberfähnrich zur See) และถูกส่งไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นายทหารที่โรงเรียนนายเรือแห่ง Mürwik เขาได้ก้าวขึ้นยศตำแหน่งนายธง (Leutnant zur See) และได้รับมอบฟหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ส่งสัญญาณบนเรือรบประจัญบานอย่างเรือหลวงชเลวิก-ฮ็อลชไตน์ เรือธงของกองเรือทะเลเหนือของเยอรมนี ด้วยการเลื่อนตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เขาได้รับการประเมินที่ดีจากผู้บังคับบัญชาของเขาและมีปัญหาเพียงเล็กน้อยกับลูกเรือคนอื่น ๆ เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็น เรือตรี (Oberleutnant zur See) ยศตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นเต็มไปด้วยความทะเยอทะยานและความเย่อหยิงของเขา[18]
ไฮดริชกลายเป็นที่ฉาวโฉ่สำหรับเรื่องเชิงชู้สาวของเขามานับไม่ถ้วน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1930 เขาได้เข้าร่วมสโมสรพายเรือ และพบกับลีนา ฟ็อน ออสเทิน พวกเขาเริ่มมีความสัมพันธ์ทางโรแมนติกและในไม่ช้าก็ได้ประกาศหมั้นหมายกัน ลีนาเป็นสาวกผู้ติดตามพรรคนาซีอยู่แล้ว เธอได้เข้าร่วมการชุมนุมเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1929[19] ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1931 ไฮดริชถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า "ประพฤติตนไม่เหมาะสมในฐานะเจ้าหน้าที่นายทหารและสุภาพบุรุษ" ในความผิดฐานการผิดสัญญาการหมั้น ซึ่งได้หมั้นหมายว่าจะแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนที่เขารู้จักกันเป็นเวลาหกเดือนก่อนที่จะหมั้นหมายกับลีนา ฟ็อน ออสเทิน[20] พลเรือเอก เอริช เรเดอร์ ได้สั่งปลดไฮดริชออกจากกองทัพเรือในเดือนเมษายน เขาได้รับเงินค่าชดเชยจำนวน 200 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับจำนวนเงิน 697 ยูโรในปี ค.ศ. 2017) ต่อเดือนในอีกสองปีข้างหน้า[21] ไฮดริชได้เข้าพิธีแต่งงานกับลีนาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1931[22]
อาชีพในหน่วยเอ็สเอ็ส
แก้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 คำสั่งปลดออกจากกองทัพเรือของไฮดริชมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย[23] และในวันรุ่งขึ้นต่อมา[23] หรือวันที่ 1 มิถุนายน เขาได้เข้าร่วมพรรคนาซีในฮัมบวร์ค[24][25] หกสัปดาห์ต่อมา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เขาได้เข้าร่วมหน่วยเอ็สเอ็ส[26] หมายเลขประจำตัวของพรรคคือ 544,916 และหมายเลขประจำตัวของหน่วยเอ็สเอ็สคือ 10,120[27] เหล่าบรรดาผู้ที่เข้าร่วมพรรคภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 ต้องเผชิญกับการถูกตั้งข้อสงสัยจาก Alter Kämpfer (นักสู้เก่า, สมาชิกพรรคคนแรกสุด) ว่าพวกเขามาเข้าร่วมด้วยเหตุผลของความก้าวหน้าในอาชีพมากกว่าที่จะมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงต่อโครงการนาซี วันที่เกณฑ์ทหารของไฮดริชใน ค.ศ. 1931 ซึ่งรวดเร็วพอที่จะระงับข้อสงสัยว่าเขามาเข้าร่วมเพียงเพื่อการงานอาชีพของเขาเท่านั้น แต่ว่ายังเร็วไม่พอสำหรับเขาที่จะถูกยอมรับว่าเป็นนักสู้เก่า[24]
ใน ค.ศ. 1931 ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ริเริ่มก่อตั้งกองพลต่อต้านข่าวกรองแห่งเอ็สเอ็ส ซึ่งได้เข้ามารับหน้าที่ตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมงานของเขาอย่างคาร์ล ฟ็อน อีเบอร์สไตน์ ซึ่งเป็นเพื่อนของลีนา ฮิมเลอร์ได้ตกลงที่จะสัมภาษณ์กับไฮดริช แต่กลับถูกยกเลิกการนัดหมายในนาทีสุดท้าย ลีนาไม่สนใจข้อความนี้ จึงได้เก็บกระเป๋าเดินทางของไฮดริช และส่งเขาไปที่มิวนิก อีเบอร์สไตน์ได้พบกับไฮดริชที่สถานีรถไฟและพาเขาไปพบกับฮิมเลอร์[28] ฮิมเลอร์ได้ขอให้ไฮดริชถ่ายทอดแนวคิดในการพัฒนาหน่วยข่าวกรองของหน่วยเอ็สเอ็ส ฮิมเลอร์เกิดความประทับใจอย่างมากจึงว่าจ้างไฮดริชทันที[29][30]
แม้ว่าเงินแดือนจะเริ่มต้นอยู่ที่ 180 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 40 ดอลลาร์สหรัฐ)(เทียบเท่ากับ 628 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ซึ่งถือว่าน้อย ไฮดริชตัดสินใจรับงานนี้เพราะครอบครัวของลีนาให้การสนับสนุนขบวนการนาซีและด้วยลักษณะกึ่งทหารและการปฏิวัติของตำแหน่งงานซึ่งได้ดึงดูดความสนใจของเขา[31] ในช่วงแรกเขาต้องใช้สำนักงานและเครื่องพิมพ์ดีดร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน แต่ในปี ค.ศ. 1932 ไฮดริช มีรายได้ถึง 290 ไรชส์มาร์คต่อเดือน (เทียบเท่ากับ 1,100 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ซึ่งเป็นเงินเดือนที่เขาพูดได้เลยว่า "สบาย ๆ"[32] เมื่ออำนาจและอิทธิพลของเขาได้เติบโตขึ้นตลอดช่วงปี ค.ศ. 1930 ความมั่นคั่งของเขาก็ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างพอสมน้ำสมเนื้อ ใน ค.ศ. 1935 เขาได้รับเงินเดือนพื้นฐานจำนวน 8,400 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 35,817 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) และเงินเบี้ยเลี้ยง 12,000 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 51,167 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) และในปี ค.ศ. 1938 รายได้ของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวน 17,371 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 71,679 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ทุกปี[33] ต่อมาไฮดริชได้รับโทเทินค็อพฟ์ริง(แหวนหัวกะโหลกประจำหน่วยเอ็สเอ็ส) จากฮิมเลอร์สำหรับบทบาทหน้าที่ในหน่วยเอ็สเอ็สของเขา[34]
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1931 ไฮดริชได้เริ่มต้นงานของเขาในฐานะหัวหน้าแห่งหน่วยข่าวกรองแห่งใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น[30] เขาได้ก่อตั้งสำนักงานที่ทำเนียบน้ำตาล เป็นสำนักงานใหญ่แห่งชาติของพรรคนาซีในมิวนิก ในเดือนตุลาคม เขาได้สร้างเครือข่ายสายลับและผู้แจ้งข่าวสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข่าวกรอง และได้รับข้อมูลเพื่อใช้เป็นการแบล็กเมลล์ต่อเป้าหมายทางการเมืองต่อไป[35] ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คนนับพันคนถูกบันทึกไว้ในบัตรดัชนีและเก็บไว้ที่ทำเนียบน้ำตาล[36] เพื่อเป็นการฉลองครบรอบการแต่งงานในเดือนธันวาคมของไฮดริช ฮิมเลอร์ได้เลื่อนยศตำแหน่งเป็นเอ็สเอ็ส-ชตวร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันตรี)[37]
ใน ค.ศ. 1932 ข่าวลือได้ถูกแพร่กระจายออกไปโดยศัตรูของไฮดริช ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาว่า ต้นตระกูลของเขามาจากชาวยิว[38] วิลเฮ็ล์ม คานาริส ได้กล่าวว่า เขาได้รับสำเนาเอกสารที่พิสูจน์ถึงต้นตระกูลเชื้อสายชาวยิวของไฮดริช แต่สำเนาฉบับนี้ไม่เคยปรากฏเลย[39] นาซี เกาไลเทอร์ รูด็อล์ฟ จอร์แดน ได้กล่าวอ้างว่า ไฮดริชไม่ใช่ชาวอารยันอันบริสุทธิ์[38] ภายในองค์กรนาซี การเสียดสีดังกล่าวอาจจะเป็นการประณามสาปแช่ง แม้แต่กระทั่งหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของไรชก็ตาม เกรกอร์ ชตรัสเซอร์ได้ส่งข้อกล่าวหาไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อชาติของพรรคนาซี อาคิม แกเคอ(Achim Gercke) เป็นผู้ตรวจสอบการลำดับวงศ์ตระกูลของไฮดริช[38] แกเคอได้รายงานว่า ไฮดริช เป็น "ชาวเยอรมันมาแต่โดยกำเนิด และปราศจากสายเลือดที่ไม่ใช่คนผิวขาวแต่อย่างใดและสายเลือดชาวยิวอีกด้วย"[40] เขายืนยันว่าข่าวลือนั้นไม่มีมูลความจริง อย่างไรก็ตาม ไฮดริชได้ว่าจ้างเป็นการส่วนตัวกับแอ็นสท์ ฮอฟแมน สมาชิกหน่วยเอ็สเด เพื่อตรวจสอบและปัดข่าวลือเพิ่มเติม[38]
เกสตาโพและหน่วยเอ็สเด
แก้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1932 ฮิมเลอร์แต่งตั้งไฮดริชเป็นหัวหน้าแห่งองค์การรักษาความปลอดภัยที่ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่—ซิชเชอร์ไฮทซ์ดีนสท์ (เอ็สดี)[30] หน่วยต่อต้านข่าวกรองของไฮดริชกลายเป็นเครื่องจักรแห่งความน่าสะพรึงกลัวและการข่มขู่อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อฮิตเลอร์ได้มุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จในเยอรมนี ฮิมเลอร์และไฮดริชต้องการที่จะเข้าควบคุมกองกำลังตำรวจทางการเมืองของรัฐเยอรมันทั้งหมดสิบเจ็ดรัฐ พวกเขาเริ่มจากบาวาเรีย ใน ค.ศ. 1933 ไฮดริชได้รวบรวมคนของเขาบางส่วนจากหน่วยเอ็สเด และพวกเขาบุกเข้าไปในกองบัญชาการตำรวจในมิวนิกพร้อมกันและเข้ายึดองค์กรโดยใช้กลยุทธ์ในการข่มขู่ ฮิมเลอร์กลายเป็นหัวหน้าตำรวจแห่งมิวนิกและไฮดริชกลายเป็นผู้บัญชาการแห่งแผนก 4 ตำรวจการเมืองบาวาเรีย[41]
ใน ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีและผ่านการประกาศใช้กฤษฎีกาต่าง ๆ จนกลายเป็นฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์ (Führer und Reichskanzler) แห่งเยอรมนี[42] ค่ายกักกันแห่งแรกซึ่งแต่เดิมตั้งใจจะให้เป็นที่พักของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1933 ภายในสิ้นปีนี้มีมากกว่าห้าสิบค่าย[43]
แฮร์มัน เกอริง ก่อตั้งหน่วยเกสตาโพใน ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจปรัสเซีย เมื่อเกอริงโอนย้ายอำนาจทั้งหมดไปยังฮิมเลอร์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1934 มันจึงกลายเป็นเครื่องมือแห่งความน่าสะพรึงกลัวโดยทันทีภายใต้ขอบเขตอำนาจของหน่วยเอ็สเอ็ส[44] ฮิมเลอร์ได้เสนอชื่อไฮดริชในการดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจลับเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1934[45] เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1934 รูด็อล์ฟ เฮ็สได้ประกาศให้หน่วยเอ็สเดเป็นหน่วยข่าวกรองของนาซีอย่างเป็นทางการ[46]
การบดขยี้หน่วยเอ็สเอ
แก้จุดเริ่มต้นในเดือนเมษายน และตามคำเรียกร้องของฮิตเลอร์ ไฮดริชและฮิมเลอร์ได้ริเริ่มสร้างเอกสารเกี่ยวกับแอ็นสท์ เริห์ม ผู้นำของหน่วยชตวร์มอัพไทลุง(เอ็สเอ) ในความพยายามถอดถอนเขาซึ่งเป็นคู่แข่งให้ออกจากตำแหน่งผู้นำพรรค ณ จุดนี้ หน่วยเอ็สเอ็สยังคงเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยเอ็สเอ ซึ่งเป็นองค์กรกองกำลังกึ่งทหารของนาซีในช่วงแรก ซึ่งตอนนี้มีจำนวนมากกว่า 3 ล้านนาย[47] ตามคำสั่งของฮิตเลอร์ ไฮดริช ฮิมเลอร์ เกอริง และวิกเตอร์ ลุตซ์ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่สมควรจะกำจัด โดยเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยเอ็สเอจำนวนเจ็ดนายและรวมทั้งอีกหลายคน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1934 หน่วยเอ็สเอ็สและเกสตาโพได้ประสานปฏิบัติการร่วมกันในการจับกุมหมู่คนมากซึ่งได้ดำเนินเป็นเวลาสองวัน เริห์มถูกยิงจนเสียชีวิตโดยไม่มีการไต่สวนแต่อย่างใด พร้อมกับเหล่าผู้นำของหน่วยเอ็สเอ[48] การกวาดล้างครั้งนี้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ คืนมีดยาว มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 200 คนในปฏิบัติการครั้งนี้ ลุตซ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคนใหม่และแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นองค์กรกีฬาและการฝึกฝน[49]
เมื่อหน่วยเอ็สเอได้ถูกกำจัดออกไปให้พ้นทางแล้ว ไฮดริชจึงริเริ่มสร้างหน่วยเกสตาโพให้กลายเป็นเครื่องมือแห่งสะพรึงกลัว เขาได้ปรับปรุงระบบบัตรดัชนี โดยการสร้างหมวดหมู่ของผู้กระทำผิดด้วยบัตรรหัสสีต่าง ๆ[50] เกสตาโพมีอำนาจในการจับกุมพลเมืองโดยต้องสงสัยว่าพวกเขาอาจจะก่ออาชญากรรม และคำจำกัดความของอาชญากรรมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพวกเขา กฎหมายว่าด้วยตำรวจลับได้รับการอนุมัติใน ค.ศ. 1936 ได้ให้สิทธิแก่ตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่พิเศษทางกฎหมาย สิ่งนี้นำไปสู่การใช้อย่างกว้างขวางของคำว่า Schutzhaft—"การอารักขาการปกครอง" ซึ่งเป็นคำสละสวยเพื่อมอบหมายอำนาจในการกักขังประชาชนโดยไม่มีการไต่สวนดำเนินคดี[51] ศาลจะไม่ได้รับอนุญาตในการไต่สวนหรือเข้าแทรกแซง เกสตาโพได้ถูกพิจารณาถือว่าปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายตราบเท่าที่เป็นไปตามเจตจำนงของผู้นำ ประชาชนถูกจับกุมตามอำเภอใจ ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันหรือถูกฆ่าตาย[43]
ฮิมเลอร์ได้เริ่มพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาดั้งเดิมของเจอร์มานิกและต้องการให้สมาชิกหน่วยเอ็สเอ็สละทิ้งการนับถือศาสนาคริสต์เสีย ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1936 ไฮดริชได้ละทิ้งการนับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อสนับสนุนขบวนการ Gottgläubig (ผู้เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า)[52] ลีนา ผู้เป็นภรรยาของเขาก็เคยทำมาแล้วเมื่อปีก่อน ไฮดริชไม่เพียงแต่จะรู้สึกว่าเขาไม่สามารถที่จะเป็นสมาชิกได้อีกต่อไป แต่กลับมาพิจารณาถึงอำนาจทางการเมืองของคริสตจักรและอิทธิพลที่เป็นภัยต่อรัฐ[53]
การรวบรวมกองกำลังตำรวจ
แก้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1936 กองกำลังตำรวจทั้งหมดทั่วทั้งประเทศเยอรมนีได้มารวมตัวกัน ภายหลังจากฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งฮิมเลอร์เป็นหัวหน้าตำรวจเยอรมัน ด้วยการแต่งตั้งครั้งนี้โดยฮิตเลอร์ ฮิมเลอร์ และผู้ช่วยของเขา ไฮดริช กลายเป็นชายสองคนที่ทรงอำนาจมากที่สุดในการบริหารปกครองภายในของเยอรมนี[54] ฮิมเลอร์ได้ทำการปรับปรุงตำรวจเสียใหม่โดยทันทีจนออกมาเป็นสองกลุ่ม: ออร์ดนุงส์โพลีทไซ (ตำรวจรักษาความสงบหรือเรียกว่า ออร์โพ) ประกอบไปด้วยทั้งตำรวจเครื่องแบบประจำชาติและตำรวจเทศบาล และซิชเชอร์ไฮทซ์โพลีทไซ (ตำรวจความมั่นคงหรือเรียกว่า ซีโพ) ประกอบไปด้วย Geheime Staatspolizei (ตำรวจลับของรัฐหรือเรียกว่า เกสตาโพ) และครีมีนาลโพลีทไซ (ตำรวจอาชญากรรมหรือเรียกว่า ครีโพ)[55] ณ จุดนี้ ไฮดริชเป็นหัวหน้าของหน่วยซีโพและหน่วยเอ็สเด ส่วนไฮน์ริช มึลเลอร์เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของหน่วยเกสตาโพ[56]
ไฮดริชได้รับมอบมายในความช่วยเหลือการจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1936 ในกรุงเบอร์ลิน งานแข่งขันดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมโฆษณาชวนเชื่อเป้าหมายของระบอบนาซี ทูตสันถวไมตรีได้ถูกส่งไปยังประเทศที่กำลังพิจารณาในการคว่ำบาตร การต่อต้านชาวยิวอย่างรุนแรงได้ถูกสั่งห้ามในช่วงเวลาดังกล่าว และร้านแผงขายหนังสือพิมพ์จำเป็นต้องหยุดนำเสนอสำเนาฉบับของหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า Der Stürmer[57][58] สำหรับบทบาทของเขาในความสำเร็จของการแข่งขัน ไฮดริชได้รับปูนบำเหน็จด้วยเหรียญ Deutsches Olympiaehrenzeichen หรือเครื่องอิสริยาภรณ์การแข่งขันโอลิมปิกแห่งเยอรมัน (ชั้นที่ 1)[34]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 ไฮดริชได้ออกคำสั่งให้หน่วยเอ็สเดทำการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนอย่างลับ ๆ และรายงานผลตอบกลับมาจากการสืบค้น[59] จากนั้นเขาก็จะให้หน่วยเกสตาโพดำเนินการตรวจค้นบ้าน จับกุม และสอบปากคำ ด้วยเหตุนี้จึงถูกนำมาใช้ในการเข้าควบคุมความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ[60] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 นายกรัฐมนตรีแห่งออสเตรีย ควร์ท ชุชนิค ได้ต่อต้านข้อเสนอในการรวมผนวกประเทศกับเยอรมนีของฮิตเลอร์ ไฮดริชได้กดดันออสเตรียอย่างรุนแรงมากขึ้นด้วยการจัดกลุ่มผู้ประท้วงนาซีและเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในกรุงเวียนนา โดยมุ่งเน้นไปที่สายเลือดเจอร์มานิกร่วมกันของทั้งสองประเทศ[61] ในเหตุการณ์อันชลุส เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ฮิตเลอร์ได้ประกาศการผนวกรวมออสเตรียกับนาซีเยอรมนี[62]
ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1939 ไฮดริชได้ก่อตั้งมูลนิธิ Stiftung Nordhav เพื่อจัดหาอสังหารริมทรัพย์สำหรับหน่วยเอ็สเอ็สและตำรวจความมั่นคงเพื่อใช้เป็นบ้านรับรองและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ[63] วันเซ วิลล่า ซึ่ง Stiftung Nordhav ได้รับมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940[64] เป็นที่ตั้งของการประชุมที่วันเซ (20 มกราคม ค.ศ. 1942) ไฮดริชเป็นผู้นำบรรยาย โดยได้รับการสนับสนุนจากอาด็อล์ฟ ไอช์มัน ณ วันเซ เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของนาซีได้วางแผนในการขับไล่เนรเทศและกำจัดชาวยิวทั้งหมดในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมันและประเทศที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตเหล่านั้นอย่างเป็นทางการ[65] การกระทำครั้งนี้จะต้องประสางงานระหว่างตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐนาซีที่ได้เข้าร่วมประชุม[66]
เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1939 หน่วยเอ็สเดและซีโพ–รวมทั้งเกสตาโพและตำรวจอาชญากรรม หรือครีโพ ซึ่งถูกรวมเข้ากันอยู่ในกรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์ (Reichssicherheitshauptamt, RSHA) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของไฮดริช[67] ชื่อตำแหน่งของหัวหน้าตำรวจความมั่นคงและเอ็สเด(Chef der Sicherheitspolizei und des SD หรือ CSSD) ได้ถูกมอบให้กับไฮดริช เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม[68] ไฮดริชได้เข้ารับตำแหน่งประธานแห่งคณะกรรมาธิการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ต่อมาภายหลังถูกเรียกว่า ตำรวจสากล) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1940[69] และสำนักงานใหญ่ได้ถูกโยกย้ายไปยังกรุงเบอร์ลิน เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็น เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ อุนด์ เกเนราล เดอ โพลีไซ เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1941[27]
การกวาดล้างกองทัพแดง
แก้ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1936 ไฮดริชได้รับรู้ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโซเวียตกำลังวางแผนในการโค่นล้มโจเซฟ สตาลิน เมื่อสัมผัสได้ถึงโอกาสที่จะเข้าโจมตีทำลายล้างได้ทั้งกองทัพบกโซเวียตและพลเรือเอกคานาริส จากหน่วยอัพแวร์(หน่วยข่าวกรอง) ของเยอรมนี ไฮดริชจึงตัดสินใจว่า เหล่าเจ้าหน้าที่นายทหารของโซเวียตพวกนี้สมควรที่จะถูก"เปิดโปง" เขาได้หารือเรื่องนี้กับฮิมเลอร์ และทั้งสองก็ได้นำเรื่องนี้ไปให้ฮิตเลอร์สนใจ ฮิตเลอร์ได้อนุมัติแผนการของไฮดริชในปฏิบัติการทันที แต่"ข้อมูล" ที่ไฮดริชได้รับมานั้น แท้จริงแล้วเป็นข้อมูลเท็จซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยสตาลินตัวเขาเอง ในความพยายามที่จะดำเนินแผนการการกวาดล้างกองบัญชาการระดับสูงของกองทัพแดงเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สตาลินได้ออกคำสั่งให้หนึ่งในเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็นเควีดีที่ดีที่สุดของเขาคือ นายพล นิโคไล สโกบลิน ในการส่งข้อมูลเท็จไปยังไฮดริชที่ได้ระบุว่า จอมพล มีคาอิล ตูคาเชฟสกี และนายพลโซเวียตคนอื่น ๆ กำลังวางแผนต่อต้านสตาลิน[70]
เอกสารและจดหมายปลอมแปลงจากหน่วยเอ็สเดของไฮดริช ที่เกี่ยวข้องกับตูคาเชฟสกีและผู้บัญชาการแห่งกองทัพแดงคนอื่น ๆ พัสดุได้ถูกส่งไปยังหน่วยเอ็นเควีดี[71] การกวาดล้างครั้งใหญ่ต่อกองทัพแดงเป็นไปตามคำสั่งของสตาลิน ในขณะที่ไฮดริชหลงเชื่อว่าพวกเขาสามารถหลอกสตาลินได้สำเร็จในการประหารชีวิตหรือทำการปลดออกจากตำแหน่งแก่เหล่าเจ้าหน้าที่นายทหารของเขาจำนวน 35,000 นาย การให้ความสำคัญถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องการคาดเดาของไฮดริช[72] ฝ่ายอัยการทางทหารของโซเวียตไม่ได้ใช้เอกสารปลอมแปลงจากหน่วยเอ็สเดในการพิจารณาคดีอย่างลับ ๆ พวกเขากลับพึ่งพาคำรับสารภาพที่เป็นเท็จจากการถูกบีบบังคับหรือเฆี่ยนตีจากจำเลยแทน[73]
กฤษฏีกาค่ำคืนและสายหมอก
แก้ในช่วงปลาย 1940 กองทัพเยอรมันได้เข้ารุกรานพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก ในปีต่อมา หน่วยเอ็สเดของไฮดริชได้รับมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฤษฏีกาค่ำคืนและสายหมอก (นัคท์ อุนท์ เนเบิล)[74] ตามที่กฤษฏีกาได้ระบุไว้ว่า "บุคคลที่ภัยต่อความมั่นคงของเยอรมัน" จะต้องถูกจับกุมด้วยวิธีที่รอบคอบสุขุมมากที่สุด: "ภายใต้ค่ำคืนอันมืดมิดและสายหมอก" ผู้คนได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยโดยไม่มีใครสามารถรับรู้ถึงที่อยู่หรือชะตากรรมของพวกเขา สำหรับนักโทษแต่ละคน หน่วยเอ็สเดจะต้องกรอกแบบสอบถามที่ระบุถึงข้อมูลส่วนตัว ประเทศบ้านเกิด และข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมต่อไรช์ แบบสอบถามฉบับนี้จะถูกใส่ไว้ในซองที่ถูกประทับตราที่เขียนว่า "นัคท์ อุนท์ เนเบิล" และส่งไปยังกรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์(RSHA) ในกรมการใหญ่เศรษฐการและอำนวยการ(WVHA) "แฟ้มผู้ต้องขังส่วนกลาง" ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลค่ายกักกันหลายแห่ง ผู้ต้องขังเหล่านี้จะได้รับรหัส "นักโทษลับ" เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะแตกต่างจากรหัสสำหรับเชลยศึก อาชญากร ชาวยิว ยิปซี เป็นต้น กฤษฏีกาฉบับนี้ยังคงมีผลบังคับใช้ ภายหลังจากการเสียชีวิตของไฮดริช จำนวนที่แน่นอนของผู้คนที่สูญหายภายใต้ที่มีการจัดตั้งขึ้นในเชิงบวก แต่คาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 7,000 คน[75]
นโยบายต่อต้านชาวโปแลนด์
แก้ไฮดริชได้ก่อตั้งหน่วย "Zentralstelle IIP Polen" ของเกสตาโพในคำสั่งเพื่อประสานงานร่วมกันในการกวาดล้างชาติพันธ์ชาวโปแลนด์ใน "ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก" และอินเทลลิเกนซักติออน (Intelligenzaktion)[76] สองรหัสนามสำหรับปฏิบัติการในการกำจัดที่มุ่งเป้าหมายไปที่ชาวโปแลนด์ในช่วงการยึดครองโปแลนด์ของเยอรมัน[77][78] ท่ามกลางผู้คน 100,000 คนล้วนถูกสังหารในปฏิบัติการอินเทลลิเกนซักติออนใน ค.ศ. 1939-1940 มีจำนวนประมาณ 61,000 คนซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนชาวโปแลนด์: นักวิชาการ นักบวช อดีตเจ้าหน้าที่ และอื่น ๆ ที่ถูกระบุโดยเยอรมันว่าเป็นเป้าหมายทางการเมืองในหนังสือดำเนินคดีพิเศษ-โปแลนด์ ซึ่งได้ถูกรวบรวมไว้ในช่วงก่อนสงครามจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939[79]
การเข้ามารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย
แก้เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1941 ไฮดริชได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย (ส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียซึ่งถูกรวมเข้ามาอยู่ในไรช์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939) และได้เข้าควบคุมดินแดน ผู้ว่าการรัฐไรช์ ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท ยังคงเป็นผู้ปกครองดินแดนเพียงแต่ในนาม แต่ถูกส่งให้"ออกไป" เพราะฮิตเลอร์ ฮิมเลอร์ และไฮดริชต่างรู้สึกว่า "วิธีการที่ดูนุ่มนวล" ของเขาต่อชาวเช็กได้ส่งเสริมความรู้สึกต่อต้านเยอรมันและสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเยอรมันโดยการนัดหยุดงานและก่อวินาศกรรม[80] เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้ง ไฮดริชได้บอกกับผู้ช่วยของเขาว่า: "เราจะทำให้กลายเป็นเยอรมันแก่ชาวเช็กที่น่ารังเกียจ"[81]
ไฮดริชได้มาถึงกรุงปรากเพื่อบังคับใช้นโยบาย ต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านระบอบนาซี และรักษาโควตาการผลิตยานยนต์และอาวุธของเช็กซึ่ง "มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน"[80] เขาได้มองว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นป้อมปราการของชนชาติเยอรมัน และประณาม"การแทงข้างหลัง" ของฝ่ายต่อต้านชาวเช็ก เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไฮดริชได้เรียกร้องการจำแนกประเภททางเชื้อชาติของผู้ที่สามารถและไม่สามารถพูดเป็นภาษาเยอรมันได้ เขาได้อธิบายว่า "การทำให้ชาวเช็กที่เป็นดั่งขยะนี้กลายเป็นชาวเยอรมันต้องยอมทำตามวิธีการที่ขึ้นอยู่กับความคิดแบ่งแยกทางเชื้อชาติ"[82]
ไฮดริชได้เริ่มต้นการปกครองด้วยการข่มขู่ประชาชน: เขาได้การประกาศใช้กฎอัยการศึก และมีผู้คน 142 คนล้วนถูกประหารชีวิตภายในห้าวันหลังจากการเดินทางมาถึงกรุงปราก[83] ชื่อของพวกเขาปรากฏบนแผ่นโปสเตอร์ทั่วประเทศที่ถูกยึดครอง[84] ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของฝ่ายต่อต้านที่เคยถูกจับกุมมาก่อนและกำลังรอการพิจารณาคดี
ตามที่ไฮดริชได้คำนวณเอาไว้ ประชาชนจำนวนระหว่าง 4,000 และ 5,000 คนล้วนถูกจับกุม และระหว่าง 400 และ 500 คนล้วนถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942[83][a] ผู้ที่ไม่ได้ถูกประหารชีวิตจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันเมาเทาเซิน-กูเซิน ที่แห่งนั้นมีเพียงสี่เปอร์เซ็นเท่านั้นของนักโทษชาวเช็กที่รอดชีวิตในสงคราม[84] นายกรัฐมนตรีแห่งเช็ก อโลยส์ อีเลียสได้ตกเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกจับกุมในวันแรก เขาถูกนำตัวขึ้นศาลในกรุงเบอร์ลินและถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ถูกไว้ชีวิตเพื่อเป็นตัวประกัน ต่อมาภายหลังเขาก็ถูกประหารชีวิตเพื่อเป็นการตอบโต้จากการลอบสังหารไฮดริช[85][86][87]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 การกวาดล้างที่เพิ่มมากขึ้นต่อองค์กรวัฒนธรรมและความรักชาติ การทหาร และปัญชาชนของชาวเช็ก ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอัมพาตในทางปฏิบัติของฝ่ายต่อต้านชาวเช็กที่อยู่ในกรุงลอนดอน ช่องทางเกือบทั้งหมดที่ชาวเช็กจะสามารถแสดงวัฒนธรรมเช็กในที่สาธารณะได้ปิดตัวลง[82] แม้ว่าหน่วยลับคอมมิวนิสต์ขนาดเล็กที่ไม่เป็นระเบียบของผู้นำกลางแห่งฝ่ายต่อต้านบ้านเกิด (Ústřední vedení odboje domácího, ÚVOD) จะรอดพ้นมาได้ มีเพียงฝ่ายต่อต้านของพวกคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่สามารถทำงานในลักษณะคอยประสานงานร่วมกันได้(แม้ว่าจะถูกจับกุมก็ตาม)[84] ความสะพรึงกลัวยังทำให้การต่อต้านกลายเป็นง่อยในสังคม ด้วยการตอบโต้อย่างเปิดเผยและแพร่หลายโดยนาซีต่อการกระทำใด ๆ ที่ลุกฮือต่อต้านต่อการปกครองของเยอรมัน[84] นโยบายที่โหดเหี้ยมของไฮดริชในช่วงเวลานั้นทำให้เขาได้รับฉายาว่า "จอมเชือดแห่งปราก"[88] อย่างรวดเร็ว การตอบโต้ได้ถูกเรียกโดยชาวเช็กว่า "ไฮดริชเคียอานา"(Heydrichiáda)[89]
ในฐานะผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ไฮดริชได้ใช้วิธีการแบบแครอทและกิ่งไม้[90] แรงงานได้ถูกปรับปรุงขึ้นมาใหม่บนรากฐานของแนวร่วมแรงงานเยอรมัน ไฮดริชได้ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ยึดมาได้จากองค์กรยิมนาสติกของเช็กที่มีชื่อว่า Sokol เพื่อจัดกิจกรรมสำหรับคนงาน[91] มีการแจกจ่ายด้วยส่วนแบ่งปันอาหารและรองเท้าแบบฟรี ๆ เพิ่มเงินบำนาญ และเสนอให้มีอิสระในวันเสาร์(แบบชั่วขณะหนึ่ง) การประกันคุ้มครองการว่างงานได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก[90] การค้าตลาดมืดได้ถูกปราบปราม ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่ในขบวนการฝ่ายต่อต้านจะถูกนำตัวไปทรมานหรือประหารชีวิต ไฮดริชได้เรียกพวกเขาว่า "อาชญากรทางเศรษฐกิจ" และ "ศัตรูของประชาชน" ซึ่งช่วยให้เขาได้รับการสนับสนุน สภาพในกรุงปรากและส่วนที่เหลือของดินแดนเช็กดูค่อนข้างสงบภายใต้ไฮดริช และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ถึงกระนั้น มาตรการเหล่านั้นก็ไม่สามารถหลบซ่อนภาวะการขาดแคลนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นได้[90] การรายงานความไม่พอใจที่เกิดขึ้นได้เพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณ[91]
แม้ว่าจะมีการเปิดเผยต่อสาธารณะถึงความปรารถนาดีต่อประชาชน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ไฮดริชมีความชัดเจนอย่างมากเกี่ยวกับเป้าหมายสุดท้ายของเขา: "พื้นที่ทั้งหมดนี้ในวันหนึ่งจะกลายเป็นของเยอรมันอย่างแน่นอน และชาวเช็กก็ไม่มีอะไรที่จะคาดหวังที่นี่อีก" ในท้ายที่สุด จำนวนมากถึงสองในสามของประชากรจะต้องถูกเคลื่อนย้ายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของรัสเซีย หรือถูกกำจัดทิ้งภายหลังจากนาซีเยอรมนีชนะสงคราม ดินแดนโบฮีเมียและมอเรเวียจะต้องถูกผนวกรวมเข้ากับไรช์เยอรมันโดยตรง[92]
เหล่าแรงงานชาวเช็กถูกเอารัดเอาเปรียบในฐานะแรงงานเกณฑ์บังคับของนาซี[91] แรงงานกว่า 100,000 คนล้วนถูกปลดออกจากงานที่คิดว่า "ไม่เหมาะสม" และถูกต้อนเกณฑ์โดยกระทรวงแรงงาน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ชาวเช็กสามารถถูกเรียกให้ไปทำงานที่ใดก็ได้ภายในไรช์ ระหว่างเดือนเมษายน และพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 คนงานชาวเช็ก 79,000 คนล้วนถูกจับกุมในลักษณะนี้เพื่อทำงานภายในเยอรมนี นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 วันทำงานได้ถูกเพิ่มขึ้นจากแปดชั่วโมงเป็นสิบสองชั่วโมง[93]
ไฮดริชเป็นความตั้งใจและวัตถุประสงค์ทั้งหมด เผด็จการทหารแห่งโบฮีเมียและมอเรเวีย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐบาลทำให้ประธานาธิบดี Emil Hácha และคณะรัฐมนตรีแทบจะไร้ซึ่งอำนาจเลย เขามักจะชอบเดินทางโดยการนั่งบนรถที่ไม่มีหลังคาเพียงลำพังโดยปราศจากการคุ้มกัน – เป็นการแสดงถึงความมั่นอกมั่นใจในกองกำลังฝ่ายยึดครองและประสิทธิภาพของรัฐบาลของเขา[94]
ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1941 หน่วยข่าวกรองทางทหารของเชโกสโลวักในกรุงลอนดอนได้ตัดสินใจที่จะลอบสังหารไฮดริช[95][96]
บทบาทในฮอโลคอสต์
แก้นักประวัติศาสตร์ได้มองว่าไฮดริชเป็นสมาชิกที่น่าเกรงขามมากที่สุดของชนชั้นนำของนาซี[5][6][7] ฮิตเลอร์ได้เรียกเขาว่า "บุรุษผู้มีหัวใจดั่งเหล็ก"[4] เขาเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบหลักของฮอโลคอสต์ในช่วงแรกของสงคราม โดยตอบรับและรับคำสั่งจากฮิตเลอร์ เกอริ่ง และฮิมเลอร์เท่านั้นในทุกเรื่องเกี่ยวกับการขับไล่เนรเทศ การคุมขัง และการกำจัดชาวยิว
ไฮดริชเป็นหนึ่งในผู้จัดฉากของคืนกระจกแตก(คริสทัลล์นัคท์) การโพกรมต่อชาวยิวทั่วทั้งเยอรมนีในคืนวันที่ 9-10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ไฮดริชได้ส่งโทรเลขในช่วงคืนนั้นไปยังสำนักงานหน่วยเอ็สเดและเกสตาโพหลายแห่ง ให้ความช่วยเหลือประสานงานร่วมกันในการโพกรมพร้อมด้วยหน่วยเอ็สเอ็ส หน่วยเอ็สเด เกสตาโพ ตำรวจเครื่องแบบ(ออร์โพ) หน่วยเอ็สเอ เจ้าหน้าที่พรรคนาซี และแม้แต่ดับเพลิง ในโทรเลข ไฮดริชได้รับอนุญาตในการลอบวางเพลิงและทำลายล้างธุรกิจและธรรมศาลาของชาวยิว และสั่งให้ริบเอา"เอกสารจดหมายเหตุ"ทั้งหมดมาจากศูนย์ชุมชนและธรรมศาลาของชาวยิว โทรเลขยังได้ออกคำสั่งให้"ชาวยิวจำนวนมากโดยเฉพาะชาวยิวผู้มั่นคั่งร่ำรวย-ซึ่งจะถูกจับกุมในทุกอำเภอที่สามารถเอื้ออำนวยในสถานที่คุมขังเท่าที่มีอยู่ได้... ทันทีที่ถูกจับกุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สมควรติดต่อไปยังค่ายกักกันที่เหมาะสมเพื่อส่งชาวยิวเข้าไปในค่ายโดยเร็วที่สุด"[97][98] ชาวยิวจำนวนสองหมื่นคนได้ถูกส่งไปยังค่ายกักกันโดยทันทีในวันต่อมา[99] นักประวัติศาสตร์ได้ถือว่า คริสทัลล์นัคท์เป็นจุดเริ่มต้นของฮอโลคอสต์[100]
เมื่อฮิตเลอร์ต้องการที่จะหาข้ออ้างสำหรับการบุกครองโปแลนด์ใน ค.ศ. 1939 ฮิมเลอร์ ไฮดริช และไฮน์ริช มึลเลอร์ได้เชี่ยวชาญในการวางแผนของการสร้างธงปลอมขึ้นภายใต้รหัสนามว่า ปฏิบัติการฮิมเลอร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโจมตีปลอมต่อสถานีวิทยุเยอรมันที่ไกลวิทซ์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ไฮดริชได้วางแผนได้อย่างเชี่ยวชาญและคอยสำรวจสถานพื้นที่ ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนโปแลนด์ประมาณ 4 ไมล์ กองกำลังทหารเยอรมันจำนวน 150 นาย ซึ่งสวมเครื่องแบบทหารโปแลนด์ได้เข้าโจมตีหลายครั้งตามแนวชายแดน ฮิตเลอร์ได้ใช้กลอุบายนี้เป็นข้ออ้างในการเปิดฉากการบุกครองทันที[101][102]
ตามคำแนะนำของฮิมเลอร์ ไฮดริชได้ก่อตั้งหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน(กองกำลังเฉพาะกิจ) เพื่อการเดินทางในการปลุกใจแก่กองทัพเยอรมันในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง[103] เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1939 ไฮดริชได้ส่งข้อความโทรเลขเกี่ยวกับ"ปัญหาชาวยิวในดินแดนที่ถูกยึดครอง" ไปยังหัวหน้าของหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินทั้งหมด พร้อมกับให้คำแนะนำในการรวบรวมชาวยิวให้ไปอยู่ในเขตเกตโต เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง Judenräte (สภาชาวยิว) ออกคำสั่งในการจัดทำสำมะโนครัวและส่งเสริมแผนการทำให้เป็นของชาวอารยัน (Aryanization) สำหรับธุรกิจและฟาร์มของชาวยิว ท่ามกลางมาตรการอื่น ๆ[b] หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินได้ติดตามกองทัพบกเข้าไปในโปแลนด์เพื่อดำเนินตามแผน ต่อมาภายหลัง, ในสภาพโซเวียต พวกเขาถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า ได้ทำการไล่ล่าและสังหารชาวยิวด้วยการยิงเป้าแบบชุดทีมและรถตู้รมแก๊ส[104] นักประวัติศาสตร์นามว่า Raul Hilberg ได้ประเมินว่า ระหว่างปี ค.ศ. 1941 และ ค.ศ. 1945 ไอน์ซัทซ์กรุพเพินและกองกำลังสนับสนุนที่เกี่ยวข้องได้สังหารผู้คนมากกว่าสองล้านคน รวมทั้งชาวยิว 1.3 ล้านคน[105] ไฮดริชได้รับรองความปลอดภัยแก่นักกีฬาบางคน เช่น Paul Sommer ผู้ชนะเลิศนักกีฬาฟันดาบชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่เขาเคยรู้จักกันตั้งแต่สมัยก่อนที่เขาจะเข้าหน่วยเอ็สเอ็ส และทีมนักกีฬาฟันดาบโอลิมปิกสัญชาติโปแลนด์ที่ได้ร่วมการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1936[106]
เมื่อ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ไฮดริชได้ออกโทรเลขเกี่ยวกับ"การอพยพของจังหวัดตะวันออกใหม่" โดยให้ข้อมูลรายละเอียดในการขับไล่เนรเทศผู้คนโดยทางรถไฟไปยังค่ายกักกัน และให้คำแนะนำในการสำรวจสำมะโนครัวโดยรอบในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานในการดำเนินการขับไล่เนรเทศดังกล่าว[107] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไฮดริชได้ร่างกฎเกณฑ์กับพลาธิการนายพล(Quartermaster general) Eduard Wagner สำหรับการรุกรานสหภาพโซเวียตที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการรับรองว่า หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินและกองทัพบกจะร่วมมือกันในการสังหารชาวโซเวียตเชื้อสายยิว[108]
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ไฮดริชเป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสในการประชุมเกี่ยวกับ"มาตรการสุดท้าย"ของ RSHA[c] ในกรุงปรากที่ได้กล่าวบรรยายถึงการขับไล่เนรเทศชาวยิวจำนวน 50,000 คนจากรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียไปยังเขตเกตโตในมินส์คและริกา ด้วยตำแหน่งของเขา ไฮดริชมีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินตามแผนเหล่านี้ เนื่องจากหน่วยเกสตาโพของเขาเตรียมพร้อมที่จะทำการขับไล่เนรเทศอย่างเป็นระบบในตะวันตกและหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินของเขาได้ดำเนินปฏิบัติการสังหารเรียบอย่างกว้างขวางในตะวันออก[109] เจ้าหน้าที่ที่ได้เข้าร่วมยังได้หารือเกี่ยวกับการรับชาวยิวจำนวน 5,000 คนจากกรุงปราก "ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา" และส่งมอบให้แก่ผู้บัญชาการของหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินอย่าง Arthur Nebe และ Otto Rasch นอกจากนี้ยังมีการวางแผนในการสร้างเขตเกตโตในรัฐในอารักขา ส่งผลทำให้เกิดการก่อสร้างของเธเรเซียนชตัดท์ (Theresienstadt)[110] ที่ซึ่งผู้คนกว่า 33,000 คนจะล้มตายในที่สุด จำนวนกว่าหมื่นคนจะผ่านการเข้าค่ายก่อนที่จะถูกส่งไปตายในตะวันออก[111] ใน ค.ศ. 1941 ฮิมเลอร์ได้เรียกไฮดริชว่า "เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ" การโยกย้ายแบบบังคับต่อชาวยิวจำนวน 60,000 คนจากเยอรมนีและเชโกสโลวาเกียไปยังเขตเกตตโตลอดซ์(ลิทซ์มันน์ชตัดท์) ในโปแลนด์[112]
ช่วงก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แฮร์มัน เกอริงได้มอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ไฮดริชเพื่อรับรองว่าจะมีการร่วมมือของผู้นำฝ่ายบริหารของแผนกต่าง ๆ ของรัฐบาลในการดำเนินการของ "มาตราการสุดท้ายต่อปัญหาชาวยิว" ในดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมัน[113] เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1942 ไฮดริชเป็นประธานในการประชุม ซึ่งในปัจจุบันถูกเรียกว่า การประชุมที่วันเซ เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนดังกล่าว[114][115]
เสียชีวิต
แก้ในกรุงลอนดอน รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียได้ตัดสินใจที่จะกำจัดไฮดริช Jan Kubiš และ Jozef Gabčík หัวหน้าทีมที่ถูกเลือกในการทำภารกิจครั้งนี้ ซึ่งได้รับการฝึกจากฝ่ายบริหารปฏิบัติการพิเศษ(SOE) ของบริติช เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พวกเขาได้โดดร่มเข้าไปในรัฐในอารักขา ซึ่งพวกเขาได้อาศัยในที่หลบซ่อน เตรียมความพร้อมในการทำภารกิจครั้งนี้[116]
วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 ไฮดริชมีแผนที่จะเข้าพบกับฮิตเลอร์ในกรุงเบอร์ลิน เอกสารเยอรมันได้ระบุว่า ฮิตเลอร์ตั้งใจที่จะย้ายเขาไปยังฝรั่งเศสที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน ที่นั้นฝ่ายต่อต้านฝรั่งเศสกำลังเป็นที่จุดสนใจ[117] เพื่อการเดินทางจากบ้านสู่สนามบิน ไฮดริชจะต้องผ่านส่วนหนึ่งที่ถนนเดรสเดิน-ปรากมาบรรจบกับถนนสู่สะพานโทรยา ทางสี่แยกไฟแดงในลิเบ็น(Libeň) ย่านชานเมืองในกรุงปรากเป็นจุดตำแหน่งที่เหมาะพอดีในการเข้าโจมตี เนื่องจากคนขับจะต้องชะลอรถในทางโค้งหักศอก ในขณะที่รถของไฮดริชได้ชะลอรถอย่างช้า ๆ Gabčík จึงเล็งด้วยปืนกลมือสเตนพร้อมลั่นไกยิง แต่ปืนกลับขัดลำกล้องจนยิงไม่ออก ไฮดริชได้สั่งให้คนขับรถของเขานามว่า ไคลน์ ทำการหยุดรถและพยายามที่จะเผชิญหน้ากับ Gabčík แทนที่จะรีบหนีไป(พร้อมกับชักปืนพกเพื่อหมายจะยิงใส่ Gabčík) Kubiš ซึ่งยังไม่ถูกพบโดยไฮดริชหรือไคลน์ ก็ได้โยนทุ่นระเบิดที่ถูกดัดแปลงใส่ไปยังรถยนต์ที่จอดอยู่ โดยตกลงไปที่ล้อส่วนหลัง แรงระเบิดได้ฉีกทะลุแผ่นบังโคลนด้านขวาหลังและไฮดริชก็ได้รับบาดเจ็บ โดยมีเศษโลหะและเส้นใยจากเบาะนั่ง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับด้านข้างซ้ายของเขา เขาได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสที่กะบังลม ม้าม และปอดข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับกระดูกซี่โครงหัก Kubiš ได้รับบาดเจ็บจากเศษกระสุนเพียงเล็กน้อยที่ใบหน้าของเขา[118][119] ภายหลังจากที่ Kubiš หนีไป ไฮดริชสั่งให้ไคลน์วิ่งไล่ติดตาม Gabčík ไป และ Gabčík ได้ยิงไคลน์เข้าที่ขาจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่ตัวเขาเองจะหลบหนีไป[120][121]
มีผู้หญิงชาวเช็กคนหนึ่งเข้าไปช่วยเหลือแก่ไฮดริชและโบกรถตู้ส่งของให้พาไปส่งโรงพยาบาล เขาต้องอดทนอยู่ในด้านหลังของรถตู้และถูกนำตัวไปที่ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาล Bulovka[122] ซึ่งได้ทำการผ่าตัดเอาม้ามออก และบาดแผลที่หน้าอก ปอดข้างซ้าย และกะบังลมได้ถูกตัดเล็มออกทั้งหมด[122] ฮิมเลอร์ได้สั่งให้ Karl Gebhardt บินไปยังกรุงปรากเพื่อคอยดูแล แม้ว่าจะมีไข้ แต่การฟื้นตัวของไฮดริชดูเหมือนจะมีความคืบหน้า แพทย์ส่วนตัวของฮิตเลอร์ ธีโอดอร์ โมเรล ได้เสนอให้มีการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียตัวใหม่อย่างซัลโฟนาไมด์ แต่ Gebhardt คิดว่าไฮดริชจะหายดีแล้ว และปฏิเสธข้อเสนอนั้นไป[123] ไฮดริชได้ทำความเข้าใจกับโชคชะตาของเขาเองในวันที่ 2 มิถุนายน ในช่วงระหว่างการแวะเยี่ยมของฮิมเลอร์ โดยได้ท่องบทละครโอเปร่าของบิดาเขาบทหนึ่งว่า:
โลกใบนี้เป็นเพียงหีบเพลงที่พระผู้เป็นเจ้าทรงหมุนเล่นด้วยพระองค์เอง พวกเราทุกคนต่างเต้นตามจังหวะเพลงบนกลองอยู่แล้ว.[124]
วันที่ 3 มิถุนายน ภายหลังจากวันที่ฮิมเลอร์แวะเยี่ยม ไฮดริชตกอยู่ในอาการโคม่าและไม่รู้สึกตัวขึ้นมาอีกเลย เขาได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ผลของการชันสูตรศพได้สรุปว่า เขาเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด[125] เขามีอายุเพียง 38 ปี
พิธีศพ
แก้ภายหลังจากพิธีศพอันประณีตได้ถูกจัดทำขึ้นในกรุงปราก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1942 โลงศพของไฮดริชได้ถูกนำขึ้นรถไฟไปยังกรุงเบอร์ลิน โดยมีการจัดพิธีครั้งที่สองขึ้นในทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์แห่งใหม่ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ฮิมเลอร์ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญ[126] ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมและวางเครื่องอิสริยาภรณ์ของไฮดริช—รวมทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เยอรมันระดับสูงสุด เหรียญเครื่องอิสริยาภรณ์เลือด เครื่องหมายบาดเจ็บด้วยสีทอง และกางเขนวีรกรรมสงคราม ชั้นที่ 1 พร้อมด้วยดาบ—บนหมอนศพของเขา[127] แม้ว่าการเสียชีวิตของไฮดริชจะถูกนำมาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อในการสนับสนุนไรช์ ฮิตเลอร์ได้กล่าวตำหนิไฮดริชเป็นการส่วนตัวสำหรับความตายของเขาเอง ด้วยความประมาทเลินเล่อ:
เนื่องจากเป็นโอกาสที่ไม่เพียงที่จะเป็นหัวขโมย แต่ยังเป็นมือสังหารอีกด้วย ท่าทางที่กล้าหาญอันบ้าบิ่น อย่างเช่น การขับขี่ยานพาหนะที่ไร้หุ้มเกราะและเปิดโล่งหรือเดินเที่ยวเตร่ไปตามถนนโดยไม่ระมัดระวังเป็นเพียงความโง่เขลาอย่างยิ่ง ซึ่งทำหน้าที่ต่อปิตุภูมิไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว นั่นแหละ ชายที่ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ดังเช่นไฮดริช สมควรที่จะเปิดเผยต่ออันตรายที่ไม่จำเป็นด้วยตัวเขาเอง ข้าพเจ้าทำได้แค่กล่าวตำหนิว่าเป็นคนโง่เง่าและปัญญาอ่อน[128]
ศพของไฮดริชถูกฝังไว้ใน Invalidenfriedhof ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นสุสานทหาร[127] จุดฝังศพที่แน่ชัดนั้นไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณชนอีกต่อไป—ป้ายหลุมศพไม้แบบชั่วคราวได้หายไป เมื่อกองทัพแดงได้บุกรุกเข้าเมืองใน ค.ศ. 1945 ไม่เคยถูกแทนที่อีกเลย ดังนั้น หลุมศพของไฮดริชไม่ได้กลายเป็นจุดชุมนุมของพวกนีโอนาซี[129] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ช่องบีบีซีรายงานว่า หลุมศพที่ปราศจากป้ายของไฮดริชถูกเปิดออกโดยบุคคลนิรนาม โดยไม่มีใครไปจับกุมเขาได้เลย[130] ภาพถ่ายงานศพของไฮดริชได้แสดงพวงหรีดและผู้ไว้อาลัยในเขต เอ ซึ่งติดกับกำแพงด้านเหนือของ Invalidenfriedhof และ Scharnhorststraße ที่ด้านหน้าสุสาน[129] ชีวประวัติล่าสุดของไฮดริชได้ถูกวางไว้ในหลุมฝังศพในเขต เอ[131] ฮิตเลอร์มีแผนที่จะสร้างสุสานขนาดใหญ่ให้แก่ไฮดริช (ถูกออกแบบโดยประติมากรนามว่า อาร์โน แบร์เกอและสถาปนิกนามว่า วิลเฮล์ม ไครส์) แต่เนื่องจากความมั่นคั่งของเยอรมนีได้ตกต่ำลง จึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเลย[129]
ลีนา ผู้เป็นภรรยาหม้ายของไฮดริชได้ชนะคดีจากการได้สิทธิ์ในการรับเงินบำนาญภายหลังจากการฟ้องร้องคดีมาหลายครั้งต่อรัฐบาลเยอรมนีตะวันตกใน ค.ศ. 1956 และ ค.ศ. 1959 เธอได้ถูกประกาศว่ามีสิทธิ์ในการรับเงินบำนาญจำนวนมากมาย เนื่องจากสามีของเธอเป็นนายพลชาวเยอรมันที่เสียชีวิตในปฏิบัติหน้าที่ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ปฏิเสธที่จะจ่ายเนื่องจากบทบาทของไฮดริชในฮอโลคอสต์[132] ทั้งคู่มีบุตรทั้งสี่คน: Klaus เกิดใน ค.ศ. 1933 เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางจราจรใน ค.ศ. 1943 Heider เกิดใน ค.ศ. 1934 Silke เกิดใน ค.ศ. 1939 และ Marte ซึ่งถือกำเนิดได้ไม่นานภายหลังจากบิดาได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1942[133] ลีนาได้เขียนบันทึกอนุทินที่ชื่อว่า Leben mit einem Kriegsverbrecher (''มีชีวิตอยู่กับอาชญากรสงคราม'') ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1976[134] เธอได้แต่งงานอีกครั้งและเสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1985[135]
ผลสืบเนื่อง
แก้เหล่าผู้ลอบสังหารไฮดริชได้หลบซ่อนตัวอยู่ในเซฟเฮ้าส์และในท้ายที่สุดก็ได้ย้ายไปหลบซ่อนที่อาสนวิหารนักบุญไซริลและเมโธดิอุส โบสถ์นิกายออร์ทอดอกซ์ในกรุงปราก ภายหลังจากที่มีคนทรยศในขบวนการต่อต้านชาวเช็กได้บอกที่ซ่อนของพวกเขาให้เยอรมันรับรู้[136] โบสถ์ได้ถูกล้อมเต็มไปด้วยสมาชิกของหน่วยเอ็สเอ็สและเกสตาโพจำนวน 800 นาย ชาวเช็กหลายคนถูกสังหาร และส่วนที่เหลือได้หลบซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ดินของโบสถ์ เยอรมันได้พยายามต้อนพวกเขาเหล่านั้นด้วยอาวุธปืน แก๊สน้ำตา และทำให้น้ำท่วมในห้องใต้ดินของโบสถ์ จนในที่สุดก็สามารถบุกเข้ามาได้โดยการใช้ระเบิดมือ ฝ่ายต่อต้านชาวเช็กแทนที่จะยอมจำนน แต่พวกเขากลับเลือกที่จะปลิดชีพตัวเองจนหมดสิ้น ผู้ช่วยเหลือในการลอบสังหารซึ่งได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ บิชอฟ Gorazd ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เคารพยกย่องนับถือในฐานะมรณสักขีของนิกายออร์ทอดอกซ์[137]
ด้วยความโกรธแค้นต่อความตายของไฮดริช ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการจับกุมและประหารชีวิตชาวเช็กโดยการสุ่มเลือกจำนวน 10,000 คน แต่ภายหลังจากได้ปรึกษาหารือกับ Karl Hermann Frank เขาได้ยกเลิกคำสั่งทันที เนื่องจากเขาได้รับคำเตือนว่า ดินแดนเช็กเป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับกองทัพเยอรมัน และการสังหารประชาชนตามใจชอบอาจจะทำให้กำลังการผลิตของภูมิภาคได้ลดทอนลง ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการสืบสวนโดยด่วน หน่วยข่าวกรองลับได้เชื่อมโยงแบบผิด ๆ จากมือสังหารไปยังเมืองลิดยิตแซและแลฌากี เกสตาโปได้รายงานระบุว่า ลิดยิตแซ ซึ่งอยู่ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปราก ระยะทาง 22 กิโลเมตร(14 ไมล์) ได้ต้องสงสัยว่าเป็นที่หลบซ่อนของเหล่ามือสังหารเพราะว่าเจ้าหน้าที่นายทหารชาวเช็กหลายคนที่อยู่ในอังกฤษ ซึ่งได้มาจากที่แห่งนั่น และเกสตาโพได้ค้นพบเครื่องส่งสัญญาณวิทยุของฝ่ายต่อต้านในแลฌากี[138] เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ภายหลังจากได้ปรึกษาหารือกับฮิมเลอร์ และ Karl Hermann Frank ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการตอบโต้อย่างโหดเหี้ยม[139] วันที่ 9 มิถุนายน ในหมู่บ้านของลิดยิตแซ เด็กชายและผู้ชายจำนวน 172 คนที่อยู่ในอายุระหว่าง 14 ถึง 84 ปี ถูกยิงทิ้ง และภายหลังจากนั้น ผู้ใหญ่ทั้งหมดในแลฌากีล้วนถูกสังหารจนหมด[140]
สตรีทั้งหมดยกเว้นเพียง 4 คนจากลิดยิตแซ ได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกันราเวินส์บรึค (สี่คนเหล่านั้นได้ตั้งครรภ์–พวกเขาถูกบีบบังคับให้ไปทำแท้งที่โรงพยาบาลเดียวกันกับที่ไฮดริชเสียชีวิต และจากนั้นผู้หญิงเหล่านั้นได้ถูกส่งไปยังค่ายกักกัน) เด็กบางคนได้ถูกเลือกให้กลายเป็นชาวเยอรมัน และ 81 คนล้วนถูกสังหารในรถตู้รมแก๊สที่ค่ายกักกันเคลมนอ ทั้งสองเมืองถูกเผาไหม้และซากปรักหักพังของลิดยิตแซได้ถูกเกลี่ยพื้นดินให้เรียบ[141][142] โดยรวมแล้ว ชาวเช็กอย่างน้อย 1,300 คน รวมทั้งสตรี 200 คนล้วนถูกสังหารในการล้างแค้นจากการลอบสังหารไฮดริช[143][144][145]
ไฮดริชได้ถูกเข้ามาแทนที่โดยแอ็นสท์ คัลเทินบรุนเนอร์ ในฐานะหัวหน้าแห่ง RSHA,[146] และ Karl Hermann Frank (27–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1942) และควร์ท ดาลือเกอ (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1943) ในฐานะผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์ (Reichsprotektors) ภายหลังจากการเสียชีวิตของไฮดริช การดำเนินการของนโยบายอย่างเป็นทางการที่การประชุมที่วันเซซึ่งเขาได้เป็นประธานได้ถูกเร่งรีบมากขึ้น ค่ายมรณะที่แท้จริงสามแห่งแรก ซึ่งได้ถูกออกแบบมาเพื่อการสังหารหมู่โดยปราศจากกระบวนการทางกฎหมายหรือข้ออ้างแต่อย่างใด ได้ถูกสร้างขึ้นและดำเนินการที่แตรบลิงกา ซอบีบูร์ และแบวแชตส์ โครงการนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ท ตามชื่อของไฮดริช[147]
ประวัติการปฏิบัติหน้าที่
แก้ช่วงเวลาของไฮดริขในหน่วยเอ็สเอ็สเป็นส่วนผสมของการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว ค่าคอมมิชชั่นสำรองในกองทัพประจำการ และการทำหน้าที่การรบในแนวหน้า ในช่วง 11 ปี ที่เขาอยู่กับหน่วยเอ็สเอ็ส ไฮดริช"ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง" และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งจากเอกชนสู่นายพลเต็มตัว เขายังเป็นนายทหารยศพันตรีในลุฟท์วัฟเฟอ ซึ่งบินเกือบ 100 ภารกิจในการรบ จนกระทั่งถึงวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 เมื่อเครื่องบินของเขาได้ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยานของโซเวียต ไฮดริชได้ลงจอดฉุกเฉินที่แนวหลังของข้าศึก เขาหลบเลี่ยงการลาดตระเวนของทหารโซเวียตและติดต่อไปยังหน่วยลาดตระเวนของเยอรมันที่แนวหน้า[148] ภายหลังจากนั้นฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ไฮดริชกลับไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเอ็สเอ็สต่อไป[149] ประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของเขายังให้ชื่อเสียงแก่เขาในฐานะพลเรือเอกแห่งกองทัพเรือสำรอง แต่ใน ค.ศ. 1931 เขาถูกปลดออก เนื่องจากประพฤติที่ไม่เหมาะสมเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารจนทำให้สูญเสียยศตำแหน่งไป และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็ไม่มีการติดต่อจากกองทัพเรือสำรองอีกเลย[150][151]
ไฮดริชได้รับรางวัลจากนาซีและกองทัพจำนวนหนึ่ง รวมทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เยอรมัน เครื่องอิสริยาภรณ์เลือด เครื่องหมายพรรคสีทอง เครื่องหมายนักบินแห่งลุฟท์วัฟเฟอ เข็มกลัดการบินในแนวหน้าแห่งลุฟท์วัฟเฟอด้วยสีเงินและสีทองสำหรับภารกิจการรบ และกางเขนเหล็ก ชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สอง[152]
อ้างอิง
แก้- ↑ Merriam Webster 1996, p. 1416.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Ramen 2001, p. 8.
- ↑ Snyder 1994, p. 146.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Dederichs 2009, p. 92.
- ↑ 5.0 5.1 Sereny 1996, p. 325.
- ↑ 6.0 6.1 Evans 2005, p. 53.
- ↑ 7.0 7.1 Gerwarth 2011, p. xiii.
- ↑ Dederichs 2009, p. 11.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 14–18.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 14, 20.
- ↑ Dederichs 2009, p. 28.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 28.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 24.
- ↑ Lemons 2005, p. 225.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 28, 29.
- ↑ 16.0 16.1 Gerwarth 2011, p. 30.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 32, 33.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 37, 38.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 39–41.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 43, 44.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 44, 45.
- ↑ Calic 1985, p. 51.
- ↑ 23.0 23.1 Padfield 1990, p. 110.
- ↑ 24.0 24.1 Gerwarth 2011, p. 48.
- ↑ Dederichs 2009, p. 45.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 53.
- ↑ 27.0 27.1 Dederichs 2009, p. 12.
- ↑ Williams 2001, pp. 29–30.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 51, 52.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 Longerich 2012, p. 125.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 52.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 55, 58.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 110, 111.
- ↑ 34.0 34.1 Reinhard Heydrich at the SS service record collection, United States National Archives. College Park, Maryland
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 56, 57.
- ↑ Calic 1985, p. 72.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 58.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 38.3 Gerwarth 2011, p. 61.
- ↑ "Reinhard Heydrich". Auschwitz.dk. 20 January 1942. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
- ↑ Williams 2001, p. 38.
- ↑ Longerich 2012, p. 149.
- ↑ Shirer 1960, pp. 226–27.
- ↑ 43.0 43.1 Shirer 1960, p. 271.
- ↑ Shirer 1960, pp. 270–271.
- ↑ Williams 2001, p. 61.
- ↑ Longerich 2012, p. 165.
- ↑ Kershaw 2008, pp. 306–07.
- ↑ Kershaw 2008, pp. 309–12.
- ↑ Kershaw 2008, p. 313.
- ↑ Flaherty 2004, pp. 56, 68.
- ↑ McNab 2009, p. 156.
- ↑ Steigmann-Gall 2003, p. 219.
- ↑ Williams 2001, p. 66.
- ↑ Reitlinger 1989, p. 90.
- ↑ Williams 2001, p. 77.
- ↑ Weale 2010, p. 132, 135.
- ↑ Calic 1985, p. 157.
- ↑ Kershaw 2008, pp. 358–359.
- ↑ Kitchen 1995, p. 40.
- ↑ Delarue 2008, p. 85.
- ↑ Blandford 2001, pp. 135–137.
- ↑ Evans 2005, p. 655.
- ↑ Lehrer 2000, p. 55.
- ↑ Lehrer 2000, p. 61–62.
- ↑ Goldhagen 1996, p. 158.
- ↑ Kershaw 2008, p. 696.
- ↑ Longerich 2012, pp. 469, 470.
- ↑ Headland 1992, p. 22.
- ↑ Dederichs 2009, p. 83.
- ↑ Blandford 2001, p. 112.
- ↑ Williams 2001, p. 85.
- ↑ Williams 2001, p. 88.
- ↑ Conquest 2008, pp. 200–202.
- ↑ Bracher 1970, p. 418.
- ↑ "Night and Fog Decree". United States Holocaust Memorial Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2012.
- ↑ Piotr Semków, IPN Gdańsk (September 2006). "Kolebka (Cradle)" (PDF). IPN Bulletin No. 8–9 (67–68), 152 Pages. Warsaw: Institute of National Remembrance. 42–50 (44–51/152 in PDF). ISSN 1641-9561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015 – โดยทาง direct download: 3.44 MB.
- ↑ Levene, Mark (2013). Annihilation: Volume II: The European Rimlands 1939-1953. OUP Oxford. p. 28. ISBN 978-0191505553.
- ↑ Pakulski, Jan (2015). Violence and the state. Oxford University Press. ISBN 978-1784996543.
- ↑ Dr. Jan Moor-Jankowski, Holocaust of Non-Jewish Poles During WWII. เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Polish American Congress, Washington.
- ↑ 80.0 80.1 Williams 2003, p. 82.
- ↑ Horvitz & Catherwood 2006, p. 200.
- ↑ 82.0 82.1 Bryant 2007, p. 140.
- ↑ 83.0 83.1 Šír, Vojtěch (3 April 2011). "První stanné právo v protektorátu" [The First Martial Law in Protectorate]. Fronta.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
- ↑ 84.0 84.1 84.2 84.3 Bryant 2007, p. 143.
- ↑ Jedlička, František. "armádní generál in memoriam Alois Eliáš". vets.cz (ภาษาเช็ก). Spolek pro vojenská pietní místa, o.s. สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
- ↑ "Ing. Alois Eliáš". vlada.cz (ภาษาเช็ก). Vláda České republiky. สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
- ↑ Zídek, Petr (16 August 2015). "Pohnuté Osudy: Alois Eliáš. Generál v srdci nepřítele s cenou tří divizí". Lidovky.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
- ↑ Paces 2009, p. 167.
- ↑ Roberts 2005, p. 56.
- ↑ 90.0 90.1 90.2 Williams 2003, p. 100.
- ↑ 91.0 91.1 91.2 Bryant 2007, p. 144.
- ↑ Garrett 1996, p. 60.
- ↑ MacDonald 1989, p. 133.
- ↑ Williams 2003, p. 141.
- ↑ "Plán atentátu (anniversary)". Fronta.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
- ↑ Stehlík, Eduard (2012). "SOE a příprava atentátu na Reinharda Heydricha" [SOE and the preparation of Reinhard Heydrich's assassination] (PDF). Paměť a Dějiny (ภาษาเช็ก). ÚSTR. 2: 4.
- ↑ "Document: Page 3". United States Holocaust Memorial Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2014.
- ↑ Calic 1985, p. 192.
- ↑ Calic 1985, p. 193.
- ↑ "Kristallnacht". The Hutchinson Encyclopedia (18 ed.). Oxford: Helicon. 1998. p. 1199. ISBN 978-1-85833-951-1.
- ↑ Shirer 1960, pp. 518–520.
- ↑ Calic 1985, pp. 194–200.
- ↑ Longerich 2012, p. 425.
- ↑ Shirer 1960, pp. 958–963.
- ↑ Rhodes 2002, p. 257.
- ↑ Donnelley 2012, p. 48.
- ↑ 107.0 107.1 Aly, Götz; Roth, Karl Heinz; Black, Edwin; Oksiloff, Assenka (2004). The Nazi Census: Identification and Control in the Third Reich. Philadelphia: Temple University Press. p. 5. ISBN 978-1-59213-199-0.
- ↑ Hillgruber 1989, pp. 94–96.
- ↑ Hilberg 1985, p. 164.
- ↑ "The Path to the Mass Murder of European Jews, part 2. Notes from the meeting on the solution of Jewish Questions held on 10.10.1941 in Prague". Haus der Wannsee-Konferenz – Gedenk- und Bildungsstätte. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ "Theresienstadt". United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ "The Path to the Mass Murder of European Jews, part 2: Letter of 18 September 1941 from Himmler to Reichsstatthalter Greiser". Haus der Wannsee-Konferenz – Gedenk – und Bildungsstätte. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Browning 2004, p. 315.
- ↑ Kershaw 2008, pp. 696–697.
- ↑ "The Wannsee Conference". Holocaust-history.org. 4 February 2004. สืบค้นเมื่อ 12 September 2017.
- ↑ Calic 1985, p. 254.
- ↑ Bryant 2007, p. 175.
- ↑ Williams 2003, pp. 145–47.
- ↑ MacDonald 1998, pp. 205, 207.
- ↑ Williams 2003, pp. 147, 155.
- ↑ MacDonald 1998, pp. 206, 207.
- ↑ 122.0 122.1 Williams 2003, p. 155.
- ↑ Williams 2003, p. 165.
- ↑ Lehrer 2000, p. 86.
- ↑ Höhne 2000, p. 495.
- ↑ Dederichs 2009, pp. 148–150.
- ↑ 127.0 127.1 Williams 2003, p. 223.
- ↑ MacDonald 1989, p. 182.
- ↑ 129.0 129.1 129.2 Lehrer 2000, p. 87.
- ↑ BBC 2019.
- ↑ Dederichs 2009, p. 176.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 291.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 77, 83, 113, 289.
- ↑ Browder 2004, p. 260.
- ↑ Lehrer 2000, p. 58.
- ↑ Dederichs 2009, p. 152.
- ↑ Dederichs 2009, pp. 153–155.
- ↑ Dederichs 2009, pp. 151–152.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 280.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 281, 285.
- ↑ Calic 1985, p. 253.
- ↑ Frucht 2005, p. 236.
- ↑ Kershaw 2000, p. 519.
- ↑ Burian et al. 2002.
- ↑ Kershaw 2008, p. 714.
- ↑ Dederichs 2009, p. 107.
- ↑ Arad 1987, p. 13.
- ↑ Gerwarth 2011, pp. 174, 196, 197.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 197.
- ↑ Gerwarth 2011a, pp. 64–65.
- ↑ Krojc (15 May 2007). "Propuštění R. Heydricha z námořnictva". Fronta.cz (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
- ↑ Gerwarth 2011, p. 174.
บรรณานุกรม
แก้- Arad, Yitzhak (1987). Belzec, Sobibor, Treblinka: The Operation Reinhard Death Camps. Bloomington, IN: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34293-5.
- BBC (16 December 2019). "Grave of top Nazi leader Reinhard Heydrich opened in Berlin". BBC.com. BBC. สืบค้นเมื่อ 20 December 2019.
- Blandford, Edmund L. (2001). SS Intelligence: The Nazi Secret Service. Edison, NJ: Castle Books. ISBN 0-7858-1398-5.
- Bracher, Karl Dietrich (1970). The German Dictatorship: The Origins, Structure, and Effects of National Socialism. New York: Praeger. ISBN 978-1-12563-479-0.
- Browder, George C. (2004). Foundations of the Nazi Police State: The Formation of Sipo and SD. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-1697-6.
- Browning, Christopher R. (2004). The Origins of the Final Solution: The Evolution of Nazi Jewish Policy, September 1939 – March 1942. Comprehensive History of the Holocaust. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1327-1.
- Bryant, Chad Carl (2007). Prague in Black: Nazi Rule and Czech Nationalism. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-02451-9.
- Burian, Michal; Knížek, Aleš; Rajlich, Jiří; Stehlík, Eduard (2002). Assassination: Operation ANTHROPOID, 1941–1942 (PDF). Prague: Ministry of Defence of the Czech Republic – AVIS. ISBN 978-80-7278-158-4.
- Calic, Edouard (1985) [1982]. Reinhard Heydrich: The Chilling Story of the Man Who Masterminded the Nazi Death Camps. New York: Morrow. ISBN 978-0-688-00481-1.
- Conquest, Robert (2008) [1990]. The Great Terror: A Reassessment. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-531700-8.
- Craig, John S. (2005). Peculiar Liaisons: In War, Espionage, and Terrorism in the Twentieth Century. New York: Algora. ISBN 978-0-87586-331-3.
- Dederichs, Mario R. (2009) [2005]. Heydrich: The Face of Evil. Drexel Hill, PA: Casemate. ISBN 978-1-935149-12-5.
- Delarue, Jacques (2008) [1962]. The Gestapo: A History of Horror. New York: Skyhorse. ISBN 978-1-60239-246-5.
- Donnelley, Paul (2012). Assassination!. United Kingdom: Lulu Publishing. ISBN 978-1-908963-03-1.
- Evans, Richard J. (2005). The Third Reich in Power. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-14-303790-3.
- Flaherty, T. H. (2004) [1988]. The Third Reich: The SS. Time-Life Books. ISBN 978-1-84447-073-0.
- Frucht, Richard C. (2005). Eastern Europe: An Introduction to the People, Lands, and Culture. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-800-6.
- Garrett, Stephen (1996). Conscience and Power: An Examination of Dirty Hands and Political Leadership. New York: St Martin's Press. ISBN 978-0-312-15908-5.
- Gerwarth, Robert (2011). Hitler's Hangman: The Life of Heydrich. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-11575-8.
- Gerwarth, Robert (2011). Reinhard Heydrich. Biographie (ภาษาเยอรมัน). München: Siedler.
- Goldhagen, Daniel Jonah (1996). Hitler's Willing Executioners: Ordinary Germans and the Holocaust. New York: Knopf. ISBN 978-0-679-44695-8.
- Headland, Ronald (1992). Messages of Murder: A Study of the Reports of the Einsatzgruppen of the Security Police and the Security Service, 1941–1943. Rutherford, N.J.: Fairleigh Dickinson University Press. ISBN 978-0-8386-3418-9.
- Hilberg, Raul (1985). The Destruction of the European Jews. New York and London: Homles & Meier. ISBN 0-8419-0910-5.
- Hillgruber, Andreas (1989). "War in the East and the Extermination of the Jews". ใน Marrus, Michael (บ.ก.). The "Final Solution": The Implementation of Mass Murder. The Nazi Holocaust, Part 3. Vol. 1. Westpoint, CT: Mecler. ISBN 978-0-88736-255-2.
- Höhne, Heinz (2000) [1969]. The Order of the Death's Head: The Story of Hitler's SS. London: Penguin. ISBN 978-0-14-139012-3.
- Horvitz, Leslie Alan; Catherwood, Christopher (2006). Encyclopedia of War Crimes and Genocide. New York: Facts on File. ISBN 978-0-8160-6001-6.
- Kershaw, Ian (2000). Hitler: 1936-45: Nemesis. New York: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-04994-7.
- Kershaw, Ian (2008). Hitler: A Biography. New York: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-06757-6.
- Kitchen, Martin (1995). Nazi Germany at War. New York, NY: Longman. ISBN 0-582-07387-1.
- Lehrer, Steven (2000). Wannsee House and the Holocaust. Jefferson, NC: McFarland. ISBN 978-0-7864-0792-7.
- Lemons, Everette (2005). The Third Reich, A Revolution of Ideological Inhumanity: The Power Of Perception. Lulu Press. ISBN 978-1-4116-1932-6.
- Longerich, Peter (2012). Heinrich Himmler: A Life. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-959232-6.
- MacDonald, Callum (1989). The Killing of Reinhard Heydrich: The SS 'Butcher of Prague'. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80860-9.
- MacDonald, Callum (1998) [1989]. The Killing of Reinhard Heydrich: The SS 'Butcher of Prague'. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80860-9.
- McNab, Chris (2009). The SS: 1923–1945. London: Amber Books. ISBN 978-1-906626-48-8.
- Merriam Webster's Collegiate Dictionary (Tenth ed.). Springfield, MA: Merriam-Webster. 1996. ISBN 0-87779-709-9.
- Paces, Cynthia (2009). Prague Panoramas: National Memory and Sacred Space in the Twentieth Century. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press. ISBN 978-0-8229-6035-5.
- Padfield, Peter (1990). Himmler: Reichsführer SS. New York: Henry Holt. ISBN 0-8050-2699-1.
- Ramen, Fred (2001). Reinhard Heydrich: Hangman of the Third Reich. New York: Rosen. ISBN 978-0-8239-3379-2.
- Reitlinger, Gerald (1989) [1956]. The SS: Alibi of a Nation 1922–1945. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80351-2.
- Rhodes, Richard (2002). Masters of Death: The SS-Einsatzgruppen and the Invention of the Holocaust. New York: Vintage Books. ISBN 0-375-70822-7.
- Roberts, Andrew Lawrence (2005). From Good King Wenceslas to the Good Soldier: A Dictionary of Czech Popular Culture. Central European University Press. ISBN 978-963-7326-26-4.
- Sereny, Gitta (1996) [1995]. Albert Speer: His Battle With Truth. New York: Vintage. ISBN 978-0-679-76812-8.
- Shirer, William L. (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-62420-0.
- Snyder, Louis (1994) [1976]. Encyclopedia of the Third Reich. Da Capo Press. ISBN 978-1-56924-917-8.
- Steigmann-Gall, Richard (2003). The Holy Reich: Nazi Conceptions of Christianity, 1919–1945. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-82371-5.
- Waite, Robert George Leeson (1969) [1952]. Vanguard of Nazism: The Free Corps Movement in Postwar Germany, 1918–1923. New York, NY: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-00181-5.
- Weale, Adrian (2010). The SS: A New History. London: Little, Brown. ISBN 978-1408703045.
- Williams, Max (2001). Reinhard Heydrich: The Biography, Volume 1—Road To War. Church Stretton: Ulric Publishing. ISBN 978-0-9537577-5-6.
- Williams, Max (2003). Reinhard Heydrich: The Biography, Volume 2—Enigma. Church Stretton: Ulric Publishing. ISBN 978-0-9537577-6-3.
อ่านเพิ่ม
แก้- Aronson, Shlomo (1984) [1971]. Reinhard Heydrich und die Frühgeschichte von Gestapo und SD. Stuttgart: Deutsche Verlags-Anstalt. ISBN 978-3-421-01569-3.
- Fest, Joachim (1999) [1970]. The Face of the Third Reich: Portraits of the Nazi Leadership. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80915-6.
- Graber, G. S. (1996) [1978]. The History of the SS. London: Robert Hale. ISBN 978-0-7090-5880-9.
- Graber, G. S. (1980). The Life and Times of Reinhard Heydrich. Philadelphia: David McKay. ISBN 978-0-679-51181-6.
- Heydrich, Lina (1976). Leben mit einem Kriegsverbrecher [Life with a War Criminal]. Pfaffenhofen: Ludwig Verlag. ISBN 978-3-7787-1025-8.
- Schellenberg, Walter (2000) [1956]. The Labyrinth: Memoirs of Walter Schellenberg, Hitler's Chief of Counterintelligence. New York: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80927-9.
- Schreiber, Carsten (2008). Elite im Verborgenen. Ideologie und regionale Herrschaftspraxis des Sicherheitsdienstes der SS und seines Netzwerks am Beispiel Sachsens. Studien zur Zeitgeschichte; Bd. 77 (ภาษาเยอรมัน). München: Oldenbourg. ISBN 978-3-486-58543-8.
- Suppan, Arnold (2019). "The Tyranny of Reinhard Heydrich and His Assassination". Hitler–Beneš–Tito: National Conflicts, World Wars, Genocides, Expulsions, and Divided Remembrance in East-Central and Southeastern Europe, 1848–2018. Vienna: Austrian Academy of Sciences Press. pp. 443–460. ISBN 978-3-7001-8410-2. JSTOR j.ctvvh867x.
- Wiener, Jan G. (1969). The Assassination of Heydrich. New York: Grossman Publishers. OCLC 247895.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Documents concerning the Wannsee Conference, Wannsee House Museum
- Reinhard Heydrich on the Yad Vashem website
- Reinhard Heydrich funeral, German newsreel ที่ยูทูบ
- Reinhard Heydrich funeral in Prague & Berlin ที่ยูทูบ, unissued British Pathé newsreel (muted)
- Reinhard Heydrich speech ที่ยูทูบ
- Hitler eulogises Reinhard Heydrich ที่ยูทูบ
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน