การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี (ค.ศ. 1918–1920)

การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี กินเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1920 มีจุดเริ่มต้นมาจากการก่อตั้งสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง ที่นำโดย มิฮาย กาโรยี ในช่วงการปฏิวัติเบญจมาศในปี ค.ศ. 1918 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐถูกล้มล้างจากปฏิวัติอีกครั้ง และสถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี (หรือที่รู้จักกันในนาม “สภาแห่งสาธารณรัฐฮังการี”) ความขัดแย้งที่ยังไม่ได้รับการจัดการนำไปสู่การประกาศสงครามระหว่างฮังการีกับประเทศเพื่อนบ้าน (ราชอาณาจักรโรมาเนีย,[1] ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน[2][3] และเชโกสโลวาเกียที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่[1]) ในปี ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีได้ล่มสลายลง ภายหลังจากการเข้ายึดครองของโรมาเนีย และได้เกิดการลงนามในสนธิสัญญาทรียานงที่แวร์ซายเพื่อลดความขัดแย้งและมอบผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย, เชโกสโลวาเกีย และราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน

การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923

กองทหารอาสาสมัครในการปฏิวัติฮังการี
วันที่28 ตุลาคม 1918 – 1 มีนาคม 1920
(1 ปี 122 วัน)
สถานที่
ฮังการี
ผล

ฮังการีได้รับความพ่ายแพ้

คู่สงคราม
สาธารณรัฐฮังการี
โซเวียตฮังการี
โซเวียตสโลวัก
 เชโกสโลวาเกีย
โรมาเนีย โรมาเนีย
 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
สาธารณรัฐแพร็กมูรีแย
ราชอาณาจักรฮังการี
 ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มิฮาย กาโรยี
เบลอ กุน
ออนโตนีน ยอโนอูแซก
เชโกสโลวาเกีย โตมาช มาซาริค
โรมาเนีย เฟอร์ดินานด์ที่ 1
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ปีเตอร์ที่ 1
จูลอ กาโรยี
ดี. ป็อตต็อนจูช-อาบรอฮาม
มิกโลช โฮร์ตี
กำลัง
ฮังการี: 10,000–80,000 เชโกสโลวาเกีย: 20,000
โรมาเนีย: 10,000–96,000
ความสูญเสีย
ฮังการี: ไม่ทราบ เชโกสโลวาเกีย: 1,000[ต้องการอ้างอิง]
โรมาเนีย: 11,666[ต้องการอ้างอิง]
การล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ภูมิหลัง แก้

ด้วยบรรยากาศและสถานการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนภายในภูมิภาคยุโรปกลางในช่วงระหว่างสงคราม ทำให้มีการประกาศแยกตัวเพื่อจัดตั้งรัฐอิสระของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จากอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 จะเห็นได้จากการต่อสู้เพื่อยึดครองดินแดนของอดีตจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยฮังการี มิฮาย กาโรยี ได้ลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากการดำรงตำแหน่งเพียงสี่เดือนเท่านั้น (เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1919) ต่อมา เบลอ กุน ผู้ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนบอลเชวิค ได้รับการหนุนหลังจากวลาดีมีร์ เลนิน เพื่อกระทำการยึดอำนาจอย่างรวดเร็วและประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งการปฏิวัติขึ้น

ความขัดแย้งทางการทหาร แก้

ช่วงเวลาระหว่างสงครามนี้ กองทัพแดงฮังการีได้พยายามป้องกันการรุกรานจากเชโกสโลวาเกียและโรมาเนีย โดยที่ฝรั่งเศสก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างมากในความขัดแย้งครั้งนี้[4] ความขัดแย้งทางการทูตด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุดแล้ว ได้มีทหารมากกว่า 120,000 นายจากทั้งสองฝ่ายที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้

กุนได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อชาวฮังการี โดยเขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะสามารถทวงคืนดินแดนที่เสียไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เขาขึ้นสู่อำนาจ กุนได้ประกาศสงครามกับเชโกสโลวาเกีย เมื่อกองทัพฮังการีบุกครองพื้นที่อัปเปอร์ฮังการีหรือสโลวาเกียเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม โดยยึดครองพื้นที่ทางตอนใต้ได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ในการเผชิญหน้ากับกองทัพฮังการีที่รุกคืบ ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มกดดันรัฐบาลโซเวียตฮังการี และภายในสามสัปดาห์ กุนไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากรัสเซีย กองทัพฮังการีถูกกดดันให้ถอนกำลังออกจากสาธารณรัฐโซเวียตสโลวักที่พึ่งก่อตั้งขึ้น โดยฝรั่งเศสได้ให้สัญญากับรัฐบาลว่ากองทัพโรมาเนียจะถอนกำลังออกจากทิสซานตูล

กองทัพโรมาเนียได้ละเลยคำสัญญาของผู้นำฝรั่งเศสและยังคงตั้งมั่นอยู่ที่แนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำทิสซอ รัฐบาลโซเวียตฮังการีได้อ้างเจตจำนงของฝ่ายสัมพันธมิตรต่อโรมาเนีย และเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการทูตไม่สามารถแก้ปัญหาการรุกคืบของกองทัพโรมาเนียได้ จึงมีมติขจัดภัยคุกคามจากกองกำลังทหารทันที โดยพวกเขาได้วางแผนที่จะขับไล่ชาวโรมาเนียออกจากทิสซานตูล พร้อมโจมตีกองทัพโรมาเนีย และยึดดินแดนทรานซิลเวเนียกลับคืนมา อย่างไรก็ตาม การโจมตีกองทัพโรมาเนียของฮังการีได้ล้มเหลว และถึงแม้ว่าจะมีการทำข้อตกลงและการให้คำมั่นสัญญา แต่กองทัพโรมาเนียได้ข้ามแนวแม่น้ำทิสซอและมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงบูดาเปสต์อย่างรวดเร็ว เมืองหลวงของฮังการีแตกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ซึ่งเป็นเวลาแค่เพียงสามวันเท่านั้น หลังจากที่กุนลี้ภัยไปเวียนนา การล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีและการยึดครองดินแดนต่าง ๆ ของฮังการีโดยโรมาเนีย รวมทั้งกรุงบูดาเปสต์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1919 ได้ยุติสงคราม กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากฮังการีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 ภายหลังจากที่ได้ยึดทรัพยากรของฮังการีไปเป็นจำนวนมาก โดยถือเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม[5][6][7]

หลังจากสิ้นสุด แก้

 
ทหารปืนใหญ่โรมาเนียเคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงบูดาเปสต์

ภายหลังจากสงครามฮังการี-โรมาเนียยุติลง ทำให้ประเทศฮังการีได้รับความพ่ายแพ้อย่างสมบูรณ์

รัฐบาลโรมาเนียได้ขอให้รัฐบาลฮังการีชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม โดยเป็นการส่งมอบสินค้าจำนวน 50% ของประเทศ, สินค้าปศุสัตว์จำนวน 30%, อาหารสัตว์ประมาณสองหมื่นคันรถ, และแม้กระทั่งประเมินการชำระเงินสำหรับค่าใช้จ่ายของพวกเขา

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 พวกเขาได้เอาทรัพยากรของฮังการีไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาหาร, สินค้า, หัวรถจักรและรถราง, อุปกรณ์ภายในโรงงาน, หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์และเครื่องพิมพ์ดีดจากหน่วยงานของรัฐบาล[8] ชาวฮังการีถือว่าการยึดทรัพยากรของโรมาเนียเป็นการชิงทรัพย์[8] โดยเป็นระยะเวลากว่าหกเดือนที่กองทัพโรมาเนียยึดครอง[9]

ภายหลังจากการยึดครองของโรมาเนีย "ความน่าสะพรึงกลัวขาว" ภายใต้การบัญชาของมิกโลช โฮร์ตี ได้ดำเนินการตอบโต้กับ "ความน่าสะพรึงกลัวแดง" ชาวฮังการีจึงต้องใช้ทรัพยากรที่หลงเหลือทั้งหมดเพื่อทำอาวุธสงคราม

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 David Parker, Revolutions and the revolutionary tradition in the West, 1560-1991, Routledge, 2000, p. 170.
  2. Priscilla Mary Roberts, World War I: A Student Encyclopedia, ABC-CLIO, 2005, p. 1824
  3. Miklós Lojkó, Meddling in Middle Europe: Britain and the 'Lands Between, 1919-1925, Central European University Press, 2006, p. 13
  4. Michael Brecher; Jonathan Wilkenfeld (2000). "Hungarian War". A Study of Crisis. University of Michigan Press. p. 575. ISBN 0472108069.
  5. Federal Research Division (2004). "Greater Romania and the Occupation of Budapest". Romania: A Country Study. Kessinger Publishing. p. 73. ISBN 9781419145315.
  6. Louise Chipley Slavicek (2010). "The Peacemakers and Germany's Allies". The Treaty of Versailles. Infobase Publishing. p. 84. ISBN 9781438131320.
  7. George W. White (2000). "The Core: The Tenacity Factor". Nationalism and Territory: Constructing Group Identity in Southeastern Europe. Rowman & Littlefield Publishers. p. 99. ISBN 9780847698097.
  8. 8.0 8.1 Cecil D. Eby, Hungary at war: civilians and soldiers in World War II, Penn State University Press, 2007, p. 4
  9. Louise Chipley Slavicek, The Treaty of Versailles, Infobase Publishing, 2010, p. 84

แหล่งข้อมูลอื่น แก้