สาธารณรัฐฮังการีที่ 1

อดีตประเทศใน ค.ศ. 1918–1919

สาธารณรัฐฮังการีที่ 1 (ฮังการี: Első Magyar Köztársaság)[1] หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ฮังการี: Magyar Népköztársaság)[g] เป็นสาธารณรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศฮังการี ประเทศโรมาเนีย[h] และประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน และดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นหลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1918 และคงสถานะเป็นสาธารณรัฐจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 เนื่องจากการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี จึงทำให้ประเทศฮังการีในเวลาต่อมาถูกเปลี่ยนผ่านเป็นราชอาณาจักร ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐประชาชนได้หยุดชะงักลงอันเป็นผลมาจากการสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์และการจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้นโดยรัฐบาลผสมประชาธิปไตย–สังคมนิยม ซึ่งดำรงอยู่เพียง 133 วัน กระทั่งมีการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1919 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนก็ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรมาเนีย

สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
(1918-1919)
Magyar Népköztársaság

สาธารณรัฐฮังการี
(1919–1920)
Magyar Köztársaság

1918–1920
เพลงชาติHimnusz
"เพลงสดุดี"
ดินแดนของสาธารณรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ดินแดนของสาธารณรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
สถานะรัฐตกค้างที่ได้รับการยอมรับอย่างไม่สมบูรณ์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บูดาเปสต์
พิกัดภูมิศาสตร์: 47°29′N 19°02′E / 47.483°N 19.033°E / 47.483; 19.033
ภาษาราชการฮังการี
ภาษาถิ่น
เยอรมัน, สโลวัก, โครเอเชีย, โรมาเนีย
เดมะนิมฮังการี
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐประชาชน
ประธานาธิบดี 
• 16 พฤศจิกายน 1918
มิฮาย กาโรยี
• 21 มีนาคม 1919
ว่าง[a]
• 1 สิงหาคม 1919
จูลอ ไพเดิล[b]
• 7 สิงหาคม 1919
อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์[c]
• 23 สิงหาคม 1919
อิชต์วาน ฟรีดริช[d]
• 24 พฤศจิกายน 1919
กาโรย ฮูสซาร์[e]
นายกรัฐมนตรี 
• 31 ตุลาคม 1918
มิฮาย กาโรยี
• 11 มกราคม 1919
เดแน็ช เบริงคีย์
• 21 มีนาคม 1919
ว่าง
• 1 สิงหาคม 1919
จูลอ ไพเดิล
• 7 สิงหาคม 1919
อิชต์วาน ฟรีดริช
• 24 พฤศจิกายน 1919
กาโรย ฮูสซาร์
สภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
31 ตุลาคม 1918
• ประกาศจัดตั้ง
16 พฤศจิกายน 1918
21 มีนาคม 1919
• ฟื้นฟูสาธารณรัฐอีกครั้ง
1 สิงหาคม 1919
• เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐฮังการี
8 สิงหาคม 1919
• การยอมรับทางการทูต
25 พฤศจิกายน 1919
25-26 มกราคม 1920
29 กุมภาพันธ์ 1920
พื้นที่
• รวม
282,870 ตารางกิโลเมตร (109,220 ตารางไมล์)[f]
ประชากร
• 1920
7,980,143
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี
สาธารณรัฐออสเตรีย

ในช่วงเริ่มแรก สาธารณรัฐประชาชนฮังการีอยู่ภายใต้ผู้นำคือ มิฮาย กาโรยี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวของฮังการี โดยในระยะเวลานี้เองที่ประเทศต้องสูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมากให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 325,411 ตารางกิโลเมตร จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาล นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนและการก่อตัวขึ้นของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้ในเวลาต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตขึ้น โดยดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของคอมมิวนิสต์รัสเซีย แต่เนื่องจากความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตที่มีอายุสั้นล่มสลายลง หลังจากนั้นรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมได้เข้ามามีอำนาจ จึงถือเป็นการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงนี้รัฐบาลได้ทำการยกเลิกมาตรการทั้งหมดที่ผ่านโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวาที่นำโดย อิชต์วาน ฟรีดริช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง

ในช่วงของรัฐบาลฝ่ายขวา ชาวฮังการีต่างได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากต้องการให้ประชากรชาวฮังการีอพยพถอยกลับไปตามแนวแบ่งเขตที่กำหนดไว้หลังสงคราม เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมสันติภาพปารีส ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของฝ่ายสัมพันธมิตรในการสถาปนารัฐชาติใหม่ท่ามกลางพลเมืองที่ไม่ใช่ชาวฮังการี ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์หลักจากการสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐเชโกสโลวัก ต่อมามีการทำสนธิสัญญาทรียานงโดยจะได้ลงนามในภายหลัง

ประวัติ แก้

การก่อตั้งและสถานการณ์ทางการเมือง แก้

 
มิฮาย กาโรยี กล่าวปราศรัยกับมวลชนบริเวณบันไดหน้ารัฐสภาฮังการี ภายหลังการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ภายหลังการปฏิวัติเบญจมาศ สภาแห่งชาติฮังการีได้เรียกร้องให้มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐพร้อมกับการล้มล้างราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในฮังการี[12] ทางผู้แทนของราชสำนักประจำบูดาเปสต์ อาร์ชดยุกโยเซ็ฟ เอากุสท์ แห่งฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ผู้เชื่อมั่นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาราชาธิปไตยฮังการีไว้ จึงเข้าเจรจากับจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 เพื่อให้พระองค์ถอนสัตย์ปฏิญาณให้แก่มิฮาย กาโรยี และบรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการออกมติว่านับตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายนเป็นต้นไป พระองค์จะละทิ้งการมีส่วนร่วมต่อการเมืองภายในของฮังการีและจะยอมรับรูปแบบการปกครองใหม่ตามที่ประชาชนตัดสินใจไว้[13] สามวันต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สาธารณรัฐประชาชนฮังการีจึงได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ[13] โดยมีกาโรยีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1919[13]

จากความพ่ายแพ้และความอดสูของการเมืองฝ่ายขวา ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลตกอยู่ในมือของฝ่ายซ้ายประชาธิปไตย[14] ซึ่งกินเวลาหลายเดือนด้วยกัน และการฟื้นฟูอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมดูเหมือนจะเป็นเรื่องเพ้อฝัน[14] ประชากรส่วนใหญ่ภายในประเทศไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามอย่างต่อเนื่อง ต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนด้วยอาวุธ และหันไปให้ความสำคัญกับการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจที่ประชาชนรอคอยมายาวนาน[14] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจยังคงไม่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าตำแหน่งสำคัญในกองทัพและหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะตกอยู่ภายใต้ผู้สนับสนุนของรัฐบาล แต่ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของผู้สนับสนุนระบอบเก่าด้วย[15]

ในช่วงแรกของรัฐบาล กาโรยีถูกมองว่าเป็นผู้ที่ใช้การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นข้ออ้างในการได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ[16] ทั้งแรงงานในเขตเมืองที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนิยม ชาวนาที่ต้องการปฏิรูปเกษตรกรรม และกลุ่มปัญญาชนที่ต้องการให้ประชาธิปไตยเป็นรากฐานของสังคม[16] อีกทั้งเขายังถูกมองว่าเป็นนักการเมืองเพียงคนเดียวที่สามารถบรรลุการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรและหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกดินแดนของฮังการีได้[17] อย่างไรก็ตาม ไตรภาคีไม่ได้ยอมรับรัฐบาลกาโรยีและยังคงดำเนินการแบ่งแยกฮังการีต่อไปในฐานะผู้พ่ายแพ้สงคราม[17]

ความหวังในการเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐมนตรีกาโรยีต้องพังทลายลงจากความโกลาหลภายหลังสงคราม[16] โดยในเดือนกันยายน ทหารราวสี่แสนนายถูกปลดประจำการและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือนต่อมา[16] ทหารหนีทัพรวมทั้งเชลยศึกประมาณ 725 000 คน ได้รับการปลดปล่อยจากดินแดนโซเวียตในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (นับเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรในราชอาณาจักรเดิม)[18][16] ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ทหาร 700,000 นายกลับมาจากแนวรบหน้า และในเดือนธันวาคม มีทหารมากกว่า 1,200,000 นายที่ถูกปลดประจำการ[16] จากเหตุการณ์ความวุ่นวายเหล่านี้ รวมทั้งการก่อจราจลของชาวนา ทำให้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกป้องทรัพย์สินมากขึ้น และการปฏิรูปถูกเลื่อนออกไป ซึ่งทำให้รัฐบาลเสียกำลังสนับสนุนจากฝ่ายซ้ายแต่แรงสนับสนุนจากฝ่ายขวาเพิ่มขึ้นแทน[16] รัฐบาลมองว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลในการควบคุมอำนาจในสายตาของฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาเรื่องคอมมิวนิสต์จากประเทศเพื่อนบ้าน[16]

จุดอ่อนของรัฐบาล แก้

ในเวลาเพียงไม่นาน จุดอ่อนของรัฐบาลก็ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัด: การขาดแรงสนับสนุนจากองค์กรมวลชน การควบคุมหน่วยราชการที่ไม่สมบูรณ์ การขาดกองกำลังติดอาวุธและตำรวจที่ภักดี และความล้มเหลวในนโยบายต่างประเทศ ถือเป็นจุดอ่อนหลักของรัฐบาล[15] สำหรับหน่วยทหารที่เป็นฐานการสนับสนุนของกาโรยีเองก็ไม่เคยรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างกองทัพปฏิวัติที่แข็งแกร่งได้ โดยยังมีบางหน่วยที่ไร้การดูแลและมักก่อความวุ่นวายอยู่หลายครั้ง[19] หน่วยทหารที่ภักดีต่อรัฐบาลอย่างแท้จริงนั้นก็มีจำนวนน้อยอย่างมาก[19] ความพยายามในการรับสมัครทหารเพิ่มประสบผลล้มเหลว เนื่องจากสภาพสังคมทหารที่โหดร้าย ความเหนื่อยล้าจากสงคราม และยังทางเลือกอื่นที่มีให้สำหรับอาสาสมัครที่มีศักยภาพ[20] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามวิลโมช เบิฮ์ม มีความพยายามที่จะสร้างกองกำลังประชาชนตามแบบออสเตรีย แต่ก็ประสบความล้มเหลวอีกเช่นเคย เนื่องจากขาดอาสาสมัครที่จะเข้าร่วม[18]

จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้รัฐบาลต้องเลือกระหว่างการพึ่งพาอดีตนายทหารของกองทัพจักรวรรดิหรือหน่วยทหารที่จงรักภักดีต่อสังคมนิยม ซึ่งเป็นหน่วยเดียวที่น่าจะสามารถยุติความวุ่นวายหลังสงครามได้[20] แม้ว่ากาโรยีจะเลือกหน่วยทหารสังคมนิยม แต่ก็ล้มเหลวในเป้าหมายที่จะควบคุมหน่วยไว้[20]

ความพยายามเข้าหาชนกลุ่มน้อย แก้

ถึงแม้ว่าประเทศจะเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ทัศนคติของนักการเมืองฮังการีจำนวนมากที่เกี่ยวกับความมีอำนาจของฮังการียังคงไม่เปลี่ยนแปลง[21] อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1918 มีการแบ่งแยกในกลุ่มปัญญาชนระหว่างผู้สนับสนุนระบอบเก่าและผู้เชื่อมั่นในความจำเป็นของการปฏิรูป[22]

 
คณะกรรมาธิการทรานซิลเวเนีย (Transylvania Directory) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนชาวโรมาเนียในภูมิภาคนี้ โดยผู้นำคณะยุลยู มานียู (คนที่นั่งตรงกลาง) เป็นผู้ปฏิเสธข้อเสนอของยาซิและเรียกร้องให้มีการแยกทรานซิลเวเนียเพื่อไปรวมตัวกับโรมาเนีย

นักสังคมวิทยาและหนึ่งในผู้นำฝ่ายมูลวิวัติโอซการ์ ยาซิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ[22] เนื่องจากเขาเป็นผู้สนับสนุนให้ประเทศเปลี่ยนเป็นสหพันธรัฐ[23] เขาจึงพยายามบรรลุข้อตกลงกับชนกลุ่มน้อยที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียดินแดน[22] ยาซิได้ออกกฎหมายการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เนื่องด้วยความปรารถนาของเขาที่จะรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของฮังการีใหม่ไว้[24] แม้ว่าจะบรรลุตามเป้าหมายเพียงเล็กน้อยก็ตาม[20] อุปสรรคสำคัญในการบรรลุข้อตกลงกับชนกลุ่มน้อยคือ ความเชื่อมั่นของนักการเมืองฮังการีที่มีต่อชนกลุ่มน้อย รวมถึงนักการเมืองสายปฏิรูปส่วนใหญ่ด้วย[25] ถึงแม้กาโรยีและยาซิจะมุ่งมั่นพยายามในการเปลี่ยนการกดขี่ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ให้เป็นการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย แต่มาตรการของพวกเขากลับถูกมองว่ามีลักษณะเป็นพ่อปกครองลูก[25] ตามเป้าหมายของรัฐบาลในการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน กาโรยียังคงยึดมั่นในหลักการของประธานาธิบดีสหรัฐวูดโรว์ วิลสัน ซึ่งน่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการเรียกร้องดินแดนที่มากเกินไปของประเทศเพื่อนบ้าน[20] รัฐบาลเชื่อว่าปัญหาชนกลุ่มน้อยไม่ได้มาจากการกดขี่ของชาวฮังการี แต่มาจากการนำระบบสังคมและการเมืองแบบโบราณมาใช้โดยชนชั้นสูงที่กดขี่ชาวฮังการีและชนกลุ่มน้อย แลมองว่าการปฏิรูปทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ยุติลง[17]

ยาซิดำเนินแผนปฏิรูปรัฐตามแบบอย่างของสวิตเซอร์แลนด์[17] และเขาได้เดินทางไปที่ออร็อดเพื่อเริ่มเจรจากับผู้นำกลุ่มชาตินิยมโรมาเนียในทรานซิลเวเนียเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน[26] สองวันต่อมา ทางผู้นำหลักของกลุ่มชาตินิยมโรมาเนียยุลยู มานียู ได้ตอบรับเข้าร่วมการเจรจา และแสดงจุดยืนของตนในที่เจรจาว่าการกำหนดการปกครองด้วยตนเองหมายถึงการบรรลุอธิปไตยของชาติสำหรับประชากรที่มีวัฒนธรรมเป็นโรมาเนีย[27] สำหรับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้รับคำสัญญาว่าพวกเขาจะมีเสรีภาพทางวัฒนธรรมในวงกว้าง[27] มานียูกำลังเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในที่เจรจา เนื่องจากเขาทราบถึงสนธิสัญญาลับของการเป็นพันธมิตรระหว่างโรมาเนียและไตรภาคี โดยในเนื้อหามีการระบุถึงการผนวกทรานซิลเวเนียด้วย ซึ่งนั่นทำให้การบรรลุข้อตกลงของยาซิไม่มีทางเป็นไปได้เลย[27] จากความล้มเหลวในการเจรจาที่ออร็อด ทำให้สาธารณชนชาวฮังการีมีความคิดเห็นไปในเชิงลบและรุนแรง[28] สื่อมวลชนทั้งหมด รวมทั้งนักสังคมนิยม ออกมาเรียกร้องเพื่อต้องการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนฮังการีตามพรมแดนของจักรวรรดิเดิม[28]

รัฐบาลปรากได้เข้าแทรกแซงการเจรจาครั้งหลังของยาซิกับนักการเมืองชาวสโลวักมีลาน ฮอจา (แม้ว่าฮอจาจะไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของชาวสโลวักก็ตาม)[29] ในช่วงเวลาเดียวกัน กองทหารเช็กเริ่มรุกคืบเข้าสู่ดินแดนสโลวาเกียตามคำเรียกร้องของชาวโลวักที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีเชโกสโลวาเกียคาเรล ครามาร์ และเพื่อหลีกเลี่ยงความโกลาหลก่อนการถอนตัวของฝ่ายบริหารฮังการี[29] การเจรจาของยาซิประสบผลล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากสาธารณรัฐเชโกสโลวักใหม่ได้รับการรับรองจากไตรภาคีแล้ว ก่อนที่การประชุมสันติภาพปารีสจะถูกจัดขึ้น[30]

วิกฤตชายแดน แก้

 
พรมแดนของฮังการีที่ถูกกำหนดไว้ตามการสงบศึกเบลเกรด (เส้นหนาสีแดง)

รัฐบาลกาโรยีลงนามสงบศึกกับไตรภาคี ณ กรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[22] ซึ่งได้กำหนดพรมแดนทางทหารชั่วคราวระหว่างฮังการีกับเชโกสโลวาเกีย โรมาเนีย และเซอร์เบีย (ต่อมาคือยูโกสลาเวีย)[25] แต่ต่อมากองทหารของประเทศเพื่อนบ้านเริ่มเข้ารุกล้ำพรมแดนที่กำหนดไว้ อันเป็นผลจากความเห็นชอบของไตรภาคี[25] รัฐบาลไม่สามารถพึ่งพาประสิทธิภาพของกองทัพตนเองได้: ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความอ่อนล้าของกองทัพที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและความระส่ำระส่ายภายในประเทศ อีกทั้งการดำเนินนโยบายสันตินิยมของรัฐบาล ส่งผลให้กาโรยีไร้ซึ่งกองกำลังติดอาวุธที่จะสามารถต่อต้านการโจมตีจากประเทศเพื่อนบ้าน[25]

 
นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมิฮาย กาโรยี พยายามปฏิรูปประเทศใหม่อย่างลึกซึ้งและจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลของเขาไม่สามารถรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนฮังการีไว้ได้ เนื่องจากความพ่ายแพ้ต่อลัทธิชาตินิยมที่แข็งแกร่งและความเป็นปรปักษ์ของไตรภาคี

ในขณะที่รัฐมนตรีชนกลุ่มน้อยยาซิเข้าพบเจรจากับผู้แทนโรมาเนีย ณ เมืองออร็อด เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ฝ่ายบริหารและกองทัพฮังการีจึงเริ่มเคลื่อนย้ายออกจากภูมิภาคนี้ และกองทัพโรมาเนียเริ่มเคลื่อนกำลังพลข้ามพรมแดนคาร์เพเทีย[26] กองทหารรักษาการณ์ของโรมาเนียได้รับการก่อตั้งขึ้น พร้อมกับคณะกรรมการแห่งชาติโรมาเนียที่ควบคุมเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก[26] เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 สภาแห่งชาติโรมาเนียประจำทรานซิลเวเนียได้ประกาศรวมภูมิภาคเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย[30] จากนั้นกองทัพโรมาเนียจึงเริ่มเคลื่อนกำลังข้ามแม่น้ำมูเรช (ฮังการี: Maros) และเข้ายึดครองดินแดนตามสัญญาลับที่ตกลงกันไว้กับไตรภาคีใน ค.ศ. 1916[30] รัฐบาลบูดาเปสต์เมื่อทราบถึงการก่อสงครามของโรมาเนีย จึงทำการประท้วงต่อต้านอย่างเปิดเผย[30] เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พันเอกแฟร์ดีน็อง วิกซ์ (ผู้แทนฝ่ายไตรภาคีประจำบูดาเปสต์) ได้แจ้งแก่คณะรัฐมนตรีกาโรยีถึงความตั้งใจของเขาที่จะยินยอมให้โรมาเนียยึดครองดินแดนพิพาท[30] ในเดือนมกราคม การรุกหน้าของกองทัพโรมาเนียได้ยุติลงเป็นการชั่วคราว[31] ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลฮังการีแสดงท่าทีต่อต้านกองทัพยูโกสลาเวียที่รุกคืบข้ามพรมแดนสงบศึกเบลเกรด[30] ตามบริเวณชายแดนทั้งสามด้าน อำนาจบริหารทางทหารและพลเรือนตกไปอยู่ในมือผู้ยึดครอง (ตามส่วนเพิ่มเติมของการสงบศึกที่ให้ไว้)[30] เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1919 ได้มีการเพิ่มเติมข้อตกลงในการสงบศึกที่เน้นย้ำถึงพรมแดนชั่วคราวจะต้องอยู่ภายใต้กิจการทหารเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ[30] เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ภูมิภาครูทีเนียได้ประกาศปกครองตนเองเช่นกัน แต่เนื่องจากความอ่อนแอของภูมิภาค ทำให้รูทีเนียไม่สามารถที่จะดำรงเอกราชของตนไว้ได้เหมือนดังชาติอื่น ๆ ที่มีอำนาจ[30]

ไตรภาคีซึ่งยอมรับอำนาจของเชโกสโลวาเกีย เรียกร้องให้ฮังการีถอนอำนาจออกจากสโลวาเกีย แต่รัฐบาลคัดค้านโดยการอ้างถึงข้อตกลงในการสงบศึกเบลเกรด[30] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1919 ไตรภาคีตอบกลับรัฐบาลฮังการีโดยระบุว่าการสงบศึกดังกล่าวมีผลกับพรมแดนทางตะวันออกและใต้เท่านั้น[30] กลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1919 กองทัพเช็กสามารถยึดครองสโลวาเกียได้อย่างสมบูรณ์[31]

การเสื่อมนิยมและล่มสลาย แก้

 
การประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1919 โดยพันธมิตรประชาธิปไตยสังคมนิยม–คอมมิวนิสต์

ในสุนทรพจน์ปีใหม่ของกาโรยีแสดงออกถึงความท้อแท้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินอยู่[31] ซึ่งลัทธิชาตินิยมต่าง ๆ เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ส่วนปล่อยให้ฮังการีตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามอย่างชัดเจน

กลางเดือนมกราคม แถลงการณ์ของคณะรัฐมนตรีแสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของพวกเขา[31] และได้มีแนวคิดเรื่องการลงประชามติเพื่อยุติความแตกต่างทางดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน[31] แต่ถึงอย่างนั้นประเทศต่าง ๆ ก็ปฏิเสธข้อเสนอนี้[31] ในขณะเดียวกัน พวกฝ่ายขวามูลวิวัติได้เพิ่มการโจมตีพวกสายกลาง ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของรัฐบาล: ในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลประกาศจับกุมผู้นำคอมมิวนิสต์และสั่งห้ามพรรคฝ่ายซ้ายจัด รวมถึงสมาคมของฝ่ายขวามูลวิวัติทั้งหลายด้วย[32] ฝ่ายขวามูลวิวัติไม่สามารถจัดระเบียบและนำเสนอนโยบายที่ดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ อีกทั้งยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลในการสร้างแรงสนับสนุนได้ ซึ่งแตกต่างจากคอมมิวนิสต์ตรงที่แม้จะมีจำนวนคนน้อยกว่ามาก แต่มีการจัดระเบียบที่ดีกว่าและมีนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่า[32]

ในเดือนมีนาคม รัฐบาลกาโรยีพร้อมด้วยกลุ่มพันธมิตรจากการปฏิวัติเบญจมาศสูญเสียมายาคติของตนไปอย่างสิ้นเชิง และในวันที่ 2 มีนาคม กาโรยีซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1919 แสดงท่าทีที่เป็นไปได้ในการพยายามป้องกันประเทศโดยใช้กำลัง เนื่องจากความล้มเหลวของการเจรจาที่ต่อเนื่องกัน[33] แต่การขาดกองกำลังติดอาวุธและความวุ่นวายภายใน ทำให้ข้อเสนอนี้เป็นไปไม่ได้[33] ปัญญาชนและชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีแนวคิดหัวรุนแรงมากขึ้น เนื่องด้วยความยากลำบากในช่วงหลังสงครามและการปฏิรูปที่เชื่องช้า ได้สนับสนุนรัฐบาลด้วยความกระตือรือร้นน้อยลงเรื่อย ๆ[15] ชาวนาที่ไม่ได้ปฏิรูปไร่นาตามความต้องการและถูกกดขี่อย่างรุนแรงในบางครั้ง ก็สูญเสียมายาคติในกาโรยีเช่นกัน[15] สถานการณ์ภายในประเทศรุนแรงขึ้น ความเข้มแข็งของซ้ายสุดและขวาสุดเพิ่มขึ้น และรัฐบาลอ่อนแอลงเนื่องจากนโยบายต่างประเทศล้มเหลวและขาดการปฏิรูปภายในประเทศ[34]

ในวันที่ 20 มีนาคม พันเอกวิกซ์ได้ยื่นคำขาดใหม่ต่อรัฐบาลกาโรยี: โดยบังคับให้กองทหารฮังการีถอนกำลังออกจากแนวพรมแดนที่กำหนดไว้กับโรมาเนีย[33] เขตอิทธิพลทางทหารของทั้งสองประเทศจะถูกคั่นกลางด้วยพื้นที่เป็นกลาง (neutral zone) ซึ่งครอบคลุมบางเมืองสำคัญของฮังการีอย่างแดแบร็ตแซ็นและแซแก็ดด้วย[33] การที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางดินแดนใหม่นี้ได้ ทำให้รัฐบาลโอนอำนาจไปยังพันธมิตรประชาธิปไตยสังคมนิยม–คอมมิวนิสต์ ซึ่งจะนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในเวลาต่อมา[33]

รัฐบาลชั่วคราว (1919-1920) แก้

 
ธงชาติสาธารณรัฐฮังการีในช่วงของรัฐบาลชั่วคราว ค.ศ. 1919-1920

ภายหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1919 รัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมหรือที่เรียกว่า "รัฐบาลสหภาพแรงงาน" ได้เข้ามามีอำนาจ โดยอยู่ภายใต้การนำของ จูลอ ไพเดิล[35] ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ให้คืนรูปแบบการปกครองและชื่อทางการของรัฐกลับเป็น "สาธารณรัฐประชาชน"[5] ในช่วงระยะเวลาอันสั้น รัฐบาลของไพเดิลได้พยายามยกเลิกมาตรการที่ผ่านโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์[36]

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม อิชต์วาน ฟรีดริช ผู้นำแห่งสันนิบาตพันธมิตรทำเนียบขาวฝ่ายขวา (กลุ่มปรปักษ์ปฏิวัติฝ่ายขวา) ได้ทำการโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลไพเดิล[37] และทำการรัฐประหารโดยปราศจากการนองเลือด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพหลวงโรมาเนีย[6] การรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางภายในฮังการี[38] วันต่อมา อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์ ได้ประกาศตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี (เขาดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม เมื่อเขาถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง)[39] และแต่งตั้งฟรีดริชเป็นนายกรัฐมนตรี และสืบทอดตำแหน่งต่อโดย กาโรยี ฮูสซาร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวจนกระทั่งการฟื้นฟูราชาธิปไตยในอีกไม่กี่เดือนต่อมา

 
พลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี เข้าสู่กรุงบูดาเปสต์ ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1919 โดยเขาได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ประจำเมืองด้านหน้า โฮแต็ล แกลเลรท์

รัฐบาลเผด็จการที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบไปด้วยนายทหารที่เข้าสู่กรุงบูดาเปสต์ในเดือนพฤศจิกายน และได้รับการสนับสนุนจากชาวโรมาเนีย[6] ได้ก่อให้เกิด "ความน่าสะพรึงกลัวขาว" ขึ้น ซึ่งนำไปสู่การถูกจองจำ, การทรมาน, และประหารชีวิตโดยปราศจากการพิจารณาคดีของผู้คนมากมายที่ถูกกว่าหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์, นักสังคมนิยม, ชาวยิว, ปัญญาชนฝ่ายซ้าย, ผู้สนับสนุนระบอบกาโรยีและกุน และคนอื่น ๆ ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการเมืองแบบดั้งเดิมของฮังการี[6] มีการคาดการณ์ว่าจำนวนในการประหารชีวิตอยู่ที่ 5,000 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกจำคุกประมาณ 75,000 คน[6][37] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวฮังการีฝ่ายขวาและกองทัพโรมาเนียมุ่งหมายกวาดล้างชาวยิว[6] ในท้ายที่สุด ความน่าสะพรึงกลัวขาวนี้ได้บีบให้ประชาชนประมาณ 100,000 คน ต้องออกนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักสังคมนิยม, ปัญญาชน, และชาวยิวชนชั้นกลาง[6]

ในปี 1920 และ 1921 ได้เกิดความโกลาหลภายในประเทศฮังการี[6] ความน่าสะพรึงกลัวขาวยังคงกระทำต่อชาวยิวและฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง การว่างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และผู้ลี้ภัยชาวฮังการีที่ขาดแคลนเงินจำนวนมากได้หลั่งไหลข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านและสร้างภาระให้กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่ประชากรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[6] ในเดือนมกราคม 1920 ชาวฮังการีทั้งชายและหญิงได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ และผู้ที่ได้เสียงข้างมากส่วนใหญ่ในรัฐสภาเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ[6] มีสองพรรคการเมืองหลักที่ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลานี้ ได้แก่ พรรคสหภาพคริสเตียนแห่งชาติและพรรคเกษตรกรรายย่อยและกรรมกรเกษตรกรรมแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน[6] เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1920[40] รัฐสภาได้ฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี อันเป็นการสิ้นสุดระบอบสาธารณรัฐ และในเดือนมีนาคม ได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาการประนีประนอม ค.ศ. 1867[6] รัฐสภาได้เลื่อนการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ออกไป จนกว่าปัญหาความวุ่นวายในประเทศจะสงบลง จึงทำให้อดีตพลเรือเอกของกองทัพออสเตรีย-ฮังการี มิกโลช โฮร์ตี ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[6] จนถึงปี 1944

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ซานโดร์ กอร์บอยี ได้รับการพิจารณาเป็นประมุขแห่งรัฐคนใหม่ ในฐานะประธานสภาบริหารกลางแห่งโซเวียตฮังการี
  2. รักษาการแทนในฐานะนายกรัฐมนตรี
  3. ในฐานะผู้สำเร็จราชการ
  4. ประมุขแห่งรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรี
  5. ประมุขแห่งรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรี
  6. ในปี 1918 (Tarsoly 1995, pp. 595–597.)
  7. "สาธารณรัฐประชาชนฮังการี" ได้รับการยอมรับว่าเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[2][3][4] และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาจนกระทั่งการโค่นล้มรัฐบาลของเดแน็ช เบริงคีย์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1919 ภายหลังจากการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี รัฐบาลของจูลอ ไพเดิลได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อดังเดิม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1919[5][6] ต่อมารัฐบาลของอิชต์วาน ฟรีดริชได้เปลี่ยนชื่อรัฐใหม่เป็น "สาธารณรัฐฮังการี" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม[7][8][9] อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งยังมีการใช้ชื่อ "สาธารณรัฐประชาชนฮังการี" โดยปรากฏในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยรัฐบาลบางฉบับในช่วงเวลานี้[10][11]
  8. ทรานซิลเวเนีย

อ้างอิง แก้

  1. Lambert, S. (19 เมษายน 2014). "The First Hungarian Republic". The Orange Files. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2019.
  2. 1918. évi néphatározat (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  3. Pölöskei, F.; และคณะ (1995). Magyarország története, 1918–1990 (ภาษาฮังการี). Budapest: Korona Kiadó. p. 17. ISBN 963-8153-55-5.
  4. Minisztertanácsi jegyzőkönyvek: 1918. november 16 (ภาษาฮังการี). DigitArchiv. p. 4.
  5. 5.0 5.1 A Magyar Népköztársaság Kormányának 1. számu rendelete Magyarország államformája tárgyában (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 Pölöskei, F.; และคณะ (1995). Magyarország története, 1918–1990 (ภาษาฮังการี). Budapest: Korona Kiadó. pp. 32–33. ISBN 963-8153-55-5.
  7. A Magyar Köztársaság miniszterelnökének 1. számu rendelete a sajtótermékekről (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  8. 4072/1919. M. E. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  9. Raffay, E. (1990). Trianon titkai, avagy hogyan bántak el országunkkal (ภาษาฮังการี). Budapest: Tornado Damenia. p. 125. ISBN 963-02-7639-9.
  10. 3923/1919. M. E. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  11. 70762/1919. K. M. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  12. Szilassy 1971, p. 23.
  13. 13.0 13.1 13.2 Szilassy 1971, p. 24.
  14. 14.0 14.1 14.2 Mocsy 1983, p. 3.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Mocsy 1983, p. 85.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 16.7 Mocsy 1983, p. 84.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Mocsy 1983, p. 88.
  18. 18.0 18.1 Zsuppán 1965, p. 315.
  19. 19.0 19.1 Mocsy 1983, p. 86.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Mocsy 1983, p. 87.
  21. Vermes 1973, p. 487.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Vermes 1973, p. 492.
  23. Szilassy 1971, p. 27.
  24. Vermes 1973, p. 493.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 Vermes 1973, p. 494.
  26. 26.0 26.1 26.2 Vermes 1973, p. 495.
  27. 27.0 27.1 27.2 Vermes 1973, p. 496.
  28. 28.0 28.1 Vermes 1973, p. 497.
  29. 29.0 29.1 Vermes 1973, p. 498.
  30. 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 30.10 Vermes 1973, p. 499.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 Vermes 1973, p. 500.
  32. 32.0 32.1 Mocsy 1983, p. 95.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 Vermes 1973, p. 501.
  34. Mocsy 1983, p. 89.
  35. Romsics, I. (2004). Magyarország története a XX. században (ภาษาฮังการี). Budapest: Osiris Kiadó. p. 132. ISBN 963-389-590-1.
  36. Minisztertanácsi jegyzőkönyvek: 1919. augusztus 3 (ภาษาฮังการี). DigitArchiv. p. 6.
  37. 37.0 37.1 "Hungary Between The Wars". A History of Modern Hungary: 1867-1994.
  38. S. Balogh, Eva (Spring 1977). "Power Struggle in Hungary: Analysis in Post-war Domestic Politics August-November 1919" (PDF). Canadian-American Review of Hungarian Studies. 4 (1): 6.
  39. "Die amtliche Meldung über den Rücktritt" (ภาษาเยอรมัน). Neue Freie Presse, Morgenblatt. 1919-08-24. p. 2.
  40. Dr. Térfy, Gyula, บ.ก. (1921). "1920. évi I. törvénycikk az alkotmányosság helyreállításáról és az állami főhatalom gyakorlásának ideiglenes rendezéséről.". Magyar törvénytár (Corpus Juris Hungarici): 1920. évi törvénycikkek (ภาษาฮังการี). Budapest: Révai Testvérek Irodalmi Intézet Részvénytársaság. p. 3.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้