การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

ในการแพทย์ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (อังกฤษ: caloric test[1][2][3], caloric testing[4], caloric stimulation[5], Caloric reflex test) เป็นการทดสอบระบบการทรงตัว/หลอดกึ่งวงกลม/ก้านสมอง/สมองใหญ่[4]/vestibulo-ocular reflex[5] และสามารถใช้ช่วยวินิจฉัยเนื้องอกเส้นประสาทแบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma)[5] โดยใส่น้ำเย็นหรืออุ่น หรือเป่าลมเย็นหรืออุ่น เข้าที่ช่องหูภายนอกทีละข้าง เป็นการทดสอบที่พัฒนาขึ้นโดยแพทย์โสตวิทยาชาวออสโตร-ฮังการี Robert Bárány ผู้ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี ค.ศ. 1914 เพราะการค้นพบนี้

การทดสอบด้วยความเย็นร้อน
การวินิจฉัยทางการแพทย์
การทดสอบด้วยความเย็นร้อน - น้ำเย็นที่ใส่เข้ารูหูทำให้เกิดผลตรงข้ามกับที่เกิดเมื่อใส่ด้วยน้ำร้อน (Lawrence et. al 1960)
ICD-9-CM95.44
เม็ดไลน์พลัส003429

การใช้ แก้

แพทย์ นักโสตสัมผัสวิทยา และผู้ประกอบการมืออาชีพอื่น ๆ มักใช้การทดสอบนี้เพื่อยืนยันการทำงานไม่เท่ากันทั้งสองข้างของระบบการทรงตัวนอกประสาทส่วนกลาง โดยบางครั้งใช้เป็นส่วนย่อยของการทดสอบการเคลื่อนไหวของตาที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ คือ electronystagmography (ENG) เพื่อวินิจฉัยเหตุของอาการรู้สึกหมุน อาการเวียนศีรษะ หรือปัญหาการทรงตัว เป็นการทดสอบอย่างหนึ่งเพื่อตรวจสอบความเสียหายต่อก้านสมองในคนไข้โคม่า[4] และสามารถแสดงการมีเนื้องอกที่เส้นประสาทสมองที่ 8 (vestibulocochlear nerve) แบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) อย่างเชื่อถือได้[5]

การทดสอบนี้ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่อาจบาดเจ็บที่คอ ผู้มีเลือดอยู่ในช่องหู หรือผู้มีแก้วหูทะลุ[2]

การใช้ใหม่ ๆ อย่างหนึ่งก็คือเพื่อบรรเทาความปวดจากความเจ็บปวดซึ่งเกิดจากแขนขาที่ไม่มีในผู้ได้ตัดแขนขาออก[6] และในผู้อัมพาตครึ่งล่าง[7] มันอาจใช้ทุเลาอย่างชั่วคราวซึ่งภาวะเสียสำนึกความพิการ ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิในด้านการเห็นและส่วนร่างกาย อาการไม่รู้สึกร่างกายข้างหนึ่ง (hemianesthesia) และอาการอื่น ๆ เนื่องจากความเสียหายที่สมองข้างขวา[8]

เทคนิคและผลที่ได้ แก้

น้ำเย็นหรืออุ่น (ประมาณ 10-20 มิลลิลิตร[2][5]) หรือลม จะฉีดเข้าในช่องหูชั้นนอก ปกติด้วยกระบอกฉีดยา โดยให้คนไข้นอนหงายและยกศีรษะขึ้น 30 องศาจากแนวราบ ซึ่งทำให้หลอดกึ่งวงกลมด้านข้าง (lateral semicircular canal) โค้งขึ้นเกือบเป็นแนวตั้ง[4] ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของร่างกายและน้ำที่ฉีด จะสร้างกระแสน้ำพาความร้อนใน endolymph ของหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างที่อยู่ใกล้ ๆ โดยน้ำเย็นน้ำอุ่นจะสร้างกระแสในทิศทางตรงกันข้ามกัน และดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ตากระตุกในแนวนอน (horizontal nystagmus) ในทิศทางตรงกันข้ามกัน[4] ซึ่งจะเกิดเป็นเวลา 2-3 นาที[5]

ในคนไข้ที่ก้านสมองไม่เสียหาย[9][10]

  • ถ้าใช้น้ำอุ่น (อุณหภูมิเท่ากับหรือมากกว่า 44 องศาเซลเซียส) น้ำในหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างในซีกร่างกายเดียวกันจะไหลย้อนขึ้น ทำให้เส้นประสาท vestibular ส่งสัญญาณในอัตราสูงขึ้น สถานการณ์นี้เหมือนกับหมุนศีรษะไปทางหูข้างเดียวกัน มีผลทำให้ตาทั้งสองหมุนไปทางตรงข้าม คือไปจากหูที่ทำการ โดยมีการกระตุกตาเร็ว (nystagmus) ในแนวนอนไปทางหูที่ทำการ
  • ถ้าน้ำเย็นเมื่อเทียบกับอุณหภูมิร่างกาย (เช่น 30 องศาหรือต่ำกว่า) น้ำ endolymph ในหลอดก็จะไหลลง ซึ่งลดการส่งสัญญาณในเส้นประสาท vestibular มีผลทำให้ตาทั้งสองหมุนไปทาหูที่ทำการ โดยมีการกระตุกตาเร็วในแนวนอนไปยังหูตรงกันข้าม

การขาดการตอบสนองของตาแสดงนัยว่า มีปัญหาในหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างของระบบการทรงตัวข้างที่ทำการ[3] หรือมีรอยโรคที่ก้านสมอง[2][4]/รอยโรคในระบบการทรงตัวนอกประสาทกลาง[1] สำหรับคนไข้ vestibular schwannoma ในหูที่ทำการ มีการพบว่า การตอบสนองของตาลดลงอย่างสำคัญในคนไข้ถึง 94% ซึ่งแสดงว่าการทดสอบนี้อาจช่วยวินิจฉัยอาการนี้อย่างเชื่อถือได้[5]

ในคนไข้โคม่าที่บาดเจ็บในสมองใหญ่ การกระตุกตาในระยะเร็วจะไม่มีเพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมโดยสมองใหญ่ ดังนั้น การทดสอบด้วยน้ำเย็นจะมีผลเป็นการเคลื่อนตาไปทางหูที่ทำการโดยไม่มีการกระตุกตาแบบเร็วในทิศตรงกันข้าม แต่ถ้าไม่มีการเคลื่อนตาแบบทั้งสอง นี่แสดงนัยว่า ก้านสมองของคนไข้เสียหาย และจึงมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี[11]

สำหรับคนไข้ที่ตอบสนองด้วยการเคลื่อนตาข้างเดียวโดยไม่มีการกระตุกตาในระยะเร็ว นี่แสดงรอยโรคใน medial longitudinal fasciculus (MLF) ทั้งสองข้างของก้านสมอง[4]

การตรวจก้านสมองด้วยการทดสอบด้วยความเย็นร้อน[4]
รีเฟล็กซ์ในคนไข้ที่รู้สึกตัว รีเฟล็กซ์ในคนไข้ที่ไม่รู้สึกตัว
น้ำที่หูขวา ปกติ ก้านสมองปกติ รอยโรคที่ MLF ทั้งสองข้าง รอยโรคที่ก้านสมองด้านล่าง
เย็น ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางขวา
กระตุกไปทางซ้าย
ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางขวา
ไม่มีการกระตุก
ตาขวาเคลื่อนไปทางขวา
ตาซ้ายไม่ขยับ
ไม่มีการกระตุก
ตาทั้งสองไม่ขยับ
อุ่น ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางซ้าย
กระตุกไปทางขวา
ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางซ้าย
ไม่มีการกระตุก
ตาขวาไม่ขยับ
ตาซ้ายเคลื่อนไปทางซ้าย
ไม่มีการกระตุก
ตาทั้งสองไม่ขยับ

วลีช่วยจำ แก้

วลีช่วยจำทิศทางของการกระตุกตาเร็ว (nystagmus) ภาษาอังกฤษก็คือ COWS[12] โดยย่อมาจาก Cold (เย็น) Opposite (ข้างตรงข้าม), Warm (อุ่น) Same (ข้างเดียวกัน) และหมายความว่า น้ำเย็นทำให้ตากระตุกเร็วไปทางข้างตรงข้ามของหูที่ใส่น้ำ น้ำอุ่นทำให้ตากระตุกเร็วไปทางข้างเดียวกันที่ใส่น้ำ

อีกอย่างก็คือ Contralateral (ข้างตรงข้าม) เมื่อใช้ cold (น้ำเย็น) และ ipsilateral (ข้างเดียวกัน) เมื่อใช้น้ำอุ่น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Kriegstein, Arnold R; Brust, John CM (2013). "Appendix B - The Neurological Examination of the Patient". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. Caloric test, p. 1541. ISBN 978-0-07-139011-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Meadows, Mary-Ellen (2011). Kreutzer, Jeffrey S; DeLuca, John; Caplan, Bruce (บ.ก.). Conjugate Gaze. Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. Calroic test, p. 675. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6. ...This test should not be used in a patient who has possible cervical injuries, or who has blood in the ear canal or a perforated eardrum...
  3. 3.0 3.1 Caloric test. The British Medical Association Illustrated Medical Dictionary. Dorling Kindersley. 2002. p. 105. ISBN 0-7513-3383-2.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008a). "14 - The Vestibular System". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. BOX 14C - Throwing Cold Water on the Vestibular System, pp. 354-355. ISBN 978-0-87893-697-7.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Augustine, James R. (2008). 13.13. EXAMINATION OF THE VESTIBULAR SYSTEM. Human Neuroanatomy. San Diego, CA: Academic Press. pp. 233–234. ISBN 978-0-12-068251-5.
  6. André JM, Martinet N, Paysant J, Beis JM, Le Chapelain L (2001). "Temporary phantom limbs evoked by vestibular caloric stimulation in amputees". Neuropsychiatry Neuropsychol Behav Neurol. 14 (3): 190–96. PMID 11513103.
  7. Le Chapelain L, Beis JM, Paysant J, André JM (February 2001). "Vestibular caloric stimulation evokes phantom limb illusions in patients with paraplegia". Spinal Cord. 39 (2): 85–87. doi:10.1038/sj.sc.3101093. PMID 11402363.
  8. Robertson, Ian H.; Marshall, John C. (1993). Unilateral neglect: clinical and experimental studies. pp. 111–113. ISBN 978-0-86377-208-5. สืบค้นเมื่อ 2010-06-04.
  9. Nystagmus, Acquired จาก eMedicine
  10. Narenthiran, G. "Neurosurgery Quiz". Annals of Neurosurgery. สืบค้นเมื่อ 2006-08-17.
  11. Mueller-Jensen A, Neunzig HP, Emskötter T (April 1987). "Outcome prediction in comatose patients: significance of reflex eye movement analysis". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatry. 50 (4): 389–92. doi:10.1136/jnnp.50.4.389. PMC 1031870. PMID 3585347.
  12. Webb, C (1985). "COWS caloric test". Ann Emerg Med. 14 (9): 938. doi:10.1016/S0196-0644(85)80671-5. PMID 4026002.