กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห
กลุ่มโบราณสถานขชุราโห (อังกฤษ: Khajuraho Group of Monuments) เป็นหมู่โบสถ์พราหมณ์และโบสถ์ไชนะตั้งอยู่ในอำเภอฉัตรปุระ, รัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย ราว 175 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้จากฌันสี ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] หมู่มนเทียร (ศาสนสถาน) เหล่านี้ขึ้นชื่อในฐานะสถาปัตยกรรมแบบนคร และงานแกะสลักวาบหวิวประดับมนเทียร[3]
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
ที่ตั้ง | ฉัตรปุระ, มัธยประเทศ, อินเดีย |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: i, iii |
อ้างอิง | 240 |
ขึ้นทะเบียน | 1986 (สมัยที่ 10th) |
พิกัด | 24°51′16″N 79°55′17″E / 24.854422°N 79.921427°E |
มนเทียรส่วนใหญ่ในขชุราโหสร้างขึ้นในปี 950 ถึง 1050 โดยจักรวรรดิจันเทละ[4][5] เอกสารโบราณระบุว่าขชุราโหมี 85 มนเทียรในศตวรรษที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ราว 20 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้มีเพียง 25 แห่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ในอาณาเขตราวหกตารางกิโลเมตร[2] ในบรรดามนเทียรที่ยังคงอยู่ กันทรียะมหาเทวมนเทียร เป็นมนเทียรที่มีการประดับประดาและก่อสร้างอย่างวิจิตรตระการตามากที่สุดแห่งหนึ่ง[6]
หมู่มนเทียรขชุราโหมีมนเทียรที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาในศาสนาฮินดู กับ ศาสนาไชนะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอดีตมีการอยู่อาศัยร่วมกันของศาสนิกชนทั้งสองศาสนาอย่างกลมเกลียว[7]
มนเทียรต่าง ๆ ในขชุราโหเป็นมนเทียรในศาสนาฮินดู นิกายไวษณวและนิกายไศว กับในศาสนาไชนะ หลักฐานทางโบราณคดีเสนอว่ามนเทียรต่าง ๆ สร้างขึ้นไล่เลี่ยกันในปลายศตวรรษที่สิบ วิลล์ ดิวรานท์ ระลุว่าการสร้างมนเทียรร่วมกันในพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถีงการอดกลั้นทางศาสนา การยอมรับซึ่งมุมมองที่แตกต่าง และการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชน[8]
รายชื่อสิ่งก่อสร้าง
แก้ที่ | ชื่อมนเทียรในปัจจุบัน | ศาสนา | เทพเจ้าองค์ประธาน | สร้างเสร็จในปี (ค.ศ.)[9][10] |
ภาพ |
---|---|---|---|---|---|
1 | ชาวสาถโยคินีมนเทียร | ฮินดู | เทวี, 64 โยคินี | 885 | |
2 | ลาลคุนมหาเทวมนเทียร | ฮินดู | พระศิวะ | 900 | |
3 | พราหมมนเทียร | ฮินดู | พระวิษณุ | 925 | |
4 | ลักษมณมนเทียร | ฮินดู | พระไวกูณฐวิษณุ | 939 | |
5 | วราหมนเทียร | ฮินดู | พระวิษณุ | 950 | |
6 | ปารศวนาถมนเทียร | ไชนะ | พระปารศวนาถ | 954 | |
7 | ฆานไตมนเทียร | ไชนะ | พระอาทินาถ | 960 | |
8 | มหิศสุรมรรทินี | ฮินดู | มหิษสูรมรรทินี | 995 | |
9 | วิศวนาถมนเทียร | ฮินดู | พระศิวะ | 999 | |
10 | มตันเคศวรมนเทียร | ฮินดู | พระศิวะ | 1000 | |
11 | วิษณุทรงครุฑ | ฮินดู | พระวิษณุ | 1000 | |
12 | ซากของพีชมณฑลมนเทียร (Beejamandal Temple ruins) | ฮินดู | พระศิวะ | 1000 | |
13 | พระคเณศ | ฮินดู | พระศิวะ | 1000 | |
14 | เทวีชคทัมพีมนเทียร | ฮินดู | เทวีชคทัมพี | 1023 | |
15 | จิตรคุปตมนเทียร | ฮินดู | พระอาทิตย์ พระจิตรคุปต์ | 1023 | |
16 | อาทินาถมนเทียร | ไชนะ | พระอาทินาถ | 1027 | |
17 | ศานตินาถมนเทียร | ไชนะ | พระศานตินาถ | 1027 | |
18 | กันทรียมหาเทวมนเทียร (ใหญ่ที่สุด) | ฮินดู | พระศิวะ | 1029 | |
19 | วามานมนเทียร | ฮินดู | พระวามนะ | 1062 | |
20 | ชวารีมนเทียร | ฮินดู | พระวิษณุ | 1090 | |
21 | จุตรภูชมนเทียร | ฮินดู | พระวิษณุ | 1110 | |
22 | ทุลเทวมนเทียร (ทุลเทโอ) | ฮินดู | พระศิวะ | 1125 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "World Heritage Day: Five must-visit sites in India". 18 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
- ↑ 2.0 2.1 Khajuraho Group of Monuments UNESCO World Heritage Site
- ↑ Philip Wilkinson (2008), India: People, Place, Culture and History, ISBN 978-1405329040, pp 352-353
- ↑ Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 179.
- ↑ "Khajuraho Group of Monuments".
- ↑ Devangana Desai (2005), Khajuraho, Oxford University Press, Sixth Print, ISBN 978-0-19-565643-5
- ↑ James Fergusson, Northern or Indo-Aryan Style - Khajuraho History of Indian and Eastern Architecture, Updated by James Burgess and R. Phene Spiers (1910), Volume II, John Murray, London
- ↑ Will Durant (1976), Our Oriental Heritage - The Story of Civilization, ISBN 978-0671548001, Simon & Schuster
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อrsingh
- ↑ From inscription or estimated from other evidence