กระจุกดาวรวงผึ้ง
กระจุกดาวรวงผึ้ง (อังกฤษ: Beehive Cluster; หรือที่รู้จักในชื่อ Praesepe—ในภาษาละตินแปลว่า "รางหญ้า", M44, NGC 2632) เป็นกระจุกดาวเปิดที่อยู่ในกลุ่มดาวปู ถือเป็นหนึ่งในบรรดากระจุกดาวเปิดที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด ประกอบด้วยดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หลายดวงที่สว่างกว่ากระจุกดาวอื่นในบริเวณใกล้เคียง ในคืนเดือนมืดหากสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยตาเปล่าอาจมองเห็นกระจุกดาวรวงผึ้งเป็นเหมือนเนบิวลาหรือกลุ่มเมฆจาง ๆ มันจึงเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณแล้ว นักดาราศาสตร์ยุคแรก ๆ อย่าง ปโตเลมี เรียกมันว่า "มวลเมฆในอกของปู" กระจุกดาวนี้ยังเป็นวัตถุท้องฟ้าชุดแรก ๆ ที่กาลิเลโอศึกษาผ่านกล้องโทรทรรศน์ของเขาด้วย[3]
กระจุกดาวรวงผึ้ง | |
---|---|
กระจุกดาวรวงผึ้ง เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวปูที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า | |
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง J2000.0) | |
กลุ่มดาว | กลุ่มดาวปู |
ไรต์แอสเซนชัน | 08h 40.4m |
เดคลิเนชัน | 19° 41′ |
ระยะห่าง | 577 ly (177 pc) |
ความส่องสว่างปรากฏ (V) | 3.1[1][2] |
ขนาดปรากฏ (V) | 95′ |
ชื่ออื่น | M44, Praesepe, NGC 2632 |
ดูเพิ่ม: กระจุกดาวเปิด, รายชื่อกระจุกดาวเปิด |
อายุและการเคลื่อนที่เฉพาะของกระจุกดาวนี้มีลักษณะสอดคล้องกันกับกระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว มีแนวโน้มได้ว่ากระจุกดาวทั้งสองอาจมีกำเนิดมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน[4][5] กระจุกดาวทั้งสองแห่งยังมีดาวยักษ์แดงและดาวแคระขาว ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ในระยะท้ายๆ ในวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ขณะเดียวกันก็มีดาวฤกษ์อื่นที่ยังอยู่ในแถบลำดับหลักซึ่งมีค่าสเปกตรัมเป็นประเภท A, F, G, K, และ M
กระจุกดาวรวงผึ้งในทัศนะทางดาราศาสตร์แบบจีนเรียกว่า "จิชิกิ" (จีน: 積屍氣; แปลว่า "เมฆหมอกของกองซากศพ") มีความเชื่อว่าเป็นสถานที่ ๆ เหล่าวิญญาณของคนตายบนโลกวนเวียนทับถมอยู่ที่นี่[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ (IAAC) OBJECT: M44 (Beehive cluster)
- ↑ Beehive Cluster - Encharta
- ↑ Messier 44: Observations and Descriptions, at http://www.maa.clell.de/Messier/Mdes/dm044.html เก็บถาวร 2016-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Klein-Wassink WJ. (1927) The proper motion and the distance of the Praesepe cluster. Publications of the Kapteyn Astronomical Laboratory Groningen, 41: 1-48.
- ↑ Dobbie PD, Napiwotzki R, Burleigh MR, et al. (2006) New Praesepe white dwarfs and the initial mass-final mass relation. Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 369: 383-389.
- ↑ (จีน) AEEA (Activities of Exhibition and Education in Astronomy) 天文教育資訊網 2006 年 5 月 27 日 เก็บถาวร 2011-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน