กรณีมายาเกวซ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กรณีมายาเกวซ (อังกฤษ: Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐที่รวดเร็ว ระหว่างวันที่ 13–15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975
กรณีมายาเกวซ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม | |||||||
เรือเอสเอส มายาเกวซ ขณะถูกเรือปืนของเขมรแดงล้อม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ | กัมพูชาประชาธิปไตย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เรนเดลล์ ดับเบิลยู. ออสติน | เอ็ม ซอน | ||||||
กำลัง | |||||||
220 นาย | 85–100 นาย | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 15 นาย บาดเจ็บ 41 นาย สูญหาย 3 นาย (เสียชีวิต) ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน 3 ลำถูกยิงตก[1] |
เสียชีวิต 13–25 นาย บาดเจ็บ 15 นาย เรือปืนจมลง 3 ลำ |
เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกันชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)
รัฐบาลสหรัฐโดยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินประมาณ 1,000 นาย จากเกาะโอกินาวะและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินอู่ตะเภาในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพอเมริกันที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมาออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้
ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที
ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว[2][3] สุดท้ายสหรัฐถอนทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 1976
อ้างอิง
แก้- ↑ 33 ปี.. นาวิกฯ อีกคนเพิ่งได้กลับจากกัมพูชา
- ↑ กระแสต้าน "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" นักศึกษาชุมนุมประท้วงการใช้ฐานทัพอากาศในไทย โดยไม่ขออนุญาต หน้า 149, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ Walter LaFeber, America, Russia, and the Cold War, 1945-1990, (McGraw - Hill, Inc., 1991), pp. 281 – 282.