เอสเอส มายาเกวซ
เอสเอส มายาเกวซ (อังกฤษ: SS Mayaguez) เป็นเรือคอนเทนเนอร์ธงสหรัฐ ที่ได้รับการจับตามองจากการถูกยึดโดยกองกำลังเขมรแดงของกัมพูชาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 ซึ่งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากับสหรัฐเมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
มายาเกวซ ถูกโจมตีโดยเรือปืนเขมรแดง
| |
ประวัติ | |
---|---|
สหรัฐ | |
เข้าประจำการ | เมษายน ค.ศ. 1944 |
ปลดระวาง | ค.ศ. 1979 |
รหัสระบุ | หมายเลขไอเอ็มโอ: 5312044 |
ความเป็นไป | ทำให้เป็นเศษในปี ค.ศ. 1979 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน
แก้มายาเกวซได้รับการปล่อยลงน้ำครั้งแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1944 ในฐานะเอสเอส ไวต์ฟอลคอน ซึ่งเป็นเรือขนส่งสินค้าซี2-เอส-เอเจ1 ของคณะกรรมาธิการการเดินเรือสหรัฐ ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทต่อเรือนอร์ทแคโรไลนาของวิลมิงตัน รัฐนอร์ทแคโรไลนา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เรือถูกขายให้กับเกรซไลน์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเอสเอส ซานตาเอเลียนา โดยการค้นหาการขนส่งเมล็ดกาแฟระบบตู้สินค้าจากประเทศเวเนซุเอลา ซึ่งในปี ค.ศ. 1960 เกรซมีซานตาเอเลียนา และซานตาเลโอนอร์ ซึ่งเป็นเรือที่สร้างขึ้นรูปเดียวกัน ที่ทำให้ยาวขึ้นและกว้างขึ้นโดยแมรีแลนด์ชิปบิลดิงและดรายด็อกคอมพานี รวมถึงแปลงเป็นธงเรือสหรัฐครั้งแรก โดยมีความจุ 382 ตู้คอนเทนเนอร์ที่ด้านล่างและอีก 94 ตู้บนดาดฟ้า ด้วยแผนการของเกรซไลน์ทำให้ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการต่อต้านของผู้ที่ทำงานขนของที่ท่าเรือทั้งเวเนซุเอลาและนิวยอร์ก เรือดังกล่าวถูกขายในปี ค.ศ. 1964 ไปยังซี-แลนด์เซอร์วิส ซึ่งเป็นสายงานคอนเทนเนอร์อเมริกัน และมันได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นเอสเอส ซี แล้วจึงเป็นเอสเอส มายาเกวซ (ตามชื่อเมืองมายาเกวซบนชายฝั่งตะวันตกของปวยร์โตรีโก) ในปี ค.ศ. 1965 ส่วนเรือที่สร้างขึ้นรูปเดียวกันของมันได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นแลนด์ แล้วจึงเป็นปอนเซ (ตามชื่อเมืองปอนเซบนชายฝั่งทางใต้ของปวยร์โตรีโก)[1][2]
ในปี ค.ศ. 1967 ซี-แลนด์ เริ่มให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ตามปกติภายใต้สัญญากับมิลิทารีซีทรานสปอร์ตเทชันเซอร์วิส (MSTS) เพื่อสนับสนุนกองกำลังอเมริกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมายาเกวซเป็นหนึ่งในเรือซี-แลนด์ จำนวนมากที่ได้รับการจ้างงาน ส่วนปี ค.ศ. 1975 มายาเกวซทำการแล่นเรือตามเส้นทางปกติคือ ฮ่องกง – สัตหีบ ประเทศไทย – สิงคโปร์ ซึ่งในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากการล่มสลายของไซ่ง่อน มายาเกวซได้ออกจากฮ่องกงดังที่กล่าวกันว่าเป็นการเดินเรือตามปกติ[3][4]
การถูกยึดและกู้คืน
แก้อ้างอิง
แก้- Cudahy, Brian J. (2006). Box Boats: How Container Ships Changed the World. Fordham University Press. ISBN 978-0-8232-2569-9.
- Levinson, Mark (2006). The Box: How the Shipping Container made the World Smaller and the World Economy Bigger. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-13640-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เอสเอส มายาเกวซ