โอกีนา (ฮาวาย: ʻokina) เป็นอักษรพยัญชนะตัวหนึ่งในชุดตัวเขียนละติน ใช้เขียนแทนเสียงกักที่เส้นเสียงที่ปรากฏในภาษากลุ่มพอลินีเชียหลายภาษา ซึ่งมีการเรียกชื่อโอกีนาแตกต่างกันออกไป

รูปอักษรโอกีนา
โอกีนาในภาษาฮาวาย โอกีนาในภาษาฮาวาย หรือฟากาอูอาในภาษาตองงา (ยูนิโคด U+02BB[1]) ซึ่งปรากฏในชุดแบบอักษร Lucida Sans
Tahitian ʻeta เอตาในภาษาตาฮีตี หรือฟากาโมงาในภาษาวาลิส (ยังไม่มีรหัสต่างหาก) ซึ่งปรากฏในชุดแบบอักษร Lucida Sans
»ʻŌlelo Hawaiʻi« ("ภาษาฮาวาย") ภายในเครื่องหมายคำพูด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโอกีนากับอัญประกาศ

ชื่อ แก้

พื้นที่ ชื่อท้องถิ่น ความหมายตรงตัว หมายเหตุ
ฮาวาย โอกีนา (ʻokina) ตัวแบ่ง ได้รับการกำหนดใช้ในบริบททางการ โดยปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในอดีตมีการแทนสัญลักษณ์โอกีนาด้วยเกรฟแอกเซนต์ (`) สำหรับงานพิมพ์คอมพิวเตอร์ ในสมัยหลังมานี้ มีการใช้โอกีนาทั้งในรูปของอะพอสทรอฟี (') และสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ (ʻ) เอง
ซามัว โกมาลีลีอู
(koma liliu)
"จุลภาคหัวกลับ"
(liliu แปลว่า หัวกลับ
และ koma แปลว่า จุลภาค)
ในปัจจุบันนักวิชาการและชาวซามัวให้การยอมรับในการใช้อะพอสทรอฟีในงานพิมพ์สมัยใหม่[2] การใช้สัญลักษณ์อะพอสทรอฟีและขีดขวางบนสระเพื่อบอกว่าเป็นสระเสียงยาวในคำซามัวได้รับการฟื้นฟูโดยกระทรวงศึกษาธิการซามัวเมื่อปี ค.ศ. 2012 หลังจากที่นำออกไปในคริสต์ทศวรรษ 1960[3]
ตาฮีตี เอตา (ʻeta) ʻetaʻeta = ทำให้หนักขึ้น ไม่มีสถานะเป็นทางการหรือดั้งเดิม อาจจะใช้ ' หรือ ‘ หรือ ’ ก็ได้
ตองงา ฟากาอูอา (fakauʻa)
(รูปสะกดที่เป็นเกียรติแก่คำว่า fakamonga)
ตัวทำเสียงจากลำคอ มีสถานะเป็นทางการ
หมู่เกาะคุก อามาตา (ʻamata)
หรืออาไกโรอามาตา (ʻakairo ʻamata)
"ฮัมซะฮ์" หรือ "เครื่องหมายฮัมซะฮ์" ไม่มีสถานะทางการหรือดั้งเดิม อาจใช้ ' หรือ ‘ หรือ ’ หรือไม่ใส่เครื่องหมายก็ได้
วาลิส (ในเกาะวาลิส) ฟากาโมงา (fakamoga) ทางลำคอ ไม่มีสถานะทางการหรือดั้งเดิม อาจจะใช้ ' หรือ ‘ หรือ ’ ก็ได้

ลักษณะ แก้

โอกีนามีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวทางด้านซ้าย (ซึ่งมีลักษณะเครื่องหมายคล้ายเลข 6 อยู่เหนือเส้น)

สำหรับเอตาในภาษาตาฮีตีจะมีรูปร่างที่แตกต่างออกไป เหมือนโอกีนาที่หัน 90 องศาหรือหันขึ้นตามเข็มนาฬิกามากกว่า

อักขรวิธีและสถานะทางการ แก้

โอกีนาเป็นหนึ่งในชุดตัวอักษรฮาวาย เป็นอักษรที่ไม่มีตัวใหญ่เล็ก ซึ่งต่างจากอักษรตัวอื่น ๆ ที่รับมาจากตัวอักษรละตินพื้นฐาน) สำหรับคำที่ขึ้นต้นด้วยโอกีนา กฎการขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่จะมีผลต่ออักษรตัวถัดไปแทน เช่น ในตำแหน่งต้นประโยค คำว่า "ʻOkina" จะต้องขึ้นต้นด้วยตัว O ใหญ่เสมอ

ชื่อทางภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา แก้

คณะกรรมการชื่อทางภูมิศาสตร์สหรัฐได้จัดทำรายชื่อสถานที่ที่มีและไม่มีโอกีนาและกาฮาโก (ขีดยาวเหนือตัวอักษร) ในระบบสารสนเทศชื่อทางภูมิศาสตร์[4]

อ้างอิง แก้

  1. Unicode Standard 5.1
  2. Hunkin, Galumalemana Afeleti (2009). Gagana Samoa: A Samoan Language Coursebook. University of Hawaii Press. p. xiii. ISBN 0-8248-3131-4. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010.
  3. "Samoa to restore use of apostrophes and macrons". samoanews.com. 25 พฤศจิกายน 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2022.
  4. U.S. Board on Geographic Names: Collection and Dissemination of Indigenous Names (United Nations Group of Experts on Geographical Names, Twenty-third Session Vienna, 28 March – 4 April 2006, Working Paper No. 82), S. 3: "An example of this has been the addition of the glottal stop (okina) and macron (kahako) to placenames of Hawaiian origin, which prior to 1995 had always been omitted. The BGN staff, under the direction and guidance of the Hawaii State Geographic Names Authority, has been restoring systemically these marks to each Hawaiian name listed in GNIS."

แหล่งข้อมูลอื่น แก้