เอเรนเดล

(เปลี่ยนทางจาก WHL0137-LS)

WHL0137-LS หรือ เอเรนเดล (Earendel แปลว่า “ดาวรุ่งอรุณ” ในภาษาอังกฤษเก่า) ค้นพบในปี 2022 คือ ดาวฤกษ์ที่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบจนถึงปัจจุบัน[3]

WHL0137-LS (Earendel)

ภาพดาวโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เผยแพร่เมื่อ
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว ซีตัส (กลุ่มดาววาฬ)
ไรต์แอสเซนชัน 01h 37m 23.232s[1]
เดคลิเนชัน แม่แบบ:Dec[1]
มาตรดาราศาสตร์
ระยะทางRedshift of 6.2 yields คำนวณเป็นระยะทางได้ 28 พันล้านปีแสง[2] ly
คุณสมบัติ
รายละเอียด[1]
มวล50–100 M
อุณหภูมิ>20,000 K
ชื่ออื่น
Earendel

การค้นพบ

แก้

รายงานการค้นพบดาวเอเรนเดลโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[1][4] จากปรากฎการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง (gravitational lensing) ของกระจุกดาราจักรด้านหน้าที่ขยายแสงของดาวเอเรนเดล ซึ่งการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ชี้ว่าเกิดการขยายแสงให้สว่างขึ้นหนึ่งพันถึงสี่หมื่นเท่า[5] โดยก่อนหน้านี้กล้องฮับเบิลได้พบแสงนี้แล้วเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2016, 17 กรกฎาคม 2016, 4 พฤศจิกายน 2019 และ 27 พฤศจิกายน 2019[6]

ดาวมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า 'เอเรนเดล' ซึ่งมาจากชื่อภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ดาวรุ่งอรุณ” (Morning Star) หรือ "Rising Light"[1][7] นอกจากนี้ ยังคล้องกับชื่อ "เออาเรนดิล" ตัวละครลูกครึ่งเอลฟ์ในนวนิยายตำนานแห่งซิลมาริลของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เดินทางผ่านท้องฟ้าพร้อมกับอัญมณีที่เปล่งประกายราวกับดวงดาว ซึ่งนักดาราศาสตร์ของนาซา Michelle Thaller ยืนยันได้เจตนาอ้างอิงถึงตัวละครตัวนี้ของโทลคีน[8] ส่วนดาราจักรที่เป็นทื่ตั้งของดาวดวงนี้มีชื่อเล่นว่า "Sunrise Arc"[9]

มีการเสนอการสังเกตการณ์โดยฮับเบิลเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของดาวฤกษ์ยิ่งขึ้น[10] รวมถึงการสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[1]

คุณสมบัติทางกายภาพ

แก้
 
Upper portion of H-R Diagram showing the location of the S Doradus instability strip and the location of LBV outbursts. Main sequence is the thin sloping line on the lower left. (WHL0137-LS doesn't appear in this HR diagram)

คาดว่าแสงที่ตรวจพบจากเอเรนเดล ถูกปล่อยออกมาราว 900 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง ดาวดวงนี้วัดได้ว่ามีการเลื่อนไปทางแดง (redshift) ที่ 6.2±0.1 ซึ่งหมายความว่าแสงจากเอเรนเดลใช้เวลาเดินทาง 12.9 พันล้านปี ถึงโลก[1][11][5] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ ตำแหน่งของดาวที่สังเกตได้จึงอยู่ห่างออกไป 28 พันล้านปีแสงในปัจจุบัน[2]

เอเรนเดลน่าจะมีมวลประมาณ 50 ถึง 100 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[12] เนื่องจากมวลของมันมาก ดาวจึงมีแนวโน้มที่จะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาแล้วเพียงไม่กี่ล้านปีหลังจากการก่อตัว[12][13] คาดว่ามีอุณหภูมิยังผลประมาณ 20,000 K (20,000 °C; 36,000 °F)[1] เอเรนเดลอาจเป็นดาวฤกษ์ชนิด "Population III stars" ซึ่งหมายความว่าแทบไม่มีองค์ประกอบอื่นใดนอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียม[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Welch, Brian; และคณะ (21 January 2022). "A Highly Magnified Star at Redshift 6.2". Nature. 603 (7903): 1–50. doi:10.1038/s41586-022-04449-y. PMID 35354998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  2. 2.0 2.1 Kabir, Radifah (31 March 2022). "Hubble Detects Earendel, The Farthest Star Ever Seen. It's 28 Billion Light Years Away". ABP Live. ABP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  3. 3.0 3.1 Gianopoulos, Andrea (30 March 2022). "Record Broken: Hubble Spots Farthest Star Ever Seen". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  4. "Record Broken: Hubble Spots Farthest Star Ever Seen". Space Telescope Science Institute. NASA. 30 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  5. 5.0 5.1 Timmer, John (30 March 2022). "Hubble picks up the most distant star yet observed". Nature. Ars Technica. doi:10.1038/s41586-022-04449-y. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  6. "Lensed Star Earendel". HubbleSite.org. 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
  7. Parks, Jake (30 March 2022). "Hubble spots the farthest star ever seen". Astronomy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  8. Gohd, Chelsea (2022-03-31). "Meet Earendel: Hubble telescope's distant star discovery gets a Tolkien-inspired name". Space.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  9. Rauchhaupt, Ulf von (31 March 2022). "Der früheste Stern" [The earliest star]. FAZ.NET (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  10. Coe, Dan; Welch, Brian; Acebron, Ana; Avila, Roberto; Bradac, Marusa; Bradley, Larry; Diego, Jose M.; Dimauro, Paola; Farag, Ebraheem; Florian, Michael; Frye, Brenda Louise; Jimenez-Teja, Yolanda; Kelly, Patrick; Mahler, Guillaume; O'Connor, Kyle; Oguri, Masamune; Rigby, Jane R.; Rodney, Steve; Sharon, Keren; Strait, Victoria; Strolger, Louis-Gregory; Timmes, Frank; Vikaeus, Anton Filip; Windhorst, Rogier A.; Zackrisson, Erik; Zitrin, Adi; De Mink, Selma E. (2021). "Monitoring Earendel, the Lensed z 6 Star". HST Proposal: 16668. Bibcode:2021hst..prop16668C.
  11. Letzter, Rafi (30 March 2022). "Meet Earendel, the most distant star ever detected". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  12. 12.0 12.1 Konitzer, Franziska (30 March 2022). "Entferntester Stern dank 1000-facher Vergrößerung entdeckt" [Furthest star discovered thanks to 1000x magnification]. Spektrum der Wissenschaft [de] (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  13. Dunn, Marcia (30 March 2022). "This is Earendel, the most distant star ever seen by humans". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.