ดิอันเดอร์เทเกอร์

(เปลี่ยนทางจาก The Undertaker)

มาร์ค วิลเลียม คาลาเวย์ (Mark William Calaway) (เกิด 24 มีนาคม ค.ศ. 1965[10]) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่ปล้ำให้กับสมาคม WWE ที่รู้จักกันอย่างดีในนาม ดิอันเดอร์เทเกอร์ (The Undertaker)[4]

The Undertaker
ชื่อเกิดMark William Calaway
เกิด (1965-03-24) 24 มีนาคม ค.ศ. 1965 (59 ปี)
Houston, Texas, U.S.
ที่พักAustin, Texas, U.S.
คู่สมรส
  • Jodi Lynn
    (สมรส 1989; หย่า 1999)
  • Sara Frank
    (สมรส 2000; หย่า 2007)
  • Michelle McCool
    (สมรส 2010)
บุตร4
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียน
  • Cain the Undertaker[1]
  • Commando
  • Mark Callous
  • Mean Mark Callous
  • Mean Mark[2]
  • Dice Morgan[3]
  • The Master of Pain[3]
  • The Punisher[3]
  • Kane the Undertaker
  • Texas Red[3]
  • The Undertaker
ส่วนสูง6 ฟุต 10 นิ้ว (208 เซนติเมตร)[4]
น้ำหนัก309 ปอนด์ (140 กิโลกรัม)[4]
มาจากDeath Valley[4]
Houston, Texas
ฝึกหัดโดยBuzz Sawyer[5][6]
เปิดตัวJune 26, 1987[3][7]
รีไทร์June 21, 2020[8][9]

มาร์คเริ่มอาชีพมวยปล้ำในสมาคมเวิลด์แคลสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (WCW) ในปี 1987. หลังจากปล้ำให้กับ WCW ในชื่อ "มีน มาร์ค" คอลลัซ จากปี 1989 ถึง 1990, มาร์คเซ็นสัญญากับสมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น (WWF, ปัจจุบัน WWE) ในปี 1990, ทำให้เขาเป็นนักมวยปล้ำที่อยู่มานานที่สุดของสมาคม WWE. มาร์คถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

ดิอันเดอร์เทเกอร์, กิมมิคของเขาเป็นบุคคลที่น่ากลัวซึ่งใช้วิธีต่าง ๆ ที่ทำให้หวาดกลัวซึ่งรวมไปถึงพลังเหนือธรรมชาติ. คาแรคเตอร์ของอันเดอร์เทเกอร์ ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นนักเลงขี่มอเตอร์ไซค์ในช่วงต้นปี 2000 ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็นกิมมิคเดิมในปี 2004 อันเดอร์เทเกอร์ในบทนั้นเป็นพี่ชายต่างมารดาของเคน, ซึ่งมีทั้งทะเลาะกัน และรวมทีมกันในนามของเดอะบราเทอส์ออฟเดสตรักชัน. หลังจากกลายเป็นแชมป์ WWF จากการเอาชนะฮัลค์ โฮแกน ในปี 1991, อันเดอร์เทเกอร์ได้มีเนื้อเรื่องและแมตช์ที่สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์ของ WWE.

ดิอันเดอร์เทเกอร์ เป็นที่รู้จักกันในอีกเรื่องคือ สถิติ, การมีชัยชนะ 21 ครั้งติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ในเพย์-เพอร์-วิวหลักของ WWE, เรสเซิลเมเนีย (รวมถึงการปล้ำปิดรายการใน เรสเซิลเมเนียครั้งที่ 13, 24 และ 26), ก่อนที่จะพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในเรสเซิลเมเนียครั้งที่ 30 ให้กับ บร็อก เลสเนอร์ ก่อนจะปล้ำใน WWF/WWE, เขาเคยเป็นแชมป์ ยูเอสดับเบิลยูเอ ยูนิฟาย เวิลด์ เฮฟวี่เวท 1 สมัย และได้เป็นแชมป์ WWF/WWE 4 สมัย และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท 3 สมัย เขายังเป็นผู้ชนะ รอยัลรัมเบิล ปี 2007

มวยปล้ำอาชีพ

แก้

ดิอันเดอร์เทเกอร์เริ่มอาชีพมวยปล้ำในสมาคมเวิลด์แคลสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (WCCW) ในปี 1984[11] จากนั้นเขาได้ปล้ำให้กับ WCW ในชื่อ "มีน" มาร์ค คอลลัซ และหมดสัญญาในปี 1990 เขาจึงได้ย้ายไปปล้ำใน WWF หรือ WWE ปัจจุบัน[12] ซึ่งเขาปรากฏตัวในเดือนพฤศจิกายนปีนั้นเอง[13][14]

ในสมาคม WWE อันเดอร์เทเกอร์ได้รับบทนักมวยปล้ำถึง 2 คาแรคเตอร์ด้วยกัน ได้แก่ เดอะ เดทแมน (สัปเหร่อหรือผีดูดเลือด) และ อเมริกัน แบด แอส (นักเลงขี่มอเตอร์ไซค์ชาวอเมริกัน) ซึ่งเป็นคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และในบทนั้นเขามีน้องชายเป็นนักมวยปล้ำที่มีฉายาสัตว์ประหลาดยักษ์นามว่า เคน ซึ่งทั้งคู่ได้ร่วมกลุ่มเป็นคู่แทคทีมนามว่า เดอะบราเทอส์ออฟเดสตรักชัน อันเดอร์เทเกอร์ มีชื่อเสียงโด่งดังจากสถิติไร้พ่าย ในเรสเซิลเมเนีย ทั้ง 21 ครั้ง ด้วยสถิติ 21-0 จนถูกทำลายโดยบร็อก เลสเนอร์ เป็น 21-1[15] เป็นแชมป์โลก 7สมัย (แชมป์ WWE 4สมัย และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท 3สมัย) นอกจากนั้นยังเป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล (2007) ซึ่งเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ออกมาเป็นอันดับที่ 30 และเป็นผู้ชนะ

 
อันเดอร์เทเกอร์เอาชนะ ริก แฟลร์ ด้วยท่า Tombstone Piledriver ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 (เป็นการนับสถิติไร้พ่ายอย่างเป็นทางการครั้งแรก)

อันเดอร์เทเกอร์ ได้เจอกับ จิมมี สนูกกา ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 7 เป็นครั้งแรกของ อันเดอร์เทเกอร์ และสามารถเอาชนะไปมาได้สำเร็จด้วยสถิติ 1-0 (สมัยนั้นยังไม่การจดจำสถิติ)[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 8 ได้เอาชนะเจก โรเบิตส์ เพิ่มสถิติเป็น 2-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 9 ได้เอาชนะไจแอนท์ ก็อนซาเลซไปแบบ DQ เป็นสถิติ 3-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 11 ได้เอาชนะคิงคองบันดี ด้วยสถิติ 4-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 12 ได้เอาชนะเควิน แนชด้วยสถิติ 5-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 ได้เอาชนะไซโค ซิด ในแมตช์ไม่มีกติกาชิงแชมป์ WWF ทำให้ได้แชมป์ WWF และสร้างสถิติ 6-0[17] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 14 ได้เอาชนะน้องชายอย่างเคนด้วยสถิติ 7-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 15 ได้เอาชนะบิ๊กบอสแมน ในกติกานรกในกรงเหล็ก ผู้แพ้ถูกจับแขวนคอ เพิ่มสถิติ 8-0[18] อันเดอร์เทเกอร์ได้มารับบทอเมริกัน แบด แอส (นักเลงขี่มอเตอร์ไซค์ชาวอเมริกัน) และได้เอาชนะทริปเปิลเอช ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 17 สร้างสถิติ 9-0[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 ได้เอาชนะริก แฟลร์ ทำสถิติชนะครบ 10 ครั้ง (เป็นการนับสถิติไร้พ่ายของอันเดอร์เทเกอร์อย่างเป็นทางการครั้งแรก)[19][20][20][16]

 
ในบท "อเมริกัน แบด แอส" (นักเลงขี่มอเตอร์ไซค์ชาวอเมริกัน) ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19

อันเดอร์เทเกอร์ได้ปล้ำกติกาการ 2 รุม 1 กับบิ๊กโชว์ และเอ-เทรน ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19 เพิ่มสถิติ 11-0 ซึ่งเดิมเป็นกติกาแทกทีมโดยจะจับคู่กับนาธาน โจนส์[16] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 อันเดอร์เทเกอร์ได้กลับมารับบทเดอะเดดแมน(สัปเหร่อ)อีกครั้ง และได้ปล้ำเอาชนะเคนไปได้เป็นครั้งที่ 2 สร้างสถิติเป็น 12-0[21] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 อันเดอร์เทเกอร์ได้เอาชนะนักมวยปล้ำนักฆ่าตำนานอย่าง แรนดี ออร์ตัน ด้วยท่า Tombstone Piledriver สามารถหยุดสถิตินักฆ่าตำนานไว้ได้และสร้างสถิติเป็น 13-0[22] จากนั้นออร์ตันก็ลอบทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ตลอดเวลา และท้าเจอกันในอาร์มาเกดดอน (2005) ในเฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์ โดยอันเดอร์เทเกอร์ก็เอาชนะได้สำเร็จ[23] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 อันเดอร์เทเกอร์ได้เอาชนะมาร์ก เฮนรีไปได้ในการจับคู่ต่อสู้ยัดใส่โลงศพ สร้างสถิติเป็น 14-0[16]

ในรอยัลรัมเบิล (2007) อันเดอร์เทเกอร์ได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ประจำปี 2007[24] และได้เป็นคู่เอกในเรสเซิลเมเนียโดยได้เลือกที่จะชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับบาทิสตา ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 โดยเป็นการเดินพันระหว่างแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับสถิติที่ไม่เคยแพ้ใคร 14-0 ผลปรากฏว่าอันเดอร์เทเกอร์จัดการบาทิสตาด้วยท่า Tombstone Piledriver คว้าแชมป์โลกมาครองได้พร้อมกับสร้างสถิติเป็น 15-0[16] ในโนเวย์เอาท์ (2008) อันเดอร์เทเกอร์ได้เป็นผู้ชนะจากแมตช์กรงเหล็กอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ จากการหาผู้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทในเรสเซิลเมเนีย ได้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกกับเอดจ์ และในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24 อันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถคว้าแชมป์ไปได้ด้วยท่าเฮลเกท พร้อมกับสถิติ 16-0[25] แต่อีกเดือนถัดมา วิคกี เกอร์เรโรก็สั่งปลดอันเดอร์เทเกอร์ออกจากตำแหน่งแชมป์ โดยอ้างว่าอันเดอร์เทเกอร์ใช้ท่าเฮลเกท ในการต่อสู้กับเดอะเกรทคาลี ซึ่งเป็นท่าที่อันตราย ทำให้ตำแหน่งแชมป์ว่าง เอดจ์และอันเดอร์เทเกอร์ต้องไปเจอกันในวันไนท์สแตนด์ (2008)แบบการต่อสู้ด้วยโต๊ะ บันได และเก้าอี้ และเอดจ์ ก็ได้แชมป์อีกครั้งจากการช่วยเหลือของเคิร์ต ฮอว์กินส์และแซค ไรเดอร์ ส่งผลให้อันเดอร์เทเกอร์ถูกไล่ออก ต่อมาวิคกีก็รู้ว่าเอดจ์เป็นชู้กับคริสตัล ทำให้วิคกีจึงเรียกตัวอันเดอร์เทเกอร์กลับมา WWE โดยเจอกับเอดจ์ ในซัมเมอร์สแลม (2008)แบบเฮลอินเอเซล สุดท้ายอันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถล้างแค้นเอดจ์ได้สำเร็จ[26][27]

บิ๊กโชว์ได้ไปลอบทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ ทำให้อันเดอร์เทเกอร์แค้นมากจึงไปขอท้าเจอกับบิ๊กโชว์ ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2008) ในรูปแบบการปล้ำ (Casket Match) จับคู่ต่อสู้ยัดใส่โลงศพ สุดท้ายอันเดอร์เทเกอร์ก็เอาชนะไปได้[28] ต่อมาเจบีแอลได้ออกมาประกาศว่าตนจะเป็นคู่ต่อสู้กับอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 ชอว์น ไมเคิลส์ก็ออกมาแล้วบอกว่า ถ้าจะไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ให้ชนะตนเสียก่อนเพื่อหาผู้ชนะไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ แล้วชอว์นก็เป็นฝ่ายชนะแต่วลาดิเมียร์ คอซลอฟได้ออกมาทำร้ายชอว์น เพราะต้องการที่จะไปเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ อาทิตย์ต่อมา จึงเป็นศึกระหว่างชอว์นกับคอซลอฟ เพื่อหาผู้ชนะไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ท้ายที่สุดชอว์นก็เป็นฝ่ายชนะ แล้วได้ไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ผลปรากฏว่าอันเดอร์เทเกอร์เป็นฝ่ายชนะและสร้างสถิติเป็น 17-0[29]

ในซัมเมอร์สแลม (2009) อันเดอร์เทเกอร์ได้โผล่มารอบทำร้ายซีเอ็ม พังก์ ด้วยท่าโชคสแลม หลังจากที่พังก์ได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากเจฟฟ์ ฮาร์ดี[30] ในเบรกกิ้งพอยท์ อันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากพังก์ ในแมตช์ซับมิสชั่น ใครตบพื้นก่อนยอมแพ้ ผลปรากฏว่า อันเดอร์เทเกอร์ เอาชนะไปได้ด้วยท่า Hells's Gate และคว้าแชมป์ไปได้ แต่ว่า ทีโอดอร์ ลอง ได้ประกาศให้เริ่มแมตช์ใหม่อีกครั้ง เพราะท่านี้ถูกแบน พังก์เลยฉวยโอกาสจัดการใส่ อนาคอนด้า ไวส์ และกรรมการตัดสินให้พังก์ชนะทั้งที่อันเดอร์เทเกอร์ไม่ได้ตบพื้นยอมแพ้เหมือนเหตุการณ์มอนทรีออลสครูว์จ็อบ และพังก์ยังเป็นแชมป์ต่อไป[31] ในเฮลอินเอเซล (2009) อันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับพังก์อีกครั้ง ในแมตช์เฮลอินเอเซล สุดท้ายอันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถคว้าแชมป์ได้สำเร็จ[32] ในทีแอลซี (2009) อันเดอร์เทเกอร์ต้องป้องกันแชมป์กับบาทิสตา ผลปรากฏว่าในตอนแรกบาทิสตาชนะและได้แชมป์แต่ทีโอดอร์ ลองผู้จัดการทั่วไปของสแมคดาวน์ ออกมาสั่งให้เริ่มใหม่อีกครั้ง และอันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จ[33]

 
อันเดอร์เทเกอร์ในตอนป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในรอยัลรัมเบิล (2010)

ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) อันเดอร์เทเกอร์เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับคริส เจอริโค จากการถูกชอว์น ไมเคิลส์ มาลอบทำร้ายด้วยท่า Sweet Chin Music ใส่อันเดอร์เทเกอร์[34][35] จากนั้นในรอว์ อันเดอร์เทเกอร์ปรากฏตัวอีกครั้ง และได้รับคำท้าจากชอว์น ว่าจะรีแมตช์กันอีกครั้ง ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 โดยมีการเดิมพันระหว่าง อาชีพของชอว์น กับ สถิติไร่พ่ายของอันเดอร์เทเกอร์ ถ้า ชอว์นแพ้ ชอว์นจะต้องเลิกปล้ำ แต่ถ้าอันเดอร์เทเกอร์แพ้ เขาจะถูกทำลายสถิติไม่เคยแพ้ใครในเรสเซิลเมเนีย ผลปรากฏว่า อันเดอร์เทเกอร์ก็เป็นฝ่ายชนะ ทำให้ชอว์นต้องยุติอาชีพมวยปล้ำ[36][37]

อันเดอร์เทเกอร์ได้ถูกทำร้ายแล้วเคนก็ไล่กระทืบนักมวยปล้ำทุกคนเพื่อหาคนที่ทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์[38] ในซัมเมอร์สแลม (2010) หลังจากเคนป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับเรย์ มิสเตริโอไว้ได้ ขณะที่เคนจะจับเรย์เข้าไปนอนในโลงศพนั้น ก็มีอันเดอร์เทเกอร์นอนอยู่ และความจริงก็ปรากฏว่าเคนคือคนที่ทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ และอันเดอร์เทเกอร์จะเล่นงานเคนด้วยโชคสแลม แต่เคนแก้ท่าได้และเล่นงานด้วยท่า Tombstone Piledriver[39] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010) อันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับเคน แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ ต่อมาพอล แบเรอร์อดีตผู้จัดการของเคนและอันเดอร์เทเกอร์ได้กลับมาอีกครั้ง และได้เป็นผู้จัดการของเทเกอร์ซึ่งมาในบทธรรมะ[40] ในเฮลอินเอเซล (2010) อันเดอร์เทเกอร์ได้ชิงแชมป์กับเคนแต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะถูกแบเรอร์ผู้จัดการของเขาหักหลัง กลายเป็นผู้จัดการของเคน และเป็นอธรรม ต่อมาในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2010) อันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าชิงแชมป์อีกครั้งกับ เคน ในแมตช์การปล้ำฝังทั้งเป็น (Buried Alive) ใครจับคู่ต่อสู้ลงหลุมและเอาดินกลบได้ จะเป็นฝ่ายชนะไป แต่อันเดอร์เทเกอร์ก็ถูกพวกเดอะเน็กซัสมาก่อกวน และฝังอันเดอร์เทเกอร์ ทำให้แพ้ให้กับเคน ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ ซึ่งอันเดอร์เทเกอร์ได้แพ้ให้กับเคน ติดต่อกันถึง3ครั้งในศึกใหญ่ และแมตช์อันเดอร์เทเกอร์ได้รับอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่

 
การเปิดตัวของอันเดอร์เทเกอร์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27

ในรอว์ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ อันเดอร์เทเกอร์ได้หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บ พร้อมกับ ทริปเปิล เอช ที่หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บเช่นเดียวกัน ทั้งคู่ได้เผชิญหน้าและท้าทายกัน และทั้งคู่จะได้เจอกันเป็นครั้งที่2 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการเจอกันอีกครั้งในรอบ 10 ปี ของศึก เรสเซิลเมเนีย (ครั้งก่อนอันเดอร์เทเกอร์เอาชนะทริปเปิลเอชไปได้ในครั้งที่17) ในแมตช์ไม่มีกฎกติกา โดยมีสถิติไร้พ่าย 18-0 ของอันเดอร์เทเกอร์ เป็นเดิมพัน สุดท้าย ดิอันเดอร์เทเกอร์ ก็เป็นฝ่ายสามารถเอาชนะทริปเปิลเอช และสร้างสถิติเป็น 19-0 มาได้สำเร็จ หลังจากนั้นอันเดอร์เทเกอร์ต้องพักการปล้ำ[41]

 
อันเดอร์เทเกอร์กับทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28
 
อันเดอร์เทเกอร์กับเคนในรอว์ตอนที่ 1000

ในรอว์ 30 มกราคม 2012 อันเดอร์เทเกอร์ได้หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บ โดยเผชิญหน้ากับทริปเปิลเอชอีกครั้ง ก่อนจะไปมองโลโก้เรสเซิลเมเนียและทำท่าเชือดคอ[42] ต่อมาอันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าเจอกับทริปเปิลเอชอีกครั้ง ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 ซึ่งเป็นการเจอกันครั้งที่3 ของทั้งคู่ในเรสเซิลเมเนีย (ครั้งแรกอันเดอร์เทเกอร์เอาชนะไปได้ในครั้งที่17 และครั้งที่2 เอาชนะไปได้ในครั้งที่27) ในรูปแบบเฮลอินเอเซล แมตช์ โดยมีสถิตไร้พ่าย 19-0 ของอันเดอร์เทเกอร์เป็นเดิมพัน และมีชอว์น ไมเคิลส์เป็นกรรมการพิเศษ[43] ในเรสเซิลเมเนีย วันที่ 1 เมษายน 2012 อันเดอร์เทเกอร์ออกมาด้วยทรงผมและชุดใหม่ อันเดอร์เทเกอร์สามารถล๊อค Hell's Gate 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะทริปเปิลเอชได้ และ Tombstone Piledriver 1 ครั้ง ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ อันเดอร์เทเกอร์ชนะทริปเปิลเอชอีกรอบด้วย Tombstone ครั้งที่2 และขยับสถิติขึ้นเป็น 20-0 หลังจากที่เขาสามารถอยู่รอดจากการโจมตีโดยเก้าอี้มากกว่า 15 ครั้ง การโจมตีด้วยค้อน 2ครั้ง Pedigree ได้ 2ครั้ง และ Sweet Chin Music จากชอว์น 1 ครั้ง หลังจากจบศึก ทั้ง3คนได้เดินออกจากเวทีด้วยกัน และได้รับการปรบมือมากกว่า 70,000 คน อันเดอร์เทเกอร์ได้พักจากการปล้ำหลังเรสเซิลเมเนีย ซึ่งรายงานบางแห่งรายงานว่า อันเดอร์เทเกอร์ได้รับการบาดเจ็บน้อยกว่าศึกก่อน และบาดเจ็บที่ไหล่ซ้ายค่อนข้างหนัก อันเดอร์เทเกอร์อาจจะกลับมาอีกครั้งในปี 2013 ก่อนศึกใหญ่ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ที่ นิวยอร์ก, รัฐนิวเจอร์ซีย์[44] ในรอว์ 1,000 เคนเปิดตัวออกมาปล้ำ แต่จินเดอร์ มาฮาลออกมาขัดจังหวะพร้อมด้วยเหล่าจ็อบเบอร์จะขึ้นไปรุมเคนแต่เสียงระฆังดังขึ้น อันเดอร์เทเกอร์ออกมาช่วยกันกับเคนถล่มบรรดานักมวยปล้ำ 6 คนจนหมด[45][46]

ในรอว์ วันที่ 4 มีนาคม 2013 เปิดรายการด้วยการกลับมาของอันเดอร์เทเกอร์ จากนั้นซีเอ็ม พังก์ออกมาประกาศว่าจะทำลายสถิติของอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 แรนดี ออร์ตัน ออกมา และบอกว่า พังก์เคยแพ้ออร์ตันในเรสเซิลเมเนียมาแล้ว แถมยังไม่เคยเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนียด้วย ออร์ตันบอกว่าเมื่อ 8 ปีก่อนเขาเคยเจอกับอันเดอร์เทเกอร์มาแล้ว ตอนนั้นเขายังเป็นดาวรุ่ง และก็เกือบชนะได้ด้วย ตอนนี้ไม่ใช่ดาวรุ่งอีกต่อไปแล้ว และก็อยากจะเจอกับอันเดอร์เทเกอร์อีกครั้ง ออร์ตันถามแฟนๆ ในสนามว่าอยากเห็นใครเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ มากกว่ากัน พังก์? (คนดูโห่) ออร์ตัน? (คนดูเฮ) บิ๊กโชว์ออกมาอีกคน และบอกว่าเขาต่างหากที่จะน็อค อันเดอร์เทเกอร์ เชมัสออกมา บอกว่าเขาเป็นคนเดียวที่ไม่เคยเจอกับอันเดอร์เทเกอร์เลย ดังนั้นเขาจึงไม่เคยแพ้อันเดอร์เทเกอร์มาก่อน จึงเหมาะสมกว่าที่จะเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ วิคกี เกอร์เรโร ออกมาจัดแมตช์ 4 เส้า พังก์, ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และเชมัส ผู้ชนะจะได้เจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะ และได้ไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์[47] วันต่อมาวันที่ 5 มีนาคม พอล แบเรอร์ อดีตผู้จัดการของอันเดอร์เทเกอร์และเคน ได้เสียชีวิตลง[48]ในรอว์ วันที่ 11 มีนาคม ได้มีการทำพิธีไว้อาลัยให้กับแบเรอร์ อันเดอร์เทเกอร์ออกมาไว้อาลัยกับกระปุกสถิตย์วิญญาณที่ตั้งอยู่กลางเวที แต่แล้วพังก์ก็ออกมารบกวน พังก์บอกว่าอยากจะออกมาแสดงความเสียใจกับความสูญเสียของอันเดอร์เทเกอร์ ซึ่งจะเสียสถิติในเรสเซิลเมเนีย กลายเป็น 20-1 เคนออกมาและจะจับพังก์โช๊คสแลมลงไปที่พื้นด้านล่าง แต่พังก์ดิ้นหลุดและหนีไปได้ คืนเดียวกัน เคนเอาชนะพังก์ไปได้ จากการช่วยเหลือของอันเดอร์เทเกอร์ หลังแมตช์ อันเดอร์เทเกอร์ออกมา แต่พังก์เอากระปุกวิญญาณมาทุบหัวเคนจากด้านหลัง ก่อนจะเอากระปุกหนีไปพร้อมกับทำท่าล้อเลียนอันเดอร์เทเกอร์[49][50] ในเรสเซิลเมเนีย อันเดอร์เทเกอร์เอาชนะพังก์ไปได้ และเพิ่มสถิตเป็น 21-0[51] ในรอว์คืนต่อมา 8 เมษายน อันเดอร์เทเกอร์ได้อุทิศชัยชนะในเรสเซิลเมเนียให้กับแบเรอร์ แต่เดอะชีลด์ ออกมารุมล้อมอันเดอร์เทเกอร์ แต่เคนกับแดเนียล ไบรอัน ออกมาช่วยอันเดอร์เทเกอร์ ทำให้เดอะชีลด์หนีไป[52] ในรอว์ 8 เมษายน อันเดอร์เทเกอร์ได้จับคู่กับเคน และไบรอัน เจอกับเดอะชีลด์ สุดท้ายเดอะชีลด์ก็เอาชนะไป[53] ในสแมคดาวน์ 26 เมษายน อันเดอร์เทเกอร์ได้เอาชนะดีน แอมโบรส หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเดอะชีลด์ไปได้ หลังแมตช์ได้ถูกเดอะชีลด์ลอบทำร้าย[54]

ในรอว์ 24 กุมภาพันธ์ 2014 บร็อก เลสเนอร์ กับ พอล เฮย์แมน ออกมาพร้อมกับสัญญาปล้ำเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 เฮย์แมนบอกว่าเลสเนอร์ควรจะได้ชิงแชมป์ WWE มากกว่า แต่โชคร้ายที่ทริปเปิลเอชให้ได้แค่ให้เลสเนอร์เลือกคู่ต่อสู้เอาเอง จะเป็นใครก็ได้ จะสร้างประวติศาสตร์อะไรก็สร้างไปเลย เฮย์แมนบอก ไม่รู้จะสร้างสถิติอะไรอีกแล้ว แชมป์ฟุตบอลมหาวิทยาลัยก็เป็นมาแล้ว แชมป์ WWE อายุน้อยสุดก็เป็นมาแล้ว ดังนั้นคงไม่มีใครจะให้ท้าทายได้อีก แต่อันเดอร์เทเกอร์ออกมาจ้องหน้าเลสเนอร์ จากนั้นก็จ้องไปที่สัญลักษณ์เรสเซิลเมเนีย เลสเนอร์เซ็นสัญญา แล้วก็เอาปากกายื่นให้อันเดอร์เทเกอร์ แต่อันเดอร์เทเกอร์เอาปากกาปักใส่มือเลสเนอร์ แล้วจับโชคสแลม ใส่โต๊ะจนพัง[55] ในเรสเซิลเมเนีย เลสเนอร์ได้หยุดสถิติอันยาวนานของอันเดอร์เทเกอร์ เป็น 21-1 ซึ่งทำให้คนดูช็อคทั้งสนาม[56][57] หลังจากจบแมตช์ อันเดอร์เทเกอร์ได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เนื่องจากอาการบาดเจ็บ[58]

เบรย์ ไวแอ็ตต์ได้ท้าเจออันเดอร์เทเกอร์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 และอันเดอร์เทเกอร์ได้ตอบรับคำท้า[59][60] และอันเดอร์เทเกอร์ก็เอาชนะไปได้[61] ในแบทเทิลกราวด์ (2015)อันเดอร์เทเกอร์ได้รีเทิร์นอีกครั้งโดยโผล่มาเล่นงานบร็อก เลสเนอร์เป็นการล้างแค้น ระหว่างการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWEกับเซท รอลลินส์[62] ในซัมเมอร์สแลม (2015)ได้รีแมตช์กับเลสเนอร์ตั้งแต่ในเรสเซิลเมเนีย 30 สุดท้ายอันเดอร์เทเกอร์เป็นฝ่ายชนะ และเป็นการเอาชนะเลสเนอร์ได้ครั้งแรก[63] ในเฮลอินเอเซล (2015) อันเดอร์เทเกอร์ได้รีแมตช์กับเลสเนอร์เป็นครั้งสุดท้าย ในเฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์ แต่ก็แพ้ให้เลสเนอร์ในที่สุด หลังแมตช์ได้ถูกไวแอ็ตต์แฟมิลีมารุมทำร้าย[64][65] ในรอว์ 9 พฤศจิกายน 2015 เดอะบราเทอส์ออฟเดสตรักชัน(อันเดอร์เทเกอร์และเคน)ได้กลับมารวมทีมกันอีกครั้ง โดยมาจัดการไวแอ็ตต์แฟมิลี[66] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2015) เดอะบราเทอส์ออฟเดสตรักชันเอาชนะไวแอ็ตต์แฟมิลีไปได้[67]

ในรอว์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2016 วินซ์ แม็กแมนประกาศให้อันเดอร์เทเกอร์เจอกับเชน แม็กแมน ในเฮลอินเอเซลแมทช์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าเชนชนะจะได้คุมรอว์ และจะเป็นเรสเซิลเมเนียครั้งสุดท้ายของอันเดอร์เทเกอร์[68][69] แต่อันเดอร์เทเกอร์ก็เอาชนะเชนไปได้[70][71] อันเดอร์เทเกอร์ได้กลับมาอีกครั้งในสแมคดาวน์ไลฟ์ ตอนที่900[72]

ในรอยัลรัมเบิล (2017) อันเดอร์เทเกอร์ได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลเป็นลำดับที่29 แต่ถูกเหวี่ยงออกจากเวทีโดยโรแมน เรนส์[73][74][75] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 33ได้แพ้ให้กับเรนส์และเป็นการพ่ายแพ้ครั้งที่สองของอันเดอร์เทเกอร์ในเรสเซิลเมเนีย[76][77][78] หลังแมตช์ได้ถอดถุงมือ, ถอดเสื้อคลุม, และถอดหมวกวางทิ้งไว้บนเวทีก่อนจะเดินจากไป เหมือนจะบอกว่าเขารีไทร์แล้ว[79][80]

ใน Raw ครบรอบ 25 ปี 22 มกราคม 2018 อันเดอร์เทเกอร์ออกมาพูดบนเวทีถึงบรรดาคนที่ถูกเขาฝังไปตลอด 25 ปี มันถึงเวลาแล้วที่คนพวกนั้นจะไปสู่สุขติ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34อันเดอร์เทเกอร์ได้กลับมาขึ้นปล้ำเป็นแมตช์แรกโดยชนะจอห์น ซีนาไปในเวลาไม่ถึง 3 นาที[81] ในเกรเทสต์ รอยัลรัมเบิลอีเวนต์พิเศษที่ประเทศซาอุดีอาระเบียอันเดอร์เทเกอร์ได้ขึ้นปล้ำในแมตช์จับใส่โลงศพชนะรูเซฟไปได้ ในซูเปอร์โชว์-ดาวน์อันเดอร์เทเกอร์แพ้ให้กับทริปเปิลเอชในการเจอกันแบบตัวต่อตัวครั้งสุดท้าย ในคราวน์ จูเอ็ลเทเกอร์และเคนแพ้ให้กับทริปเปิลเอชและชอว์น

ในซูเปอร์โชว์ดาวน์ (2019)ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย อันเดอร์เทเกอร์สามารถเอาชนะโกลด์เบิร์กไปได้ในการเจอกันครั้งแรก ในรอว์ 24 มิถุนายน 2019 อันเดอร์เทเกอร์ได้ปรากฏตัวออกมาช่วยโรแมน เรนส์จัดการทั้งเชน แม็กแมนและดรูว์ แม็กอินไทร์ก่อนจะมีการประกาศแมตช์แท็้กทีมระหว่างเทเกอร์และเรนส์เจอกับเชนและดรูว์ในศึกเอ็กซ์ตรีมรูลส์

ใน Super ShowDown ปี 2020 อันเดอร์เทเกอร์ได้ปรากฏตัวแบบเซอร์ไพรส์โดยเล่นงานกลุ่ม OC (Luke Gallows และ Karl Anderson) และเข้าร่วมแมตช์ชิงถ้วย Tuwaiq เอาชนะ AJ Styles เป็นคนสุดท้าย[82] ใน Elimination Chamber 2020 เทเกอร์ได้ป่วนแมตช์ของ AJ อีกครั้งจนแพ้ Aleister Black[83] ทำให้ AJ แค้นมากจึงขอท้าเจอในกติกา Boneyard Match[84][85] ที่ WrestleMania 36 ซึ่งเทเกอร์เป็นฝ่ายชนะ[86] เทเกอร์ได้ประกาศรีไทร์จากการปล้ำอย่างเป็นทางการใน Survivor Series 2020 ครบรอบ 30 ปีในสมาคม WWE[87][88][89][90][91][92] ในปี 2022 เทเกอร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติ WWE Hall of Fame[93]

ชีวิตส่วนตัว

แก้
 
เทเกอร์และภรรยา มิเชล แมคคูล

เขาจบการศึกษาจาก Waltrip High School ในปี 1983 ซึ่งเขาเป็นสมาชิกของทีมงานบาสเกตบอล[94] Calaway ได้แต่งงานครั้งแรกกับภรรยาของเขา Jodi Lynn ในปี 1989 และพวกเขามีลูกชาย, Gunner, เกิดในปี 1993 ก่อนที่ในการสมรสสิ้นสุดวันที่ 1999 เขาแต่งงานกับภรรยาคนที่ 2 ของเขา ซาร่า ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ฟลอริดา วันที่ 21 กรกฎาคม 2000 ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกันสองคนคือ Chasey (เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2002) และ Gracie (เกิด 15 พฤษภาคม 2005) ปี 2007 เขาและซาร่าถูกหย่าร้างและเขาได้มีความสัมพันธ์กับเพื่อนนักมวยปล้ำ มิเชล แมคคูล และได้แต่งงานกันเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2010 ในฮูสตัน,เท็กซัส ก่อนจะมีลูกกันสองคน[95][96]

ผลงานอื่น

แก้

ภาพยนตร์

แก้
Year Title Role Notes
1991 Suburban Commando[97] Hutch
1999 Beyond the Mat Himself Documentary
2015 The Flintstones & WWE: Stone Age SmackDown! The Undertaker (voice)
2016 Scooby-Doo! and WWE: Curse of the Speed Demon
2017 Surf's Up 2: WaveMania
2021 Escape the Undertaker The Undertaker Interactive

โทรทัศน์

แก้
Year Title Role Notes
1999 Poltergeist: The Legacy Soul Chaser Demon 2 episodes
1999 Downtown The Undertaker (voice) Episode: "The Con"
1999 Celebrity Deathmatch Episode: "Halloween Episode I"
2001 America's Most Wanted[98] The Undertaker

วิดีโอเกม

แก้
Year Title Notes
1992 WWF Super Wrestlemania
WWF WrestleMania: Steel Cage Challenge Cover athlete
WWF Superstars 2
1993 WWF Royal Rumble[99]
WWF King of the Ring
WWF Rage in the Cage Cover athlete
1994 WWF RAW
1995 WWF WrestleMania: The Arcade Game
1996 WWF In Your House
1998 WWF War Zone
1999 WWF Attitude Cover athlete
WWF WrestleMania 2000
2000 WWF SmackDown![100]
WWF Royal Rumble
WWF No Mercy
WWF SmackDown! 2: Know Your Role Cover athlete
2001 WWF Betrayal
With Authority!
WWF Road to WrestleMania Cover athlete
WWF SmackDown! Just Bring It
2002 WWF Raw Cover athlete
WWE WrestleMania X8
WWE Road to WrestleMania X8
WWE SmackDown! Shut Your Mouth
2003 WWE Crush Hour
WWE WrestleMania XIX
WWE Raw 2
WWE SmackDown! Here Comes the Pain Cover athlete
2004 WWE Day of Reckoning
WWE Survivor Series Cover athlete
WWE SmackDown! vs. Raw
2005 WWE WrestleMania 21
WWE Aftershock Cover athlete
WWE Day of Reckoning 2
WWE SmackDown! vs. Raw 2006
2006 WWE SmackDown vs. Raw 2007
2007 WWE SmackDown vs. Raw 2008 Cover athlete
2008 WWE SmackDown vs. Raw 2009
2009 Legends of WrestleMania
WWE SmackDown vs. Raw 2010 Cover athlete
2010 WWE SmackDown vs. Raw 2011
2011 WWE '12
WWE All Stars
2012 WWE '13
2013 WWE 2K14
2014 WWE 2K15 Motion capture (Next-gen & PC)
WWE SuperCard
2015 WWE 2K
WWE 2K16 Motion capture (Next-gen & PC)
WWE Immortals
2016 WWE 2K17 Motion capture (Next-gen & PC)
2017 WWE 2K18 Motion capture
WWE Champions
2018 WWE 2K19 Motion capture
2019 WWE 2K20
2020 The King of Fighters All Star[101]
2020 WWE 2K Battlegrounds Cover athlete

แชมป์และความสำเร็จ

แก้
 
เป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวท

สถิติในเรสเซิลเมเนีย

แก้
สถิติแพ้-ชนะของอันเดอร์เทเกอร์ในเรสเซิลเมเนีย[132]
ผล สถิติ คู่ต่อสู้ วันที่ เวลา สถานที่ หมายเหตุ
Win 1-0 Jimmy Snuka มีนาคม 24, 1991
WrestleMania VII
4:20
Pinfall
Los Angeles Memorial Sports Arena
Los Angeles, California
Win 2-0 Jake Roberts เมษายน 5, 1992
WrestleMania VIII
6:36
Pinfall
Hoosier Dome
Indianapolis, Indiana
Win 3–0
Giant González เมษายน 4, 1993
WrestleMania IX
7:33
Disqualification
Caesars Palace
Las Vegas, Nevada
Win 4–0 King Kong Bundy เมษายน 2, 1995
WrestleMania XI
6:36
Pinfall
Hartford Civic Center
Hartford, Connecticut
Win 5–0
Diesel มีนาคม 31, 1996
WrestleMania XII
16:46
Pinfall
Arrowhead Pond
Anaheim, California
Win 6–0 Sycho Sid มีนาคม 23, 1997
WrestleMania 13
21:19
Pinfall
Rosemont Horizon
Rosemont, Illinois
ชิงแชมป์ WWF Championship
Win 7–0 Kane มีนาคม 29, 1998
WrestleMania XIV
16:58
Pinfall
Fleet Center
Boston, Massachusetts
Win 8–0 Big Bossman มีนาคม 28, 1999
WrestleMania XV
9:46
Pinfall
First Union Center
Philadelphia, Pennsylvania
กติกา Hell in a Cell match
Win 9–0 Triple H เมษายน 1, 2001
WrestleMania X-Seven
18:17
Pinfall
Reliant Astrodome
Houston, Texas
Win 10–0 Ric Flair มีนาคม 17, 2002
WrestleMania X8
18:47
Pinfall
SkyDome
Toronto, Ontario, Canada
ไม่มีการปรับแพ้ฟาล์ว
Win 11–0 A-Train and Big Show มีนาคม 30, 2003
WrestleMania XIX
9:45
Pinfall
Safeco Field
Seattle, Washington
แฮนดิแคป 2 รุม 1
Win 12–0 Kane มีนาคม 14, 2004
WrestleMania XX
7:45
Pinfall
Madison Square Garden
New York City, New York
Win 13–0 Randy Orton เมษายน 3, 2005
WrestleMania 21
14:14
Pinfall
Staples Center
Los Angeles, California
Win 14–0 Mark Henry เมษายน 2, 2006
WrestleMania 22
9:26
Casket
Allstate Arena
Rosemont, Illinois
จับใส่โลงศพ
Win 15–0 Batista เมษายน 1, 2007
WrestleMania 23
15:47
Pinfall
Ford Field
Detroit, Michigan
ชิงแชมป์ World Heavyweight Championship
Win 16–0 Edge มีนาคม 30, 2008
WrestleMania XXIV
23:50
Submission
Citrus Bowl
Orlando, Florida
ชิงแชมป์ World Heavyweight Championship
Win 17–0 Shawn Michaels เมษายน 5, 2009
WrestleMania XXV
30:41
Pinfall
Reliant Stadium
Houston, Texas
Win 18–0 Shawn Michaels มีนาคม 28, 2010
WrestleMania XXVI
23:59
Pinfall
University of Phoenix Stadium
Glendale, Arizona
สถิติ vs อาชีพ
Win 19–0 Triple H เมษายน 3, 2011
WrestleMania XXVII
29:22
Submission
Georgia Dome
Atlanta, Georgia
ไม่มีกฏกติกา
Win 20–0 Triple H เมษายน 1, 2012
WrestleMania XXVIII
30:50
Pinfall
Sun Life Stadium
Miami Gardens, Florida
กติกา Hell in a Cell match โดยมี Shawn Michaels เป็นกรรมการพิเศษ
Win 21–0 CM Punk เมษายน 7, 2013
WrestleMania 29
22:07
Pinfall
MetLife Stadium
East Rutherford, New Jersey
Loss 21–1 Brock Lesnar เมษายน 6, 2014
WrestleMania XXX
25:12
Pinfall
Mercedes-Benz Superdome
New Orleans, Louisiana
จบสถิติ
Win 22–1 Bray Wyatt มีนาคม 29, 2015
WrestleMania 31
15:12
Pinfall
Levi's Stadium
Santa Clara, California
[133]
Win 23–1 Shane McMahon เมษายน 3, 2016
WrestleMania 32
30:05
Pinfall
AT&T Stadium
Arlington, Texas
กติกา Hell in a Cell match
Loss 23–2 Roman Reigns เมษายน 2, 2017
WrestleMania 33
24:58
Pinfall
Camping World Stadium
Orlando, Florida
ไม่มีกฏกติกา
Win 24-2 John Cena เมษายน 8, 2018
WrestleMania 34
2:46
Pinfall
Mercedes-Benz Superdome
New Orleans, Louisiana
Win 25-2 AJ Styles 4 เมษายน 2020

WrestleMania 36

19:18
Burial
WWE Performance Center
Orlando, Florida
กติกา Boneyard Match[134]

หมายเหตุ

แก้
  1. Won during The Invasion.

อ้างอิง

แก้
  1. WWF Superstars of Wrestling. November 19, 1990.
  2. "Mean Mark Vs Road Warrior Animal". WCW/NWA Power Hour. 1989.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Undertaker". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Undertaker bio". WWE. สืบค้นเมื่อ November 27, 2016.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BSS
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bearer2010
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fix120119
  8. "The Undertaker announces retirement from WWE". Hindustan Times. June 22, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  9. Maglio, Tony (November 12, 2020). "WWE's The Undertaker on Retirement, Boneyard Match and When Wrestlers' Court Gets Real". TheWrap. สืบค้นเมื่อ November 14, 2020. I am officially retired.
  10. "Texas Birth Index, 1903-1997". "FamilySearch".
  11. "Bio". Accelerator. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.
  12. "Hollywood Hulk Hogan".
  13. PWI Staff. 2007 Wrestling almanac & book of facts. "Wrestling's historical cards" (p. 100–101).
  14. Hawkins, Matthew (August 2, 2013). "WWE 2K14 Phenom Edition includes The Undertaker as The American Badass". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  15. "Undertaker's Wrestlemania streak playlist".
  16. 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 16.10 "WrestleMania Legacy". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.
  17. 2007 Wrestling almanac & book of facts. "Wrestling’s historical cards" (p.98–99)
  18. "WrestleMania XV Results". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-29. สืบค้นเมื่อ March 21, 2013.
  19. McAvennie, Michael (2003). "WWE The Yearbook: 2003 Edition". Pocket Books. pp. 79–80.
  20. 20.0 20.1 Michael McAvennie (2003). "WWE The Yearbook: 2003 Edition". Pocket Books. pp. 80–81.
  21. 2007 Wrestling almanac & book of facts. "Wrestling’s historical cards" (p.115–116)
  22. "Raw-March 7, 2005 Results". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  23. "SmackDown-December 2, 2005 Results". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  24. Dee, Louie (2007-01-28). "A Phenom-enal Rumble". World Wrestling Entertainment.com. สืบค้นเมื่อ 2007-08-23.
  25. Dee, Louie (2008-02-17). "No Way Out Match results". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  26. "SmackDown: A woman's scorn, a Deadman reborn". สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  27. DiFino, Lennie (2008-08-17). "Unleashed in Hell". World Wrestling Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  28. "Undertaker def. Big Show (Casket Match)". World Wrestling Entertainment. November 23, 2008. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  29. "Undertaker def. Shawn Michaels". World Wrestling Entertainment. April 1, 2009. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  30. "CM Punk def. Jeff Hardy (New World Heavyweight Champion)". World Wrestling Entertainment. August 23, 2009. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  31. Tello, Craig (2009-09-13). "Hell's Gate-crasher". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2009-09-26.
  32. Sokol, Brian; Sokol, Chris (2009-10-05). "Title changes highlight Hell in a Cell". Slam Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  33. Kapur, Bob (2009-12-14). "New champs at strong WWE TLC show". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  34. Fritz, Brian (February 22, 2010). "the Undertaker Burned During Accident at Elimination Chamber". AOL Fanhouse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  35. Plummer, Dale; Tylwalk, Nick (2010-02-22). "Batista, Jericho and Michaels capitalize on Elimination Chamber opportunities". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
  36. Plummer, Dale (2010-02-22). "RAW: Finding a Jewel on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.
  37. Plummer, Dale; Tylwalk, Nick (2010-03-29). "Undertaker ends Shawn Michaels' career in thrilling rematch to cap off Wrestlemania XXVI". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.
  38. "WWE "Unnatural Phenom-enon"". Wwe.com. 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
  39. [1]
  40. Hillhouse, Dave (2010-09-25). "Smackdown: Kickin' it old school". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  41. "Results:the Undertaker def. Triple H (No Holds Barred Match)". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-04-05.
  42. Passero, Mitch (January 30, 2012). "the Undertaker returned with his sights set on Triple H". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2012.
  43. Passero, Mitch (January 30, 2012). "the Undertaker returned with his sights set on Triple H". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2012.
  44. "the Undertaker def. Triple H (Hell in a Cell Match with special referee Shawn Michaels)". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
  45. J., Cyril. "Raw 1,000 results". WWE. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  46. J., Cyril. "Undertaker and Kane fight off their attackers and stand tall: Raw, July 23, 2012". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ July 23, 2012.
  47. "the Undertaker rises again and CM Punk punches his WrestleMania ticket". WWE.com. 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-05.
  48. "WWE goes into overtime: Raw, March 11, 2013". WWE.com. 2013-03-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  49. "CM Punk interrupts Undertaker's tribute to Paul Bearer: Raw, March 11, 2013". WWE.com. 2012-03-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  50. "CM Punk taunts the Undertaker with Paul Bearer's urn: RAW, March 18, 2013". WWE.com. 2012-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  51. http://www.wwe.com/shows/wrestlemania/29/wrestlemania-29-results-26104708
  52. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 4/8: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - WM29 fall-out, new World Champ, no Rock, Taker live, crowd takes over".
  53. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 4/22 (Second Hour): Shield vs. The Undertaker six-man tag match, Ryder squashed".
  54. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 4/26: Complete coverage of the loaded Friday night show, including Undertaker vs. Ambrose, Henry vs. Orton".
  55. Tylwalk, Nick. "Raw: Longer matches and a dramatic return in Green Bay". SLAM! Wrestling. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.[ลิงก์เสีย]
  56. Murphy, Ryan (6 April 2014). "Brock Lesnar def. The Undertaker". WWE Official Website. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  57. Hooton, Christopher (7 April 2014). "Undertaker's streak ends at WrestleMania 30: Does Brock Lesnar loss spell retirement for the Dead Man?". The Independent. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  58. Butterly, Amelia (8 April 2014). "WWE WrestleMania star The Undertaker has head injury". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  59. Caldwell, James (February 22, 2015). "CALDWELL'S WWE FAST LANE PPV RESULTS 2/22: Complete "virtual-time" coverage of Bryan vs. Reigns, Cena vs. Rusev, Sting-Hunter confrontation, final PPV before WM31". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ February 22, 2015.
  60. Caldwell, James (March 9, 2015). "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 3/9: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Lesnar appears, Orton strikes, Taker "responds" to Bray, Sting "speaks," latest WM31 hype, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 9, 2015.
  61. Caldwell, James (March 29, 2015). "CALDWELL'S WM31 PPV RESULTS 3/29: Complete "virtual-time" coverage of WWE World Title match, Taker's return, Sting vs. Triple H, Cena vs. Rusev, Rock/UFC surprise, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 29, 2015.
  62. Caldwell, James (July 19, 2015). "CALDWELL'S WWE BATTLEGROUND PPV REPORT 7/19: Complete "virtual-time" coverage of live PPV - Rollins vs. Lesnar, Cena vs. Owens III, Orton returns home, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ July 19, 2015.
  63. "The Undertaker vs. Brock Lesnar". WWE. สืบค้นเมื่อ August 18, 2015.
  64. Martin, Adam (October 25, 2015). "WWE Hell in a Cell PPV Results". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
  65. Tedesco, Mike (October 26, 2015). "WWE RAW Results - 10/26/15". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ October 26, 2015.
  66. "The Undertaker and Demon Kane Return!". WWE.com. November 9, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-12. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
  67. "WWE Survivor Series 2015 Results: The Brothers of Destruction defeated The Wyatt Family". November 22, 2015. สืบค้นเมื่อ November 23, 2015.
  68. Caldwell, James. "2/22 Raw News". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 22 April 2016.
  69. Caldwell, James. "3/21 WWE Raw Results – Caldwell's Complete Live Report". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ March 25, 2016.
  70. Caldwell, James. "4/3 WrestleMania 32 PPV Results – CALDWELL'S Complete Live Report on Main PPV". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ April 3, 2016.
  71. Buthia, Jimmy (18 April 2016). "WWE WrestleMania Revenge tour: Triple H to fight Dean Ambrose after The Undertaker pulls out". International Business Times. IBT Media. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  72. Martin, Adam (November 15, 2016). "WWE Smackdown Results – 11/15/16 (Live from Wilkes-Barre, 900th episode, The Undertaker and Edge return)". WrestleView. สืบค้นเมื่อ November 15, 2016.
  73. Keller, Wade. "KELLER'S WWE MONDAY NIGHT RAW REPORT 1/9: Reigns vs. Owens & Jericho, Shawn Michaels, Foley's Performance Review, Undertaker "rumored" to appear". pwtorch.com. TDH Communications Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-10. สืบค้นเมื่อ 9 January 2017.
  74. Keller, Wade. "KELLER'S WWE RAW REPORT 1/23: Final show before the Royal Rumble, Goldberg-Lesnar hype, Reigns confronted by Jericho & Owens". pwtorch.com. TDH Communications Inc. สืบค้นเมื่อ 23 January 2017.
  75. "Full 2017 Royal Rumble Match statistics: entrants, eliminations, times and more". WWE.com. January 30, 2017. สืบค้นเมื่อ January 30, 2017.
  76. Keller, Wade. "KELLER'S WWE RAW REPORT 3/6: Fallout from Fastlane including Jericho asking Owens for explanation for breaking up their friendship". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 6, 2017.
  77. Clapp, John (March 13, 2017). "The Undertaker vs. Roman Reigns". WWE. สืบค้นเมื่อ March 13, 2017.
  78. Burdick, Michael. "Roman Reigns def. The Undertaker". WWE. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  79. Powell, Jason. "Powell's WrestleMania 33 live review: Undertaker vs. Roman Reigns, Goldberg vs. Brock Lesnar for the WWE Universal Championship, AJ Styles vs. Shane McMahon, Seth Rollins vs. Triple H in an unsanctioned match". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  80. Astley, Lee (April 5, 2017). "END OF AN ERA, The Undertaker RETIRES and breaks character to hug wife Michelle McCool after brutal Wrestlemania 33 match against Roman Reigns". The Sun. London: News UK. สืบค้นเมื่อ April 5, 2017.
  81. "WrestleMania 34 Results – 4/8/18 (Reigns vs. Lesnar, Styles vs. Nakamura, Rousey)". Wrestleview. April 8, 2018. สืบค้นเมื่อ April 8, 2018.
  82. "The first-ever Tuwaiq Trophy Gauntlet Match". WWE. February 11, 2020. สืบค้นเมื่อ February 11, 2020.
  83. Brookhouse, Brent (March 9, 2020). "2020 WWE Elimination Chamber results, recap, grades: Shayna Baszler dominates, Undertaker appears". CBSSports.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 9, 2020.
  84. Powell, Jason (March 9, 2020). "3/9 WWE Raw Results: Powell's review of Edge returning following Randy Orton's attack on Beth Phoenix, Rey Mysterio vs. Angel Garza, Drew McIntyre in action, the build to WrestleMania kicks in". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 9, 2020.
  85. Beaston, Erik. "Undertaker Gets Real in Epic Promo, Austin Theory Steps Up, More WWE Raw Fallout". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 31, 2020.
  86. Chiari, Mike. "The Undertaker Beats AJ Styles in Boneyard Match at WWE WrestleMania 36". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
  87. "WWE Releases Merch For Mark Calaway Following The Undertaker's Retirement". Ringside News. June 22, 2020. สืบค้นเมื่อ September 14, 2020.
  88. Rego, Andrew (June 24, 2020). "Undertaker Receives a Grand Tribute Following Retirement From WWE". EssentiallySports. สืบค้นเมื่อ September 14, 2020.
  89. Powell, Jason (November 22, 2020). "WWE Survivor Series results: Powell's review of Undertaker's Final Farewell, Drew McIntyre vs. Roman Reigns, Asuka vs. Sasha Banks, Kofi Kingston and Xavier Woods vs. The Street Profits, Bobby Lashley vs. Sami Zayn in champion vs. champion matches, Team Raw vs. Team Smackdown in Survivor Series elimination matches". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ November 22, 2020.
  90. Chaudhury, Shuvangi Sen (November 23, 2020). "My Time has Come" – The Undertaker Gives an Emotional Speech on his Final Farewell at Survivor Series". Essentially Sports. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  91. "'My time has come to let the Undertaker Rest in Peace': A fitting farewell". The Indian Express. November 23, 2020. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  92. Brookhouse, Brent; Silverstein, Adam (November 22, 2020). "2020 WWE Survivor Series results, recap, grades: Undertaker bids farewell, Roman Reigns-Drew McIntyre delivers". CBS Sports. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  93. WWE.com Staff (February 18, 2022). "The Undertaker to be inducted into the WWE Hall of Fame Class of 2022". WWE. สืบค้นเมื่อ February 18, 2022.
  94. "Waltrip trivia page". Waltrip High School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05.
  95. Mike Johnson. "Undertaker and McCool Announcement". PWInsider. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  96. "the Undertaker & Michelle McCool Welcome First Child Together". Wrestlingnewssource.com. December 20, 2012. สืบค้นเมื่อ February 23, 2013.
  97. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Commando
  98. Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: The Undertaker And Kane In America's Most Wanted. July 28, 2011 – โดยทาง YouTube.
  99. "WWF Royal Rumble (Game)". Giant Bomb.
  100. "The Official WWF Smackdown Roster". IGN. January 14, 2000. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  101. "KOF ALLSTAR×WWE COLLABORATION - THE KING OF FIGHTERS". kofallstar.netmarblw.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  102. Eck, Kevin (December 30, 2007). "2007 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  103. Eck, Kevin (January 11, 2010). "Best of the Decade awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ December 20, 2020.
  104. Eck, Kevin (January 27, 2010). "2009 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  105. Eck, Kevin (February 14, 2011). "2010 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  106. Silverstein, Adam (December 26, 2018). "The Man comes around: Becky Lynch breaks out for WWE as the 2018 Wrestler of the Year". CBS Sports.
  107. 107.0 107.1 107.2 107.3 107.4 107.5 107.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PWI Awards
  108. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2002". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ August 25, 2015.
  109. "PWI 500 of the PWI Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-01. สืบค้นเมื่อ January 16, 2019.
  110. "Unified World Heavyweight Title [United States Wrestling Association]". Wrestling-Titles. สืบค้นเมื่อ March 28, 2017.
  111. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wcwa
  112. Will, Gary; Duncan, Royal (2000). "Texas: NWA Texas Heavyweight Title [Von Erich]". Wrestling Title Histories: professional wrestling champions around the world from the 19th century to the present. Pennsylvania: Archeus Communications. pp. 268–269. ISBN 0-9698161-5-4.
  113. "NWA Texas Heavyweight Title". Wrestling-Titles. สืบค้นเมื่อ March 30, 2017.
  114. WWWF/WWF/WWE World Heavyweight Title history At wrestling-titles.com
  115. World Heavyweight Title (WWE Smackdown!) history At wrestling-titles.com
  116. WWF/WWE Hardcore Title history At wrestling-titles.com
  117. WWWF/WWF/WWE World Tag Team Title history At wrestling-titles.com
  118. WCW World Tag Team Title history At wrestling-titles.com
  119. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The first-ever Tuwaiq Trophy Gauntl
  120. 120.0 120.1 120.2 "Slammy Awards — 1997". Pro Wrestling History. สืบค้นเมื่อ January 24, 2019.
  121. "2009 Slammy Awards". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2009. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
  122. 122.0 122.1 "2010 Slammy Awards". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2010. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
  123. "2012 WWE Slammy Awards and WWE.com Slammy Awards winners". WWE. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
  124. 124.0 124.1 "2015 Slammy Award winners". WWE. December 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 27, 2018.
  125. Labbe, Michael J. "WWF 1994 Slammy Awards".
  126. "WWE.com Exclusive Slammy Awards 2011". WWE. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
  127. "Slammy Awards — 1996". Pro Wrestling History.
  128. "The Undertaker's statue revealed at WrestleMania Axxess". WWE. March 31, 2022. สืบค้นเมื่อ April 15, 2022.
  129. 129.00 129.01 129.02 129.03 129.04 129.05 129.06 129.07 129.08 129.09 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WON2010
  130. "BONUS SHOW: Wrestling Observer Newsletter Awards". Post Wrestling. March 17, 2019. สืบค้นเมื่อ March 23, 2019.
  131. "Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2015. สืบค้นเมื่อ January 24, 2019.
  132. "WrestleMania Cards". www.profightdb.com/. The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ 24 December 2014.
  133. Melok, Bobby. "The Undertaker vs. Bray Wyatt". WWE. สืบค้นเมื่อ 10 March 2015.
  134. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ auto

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้