นักเรียนพลังกิฟต์

ละครซีรีส์ไทย พ.ศ. 2561
(เปลี่ยนทางจาก The Gifted Graduation)

นักเรียนพลังกิฟต์ (อังกฤษ: The Gifted) เป็นละครชุด (ซีรีส์) แนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ระทึกขวัญ มีเค้าโครงมาจากภาพยนตร์สั้น เดอะกิฟเต็ด (พ.ศ. 2558) และนิยาย The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์ ของ SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์)[1] ผลิตโดยจีเอ็มเอ็มทีวี และภาพดีทวีสุข กำกับการแสดงโดย ปัฏฐา ทองปาน, ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์, วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์ และ จารุพัฒน์ กันนุลา มีเนื้อหาทั้งหมด 2 ฤดูกาล โดยฤดูกาลแรกใช้ชื่อว่า The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และ ฤดูกาลที่ 2 ในชื่อ The Gifted Graduation ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

นักเรียนพลังกิฟต์
ประเภทละครชุด (ซีรีส์)
สร้างโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
จีเอ็มเอ็มทีวี
ภาพดีทวีสุข
เค้าโครงจากThe Gifted (พ.ศ. 2558) และ
The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์
โดย SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์)
กำกับโดยปัฏฐา ทองปาน
ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์
วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์
จารุพัฒน์ กันนุลา
แสดงนำ
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดฤดูกาลที่ 1
Intro The Gifted
ฤดูกาลที่ 2
Intro The Gifted Graduation
ดนตรีแก่นเรื่องปิดฤดูกาลที่ 1
หลุดพ้น - คิว สุวีระ บุญรอด
ไม่มีคำสัญญา - ชาติ สุชาติ แซ่แห้ง
ฤดูกาลที่ 2
Intro The Gifted Graduation
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
จำนวนฤดูกาล2
จำนวนตอน26 ตอน
13 ตอน (ฤดูกาลที่ 1)
13 ตอน (ฤดูกาลที่ 2)
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตสถาพร พานิชรักษาพงศ์
ดารกา เชยสงวน
ณัฐพงษ์ มงคลสวัสดิ์
ผู้อำนวยการสร้างอารียา ชีวีวัฒน์
ภุชงค์ ตันติสังวรากูร
ปัฏฐา ทองปาน
วรวลัญช์ โกจิ๋ว
กำธร ล้อจิตรอำนวย
สถานที่ถ่ายทำโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ผู้กำกับภาพวงศ์วัฒนะ​ ชุณหวุฒิยานนท์
ผู้ลำดับภาพภาพดีทวีสุข
สวัสดีทวีสุข
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน (ฤดูกาลที่ 1) จีเอ็มเอ็ม 25 (ฤดูกาลที่ 2), ไลน์ทีวี (ฤดูกาลที่ 1-2)
ออกอากาศ5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 –
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ตัวละคร

แก้

ตัวละครหลัก

แก้
ปวเรศ เสริมฤทธิรงค์ (แปง)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 8 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นผู้ที่อยากจะเข้าห้องกิฟต์ และได้เข้าในที่สุดจนกลายเป็นที่พูดถึงในโรงเรียน เพราะแปงคือนักเรียนห้อง 8 คนแรกที่สามารถสอบเข้าห้องกิฟต์ได้ ในตอนแรกยังไม่ค้นพบศักยภาพของตนเองจนกระทั่งมีการเปิดเผยในช่วงหลังว่าศักยภาพของแปงคือการโน้มน้าวและสั่งการให้คนอื่นทำตามอย่างที่ตนต้องการได้ในทุกกรณี โดยมีข้อจำกัดว่าแปงจะต้องแตะถูกจุดชีพจรของฝ่ายตรงข้ามจึงจะใช้ศักยภาพได้ โดยแปงไม่พอใจในระบบห้องกิฟต์เพราะแปงเห็นว่าเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความไม่เท่าเทียมและเอาเปรียบกันในโรงเรียน จึงคิดวางแผนเปิดโปงความลับของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมีเวฟเป็นคู่หูร่วมกันวางแผน หลังจากเหตุการณ์เปิดโปง ผอ.สุพจน์ไม่สำเร็จแปงถูกครูปอมลบความทรงจำและถูกส่งกลับไปอยู่ที่ห้อง 8 ภายหลังก็ได้ความทรงจำกลับคืนมาจากการช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนที่เหลือ และยังคงวางแผนเปิดโปงโรงเรียนและผู้อำนวยการอย่างลับๆ แต่หลังจากเหตุการณ์เผยเรื่องของกรและผอ. สุพจน์ ทำให้เริ่มลังเลใจกับจุดประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนระบบในโรงเรียนว่ายังคงต่อหรือไม่
วสุธร วรโชติเมธี (เวฟ)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นนักเรียนคนแรกที่ค้นพบศักยภาพของตัวเอง คือสามารถแฮ็กข้อมูลและควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆได้เพียงแค่สัมผัสไปที่อุปกรณ์นั้นๆ เดิมเป็นเด็กที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว แต่ด้วยเหตุการณ์ครูนาราเมื่อสมัยมัธยมต้นทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะ ชอบดูถูกคนอื่น และไม่เชื่อใจใครง่ายๆ เคยเป็นหัวหน้าห้องกิฟต์แทนปุณณ์ และพยายามจะเผยความลับของห้องกิฟต์หลังจากที่ได้อันดับรองในการสอบกลางภาคห้องกิฟต์แต่ไม่สำเร็จ ในตอนแรกไม่ถูกกับแปงแต่ในภายหลังแปงใช้ความจริงใจเข้าหาเวฟจนทำให้เวฟยอมเปิดใจให้และร่วมมือกันวางแผนเปิดโปงผู้อำนวยการโรงเรียน หลังจากเหตุการณ์เปิดโปง ผอ.สุพจน์ไม่สำเร็จ เวฟถูกตัดทุนจากการซื้อคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่สามารถใช้ศักยกายภาพอย่างเต็มที่ ทำให้เวฟเริ่มหันไปให้ความสนใจอุปกรณ์สื่อสารรูปแบบอนาล็อกแทน ภายหลังเวฟพัฒนาศักยภาพจนสามารถใช้พลังของตัวเองฟื้นฟูให้คอมพิวเตอร์ที่เสื่อมสภาพหรือพังให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมไปถึงนิสัยใจคอที่เปลี่ยนไปเป็นคนที่มีสติมากขึ้น รอบคอบ ช่างสังเกต และกล้าที่จะไว้ใจคนอื่นมากขึ้น (แต่ก็ยังคงให้ความไว้ใจกับแปงมากกว่าเพื่อนคนอื่น) แต่เวฟก็ยังคงความกวนประสาทและใจร้อนอันเป็นนิสัยพื้นฐานของเขาอยู่
ชญานิศ ปราชญ์คริษฐ์ (น้ำตาล)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 เป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปงผู้เปรียบเสมือนมันสมองของกลุ่ม มีศักยภาพในการมองเห็นอดีตได้ผ่านการสัมผัสสิ่งของต่างๆ แต่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันต่ำซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการใช้พลัง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีการศึกษา 2561 น้ำตาลจำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียนเนื่องจากถูกลูกหลงระเบิดที่กลุ่มแอนตี้กิฟต์วางไว้ในห้องประชุมขณะที่ตนเข้าไปช่วยผู้ที่บาดเจ็บอยู่ในห้อง ทำให้น้ำตาลได้รับบาดเจ็บสาหัสจนแม่ของเธอได้พาไปรักษาตัวยังต่างประเทศอย่างลับๆ โดยไม่ได้บอกกล่าวกับกลุ่มเพื่อน[2] แต่เธอก็ยังคงติดต่อกับกลุ่มนักเรียนห้องกิฟต์อยู่ (โดยเฉพาะโอม) และเป็นผู้ถอดรหัสลับที่เกรซส่งให้โอมเกี่ยวกับแผนการลับของผู้อำนวยการ แต่เมื่อศักยภาพของผู้อำนวยการเสื่อมลง เธอจึงกลับมาประเทศไทยเพื่อมาช่วยเหลือแปงจากวิกฤต และได้บอกสาเหตุที่ไม่ได้เข้าร่วม นั่นก็คือในช่วงที่ ผอ.สุพจน์ ดำรงตำแหน่ง ได้พยายามหาโอกาสกำจัดศักยภาพของน้ำตาลที่มีความสามารถในการมองเห็นอดีต จึงให้แม่พาไปรักษาที่ต่างประเทศ และห้ามกลับมาประเทศไทยจนกว่าเรื่องจะคลี่คลายลง
ไอริน จรัสพรรณ (เอแคลร์)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สมาชิกชมรมการแสดง เดิมมีชื่อเล่นว่าเม็ดฝ้าย[3] มีศักยภาพในการมองเห็นความรู้สึกและอารมณ์ของคนอื่นได้ผ่านการกะพริบตาแล้วเพ่งสมาธิไปที่คนๆ นั้น โดยความรู้สึกและอารมณ์ที่จับได้จะปรากฏในรูปแบบสีต่างๆ เช่น สีน้ำเงินคืออารมณ์เศร้า, สีเขียวคือความอิจฉาริษยา, สีชมพูคือความรัก, สีม่วงคือความกลัว, สีแดงคือความโกรธ, สีส้มคือความสุข แต่ถ้าหากใช้ศักยภาพมากๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการแสบตา เป็นคนรักของปุณณ์ ในช่วงแรกมักจะดูถูกคนอื่นทั้งเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนร่วมชมรม แต่ในเหตุการณ์ปล่อยรูปหลุดทำให้เริ่มปรับความเข้าใจกันได้และเปิดใจให้สมาชิกในคลาสกิฟต์
ปุณณ์ ทวีศิลป์ (ปุณณ์)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 มีศักยภาพในการลอกเลียนแบบความสามารถของคนอื่นๆ ได้เพียงแค่จ้องมองไปที่คนๆ นั้น และสามารถเลียนแบบได้เป็นอย่างดีแต่ประสิทธิภาพจะไม่เทียบเท่ากับเจ้าของความสามารถ แต่การคัดลอกความสามารถทำให้เกิดมีตัวตนบุคลิกมากกว่าหนึ่งแบบทั้ง บุคลิกผู้นำ, บุคลิกหวาดกลัว, บุคลิกความโกรธ และ บุคลิกด้านมืด และด้วยการมีบุคลิกหลากรูปแบบทำให้เกิดการคุยกันภายในจิตใจ เคยเป็นหัวหน้าคลาสกิฟต์แต่ภายหลังได้ถอนตัวออกจากการเป็นหัวหน้าคลาสกิฟต์ เนื่องจากผลกระทบจากศักยภาพของตน เป็นคนรักของแคลร์ อย่างไรก็ตามปุณณ์ได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถคัดลอกศักยภาพของนักเรียนห้องกิฟต์เกือบครบทุกรุ่น แต่มีจุดอ่อนคือหากเกิดอาการโกรธขึ้นมาทำให้บุคคลิกที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ถูกครูดารินหลอกใช้เป็นเครื่องมือในแผนการของกระทรวง อย่างไรก็ตามปุณณ์ก็กลับใจและปรับความเข้าใจใหม่กับแปง
วิชัย ทรายเงิน (โอม)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 หนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปง มีศักยภาพในการทำให้สิ่งของต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิต หายไปได้ และในภายหลังพัฒนาศักยภาพทำให้ตัวเองสามารถล่องหนได้หรือทำการซ่อนวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตได้ แต่หากโอมใช้ศักยภาพมากๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหล มีนิสัยติดตลกและไม่จริงจังกับอะไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็กลายเป็นคนที่จริงจังและพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อผองเพื่อน และเป็นโค้ชหลักในการค้นหาศักยภาพของธาม นอกจากนี้โอมเป็นผู้ที่ติดต่อกับน้ำตาลเพื่อตามเรื่องแผนการเกี่ยวกับโรงเรียน
ธนากร กอบกุล (กร)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 นักเรียนในห้องกิฟต์ สมาชิกชมรมถ่ายรูป เป็นเพื่อนของแคลร์ในตอนเด็ก และเคยแอบชอบแคลร์ มีศักยภาพที่สามารถฟื้นฟูและรักษาร่างกายตัวเองได้ในระดับเซลล์ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็นต้องนอนหลับหรือพักผ่อนและสามารถต้านทานสารยาสลบชนิดต่างๆ แต่กรมองว่าศักยกายภาพดังกล่าวแทบไม่ค่อยมีประโยชน์มากเท่าใดนัก หลังจากนั้นจึงถูกระงับศักยภาพชั่วคราว แต่สุดท้ายเขาก็กลับเข้ามาอยู่ในห้องกิฟต์ และทำทีช่วยเพื่อนๆ แต่ลับหลังกรกลับเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มแอนตี้กิฟต์ที่ต่อต้านผอ.สุพจน์ และห้องกิฟต์ด้วยวิธีรุนแรง ซึ่งขัดกับหลักการของแปงและเพื่อนร่วมรุ่น15 คนอื่นๆ อีกทั้งเป็นผู้ปล่อยเชื้อไวรัส NYX-88 ของครูดาริน ใส่นักเรียนกิฟต์รุ่น 16 แต่อย่างไรก็ตามกรได้รับเชื้อไวรัส NYX-88 พร้อมกระโดดตึกเพื่อหลบหนีความผิดแต่ไม่ตายและถูกเก็บตัวไว้ในที่แห่งหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็กลับมาอีกครั้ง พร้อมเป็นคนแรกที่ใช้เครื่องลบเซลล์กิฟต์จากการแก้ไขรักษาไวรัส NYX-88
พัชมณ ปิติวงกรณ์ (มณ)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว มีศักยภาพในด้านพละกำลังที่มากกว่ามนุษย์ทั่วไป แต่มีผลข้างเคียงที่สารฟีโรโมนจากของเหลวที่หลั่งจากร่างกายทั้งเหงื่อ, น้ำตา, เลือด ฯลฯ จะทำให้ผู้ที่ถูกสารดังกล่าวเกิดอาการคลุ้มคลั่ง และด้วยผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้เกิดไม่มีความมั่นใจต่อการอยู่ชมรมเพราะเพื่อนในชมรมถูกสารฟีโรโมนจากเหงื่อของมณ จึงทำให้มณรู้ว่าเพื่อนในชมรมไม่ชอบมณ เธอจึงขอถอนตัวออกจากห้องกิฟต์ ทำให้ถูกระงับศักยภาพชั่วคราวเหมือนกับกร ในภายหลังเธอได้กลับเข้ามาอยู่ในห้องกิฟต์และใช้ศักยภาพเพื่อปกป้องทุกคนในห้องกิฟต์
ชนุตม์ แซ่หลิว (แจ็ค) และ ชเนศ แซ่หลิว (โจ)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 สองพี่น้องฝาแฝด มีศักยภาพในด้านการเชื่อมโยงกันระหว่างทั้ง 2 คน เช่น หากคนใดคนหนึ่งถูกทำร้าย เช่น ถูกเคาะหัวเข่า หรือบีบคอ อีกคนจะรู้สึกเจ็บไปด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง เมื่อเวลาผ่านไป แจ็คและโจคอยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้โอมในการฝึกค้นหาศักยภาพของธาม
ธาม ธำรงค์สวัสดิ์ (ธาม)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 นักเรียนใหม่ที่สอบเข้าโรงเรียนฤทธาวิทยาคมมาได้ด้วยคะแนนอันดับ 1 ของรุ่น มีความฝันว่าอยากจะเข้าห้องกิฟต์ให้ได้ แต่เมื่อรู้ว่าห้องกิฟต์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ธามก็ได้ร่วมมือกับเกรซและเพื่อนๆ ของเขาในการปลุกระดมนักเรียนเพื่อเรียกร้องให้นำห้องกิฟต์กลับมา แต่กลับได้ยินเสียงกระตุ้นเซลล์กิฟต์โดยบังเอิญในขณะที่กำลังแอบฟังกลุ่มนักเรียนกิฟต์รุ่น 15 วางแผน ทำให้ศักยภาพของธามถูกปลุกขึ้นก่อนการสอบวัดระดับและคัดเลือกนักเรียนเข้าห้องกิฟต์ ซึ่งศักยภาพของธามคือสามารถระบุพิกัดของคนอื่นและสถานที่ต่างๆได้อย่างแม่นยำเพียงแค่ใช้ความคิด แต่มีข้อจำกัดว่าธามจะต้องรู้จักหรือมีความคุ้นเคยกับสถานที่ดังกล่าว และรู้จักบุคคลเป้าหมายของเขา ทั้งนี้ ศักยภาพของธามมีผลข้างเคียงคือหากธามใช้ศักยภาพมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดขมับอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามธามได้รับผลกระทบจากไวรัส NYX-88 จนรักษาตัวในโรงพยาบาลและถูดปิดข่าวเรื่องการเสียชีวิตในโรงเรียน
ธรรมรงค์ เดชารัตน์ (เติร์ด)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 หนึ่งในสมาชิกทีมสารวัตรนักเรียนของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีนิสัยจริงจัง ดุดัน เข้มงวด บ้าอำนาจ และชอบเอาชนะ เป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะให้คลาสกิฟต์กลับมาแม้จะมีท่าทีไม่ชอบใจนักเรียนกิฟต์รุ่นพี่เท่าใดนัก มีศักยภาพคือสามารถเข้าถึงความคิดจากสมองจากการสัมผัสที่หัวตามคำสั่งที่ต้องการ แต่มีผลข้างเคียงคือเติร์ดจะกลายเป็นคนอารมณ์รุนแรงในขณะที่กำลังใช้ศักยภาพ
ณัฐณิชา วงศ์วัฒนะ (เกรซ)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 16 นักเรียนหญิงรุ่นเดียวกับธาม เป็นคนที่เก่งหลายอย่างแต่ไม่โดดเด่นสักอย่าง มีบุคลิกลึกลับ พูดน้อย โลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบเรื่องวุ่นวาย อีโก้สูง เจ้าความคิด และเป็นนักวางแผน เป็นกำลังสำคัญของธามในการปลุกระดมให้โรงเรียนนำห้องกิฟต์กลับมาอีกครั้ง มีศักยภาพคือเข้าสู่ลูปเวลาชั่วคราว (Temporal Looping) และเป็นคนเดียวในรุ่น 16 ที่ไม่ได้ติดเชื้อ NYX-88 จากฝีมือของกร เมื่อใช้ศักยภาพดังกล่าวผลกระทบคืออายุขัยสั้น แต่สามารถสื่อสารในจิตลูปเวลาได้ หลังจากการจับกุม ผอ.สุพจน์ สำเร็จ เกรซเป็นผู้ที่ใช้เครื่องลบเซลล์กิฟต์
เกรชวัยผู้ใหญ่
เกรซในมิติช่วงเวลาข้างหน้า ปรากฏตัวในนิมิตของเกรซที่ยังอยู่ในสภาวะหยุดชะงักจากศักยภาพของครูปอม เป็นผู้ที่ล่วงรู้ความจริงเกี่ยวกับเบื้องหลังของผอ. สุพจน์ และห้องกิฟต์ เป้าหมายจริงๆ คือต้องการให้พลังกิฟต์ทั้งหมดสูญหายไปเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องร้ายแรงที่ตามมาในอนาคต

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

แก้
ปรมะ วงศ์รัตนะ (ครูปอม)
ครูที่ปรึกษาของห้องกิฟต์ เคยเป็นนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 มีศักยภาพในการควบคุมคลื่นสมองและเปลี่ยนแปลงความทรงจำได้เพียงแค่ดีดนิ้ว แต่ต้องใช้เมโทรโนมหรือจังหวะเสียงสองจังหวะในการใช้พลัง หลังจากเหตุการณ์เกี่ยวกับการต่อต้านห้องกิฟต์ ครูปอมลาออกจากโรงเรียนไป แต่ในปีการศึกษา 2563 ครูปอมได้กลับเข้ามาในโรงเรียนอีกครั้งจากคำเชิญของ ผอ. สุพจน์ และจับตาดูการกระทำของแปงและนักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 อยู่เป็นระยะ ๆ
ลัดดา งามกุล (ครูลัดดา)
ครูหัวหน้าฝ่ายปกครองของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีห้องกิฟต์ แต่สุดท้ายก็เข้าใจและลาออกจากโรงเรียนฤทธาวิทยาคมไปช่วงปลายภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ดร. สุพจน์ เชื้อมณี
ผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีศักยภาพเดียวกับแปงคือ สามารถโน้มน้าวและสั่งการให้คนอื่นทำตามอย่างที่ตนต้องการในทุกกรณี แต่มีความได้เปรียบตรงที่สุพจน์สามารถใช้ศักยภาพนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแตะตัวอีกฝ่าย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของปริศนาลึกลับในโรงเรียนและการมีอยู่ของห้องกิฟต์ ในปีการศึกษา 2563 สุพจน์ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดเรื่องนักเรียนห้องกิฟต์เสียชีวิต แต่ภายหลังก็ได้ช่วยเหลือธามและแปง โดยได้เล่าอดีตเบื้องหลังเกี่ยวกับพลังกิฟต์ แต่ว่าได้เผยอีกครั้งนั่นก็คือแผนการบางส่วนของ ผอ. สุพจน์ ที่ทำให้กลับมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอีกครั้งพร้อมทั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงคือต้องการสร้างการสอบเข้าห้องกิฟต์ทั่วประเทศ และเริ่มที่จะพยายามจะกำจัดบุคคลที่ต่อต้านห้องกิฟต์
ในอดีตสุพจน์เป็นผู้ค้นพบเซลล์กิฟต์ โดยมียุทธและเนตรเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม แต่ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลของกระทรวงทำให้ได้วางแผนสลับชื่อตัวตนโดยตนใช้ชื่อยุทธ แล้วหลอกให้ยุทธแทนเป็นสุพจน์รวมถึงเนตรที่ทดลองแล้วเกิดอาการป่วยจากการผลทดลอง และเมื่อกระทรวงได้ข้อตกลงทำให้สุพจน์เริ่มสร้างโครงการห้องกิฟต์โดยได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธาวิทยาคมไป
ดาริน วัฒนศิลป์ (ครูดาริน)
ครูฝ่ายวิชาการคนใหม่ของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เข้าทำงานในปีการศึกษา 2563 ถูกส่งตัวมาโดยกระทรวงศึกษาและพัฒนามนุษย์เพื่อทำภารกิจนำไวรัส NYX-88 ใส่ ผอ.สุพจน์ และห้องกิฟต์ แต่หลังจากเกิดเรื่องกลุ่มแอนตี้กิฟต์ขโมยไวรัสไป จึงพยายามขอความช่วยเหลือให้กับกลุ่มนักเรียนกิฟต์รุ่น 15 และรุ่น 16 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการต่อจากสุพจน์ และวางแผนอีกจุดประสงค์นั่นก็คือการทำลายกลุ่มภายในของนักเรียนห้องกิฟต์รุ่น 15 โดยใช้ปุณณ์เป็นเครื่องมือ

นักเรียนคนอื่น

แก้

นักเรียนคนอื่น (ฤดูกาลที่ 1)

แก้
ปกรณ์ มีโชค (แน็ก)
อดีตเพื่อนสนิทและอดีตเพื่อนร่วมห้องของแปง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 1 อยู่ชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ที่สนใจที่จะเข้าห้องกิฟต์เช่นเดียวกับแปงแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก และด้วยการไม่ได้ถูกเลือกห้องกิฟต์ทำให้แน็กเริ่มผิดใจกับแปงมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้แน็กเริ่มคิดไปเองว่าแปงไม่สนใจและพยายามจะเอาเปรียบเอาชนะตน อย่างไรก็ตามแน็กได้ถูกลบความทรงจำหลังจากเหตุการณ์ที่แปงใช้พลังที่มีอยู่ควบคุมไว้ โดยไม่มีความหมาดหมางกัน
รวินท์ บุญรัก (ก้อย)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 3 ชมรมข่าวสื่อสาร เป็นผู้พยายามจะเปิดโปงนักเรียนห้องกิฟต์ โดยใช้กรเป็นเครื่องมือ แต่ถูกขัดขวางโดยนักเรียนห้องกิฟต์ จึงถูกครูปอมลบความทรงจำและถูกไล่ออกในที่สุด
มะม่วง
นักเรียนหญิงอยู่ชมรมนักข่าว ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวของโรงเรียน เป็นอีกคนที่ได้รับผลกระทบจากศักยภาพของมณ
โฟล์ค
ปรากฏตัวในตอนที่ 2 อดีตเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของโอม ชอบเอาเปรียบโอมประจำจนจำใจเป็นเพื่อนสนิทไป เป็นผู้ที่ถูกโอมใช้พลังที่ทำให้หายตัวไป แต่หลังจากที่กลับมาได้ ก็ถูกลบความทรงจำหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น
แป้งร่ำ
ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนหญิงที่อยู่ชมรมการละครเช่นเดียวกับแคลร์ เป็นผู้ที่ปล่อยคลิปและพยายามกลั่นแกล้งแคลร์บนโลกโซเชียล เพราะแค้นที่แคลร์ทำตัวเด่น ชอบกดให้คนอื่นอยู่ต่ำกว่าตน ไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่เห็นหัวใคร
มีนา
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา​ปีที่ 4/2 ปรากฏตัว​ในตอนที่ 6 นักเรียนในชมรมศิลปะป้องกันตัวคนที่ได้รับผลกรทบศัลยภาพของมณ
เบสท์
ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าชมรมและผู้กำกับการแสดง
ฟลุ๊ค
ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง
ชะเอม
ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนในชมรมการแสดง ทำหน้าที่เป็นผู้จัดชุดนักแสดงในชมรม
อาร์ต
นักเรียนชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นหัวหน้าชมรม รุ่นพี่ของมณ
ดุ๊ค
อดีตสมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ขโมยชุดชั้นในหญิง
เจน
นักเรียนหญิงชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ที่ถูกสารฟีโรโมนของมณเป็นคนแรก

นักเรียนคนอื่น (ฤดูกาลที่ 2)

แก้
หญิง
ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 8 อยู่ในช่วงอุ่น I Love เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้ที่ได้ยินเสียงกระตุ้นเซลล์กิฟต์โดยบังเอิญเช่นเดียวกับธามแต่อยู่บริเวณข้างนอกห้อง ทำให้ศักยภาพถูกปลุกขึ้นก่อนการสอบวัดระดับ แต่ไม่ได้ถูกคัดเลือกเป็นนักเรียนเข้าห้องกิฟต์ มีศักยภาพคือทำให้ร่างกายภายในเกิดความร้อนเมื่อเกิดอาการที่ตื่นเต้น

ตัวละครอื่นๆ

แก้
ชานนท์ ทวีพงศ์ (นนท์)
ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 3 อดีตนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 อยู่ชมรมวิทยาศาสตร์และอวกาศ เป็นเพื่อนสนิทสมัยเรียนของครูปอม แต่ถูกขับออกจากห้องกิฟต์และออกจากโรงเรียนในภายหลังเนื่องจากไปพบความลับของห้องกิฟต์และผอ.สุพจน์เข้าและพยายามจะเปิดโปงความลับ โดยครูปอมจำเป็นต้องลบความทรงจำของนนท์ไป และข้อมูลของนนท์ในหนังสือทะเบียนนักเรียนห้องกิฟต์ถูกฉีกออก โดยไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนหลังจากออกจากโรงเรียน อย่างไรก็ตามชานนท์ได้กลับมาอีกครั้งเนื่องจากต้องการที่จะพยายามเปิดโปง ผอ.สุพจน์อีกครั้งหลังจากที่ได้เห็นข่าวเกี่ยวกับกลุ่มนักเรียนที่ไม่เห็นด้วยกับห้องกิฟต์และผอ.สุพจน์ โดยชานนท์ได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีของกระทรวงและเฝ้ามองเหตุการณ์เกี่ยวกับการวางแผนเปิดโปงโรงเรียนและผู้อำนวยการ โดยที่เป็นคนรู้ว่ากรคือผู้ที่นำเชื้อไวรัส NYX-88 จากครูดาริน แต่ว่าแผนดังกล่าวเป็นแผนหลอกซึ่งความจริงแล้วคือถูก ผอ. สุพจน์ รับมอบงานเกี่ยวกับเชื้อไวรัส NYX-88 และได้ฉีดเชื้อไวรัสใส่ครูปอมเพราะเกิดความแค้นในอดีตที่ทำไว้
นิชา กันนุลา
นักเรียนกิฟต์คนแรกของโรงเรียน เป็นคนที่มีศักยกายภาพในการต้านเชื้อโรคหลายๆ ชนิด แต่ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
วิภาวี สุวรรณปาน
เพื่อนสนิทของนิชา เป็นผู้ร่วมทำรายงานกับนิชา แต่ถูกเพื่อนในห้องกลั่นแกล้งและถูกหาว่าเป็นปลิงพยายามเกาะนิชาที่เป็นเด็กเรียนเก่งจนเกิดความแค้นขึ้นมา โดยวางแผนที่จะฆ่านิชาด้วยการเอายาพิษใส่ลงในเหรียญทอง และพยายามฆ่าทุกคนในโรงเรียนด้วยการวางยาพิษใส่แท็งค์น้ำในโรงเรียน แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากครูลัดดาได้พบเห็นตามข้อความรหัสมอร์สที่นิชาเคาะ เสียชีวิตจากการถูกนิชาพลักตกตึกตายและถูกปิดข่าวว่าเป็นการฆ่าตัวตาย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้ทางโรงเรียนได้ปรับระเบียบกฏห้องเรียนในชั้นโดยแบ่งระดับห้องที่มีความเก่งจากมากไปหาน้อย
ชญานี ปราชญ์คริษฐ์
ปรากฏตัวในตอนที่ 3 เป็นแม่ของน้ำตาล
ศ.ดร.เปรมชัย ทวีศิลป์
พ่อของปุณณ์
นารา ทวีวัฒนกุล
ครูโรงเรียนเก่าของเวฟ สนใจเวฟที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงพยายามตีสนิทและให้เวฟมาช่วยตนร่วมกันพัฒนาผลงาน แต่ในภายหลังนาราได้ไปใส่ร้ายเวฟว่าขโมยผลงานวิทยานิพนธ์ของเธอ จึงถูกเวฟแก้แค้นด้วยการแฉว่าเธอซื้อใบปริญญามา ทำให้นาราถูกไล่ออกจากโรงเรียน และเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะคนอื่นและไม่เชื่อใจใคร
พันโทพิเชษฐ์
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นศัตรูของ ผอ.สุพจน์ โดยวางแผนที่จะกำจัด ผอ.สุพจน์ ด้วยเชื้อไวรัส NYX-88 และส่งครูดารินเพื่อที่กำจัดภายในโรงเรียน
ยุทธ
เพื่อนสนิทของ ผอ. สุพจน์ ในสมัยวัยรุ่น ในอดีตถูก ผอ.สุพจน์ ใช้ศักยภาพเพื่อให้ตัวเองเชื่อว่าตนคือ "สุพจน์ เชื้อมณี" และมีพลังเช่นเดียวกับ ผอ.สุพจน์ แต่สุดท้ายก็ถูกหักหลังและถูกสุพจน์ใช้ศักยภาพบังคับใช้มีดที่เหลาจากช้อนปาดคอตัวเองตาย
นัยเนตร จิรอาภา (เนตร)
คนรักของยุทธ เป็นคนแรกที่ได้รับการทดลองคลื่นเสียงปลุกเซลล์กิฟต์ แต่เพราะอาการไข้หวัดที่มีอยู่ในวันทดลอง ทำให้เชื้อไข้หวัดที่อยู่ในตัวเนตรกลายพันธุ์เป็นไวรัสไข้สมองอักเสบชนิดรุนแรง และกลายเป็นต้นเหตุของเชื้อไวรัส NYX-88 และสุพจน์ได้เอาตัวเธอออกมาจากกระทรวงโดยหาคนอื่นไปแทนและหาวิธีรักษาเชื้อไวรัสนี้จนสำเร็จ และด้วยความรักและความเป็นห่วง สุพจน์จึงให้เธอเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น “กนกพรรณ รัตนเดชา” ตอนแรกเป็นหมอในโรงพยาบาลศิริราชได้ไม่นานก็ถูกบังคับให้เป็นครูของโรงเรียนในต่างจังหวัด

นักแสดง

แก้

นักแสดงหลัก

แก้
เฉพาะฤดูกาลที่ 1
เฉพาะฤดูกาลที่ 2

นักแสดงรับเชิญ

แก้
เฉพาะฤดูกาลที่ 1
เฉพาะฤดูกาลที่ 2

รางวัลและการเข้าชิง

แก้
ปี งานประกาศรางวัล สาขาที่เข้าชิง ผู้ได้รับเสนอชื่อ ผลการตัดสิน อ้างอิง
2562 LINE TV Awards 2019 Best Fight Scene ฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ ชนะ [4]
25th Shanghai Television Festival Magnolia Awards Best Foreign TV Series / Serial
(ละครชุดสั้น/ยาวต่างประเทศยอดเยี่ยม)
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ เสนอชื่อเข้าชิง [5]
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 กำกับภาพยอดเยี่ยม วงศ์วัฒนะ​ ชุณหวุฒิยานนท์ เสนอชื่อเข้าชิง [6]
Asian Television Awards ครั้งที่ 24 Best Actor in a Leading Role
(นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม)
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ เสนอชื่อเข้าชิง [7]
Best Actor in a Supporting Role
(นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม)
อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ ชนะ [8]
Best Original Screenplay
(บทโทรทัศน์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม)
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ เสนอชื่อเข้าชิง [7]
2564 สยามซีรีส์อวอร์ด 2021 ซีรีส์/ละครสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม The Gifted Graduation ชนะ [9]
ซีรีส์/ละครสุดฮอต The Gifted Graduation เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงชายยอดนิยม กรภัทร์ เกิดพันธุ์ ชนะ
นักแสดงหญิงยอดนิยม รมิดา จีรนรภัทร เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดนิยม วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดนิยม นภสร วีระยุทธวิไล เสนอชื่อเข้าชิง
Asian Academy Creative Awards 2021 Best Actor in a Leading Role
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ เสนอชื่อเข้าชิง [10]
Asian Television Awards ครั้งที่ 26 Best Actor in a Leading Role
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ เสนอชื่อเข้าชิง [11]

เพลงประกอบ

แก้
ฤดูกาลที่ 1
ในเวอร์ชันที่ลงทางเน็ตฟลิกซ์ไม่มีเพลงประกอบ
ฤดูกาลที่ 2
  • Intro The Gifted Graduation

อ้างอิง

แก้
  1. "อีกไม่กี่วัน! จากหนังสั้นธีสิส สู่ซีรีส์ที่หลายคนรอคอย The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์". sudsapda.com. 23 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. The Gifted Graduation ตอนที่ 2
  3. The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ตอนที่ 4
  4. ""จีเอ็มเอ็มทีวี" กวาด 4 รางวัล "LINE TV AWARDS 2019"". springnews.co.th. 13 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
  5. "Nominations for The 25th Shanghai TV Festival". stvf.com. 25 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
  6. "ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ รางวัล นาฎราช ครั้งที่ 10". TrueID. 31 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2019.
  7. 7.0 7.1 "2019 Nominess - Asian Television Awards". asiantvawards.com. 25 ตุลาคม 2019.
  8. ""กันอรรถพันธ์" คว้ารางวัล "Best Actor in a Supporting Role"". newsplus.co.th. 13 มกราคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2020.
  9. "'GMMTV' คว้า 5 รางวัล 'Siam Series Awards 2021'". 7 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2021.
  10. "AAA National Winners 2021 Full List" (PDF). Asian Academy Creative Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2021.
  11. "2021 Nomineess - Asian Television Awards". asiantvawards.com. Asian Television Awards. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้