เดอะฟอกออฟวอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เดอะฟอกออฟวอร์: อีเลฟเวนเลสเซินส์ฟรอมเดอะไลฟ์ออฟโรเบิร์ต แม็กนามารา (อังกฤษ: The Fog of War: Eleven Lessons from the Life of Robert S. McNamara) (พ.ศ. 2546) คือภาพยนตร์สารคดีจากสหรัฐอเมริกาที่กำกับโดย เออร์โรล มอร์ริส เกี่ยวกับชีวิตและช่วงเวลาของโรเบิร์ต แม็กนามารา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
เดอะฟอกออฟวอร์ | |
---|---|
Theatrical release poster | |
กำกับ | เออร์โรล มอร์ริส |
อำนวยการสร้าง | เออร์โรล มอร์ริส Michael Williams Julie Ahlberg |
นักแสดงนำ | โรเบิร์ต แม็กนามารา |
กำกับภาพ | Robert Chappell (ผู้สัมภาษณ์) Peter Donahue |
ดนตรีประกอบ | Philip Glass |
ผู้จัดจำหน่าย | Sony Pictures Classics |
วันฉาย | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 (เทศกาลหนังเมืองคานส์ ค.ศ. 2003) 19 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (limited) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (limited) 18 มีนาคม ค.ศ. 2004 2 เมษายน 2004 |
ความยาว | 95 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
เดอะ ฟอก ออฟ วอร์นำเสนอถึงความไม่แน่นอนในสนามรบระหว่างสงคราม ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ ประเภทภาพยนตร์สารดคียอดเยี่ยม และ Independent Spirit Award for Best Documentary Feature[1]
หลักการ
แก้เดอะ ฟอก ออฟ วอร์ ใช้การตัดต่อภาพระหว่างเทปบันทึกการสนทนาของคณะรัฐมนตรีแห่งสหรัฐอเมริกา และการสัมภาษณ์โรเบิร์ต แม็กนามารา วัยแปดสิบห้าปี นำเสนอชีวิตของเขาตั้งแต่ช่วงที่ทำงานในกองทัพระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประธานบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ในรัฐบาลของประธานาธิบดีเคนเนดี และจอห์นสัน เพื่ออำนวยการสงครามเวียดนาม เนื้อหาในช่วงการทำงานในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนี้เน้นถึงความป่าเถื่อนของสงครามในช่วงเวลาของมัน และสาเหตุที่เขาถูกเชิญขึ้นรับตำแหน่งรัฐมนตรีทั้ง ๆ ที่เขาแทบจะไม่มีประสบการณ์ด้านการทหาร
แรงบันดาลใจในการสร้าง
แก้จากการปรากฏตัวของเออร์โรล มอร์ริส ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ใน พ.ศ. 2547 เขากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือสารคดีของแม็คนามารา (เขียนร่วมกับเจมส์ ไบรท์) Wilson's Ghost: Reducing the Risk of Conflict, Killing, and Catastrophe in the 21st Century (พ.ศ. 2544) [2] มอร์ริสใช้เวลาสัมภาษณ์แม็คนามารายี่สิบชั่วโมง ซึ่งตัวสารคดีสองชั่วโมงนี้สรุปเนื้อหาสิบเอ็ดบทจาก In Retrospect: The Tragedy and Lessons of Vietnam (พ.ศ. 2538) เขาแนะนำและกล่าวถึงบทเรียนจากการสัมภาษณ์ว่า "เมฆหมอกแห่งสงคราม" (The fog of war) เนื่องจากแม็คนามาราไม่เห็นด้วยกับการตีความหมายของมอร์ริส ในเหตุการณ์ที่เบิร์กลีย์ เขาจึงเพิ่มเติมให้ภาพยนตร์นี้สมบูรณ์ด้วยการเพิ่มเติมสิบบทเรียนในรุ่นดีวีดี
แต่เมื่อถูกถามถึงการประยุกต์ใช้สิบเอ็ดบทเรียนจาก In Retrospect ในการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 แม็คนามาราปฏิเสธที่จะตอบและให้เหตุผลว่าอดีตรัฐมนตรีจะต้องไม่วิจารณ์นโยบายของรัฐมนตรีที่ยังดำรงตำแหน่ง เขากล่าวว่าคนอื่นสามารถประยุกต์ใช้สิบเอ็ดบทเรียนในสงครามอิรักได้ แต่เขาจะไม่ทำ อีกทั้งยังกล่าวว่าบทเรียนของเขานั้นเป็นมุมมองทั่วไปของสงคราม มิได้มีความจำเพาะเจาะจง[2]
บทเรียนชีวิตสิบเอ็ดบทของโรเบิร์ต แม็คนามารา
แก้- เรียนรู้ศัตรูของคุณ
- ความมีเหตุผลจะไม่ช่วยอะไรเรา
- มันมีอะไรมากไปกว่าเรื่องของบุคคลคนเดียว
- ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- หลักแห่งความได้สัดส่วน[note 1]ควรจะเป็นแนวทางของสงคราม
- เอาข้อมูลมา
- ความเชื่อและสิ่งที่เห็นมักจะผิดทั้งคู่
- จงมีความพร้อมที่จะตรวจสอบเหตุผลของคุณอีกครั้ง
- เพื่อการทำสิ่งดี คุณอาจจะต้องยุ่งเกี่ยวกับความเลว
- อย่าพูดว่าไม่เคย
- คุณไม่มีทางเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์
สิบบทเรียนเพิ่มเติมจากแม็คนามารา
แก้ส่วนเสริมนี้ปรากฏในส่วนพิเศษของรุ่นดีวีดี
- มนุษยชาติจะไม่กำจัดสงครามในศัตวรรษนี้ แต่เราสามารถลดความป่าเถื่อนของสงคราม ระดับการสังหาร ด้วยการใช้หลักการ "Just War," โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หลักแห่งความได้สัดส่วน"
- การรวมกันอย่างไร้ขีดจำกัดของความล้มเหลวของมนุษย์และอาวุธนิวเคลียร์จะนำไปสู่การทำลายล้างประเทศชาติ
- พวกเรา (สหรัฐอเมริกา) คือชาติที่มีอำนาจสูงสุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร และจะเป็นเช่นนี้ไปในอีกหลายทศวรรตข้างหน้า แต่เราไม่ใช่ผู้รอบรู้ ถ้าเราไม่สามารถโน้มน้าวชาติอื่นที่มีความสนใจและมีค่านิยมในการใช้อำนาจเพื่อความชอบธรรมเหมือนกันได้แล้วไซร้ เราก็ไม่ควรจะฉายเดี่ยวยกเว้นการป้องกันทวีปอเมริกา อลาสกา และฮาวายโดยตรง ซึ่งดูเหมือนจะไม่เป็นที่ต้องการ
- หลักการทางศีลธรรมมักจะชี้นำนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศได้หลายรูปแบบ แต่แน่นอนว่าเราควรจะตั้งเป้าหมายหลักในนโยบายต่างประเทศของอเมริกา และมันต้องเป็นนโยบายระดับโลกคือการทำลายล้างชีวิตผู้คนที่เกิดขึ้นในศัตวรรตนี้ การทำลายชีวิต 160 ล้านที่เกิดขึ้นในศัตวรรษที่ยี่สิบ
- เรา ชาติที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ล้มเหลวในการรับผิดชอบต่อคนยากจนของเราและคนจนในโลก ล้มเหลวที่จะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่คนจนในแง่ของสิ่งมูลฐานอันประกอบด้วยสารอาหาร การอ่านเขียน สุขภาพและการจ้างงาน
- ผู้บริหารบริษัมจะต้องรู้ว่ามันไม่มีข้อขัดแย้งอะไรเลยระหว่างใจอ่อนและใจแข็ง แน่นอนว่าพวกเขามีภาระที่ต้องรับผิดชอบผุ้ถือหุ้น แต่พวกเขาก็มีภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ลูกค้า และสังคมของบริษัทเช่นกัน
- ประธานีธิบดีเคนเนดีเชื่อในความรับผิดชอบชั้นต้นของประธานาธิบดี แน่นอนว่าความรับผิดชอบชั้นต้นของประธานาธิบดีนั้นคือการนำพาประเทศให้พ้นจากสงครามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- สงครามนั้นเป็นเครื่องมือโดยการสร้างความไม่ลงรอยระหว่าง/ภายในประเทศ และการแทรกแทรงทางเศรษฐกิจนั้นยากนักที่จะมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราควรจะสร้างระบบศาลนานาชาติที่อิงหลักนิติศาสตร์ ที่ซึ่งอเมริกาปฏิเสธที่จะสนับสนุน ที่จะมารับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชน
- ถ้าเราต้องยุ่งเกี่ยวกับอาชญากรในโลกนี้อย่างมีประสอทธิภาพ เราจะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ฉัน (แม็คนามารา) ไม่ได้หมายถึงความเห็นอกเห็นใจนะ แต่หมายถึงความเข้าใจเพื่อที่จะตอบโต้การโจมตีต่อเราและโลกตะวันตก
- หนึ่งในอันตรายที่ใหญ่หลวงที่สุดที่เรากำลังเผชิญในทุกวันนี้คือความเสี่ยงที่ผู้ก่อการร้ายจะมืออาวุธทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวของการดูแลปกครองที่จำกัด เราในอเมริกากำลังสร้างความล้มเหลวนั่น
เชิงอรรถ
แก้- ↑ หมายถึงหลักการที่ว่าการกระทำใด ๆ ไม่ควรจะกระทำมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามและการลงโทษอาชญากร
เชิงอรรถอ้างอิง
แก้- ↑ "NY Times: The Fog of War". NY Times. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
- ↑ 2.0 2.1 UC Berkeley News
External links
แก้- Official site from Sony Classics
- The Fog of War ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Making History: Errol Morris, Robert McNamara and The Fog of War from sensesofcinema.com
- Transcript of the film from errolmorris.com
- Eleven Lessons from The Fog of War เก็บถาวร 2008-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Robert McNamara - Daily Telegraph obituary