หมอกสงคราม
หมอกสงคราม (เยอรมัน: Nebel des Krieges, อังกฤษ: fog of war) หมายถึงความสับสน ความไม่แน่นอน และความคลุมเครือของสถานการณ์ในปฏิบัติการทางทหาร
จุดกำเนิด
แก้คำว่าหมอกสงครามถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนักการทหารชาวเยอรมันปรัสเซียนามว่า พลตรีคาร์ล ฟอน เคลาส์วิทซ์ ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือ "ว่าด้วยสงคราม" ความว่า:
- "สงครามคือภพแห่งความไม่แน่นอน ซึ่งมีอยู่สามขุมที่ว่า การปฏิบัติในสงครามถูกสร้างอยู่บนอะไร ตั้งอยู่ในหมอกแห่งความไม่แน่นอน มากหรือน้อย ซึ่งในจุดนี้ สิ่งที่ควรมีเป็นอันดับแรก คือความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนทะลุปรุโปร่ง เพื่อเฟ้นหาความจริงพร้อมชั้นเชิงในการตัดสินใจ (ว่าด้วยสงคราม เล่มที่ 1 บทที่ 3)[1]
- "ความไม่แน่ใจอย่างยิ่งในข่าวสารในทุกวันของสงครามถือเป็นอุปสรรคใหญ่หลวง เพราะทุกการตัดสินใจจะถูกดำเนินการภายใต้แสงเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับม่านหมอกหรือแสงจันทร์ ที่มักทำให้เกิดรูปร่างขนาดเกินปกติและพิลึก" (ว่าด้วยสงคราม เล่มที่ 2 บทที่ 2)[2]
การจัดระดับ
แก้ยุทธศาสตร์หลัก
แก้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ทางการเมือง ความสามารถและการส่งกำลังบำรุงทางทหารของคู่สงคราม โดยแหล่งข้อมูลรวมไปถึงการสืบราชการทางการทูต การสืบราชการลับ ตัวอย่างทางยุทธศาสตร์ และข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งเปิด คู่สงครามจำเป็นต้องเข้าใจต่อเจตนาและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลที่ได้จากข้อมูลในระดับนี้อาจจะรวมไปถึงปฏิบัติการทางทหารด้วย แต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับผลกระทบที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมากกว่า
ยุทธศาสตร์ทางทหาร
แก้ความไม่แน่นอนในทางทหารแล้วมีความหมายถึง โครงสร้าง ความแข็งแกร่ง ความสามารถและเจตนาของฝ่ายตนและฝ่ายตรงข้าม ความไม่แน่นอนดังกล่าวอาจนำไปหสู่ความล้มเหลว ข้อบกพร่องหรืออาจเป็นการเพิ่มปัญหาโดยบังเอิญ ทำให้มีการมองสมรรถภาพของฝ่ายตนในแง่ดี ความไม่แน่นอนของฝ่ายตรงข้ามอาจเป็นข่าวกรองที่ผิดพลาด แหล่งข้อมูลถูกปกปิดหรือถูกทำลวงไว้ นอกเหนือจากนี้ กฎของเมอร์ฟียังมีส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการวางแผนในระยะยาว ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
การปฏิบัติการ
แก้ในขอบเขตของการปฏิบัติการ ผู้บัญชาการจะรับเอาคำสั่งที่ได้รับมาจากในระดับยุทธศาสตร์ทางทหาร ความไม่แน่นอนนั้นรวมไปถึงความสามารถของฝ่ายตรงข้าม และเจตนาของฝ่ายตรงข้าม แต่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนในการสั่งการของฝ่ายตนด้วย ผู้บัญชาการไม่ได้มองเห็นภาพรวมทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด ผู้บัญชาการควรจะหยั่งความสับสนนี้ด้วยการสำรวจ การลาดตระเวนและสรุปเป็นภาพรวมทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด
ยุทธวิธี
แก้ความไม่แน่นอนอาจส่งผลหลายประการในระดับยุทธวิธี อย่างเช่น เจตนาของฝ่ายตรงข้าม รวมไปถึงตัวแปรหลายอย่างที่ขึ้นอยู่กับการรบ ซึ่งเป็นผลให้ผู้บัญชาการขาดภาพรวมของสิ่งแวดล้อมทางยุทธวิธี สถานภาพการส่งกำลังบำรุงของกองกำลังฝ่ายตนเอง
การขาดภาพรวมของสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธวิธีนี้ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหนึ่งหรือหลายประการประกอบกันก็ได้ อย่างเช่น
- การสำรวจ/ลาดตระเวนที่บกพร่อง
- ข่าวกรองที่ผิดพลาด ไม่แน่นอน
- การสื่อสารที่ผิดพลาด
การตัดสินใจในระดับยุทธวิธีนี้จะสำคัญกว่าในระดับอื่น ๆ รวมไปถึงการที่ความไม่แน่นอนต่าง ๆ อาจจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีการตั้งสมมุติฐาน และได้มีการตัดสินใจซึ่งตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานเหล่านั้น
อ้างอิง
แก้- ↑ (เล่มที่ 1 บทที่ 3) ข้อความต้นฉบับ: „Der Krieg ist das Gebiet der Ungewißheit; drei Vierteile derjenigen Dinge, worauf das Handeln im Kriege gebaut wird, liegen im Nebel einer mehr oder weniger großen Ungewißheit. Hier ist es also zuerst, wo ein feiner, durchdringender Verstand in Anspruch genommen wird, um mit dem Takte seines Urteils die Wahrheit herauszufühlen.“
- ↑ (เล่มที่ 2 บทที่ 2) ข้อความต้นฉบับ: „Endlich ist die große Ungewißheit aller Datis im Kriege eine eigentümliche Schwierigkeit, weil alles Handeln gewissermaßen in einem bloßen Dämmerlicht verrichtet wird, was noch dazu nicht selten wie eine Nebel- oder Mondscheinbeleuchtung den Dingen einen übertriebenen Umfang, ein groteskes Ansehen gibt.“