รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal gyrus) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยนูนฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: hippocampal gyrus[1] เป็นเขตเนื้อเทา ในคอร์เทกซ์เปลือกสมอง (cerebral cortex) ที่อยู่รอบๆ ฮิปโปแคมปัส เขตในสมองนี้มีความสำคัญในการเข้ารหัสความจำ (memory encoding) และการค้นคืนความจำ (memory retrieval)
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส | |
---|---|
ก้านสมองของมนุษย์มองจากฐาน (รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส คือ #7, ขวามือตรงกลาง) | |
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสอยู่ด้านล่างตรงกลาง | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | gyrus parahippocampalis |
MeSH | D020534 |
นิวโรเนมส์ | 164 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_807 |
TA98 | A14.1.09.234 |
TA2 | 5515 |
FMA | 61918 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
สมองเขตนี้เกี่ยวข้องกับบางกรณีของคนไข้ที่มีภาวะฮิปโปแคมปัสแข็ง (hippocampal sclerosis)[2]
ในคนไข้โรคจิตเภท (schizophrenia) เขตสมองนี้ในซีกสมองทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน[3]
ขอบเขตและส่วนย่อย
แก้ศัพท์ว่า คอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal cortex) หมายถึงเขตที่ครอบคลุมทั้ง รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสด้านหลัง[4] และส่วนกลางของรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus)
บทบาทหน้าที่
แก้การรู้จำสถานที่
แก้เขตสถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal place area, ตัวย่อ PPA) เป็นเขตย่อยในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ารหัสและรู้จำสถานที่ (เปรียบเทียบกับการเข้ารหัสและรู้จำใบหน้าหรือวัตถุอื่นๆ) งานวิจัยด้วย fMRI แสดงว่า เขตสถานที่มีระดับการทำงานสูงเมื่อมนุษย์ผู้รับการทดลองดูภาพเกี่ยวข้องกับภูมิลักษณ์ (ลักษณะของภูมิประเทศ) เช่นภาพทิวทัศน์ของภูมิประเทศ ภาพทิวทัศน์ของเมือง หรือว่าภาพของห้องต่างๆ เขตสถานที่นี้ถูกพรรณนาโดยรัสเซลล์ เอ็ปสไตน์ (ปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และแนนซี แคนวิชเชอร์ (ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) ในปี ค.ศ. 1998[5] สนับสนุนโดยงานวิจัยที่คล้ายๆ กันของเจ็ฟฟรีย์ แอ็กกวายร์[6][7] และอลูมิต อิไช[8]
คนไข้ที่มีความเสียหายใน PPA (เช่นเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง) มักมีอาการที่ไม่สามารถรู้จำภูมิลักษณ์ แม้ว่าจะสามารถรู้จำวัตถุต่างๆ ในภูมิลักษณ์นั้นได้ (เป็นต้นว่าบุคคล เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ) PPA มักถูกพิจารณาว่าเป็นเขตคู่กันกับเขตใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform face area, ตัวย่อ FFA) ซึ่งเป็นเขตสมองที่อยู่ใกล้ๆ กันที่ตอบสนองอย่างมีกำลังเมื่อเห็นหน้า และเป็นเขตสมองที่เชื่อว่ามีความสำคัญต่องการรู้จำใบหน้า
การเข้าใจสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสังคม
แก้งานวิจัยอื่นจากที่กล่าวมาแล้วเพิ่มความเป็นไปได้ว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวามีหน้าที่ยิ่งไปกว่าการรู้จำภูมิลักษณ์ การทดลองที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำโดยแคเทอริน แรงกิน แสดงว่า รอยนูนอาจจะมีบทบาทสำคัญในการระบุสถานการณ์รวมๆทางสังคม (social context) ด้วย รวมทั้งการสื่อสารนอกเหนือคำพูด (ปรลักษณ์ภาษา) เมื่อมีการพูดคุยกัน[9] ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของแรงกินเสนอว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวา ทำให้สามารถจับคำพูดประชดเหน็บแหนม (sarcasm) ได้
รูปอื่นๆ
แก้-
ภาพไหว แสดงรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสโดยสีแดง
-
ด้านในของซีกสมองซ้าย แสดงรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสโดยสีส้ม
-
ภาพแบ่งหน้าหลัง
-
สมองมนุษย์ด้านในมอง จากด้านล่าง
-
สมองมนุษย์ มองจากฐาน
อ้างอิงและหมายเหตุ
แก้- ↑ Reuter P.: Der Grobe Reuter Springer Universalworterbuch Medizin, Pharmakologie Und Zahnmedizin: Englisch-deutsch (Band 2), Birkh?user, 2005, ISBN 3-540-25102-2, p. 648 here online
- ↑ Ferreira NF, de Oliveira V, Amaral L, Mendon?a R, Lima SS (September 2003). "Analysis of parahippocampal gyrus in 115 patients with hippocampal sclerosis". Arq Neuropsiquiatr. 61 (3B): 707–11. PMID 14595469.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ McDonald B, Highley JR, Walker MA; และคณะ (January 2000). "Anomalous asymmetry of fusiform and parahippocampal gyrus gray matter in schizophrenia: A postmortem study". Am J Psychiatry. 157 (1): 40–7. PMID 10618011.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ เป็นส่วนด้านหลังของรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส ที่อาจจะมีความเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์
- ↑ "A cortical representation of the local visual environment : Abstract : Nature". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ "The Parahippocampus Subserves Topographical Learning in Man -- Aguirre et al. 6 (6): 823 -- Cerebral Cortex". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ "Neuron - An Area within Human Ventral Cortex Sensitive to "Building" Stimuli". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ "Distributed representation of objects in the human ventral visual pathway — PNAS". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ Hurley, Dan (2008-06-03). "Katherine P. Rankin, a Neuropsychologist, Studies Sarcasm - NYTimes.com". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
แก้- NeuroNames hier-146
- http://www2.umdnj.edu/~neuro/studyaid/Practical2000/Q35.htm เก็บถาวร 2009-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนภาพแบบโต้ตอบของเขตรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส ในหนู ที่ Temporal-lobe.com
[[หมวดหมู่::ซีรีบรัม]] [[หมวดหมู่::ประสาทกายวิภาคศาสตร์]] [[หมวดหมู่::รอยนูน]]