ภาษามอนเตเนโกร
ภาษามอนเตเนโกร (อังกฤษ: Montenegrin; มอนเตเนโกร: црногорски, crnogorski) คือวิธภาษาเชิงบรรทัดฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย[5] ส่วนใหญ่ใช้โดยชาวมอนเตเนโกรและเป็นภาษาทางการของประเทศมอนเตเนโกร ภาษามอนเตเนโกรมีพื้นฐานมาจากภาษาย่อยชทอคาเวียน (ซึ่งเป็นภาษาย่อยที่แพร่หลายมากที่สุดของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย) หรือหากเจาะจงลงอีกก็คือสำเนียงเฮอร์เซโกวีนาตะวันออกซึ่งยังเป็นพื้นฐานของภาษาโครเอเชีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษาบอสเนียมาตรฐานอีกด้วย[6]
ภาษามอนเตเนโกร | |
---|---|
црногорски / crnogorski | |
ออกเสียง | [tsr̩nǒɡorskiː] |
ประเทศที่มีการพูด | มอนเตเนโกร |
ชาติพันธุ์ | มอนเตเนโกร |
จำนวนผู้พูด | 232,600[1][ไม่แน่ใจ ] (2011) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรซีริลลิก (อักษรมอนเตเนโกร) อักษรละติน (อักษรมอนเตเนโกร) อักษรเบรลล์ยูโกสลาฟ |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | มอนเตเนโกร |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[2] เทศบาลมาลีอิจ็อช (วอยวอดีนา เซอร์เบีย)[3] |
ผู้วางระเบียบ | คณะกรรมการสร้างมาตรฐานภาษามอนเตเนโกร |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | cnr |
ISO 639-3 | cnr [4] |
Linguasphere | ส่วนหนึ่งของ 53-AAA-g |
ภาษาของมอนเตเนโกรในประวัติศาสตร์และตามธรรมเนียมเดิมมีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้ง "ภาษามอนเตเนโกร"[7][8][9][10] "ภาษาของเรา"[7] และ "ภาษาเซอร์เบีย"[11] แนวคิดเกี่ยวกับการวางมาตรฐานภาษามอนเตเนโกรแยกจากภาษาเซอร์เบียปรากฏขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 ระหว่างการล่มสลายของยูโกสลาเวีย ผ่านบรรดาผู้สนับสนุนเอกราชมอนเตเนโกรจากสหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ภาษามอนเตเนโกรกลายเป็นภาษาทางการของมอนเตเนโกรหลังจากการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007
มาตรฐานภาษามอนเตเนโกรยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ระบบการเขียนได้รับการกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ด้วยการเพิ่มตัวอักษรสองตัวเข้าไปในชุดตัวอักษร การใช้งานตัวอักษรดังกล่าวเป็นที่โต้เถียงและได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในวงจำกัดโดยมีผู้เสนอตัวสะกดทางเลือก[12] ตัวอักษรทั้งสองถูกนำมาใช้ในเอกสารทางการตั้งแต่ ค.ศ. 2009 แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ก็ถูกรัฐสภามอนเตเนโกรตัดออกจากเอกสารทุกประเภทของรัฐ[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ได้แก่ 229,251 คนในมอนเตเนโกร (ร้อยละ 36.97),[โปรดขยายความ] 2,519 คนในเซอร์เบีย, 876 คนในโครเอเชีย
- ↑ สภายุโรป: [1] (ในภาษาอังกฤษ)
- ↑ https://balkaninsight.com/2017/08/07/serbian-montenegrins-demand-right-to-use-native-language-08-04-2017/
- ↑ "cnr - ISO 639-3". www-01.sil.org.
- ↑ Šipka, Danko (2019). Lexical layers of identity: words, meaning, and culture in the Slavic languages. New York: Cambridge University Press. p. 201. doi:10.1017/9781108685795. ISBN 978-953-313-086-6. LCCN 2018048005. OCLC 1061308790.
the Montenegrin language (one of the four ethnic variants of Serbo-Croatian)
- ↑ http://www.rferl.org/content/Serbian_Croatian_Bosnian_or_Montenegrin_Many_In_Balkans_Just_Call_It_Our_Language_/1497105.html Serbian, Croatian, Bosnian, Or Montenegrin? Or Just 'Our Language'?], Radio Free Europe, February 21, 2009
- ↑ 7.0 7.1 "Reprint: A speech in the Assembly gathering on the 16th of February, 1898. made during the respective discussion by the representative of Ante Trumbić". Kolo Matice Hrvatske. 1, 2: 200–201. 1991.
- ↑ Nenadović, Ljubomir (1889). "O Crnogorcima: Pisma sa Cetinja 1878. godine". Novi Sad. ISBN 86-7558-383-4.
- ↑ Encyclopædia Britannica, Eleventh Edition (1910–11). 1911. p. 771.
- ↑ De Bajza, Giuseppe (1928). La questione Montenegrina. Budapest, Hungary: Casa editrice Franklin.
- ↑ cf. Roland Sussex, Paul Cubberly, The Slavic Languages, Cambridge University Press, Cambridge 2006; esp. v. pp. 73: "Serbia had used Serbian as an official language since 1814, and Montenegro even earlier.".
- ↑ "CG: Niko neće crnogorska slova". Večernje Novosti. 1 October 2013.
- ↑ "Crnogorska skupština odustala od upotrebe slova ś i ź". Sputnik News Serbia. 2 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-02-22.