การกราดยิงหมู่

เหตุการณ์ที่มือปืนรายหนึ่งก่อเหตุกราดยิงคนหลายคนด้วยอาวุธปืน โดยมีเจตนาอย่างยิ่งที่จะ
(เปลี่ยนทางจาก Mass shooting)

การกราดยิงหมู่[1] หรือ เหตุกราดยิงหมู่[2][3] (อังกฤษ: mass shooting) นั้นไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนสำหรับหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเงื่อนไขดังกล่าว โดยส่วนใหญ่นิยามว่าจะต้องมีเหยื่อจากการใช้อาวุธปืนจำนวนอย่างน้อย 3–4 ราย (ไม่นับรวมมือปืน) และเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แม้ว่าการศึกษาของออสเตรเลียใน พ.ศ. 2549 จะระบุว่าต้องมีเหยื่ออย่างน้อย 5 ราย และต้องมีการเสียชีวิตของเหยื่อ แทนที่จะแค่ได้รับบาดเจ็บและไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียชีวิต[4]

การบังคับใช้กฎหมายในที่เกิดเหตุเหตุกราดยิงหมู่ที่โรงพยาบาลนอร์ธไซด์ มิดทาวน์ ในแอตแลนตา สหรัฐ

ในสหรัฐ พระราชบัญญัติความช่วยเหลือสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง พ.ศ. 2555 (Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012) กำหนดให้การสังหารหมู่เป็นการสังหารตั้งแต่ 3 รายขึ้นไปในเหตุการณ์เดียวกัน[5] อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ระบุถึงการกราดยิงหมู่ สื่อต่าง ๆ เช่น ซีเอ็นเอ็น และหน่วยงานวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงในอาชญากรรมให้คำจำกัดความว่า การกราดยิงหมู่นั้นจะต้องประกอบไปด้วย "การยิงจำนวน 4 ครั้งขึ้นไป (ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต) ภายในเหตุการณ์เดียว ในเวลาเดียว และสถานเดียวกัน โดยการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นไม่นับรวมตัวผู้ก่อเหตุ"[6] สำหรับนิตยสารการเมืองชื่อว่า มาเธอร์ โจนส์ ได้นิยามการกราดยิงหมู่ว่า เป็นการยิงอย่างคุ้มคลั่งและมีการสูญเสียชีวิตของเหยื่อตั้งแต่ 3 รายขึ้นไป ไม่นับรวมตัวของผู้กระทำความผิด ซึ่งคำจำกัดความดังกล่าวไม่รวมถึงการปะทะกันระหว่างแก๊งค์อันธพาลหรือการโจรกรรมทรัพย์สินด้วยอาวุธ[7][8]

บางครั้งการยิงที่ประกอบไปด้วยเหยื่อที่มากกว่า 3 รายขึ้นไปอาจจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ปิด เช่น การที่สมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง ยิงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวของตนเองทั้งหมด การกระทำนี้จะถูกนับว่าเป็นการกุลฆาต (การล้างตระกูล, ฆ่ายกครัว) และไม่ถูกนับรวมอยู่ในสถิติของการกราดยิงหมู่

สำหรับแรงจูงใจในการกราดยิงหมู่ (ที่เกิดขึ้นในสถานที่สาธารณะ) มักมีสาเหตุมาจากการที่บุคคลดังกล่าวเกิดความผิดหวังหรือเสียใจจากอย่างรุนแรงจากความล้มเหลวของตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การเรียน อาชีพการงาน ความรัก หรือเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต[9] รวมไปถึงผู้ที่ต้องการเป็นที่สนใจหรือยากมีชื่อเสียง อยากให้ผู้อื่นรับรู้ถึงการกระทำดังกล่าว[10] ในขณะที่การกราดยิงในการโจรกรรมทรัพย์สิน หรือการกราดยิงในการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อการร้าย จะไม่ถูกจำกัดความว่าเป็นการกราดยิงหมู่เพราะมีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน[11]

คำจำกัดความ แก้

มีคำจำกัดความที่หลากหลายมากสำหรับการกราดยิงหมู่[12][13] เช่น

  • ภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ อัยการสูงสุดสหรัฐอาจเข้าร่วมการสืบสวนการ "สังหารหมู่" มากกว่า การกราดยิงหมู่ หากมีการร้องขอมาจากรัฐต่าง ๆ คำดังกล่าวหมายความถึงการสังหารคนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปโดยไม่มีการหยุดพัก[14][15] แต่ต่อมาสภาคองเกรสได้กำหนดความหมายใหม่ใน พ.ศ. 2556 ว่าให้นับการสังหารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป[16]
  • ในรายงาน "เบื้องหลังการนองเลือด" (Behind the Bloodshed) ของ หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ การสังหารหมู่ได้รับการนิยามว่าเป็นเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น 4 คนหรือมากกว่านั้น หมายรวมไปถึงการสังหารภายในครอบครัว[17] เดอะวอชิงตันโพสต์ยังใช้คำนิยามดังกล่าวเช่นกัน[18]
  • เว็บไซต์ Mass Shooting Tracker ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากซีเอ็นเอ็น, เอ็มเอสเอ็นบีซี, เดอะนิวยอร์กไทมส์, เดอะวอชิงตันโพสต์, ดิอีโคโนมิสต์, บีบีซี ได้ให้คำจำกัดความว่าการกราดยิงหมู่ คือเหตุการณ์ใด ๆ ที่มีการยิงประชาชนจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป[19][20]
  • ตาม พระราชบัญญัติความช่วยเหลือสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง พ.ศ. 2555 (Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012) ซึ่งลงนามประกาศใช้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 การสังหารหมู่ หมายถึงการสังหารที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสามคน ไม่รวมผู้กระทำความผิด[21][22]
  • ซีบีเอส ให้คำนิยามถึงการกราดยิงหมู่ ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยิง (ไม่จำเป็นต้องทำให้เสียชีวิต) ใส่คน 5 คนขึ้นไป (บางครั้ง 4 คน)[23] โดยไม่มีช่วงหยุดพัก[23][24]
  • นิตยสารมาเธอร์โจนส์ นิยามการกราดยิงหมู่ว่าเป็นการยิงอย่างคุ้มคลั่งโดยปราศจากเป้าหมายหลักในสถานที่สาธารณะ ซึ่งส่งผลให้มีเหยื่อจำนวน 3 คนหรือมากกว่าเสียชีวิต โดยไม่นับรวมถึงการปะทะกันระหว่างแก๊งอันธพาล มาเฟีย การโจรกรรมทรัพย์สินด้วยอาวุธ และการโจมตีโดยผู้ก่อเหตุที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้[25][26]
  • กลุ่มศึกษาวิจัยความรุนแรงในอาชญากรรม Gun Violence Archive ซึ่งรวมรวมข้อมูลการวิจัยจากสื่ออเมริกันรายหลัก ๆ ให้คำจำกัดความการกราดยิงหมู่ไว้ว่า "ต้องมีเหยื่ออย่างน้อย 4 รายที่ถูกยิง นับทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิต โดยไม่นับรวมถึงผู้ก่อเหตุซึ่งอาจจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บในเหตุการณ์ดังกล่าว" ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของการกราดยิงหมู่ และการฆาตกรรมหมู่ และไม่ถือว่าผู้ก่อเหตุเป็นเหยื่อด้วย[27]
  • แม้ว่าจะมีการจำกัดความที่หลากหลายถึงความหมายของการกราดยิงหมู่ แต่ก็มีการจำกัดความถึงการรวมถึงและข้อยกเว้นด้วย โดยมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียระบุว่า ไม่ว่าจะมีผู้เสียชีวิตกี่คน หากเกิดการยิงโดยผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ จะไม่นับว่าเป็นการกราดยิงหมู่ ข้อยกเว้นอีกประเภทคือ หากมีคนถูกยิง 10 คน แต่เสียชีวิตเพียง 2 คน นอกจากนี้หากอีกจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการถูกรถชนก็จะไม่นับว่าเกิดจากเหตุกราดยิงหมู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการใช้อาวุธปืน ในบางกรณี จะนับรวมการเสียชีวิตที่เกิดจากการใช้อาวุธในการโจรกรรมทรัพย์สิน และบางครั้งการเสียชีวิตที่เกิดจากการทำสงครามแก๊งค์ก็ถือเป็นการกราดยิงหมู่เช่นกัน[28]

ปัญหาของการขาดคำจำกัดความที่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดความตื่นกลัวเกิดเหตุเมื่อมีการรายงานข่าวเหตุการณ์ออกไป เนื่องจากการใช้ประเภทของเหตุที่เกิดแตกต่างกันในแต่ละความหมาย

การกราดยิงหมู่จะถูกกำหนดให้เป็นการก่อการร้ายก็ต่อเมื่อ "ดูเหมือนว่าจะมีเจตนา" ที่จะข่มขู่หรือบังคับผู้คน แม้ว่าการกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ไม่ใช่การก่อการร้ายก็ตาม

เหยื่อและผู้รอดชีวิต แก้

หลังจากเหตุกราดยิงหมู่ ผู้รอดชีวิตบางคนได้เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขา และนักข่าวก็เล่าถึงประสบการณ์ของพวกเขา ผู้รอดชีวิตจากการยิงในโบสถ์ Knoxville Unitarian Universalist เขียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาของเขาต่อเหตุการณ์การกราดยิงหมู่[29] พ่อของเหยื่อในเหตุกราดยิงที่โรงภาพยนตร์ในเมืองออโรรา รัฐโคโลราโด เขียนเกี่ยวกับการเผชิญเหตุกราดยิงหมู่ครั้งอื่น ๆ หลังจากเขาสูญเสียลูกชายไป[30] ผู้รอดชีวิตจากการโจมตีในนอร์เวย์ใน พ.ศ. 2554 เล่าประสบการณ์ของพวกเขาในนิตยสาร GQ[31] นอกจากนี้ รายงานฉบับหนึ่งยังได้ศึกษาปฏิกิริยาของเจ้าหน้าที่ตำรวจสวีเดนต่อเหตุกราดยิงหมู่[32]

ผู้รอดชีวิตจากเหตุกราดยิงจำนวนมาก อาจประสบกับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ[33][34]

ผู้กระทำผิด แก้

เพศและเชื้อชาติ แก้

สหรัฐ แก้

ผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ในสหรัฐเป็นผู้ชาย โดยบางแหล่งระบุว่าผู้ชายคิดเป็น 98% ของผู้ก่อเหตุ[35][36][37] จากรายงานของสกายนิวส์ ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ชายก่อเหตุ 110 ครั้ง จากการยิง 114 ครั้งในโรงเรียน (96%) ในช่วง พ.ศ. 2525–2562[38] เมื่อเทียบกับการฆาตกรรมโดยทั่วไปในสหรัฐที่ 85.3% ของการฆาตกรรมเป็นการกระทำโดยผู้ชาย[39]

การศึกษาโดยบริษัทข้อมูลด้านสถิติ Statista พบว่า 65 จาก 116 (56%) การยิงกันในสหรัฐ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2525 ถึง 2562 นั้นเป็นมือปืน "ผิวขาว"[40] และตามฐานข้อมูลที่รวบรวมโดยนิตยสารมาเธอร์โจนส์ เชื้อชาติของมือปืนกราดยิงหมู่นั้นใกล้เคียงกับประชากรสหรัฐโดยรวม แม้ว่าชาวเอเชียจะมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยประชากรสหรัฐและชาวลาตินไม่มีส่วนในการเทียบเคียงดังกล่าว[41]

สุขภาพจิตและประวัติอาชญากรรม แก้

 
ผลการศึกษาของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า ผลจากการโจมตีของมือปืนกราดยิงนั้น แตกต่างกันไปตามปฏิกิริยาของผู้ก่อเหตุ ซึ่งผู้ถูกโจมตีประกอบไปด้วยตำรวจ (42% ของเหตุการณ์ทั้งหมด) และกลุ่มคนมุง (ซึ่งรวมไปถึง "คนดีที่มีปืน" คิดเป็นใน 5.1% ในเหตุการณ์ทั้งหมด)[42]

ในการศึกษาผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่จำนวน 55 คน จากฐานข้อมูลการกราดยิงหมู่ของนิตยสารมาเธอร์โจนส์ นักวิจัยพบว่า 87.5% ของผู้กระทำความผิด ได้รับการวินิจฉัยในการรักษาอย่างผิด ๆ และรับการรักษาอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช จึงไม่ได้รับการรักษาตามกระบวนการ[43]

ในการศึกษาผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่จำนวน 171 คนที่ก่อเหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2509 ถึง 2562 นักวิจัย Adam Lankford และ Rebecca Cowan พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยทางจิตแต่ไม่ใช่ระดับที่รุนแรง แต่ "ผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ในที่สาธารณะเกือบทั้งหมดอาจจะมีปัญหาสุขภาพจิต" พวกเขาแนะนำว่าการตรวจสอบปัญหาสุขภาพจิตของผู้ก่อเหตุกราดยิงนั้นมีจำนวนความถี่ที่ต่ำเกินไป เนื่องจาก "ผู้กระทำความผิดจำนวนมาก ไม่เคยได้รับการประเมินจากจิตแพทย์หรือผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต...รวมถึงคนอื่นๆ ก็จงใจหลีกเลี่ยงการพบจิตแพทย์ และปิดบังปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือโกหกเกี่ยวกับอาการของพวกเขา เพราะความอับอาย ความน่าอัปยศ หรือความกลัวผลที่จะตามมาหลังการประเมิน" อย่างไรก็ตาม Lankford และ Cowan ยังเน้นย้ำว่าความปัญหาทางจิตไม่ใช่สาเหตุเดียวของการกราดยิงหมู่ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจโจมตีของผู้ก่อเหตุ[44]

เจมส์ อัลเลน ฟอกซ์ นักอาชญาวิทยากล่าวว่าผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการถูกจับกุมเพื่อทำการรักษาที่ศูนย์สุขภาพจิต[45] แม้ว่าบทความในเดอะนิวยอร์กไทมส์ในเดือนธันวาคม 2558 เกี่ยวกับเหตุกราดยิง 15 ครั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่ามีผู้กระทำความผิด 6 คน เคยมีปัญหากับการละเมิดการบังคับใช้กฎหมาย และอีก 6 คน มีปัญหาสุขภาพจิต[46]

แรงจูงใจ แก้

เหตุกราดยิงหมู่จำนวนมากอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากลัทธิหัวรุนแรงทางศาสนา อุดมการณ์ทางการเมือง (เช่น ลัทธินีโอนาซี การก่อการร้าย ลัทธิเชิดชูคนผิวขาว), การเหยียดเชื้อชาติ รสนิยมทางเพศ การเกลียดผู้หญิง[47] ความเจ็บป่วยทางจิต[48][49] และการแก้แค้นจากการโดนกลั่นแกล้ง[50] รวมถึงเหตุผลอื่น ๆ[35] สตีเฟน รอสส์ นักจิตวิทยานิติวิทยาศาสตร์ อ้างถึงความโกรธสุดขีดและความคิดในการทำงานเพื่อจุดประสงค์ – แทนที่จะเป็นความเจ็บป่วยทางจิต – เป็นคำอธิบายเบื้องต้น[51] การศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์พบว่า "ผู้กระทำผิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการป่วยทางจิตมีน้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ของการสังหารที่เกี่ยวข้องกับปืนกว่า 120,000 ครั้ง ในสหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2544 ถึง 2553"[52] จอห์น โรมัน จากสถาบันชุมชนเมือง (Urban Institute) แย้งว่า แม้ว่าการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพจิตได้สะดวกขึ้น การจำกัดอาวุธที่เข้มงวดมากขึ้น และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันและต่อสู้การก่อการร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่พวกเขาไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ใหญ่กว่า ซึ่งคือ "เรามีชายหนุ่มผู้โกรธแค้นมากมายในประเทศของเราและในโลกนี้"[53]

เดฟ คัลเลน ได้เขียนในหนังสือ โคลัมไบน์ (Columbine) ของเขาเมื่อ พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ใน พ.ศ. 2542 และผู้ก่อเหตุ เอริก แฮร์ริส และดีแลน เคลโบลด์ อธิบายว่า แฮร์ริสเป็น "ผู้สะสมความอยุติธรรม" (injustice collector)[54] เขาขยายแนวคิดนี้ในบทบความของ เดอะนิวริพับลิก เกี่ยวกับนักสะสมความอยุติธรรม[55] ซึ่งระบุว่าฆาตกรที่เป็นที่รู้จักหลายคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ รวมถึงคริสโตเฟอร์ ดอร์เนอร์, เอลเลียต ร็อดเจอร์, เวสเตอร์ ฟลานาแกน และแอนดรูว์ คีโฮ ในทำนองเดียวกัน แมรี โอทูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการกราดยิงหมู่และอดีตเอฟบีไอ ก็ใช้วลี "ผู้สะสมความอยุติธรรม" ในการอธิบายถึงลักษณะแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่หลายคน[56] ส่วนของความสัมพันธ์ นักอาชญาวิทยา เจมส์ อลัน ฟ็อกซ์ ยืนยันว่าฆาตกรสังหารหมู่ "ถูกทำให้โดดเดี่ยวทางสังคม" และมักประสบกับ "ปีแห่งความผิดหวังและความล้มเหลว ที่ก่อให้เกิดความสิ้นหวังอย่างสุดขีดและความโกรธแค้นที่ฝังลึก"[57][58] จิลเลียน ปีเตอร์สัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านอาชญวิทยาที่มหาวิทยาลัยแฮมไลน์ ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเหตุกราดยิงหมู่ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าปรากฏการณ์สองอย่างที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในเชิงสถิติ ได้แก่ ความสิ้นหวังและความต้องการชื่อเสียงในด้านลบ หรือความตาย[59] ชื่อเสียงในด้านลบได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกว่าเป็นแรงจูงใจในการศึกษาวิจัยโดย จัสติน นัท โดยระบุในบทความใน พ.ศ. 2556 ว่า "คนที่รู้สึกไม่มีชื่อและไร้ตัวตนราวกับว่าไม่มีใครสนใจหรือจดจำพวกเขา เมื่อพวกเขาจะต้องจากไป เขาอาจจะรู้สึกว่าจะต้องกำลังทำอะไรบางอย่าง เช่น การก่อเหตุกราดยิงกันในโรงเรียน เพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะถูกจดจำและบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์"[60]

ในบทบรรณาธิการของ ลอสแอนเจลิสไทมส์[61] ประจำ พ.ศ. 2562 จิลเลียน ปีเตอร์สัน และ เจมส์ เดนสลีย์ กลุ่มนักคิดในโครงการความรุนแรง (The Violence Project) ได้นำเสนอกรอบการทำงานใหม่ที่ให้ความหวังในการเข้าใจเหตุการณ์กราดยิงหมู่ จากการศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันยุติธรรมแห่งชาติ (National Institute of Justice) ปีเตอร์สันและเดนส์ลีย์พบว่ามือปืนในเหตุการณ์กราดยิงหมู่มีสี่สิ่งที่เหมือนกัน คือ

  1. ความบอบช้ำทางจิตใจในวัยเด็ก และการเผชิญความรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. ความคับข้องใจที่ระบุได้หรือจุดวิกฤต
  3. การตรวจสอบระบบความเชื่อของพวกเขา การศึกษาเหตุกราดยิงก่อนหน้านี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
  4. วิธีการในการโจมตี

กรอบการทำงานใหม่นี้เน้นถึงความซับซ้อนของการก้าวไปสู่การกราดยิงหมู่ รวมถึงการที่แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถ "แพร่ระบาดทางสังคม"[62] ได้ และยังให้พิมพ์เขียวป้องกันเหตุกราดยิงหมู่ในครั้งต่อไปอีกด้วย โดยแต่ละหัวข้อหนึ่งในสี่หัวข้อแสดงถึงโอกาสในการถูกรบกวนก้าวก่าย ด้วยการบรรเทาการแพร่ระบาด (การตรวจสอบความถูกต้อง) การฝึกอบรมการลดความรุนแรงของการแทรกแซงภาวะวิกฤติ (วิกฤต) และการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาพยาบาลทางจิตที่มีราคาไม่แพง (การบาดเจ็บ) จะช่วยบรรเทาเหตุการณ์กราดยิงหมู่ได้

จากการพิจารณาความถี่ของเหตุกราดยิงหมู่จำนวนมากในสหรัฐ นักอาชญาวิทยา ปีเตอร์ สไควร์ กล่าวว่าวัฒนธรรมปัจเจกนิยมในสหรัฐทำให้ประเทศมีความเสี่ยงต่อเหตุกราดยิงหมู่มากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยสังเกตว่า "ประเทศอื่นอีกหลายประเทศที่มีการครอบครองปืนสูง เช่น นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวิตเชอร์แลนด์ และอิสราเอล มีแนวโน้มที่จะมีสังคมที่มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยมีสายสัมพันธ์ทางสังคมที่แข็งแรงคอยช่วยเหลือให้ผู้คนผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ และมีการสังหารหมู่ที่น้อยลง" ซึ่งเขาเป็นผู้สนับสนุนการควบคุมอาวุธปืน แต่เชื่อว่ามีเหตุกราดยิงมากกว่าความแพร่หลายของผู้ใช้ปืน[63] ส่วนของ ฟรังโก เบราร์ดี นักวิชาการด้านลัทธิมาร์กซิสต์ชาวอิตาลี ได้แย้งว่า ลัทธิปัจเจกนิยมมากเกินไป ความแปลกแยกทางสังคม และความสามารถในการแข่งขันที่เกิดมาจากอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และระบบทุนนิยม ทำให้เกิดมือปืนจำนวนมากและทำให้ผู้คน "เกิดความผิดปกติ" (malfunction)[64]

สังคมศาสตร์และโครงสร้างครอบครัว แก้

มีรายงานการเชื่อมโยงกันที่น่าสังเหตุในสหรัฐ ระหว่างเหตุกราดยิงหมู่กับความรุนแรงภายในหรือความรุนแรงในครอบครัวโดยคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครับปัจจุบันหรืออดีตสมาชิกถูกสังหาร คิดเป็น 76 คดี จาก 133 คดี (57%) และผู้กระทำผิดเคยถูกตั้งข้อหาใช้ความรุนแรงมาก่อน 21 คดี[65][66]

การตอบสนอง แก้

สื่อ แก้

บางคนพิจารณาว่าความสนใจของสื่อเกี่ยวข้องกับผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ตามมาหรือไม่[67] เพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายบางส่วนได้ตัดสินใจให้ไม่เสนอชื่อผู้ต้องสงสัยในเหตุกราดยิงหมู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ก่อเหตุได้รับชื่อเสียงในทางลบ[68]

มีการศึกษาผลกระทบของข้อความที่ใช้ในการรายงานข่าวเหตุกราดยิงหมู่จำนวนมาก นักวิจัยศึกษาบทบาทของการรายงานข่าว ในการกำหนดทัศนคติต่อบุคคลที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง และการสนับสนุนของสาธารณชนต่อนโยบายการควบคุมการอาวุธปืน[69]

ใน พ.ศ. 2558 บทความที่ถูกเขียนโดยนักฟิสิกส์และนักสถิติ เชอร์รี่ ทาวเวอร์ พร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีก 4 คนได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีการแพร่กระจายของอาการกราดยิงหมู่จำนวนมากโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์[70] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2560 ทาวเวอร์ได้กล่าวว่าในการให้สัมภาษณ์ว่าเธอชอบรูปแบบของการกำกับดูแลกันเองของสื่อ มากกว่าการเซ็นเซอร์สื่อ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่นเดียวกับในหลายปีก่อน สำนักข่าวหลัก ๆ ประสบความสำเร็จในการป้องกันการฆ่าตัวตายเลียนแบบ[71]

ใน พ.ศ. 2559 สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) เผยแพร่ข่าวแจก โดยอ้างว่ามีการแพร่กระจายของอาการกราดยิงหมู่ โดยสื่อและผู้ที่ชื่นชอบใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งควรจะงดเผยแพร่ชื่อและใบหน้าของผู้เสียหายเมื่อมีการรายงานเหตุการณ์กราดยิง เพื่อป้องกันการสร้างชื่อเสียงและผลงานของผู่ก่อเหตุซึ่งต้องการเป็นที่จดจำและเกิดการทำตาม[72]

สำนักข่าวบางแห่งให้นำหนักมากขึ้นในการพูดคุยเรื่องการควบคุมอาวุธปืน หลังจากเหตุโจมตีในแซนเบอร์นาร์ดีโนเมื่อ พ.ศ. 2558 พาดหัวหน้าแรกของ นิวยอร์กเดลินิวส์ ระบุว่า "พระเจ้าไม่ได้แก้ไขเรื่องนี้" (God isn't fixing this) พร้อมกับ "รูปภาพทวิตจากผู้นำพรรคริพับลิกันที่แชร์ธอตส์แอนด์แพรส์ของพวกเขาต่อเหยื่อที่ถูกกราดยิง[73][74] นับตั้งแต่การสังหารในอิสลาวิสตาใน พ.ศ. 2557 สำนักข่าวเชิงเสียดสี ดิอันเยิน ได้เผยแพร่บทความ "ไม่มีทางป้องกันสิ่งนี้ได้" มีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีการแก้ไขบทความเล็กน้อยหลังจากเหตุกราดยิงหมู่ครั้งใหญ่ เพื่อล้อเลียนฉันทามติของประชาชน ว่าสหรัฐ ขาดอำนาจทางการเมืองเพื่อป้องกันเหตุกราดยิงหมู่[75]

การปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืน แก้

การตอบสนองต่อเหตุกราดยิงหมู่มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเทศและบรรยากาศทางการเมืองในประเทศขณะนั้น

ออสเตรเลีย แก้

หลังจากการสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ใน พ.ศ. 2539 ออสเตรเลียได้แก้ไขกฎหมายอาวุธปืน

นิวซีแลนด์ แก้

หลังจากเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ได้ประกาศห้ามใช้อาวุธกึ่งอัตโนมัติในรูปแบบทางทหารเกือบทั้งหมด[76]

สหราชอาณาจักร แก้

ผลจากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ฮังเกอร์ฟอร์ด ในฮังเกอร์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และการสังหารหมู่ที่โรงเรียนดันเบลน ในสเตอร์ลิง สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักรจึงได้ออกกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนที่มีความเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงมีโครงการรับซื้อปืนคืนเพื่อปลดอาวุธปืนบางประเภทออกจากการครอบครองของเอกชน รวมถึงตราพระราชบัญญัติอาวุธปืนฉบับแก้ไข พ.ศ. 2531 เพื่อจำกัดอาวุธปืนไรเฟิลและปืนลูกซอง และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฉบับแก้ไข พ.ศ. 2540 เพื่อจำกัดหรือทำให้ปืนพกจำนวนมากกายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[77]

เหตุกราดยิงหมู่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดสองครั้งหลังจากการแก้ไขกฎหมายเพื่อจำกัดอาวุธปืน ได้แก่ เหตุกราดยิงที่คัมเบรียใน พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย รวมถึงผู้ก่อเหตุ[78][79] และเหตุกราดยิงที่พลีมัธใน พ.ศ. 2546 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย รวมถึงผู้ก่อเหตุ[80]

สหรัฐ แก้

ในสหรัฐ การสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืนแตกต่างกันไปตามจุดยืนของพรรคการเมือง โดยพรรคเดโมแครตโดยปกติจะสนับสนุนการปฏิรูปอาวุธปืนนี้มากกว่า และเช่นกันในฝ่ายรีพลับลิกันโดยปกติจะต่อต้านมากกว่า ซึ่งบางคนในสหรัฐเชื่อว่าการบังคับใช้กฎหมายอาวุธปืนที่เข้มงวดมากขึ้นจะช่วยป้องกันเหตุกราดยิงหมู่ก็ได้ในอนาคต[81] ส่วนนักการเมืองบางคนในสหรัฐได้ออกกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบตรวจสอบประวัติการซื้อปืน[82] ซึ่งคนอเมริกันส่วนใหญ่สนับสนุนการตรวจประวัติก่อนการซื้อปืนที่เข้มงวดมากขึ้น ตาม “จากการสำรวจของมหาวิทยาลัย Quinnipiac ในคอนเนทิคัต พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียนกล่าวว่าพวกเขาจะสนับสนุนการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด (universal background checks) สำหรับผู้ซื้อปืนทุกคน”

คนอื่น ๆ ได้โต้แย้งว่าเหตุกราดยิงหมู่ไม่ควรเป็นจุดสนใจหลักในการอภิปรายเรื่องการปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืน เพราะเหตุกราดยิงเหล่านั้นคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของอัตราการฆาตกรรมในสหรัฐ และเชื่อว่าเหตุกราดยิงหมู่เหล่านี้ยากที่จะหยุดยั้งได้ และเกิดการโต้เถียงกันว่าการให้พลเรือนสามารถพกอาวุธได้ในลักษณะมิดชิดจะสามารถลดการเกิดเหตุกราดยิงได้[83]

ตามที่ปีเตอร์ สไกวเออส์ นักอาชญาวิทยาชาวอังกฤษซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงเกี่ยวกับปืนในประเทศต่าง ๆ ระบุว่า เหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐนั้นอาจสืบเนื่องมาจาก "วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยม" ในสหรัฐ มากกว่ากฎหมายอาวุธปืน[84]

บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ปราศรัยเกี่ยวกับเหตุกราดยิงหมู่หลายครั้งระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมาของเขา โดยเรียกร้องให้มีกฎหมายความปลอดภัยของอาวุธปืนเพิ่มเติมในสหรัฐ[85] หลังจากเหตุกราดยิงโบสถ์ในชาร์ลสตัน และเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมสโตนแมน ดักลาส เขาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายความปลอดภัยของปืนอีกครั้ง และระบุว่าความถี่ในการเกิดเหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐนั้น "ไม่ได้คู่ขนานไปกับโลกใบนี้" (no parallel in the world)[86] โดยหลังจากเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมสโตนแมน ดักลาส ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ทั้งนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่างกลายเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเพื่อแบนการขายอาวุธจู่โจม (assault weapon) และลดการเข้าถึงอาวุธได้อย่างง่ายดาย[87]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. yodtong (2020-04-21). "America ส่อมิคสัญญี ทรัมป์จัดให้ ทวิตปลุกประชาชน "จับอาวุธ" จี้เปิดเมือง". Thaimoveinstitute.com.
  2. Kuaha, Thamonwan (2020-02-11). "เหตุกราดยิง เรื่องสะเทือนขวัญ และสัญญาณอันตรายที่อาจบ่งบอกถึง 'อาการป่วย' ของสังคม". a day BULLETIN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. "ส่องสัญญาณเตือน 'เหตุกราดยิง' ถอดบทเรียนงานวิจัยในสหรัฐ". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2022-10-07.
  4. Chapman, S. (December 2006). "Australia's 1996 gun law reforms: faster falls in firearm deaths, firearm suicides, and a decade without mass shootings". Injury Prevention. 12 (6): 365–72. doi:10.1136/ip.2006.013714. PMC 2704353. PMID 17170183.
  5. "Text - H.R.2076 - 112th Congress (2011–2012) : Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012". www.congress.gov. 2013-01-14.
  6. "General Methodology | Gun Violence Archive". www.gunviolencearchive.org. สืบค้นเมื่อ 2020-01-07.
  7. Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "US mass shootings, 1982–2022: Data from Mother Jones' investigation". Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
  8. Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "A Guide to Mass Shootings in America". Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
  9. Fox & DeLateur. Mass shootings in America: moving beyond Newtown. Homicide Studies, Vol 8 (1), pp 125–145.
  10. Lankford, Adam (2016-03-01). "Fame-seeking rampage shooters: Initial findings and empirical predictions". Aggression and Violent Behavior (ภาษาอังกฤษ). 27: 122–129. doi:10.1016/j.avb.2016.02.002. ISSN 1359-1789.
  11. Bjelopera, Jerome P. (March 18, 2013). "Public Mass Shootings in the United States: Selected Implications for Federal Public Health and Safety Policy" (PDF). CRS Report for Congress. Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ December 8, 2015. "There is no broadly agreed-to, specific conceptualization of this issue, so this report uses its own definition for public mass shootings."
  12. Weiss, Jeffrey (December 6, 2015). "Mass shootings in the U.S. this year? 353 — or 4, depending on your definition". The Dallas Morning News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015.
  13. Follman, Mark (December 3, 2015). "How Many Mass Shootings Are There, Really?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015.
  14. Follman, Mark. "What Exactly Is A Mass Shooting". Mother Jones. สืบค้นเมื่อ August 9, 2015. What is a mass shooting? Broadly speaking, the term refers to an incident involving three or more deaths due to gun violence. But there is no official set of criteria or definition for a mass shooting, according to criminology experts and FBI officials contacted by Mother Jones.
  15. Follman, Mark (December 3, 2015). "How Many Mass Shootings Are There, Really?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015.
  16. "PUBLIC LAW 112–265" (PDF). United States Congress. January 14, 2013. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015.
  17. "Behind the Bloodshed". USA Today. สืบค้นเมื่อ December 3, 2015.
  18. "The terrible numbers that grow with each mass shooting". The Washington Post.
  19. "About the Mass Shooting Tracker". Mass Shooting Tracker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  20. "Orlando club shootings: Full fury of gun battle emerges". - BBC News. 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016. Cites Mass Shooting Tracker
  21. "H.R. 2076 (112th) : Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012". govtrack.us. United States Congress. สืบค้นเมื่อ 20 February 2018. (I) the term mass killings means 3 or more killings in a single incident;
  22. Greenberg, Jon; Valverde, Miriam; Jacobson, Louis. "What we know about mass shootings". PolitiFact (ภาษาอังกฤษ). In January 2013, a mandate for federal investigation of mass shootings authorized by President Barack Obama lowered that baseline to three or more victims killed
  23. 23.0 23.1 "Report: U.S. averages nearly one mass shooting per day so far in 2017". CBS News. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018.
  24. "About the Mass Shooting Tracker". Mass Shooting Tracker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  25. Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "A Guide to Mass Shootings in America". Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
  26. Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "US mass shootings, 1982–2022: Data from Mother Jones' investigation". Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
  27. "General Methodology – Gun Violence Archive". www.gunviolencearchive.org.
  28. "What is a Mass Shooting? What Can Be Done? | Department of Criminology". crim.sas.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  29. Follman, Mark (July 27, 2012). "'I Was a Survivor': Recalling a Mass Shooting 4 Years Ago Today". Mother Jones. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  30. Teves, Tom (July 31, 2015). "'Something is very wrong in our society': Father of mass-shooting victim calls for an end to the carnage". Salon. สืบค้นเมื่อ August 12, 2015.
  31. Flynn, Sean (July 30, 2012). "Is he coming? Is he? Oh God, I think he is". GQ. สืบค้นเมื่อ August 12, 2015.
  32. Karlsson, Ingemar. "Memories of traumatic events among swedish police officers". Stockholm University. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  33. Simmons, Laura (June 29, 2014). "Post Traumatic Stress Disorder in Mass Shooting Survivors". Liberty Voice. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  34. "Impact of Mass Shootings on Individual Adjustment" (PDF). ptsd.va.gov. National Center for PTSD. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  35. 35.0 35.1 Frum, David (June 23, 2015). "Mass Shootings Are Preventable". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  36. Kluger, Jeffrey (May 25, 2014). "Why Mass Killers Are Always Male". Time. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015.
  37. Ford, Dana (July 24, 2015). "Who commits mass shootings?". CNN.
  38. "Why are white men carrying out more mass shootings?". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
  39. Kellermann, A. L.; Mercy, J. A. (July 1992). "Men, women, and murder: gender-specific differences in rates of fatal violence and victimization". The Journal of Trauma. 33 (1): 1–5. ISSN 0022-5282. PMID 1635092.
  40. "U.S.: mass shootings by race 1982–2019". Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
  41. Ford, Dana (July 24, 2015). "Who commits mass shootings?". CNN.
  42. Buchanan, Larry; Leatherby, Lauren (June 22, 2022). "Who Stops a 'Bad Guy With a Gun'?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2022. Data source: Advanced Law Enforcement Rapid Response Training Center
  43. Cerfolio, Nina E.; Glick, Ira; Kamis, Danielle; Laurence, Michael (2022-09-01). "A Retrospective Observational Study of Psychosocial Determinants and Psychiatric Diagnoses of Mass Shooters in the United States". Psychodynamic Psychiatry. 50 (3): 513–528. doi:10.1521/pdps.2022.50.5.001. ISSN 2162-2590. PMID 35175100. S2CID 246903970.
  44. Lankford, Adam; Cowan, Rebecca G. (September 2020). "Has the role of mental health problems in mass shootings been significantly underestimated?". Journal of Threat Assessment and Management (ภาษาอังกฤษ). 7 (3–4): 135–156. doi:10.1037/tam0000151. ISSN 2169-4850. S2CID 234017401.
  45. Peters, Justin (2013-12-19). "Mass shootings in America: Northeastern criminologists James Alan Fox, Monica J. DeLateur in Homicide Studies refute common myths about mass murder". Slate.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-08.
  46. Buchanan, Larry (December 3, 2015). "How They Got Their Guns". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 12, 2016.
  47. De Freitas, Julian, and Mina Cikara. "Deep down my enemy is good: Thinking about the true self reduces intergroup bias." (2017)
  48. "High school students demand action on gun control following Parkland shooting – rabble.ca". rabble.ca. 16 February 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
  49. Van Brunt, Brian, and W. Scott Lewis. "Costuming, misogyny, and objectification as risk factors in targeted violence." Violence and gender 1.1 (2014) : 25–35.
  50. Rocque, Michael. "Exploring school rampage shootings: Research, theory, and policy." The Social Science Journal 49.3 (2012) : 304–313.
  51. Campbell, Holly (2 December 2015). "Inside the mind of a mass murderer". WANE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
  52. Wolf, Amy (11 December 2014). "Mental Illness is the wrong scapegoat after mass shootings". Vanderbilt University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  53. Angry young Men and Mass Killings เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Huffington Post. 16 June 2016.
  54. "Finally understand why. Dave Cullen's Edgar-winning Columbine book: the Columbine killers, shooting & myths". davecullen.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2016. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
  55. Cullen, Dave (31 August 2015). "Inside the Warped Mind of Vester Flanagan and Other Shooters". The New Republic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
  56. Bekiempis, Victoria (4 September 2015). "Meet Mass-Shooting Expert Mary Ellen O'Toole". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 September 2015.
  57. Fox, James Alan (16 January 2011). "The real causes of mass murder". Boston.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2015. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  58. "James Alan Fox: In San Bernardino, focus on the murderous partnership". USA Today. 3 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.
  59. Wanamaker, John (8 October 2017). "'This shooter is a little different': Hamline professor studies mass shootings". MPR News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
  60. "School Shootings and Possible Causes". 14 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2014. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018.
  61. "Op-Ed: We have studied every mass shooting since 1966. Here's what we've learned about the shooters". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
  62. "Mass shootings: Experts say violence is contagious, and 24/7 news cycle doesn't help". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 5 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
  63. Dorell, Oren (18 December 2012). "In Europe, fewer mass killings due to culture not guns". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  64. McIntyre, Niamh (16 April 2015). "This Theorist Believes That Capitalism Creates Mass Murderers by Causing People to 'Malfunction'". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
  65. Melissa Jeltsen (18 July 2014). "Mass Shooting Analysis Finds Strong Domestic Violence Connection". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  66. "Analysis of Mass Shootings". Everytownresearch.org. 20 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016. This analysis has later figures than reported in the article
  67. Birch, Jenna (27 July 2015). "Does Media Coverage After a Mass Shooting Do More Harm Than Good?". Yahoo! News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  68. Elinson, Zusha; Lazo, Alejandro (4 October 2015). "More Police Decide Against Naming Mass-Shooting Suspects". Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  69. McGinty, Emma (1 May 2013). "Effects of News Media Messages About Mass Shootings on Attitudes Toward Persons With Serious Mental Illness and Public Support for Gun Control Policies". American Journal of Psychiatry. 170 (5): 494–501. doi:10.1176/appi.ajp.2013.13010014. PMID 23511486.
  70. Towers, Sherry; Gomez-Lievano, Andres; Khan, Maryam; Mubayi, Anuj; Castillo-Chavez, Carlos (2 July 2015). Yukich, Joshua (บ.ก.). "Contagion in Mass Killings and School Shootings". PLOS One. 10 (7): e0117259. Bibcode:2015PLoSO..1017259T. doi:10.1371/journal.pone.0117259. PMC 4489652. PMID 26135941.
  71. Towers, Sherry (6 December 2017). "Newsmaker Sunday: Sherry Towers". Newsmaker Sunday (Interview). สัมภาษณ์โดย John Hook. Phoenix, Arizona, United States: Fox 10 Phoenix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2018.
  72. Johnston, Jennifer (4 August 2016). ""Media Contagion" Is Factor in Mass Shootings, Study Says" (Press release). American Psychological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2021. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  73. Colin Campbell (2 December 2015). "Hard-hitting Daily News cover blasts Republicans for offering only 'prayers' after latest shooting". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
  74. Fang, Marina (2 December 2015). "New York Daily News Skewers Politicians Refusing to Act on Gun Violence: 'God Isn't Fixing This'". Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
  75. Rosenberg, Eli. "Why this Onion article goes viral after every mass shooting". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2018.
  76. Graham-McLay, Charlotte (10 April 2019). "New Zealand Passes Law Banning Most Semiautomatic Weapons, Weeks After Massacre". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
  77. Hartmann, Margaret (2 October 2015). "How Australia and Britain Tackled Gun Violence". Daily Intelligencer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015.
  78. Herring, Keely; Jacobson, Louis. "Is Barack Obama correct that mass killings don't happen in other countries?". www.politifact.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  79. Tarabay, Jamie; Dewan, Angela (4 October 2017). "What the UK and Australia did differently after mass shootings". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018.
  80. "Plymouth shooting: Suspected gunman and five others die". BBC News. BBC. 13 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  81. Collins, Sam (28 July 2015). "One Change To Our Gun Laws That Could Have Prevented The Last Mass Shooting". Think Progress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  82. Weinberg, Ali (2 October 2015). "These 6 Stalled Bills Aimed at Mass Shootings Like Umpqua Flounder in Congress". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015.
  83. Volokh, Eugene (3 October 2015). "Do civilians with guns ever stop mass shootings?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  84. Dorell, Oren. "In Europe, fewer mass killings due to culture not guns". USA TODAY (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.
  85. Korte, Gregory (2 October 2015). "11 mass shootings, 11 speeches: How Obama has responded". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015.
  86. Tani, Maxwell (2 December 2015). "OBAMA: 'We have a pattern now of mass shootings ... that has no parallel'". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  87. Witt, Emily (19 February 2018). "How the Survivors of Parkland Began the Never Again Movement". The New Yorker (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้