กามาขยามนเทียร
กามาขยามนเทียร (อังกฤษ: Kamakhya Temple) หรือ กามรูปกามาขยามนเทียร (Kamrup-Kamakhya temple)[3] เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิศักติที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาเจ้าแม่กามาขยา[4] ที่นี่เป็นหนึ่งใน 51 ศักติปีฐะที่เก่าแก่ที่สุด[5] มนเทียรตั้งอยู่บนเขานิลจัล (Nilachal Hill) ทางตะวันตกของเมืองคุวาหาฏีในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ที่นี่เป็นมนเทียรหลักในหมู่มนเทียรย่อย ๆ ที่บูชาองค์มหาวิทยาทั้งสิบของลัทธิศักติ คือ พระแม่กาลี, พระแม่ตารา, พระแม่ตรีปุรสุนทรี, พระแม่ภูวเนศวรี, พระแม่ไภรวี, พระแม่ฉินนมัสตา, พระแม่ธูมาวตี, พระแม่พคลามุขี, พระแม่มาตังคี และพระแม่กมลาตมิกา[6] ในมนเทียรหลักนั้นบูชาเทวีสามองค์คือพระแม่ตรีปุรสุนทรี, พระแม่มาตังคี และพระแม่กมลา ในขณะที่อีกเจ็ดพระองค์ประดิษฐานในเจ็ดมนเทียรเฉพาะรายรอบในหมู่มนเทียรเดียวกัน[7]
กามาขยามนเทียร | |
---|---|
กามาขยามนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เทพ | พระแม่กามาขยา |
เทศกาล | อัมพูพจีเมลา |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เขานิลจัล, คุวาหาฏี |
รัฐ | รัฐอัสสัม |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 26°09′59″N 91°42′20″E / 26.166426°N 91.705509°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | ศิลปะนิลจัล |
ผู้สร้าง | จักรวรรดิมเลจฉา[1] สร้างใหม่โดยจักรวรรดิโกจในพระเจ้านระ นารายัณ และจักรวรรดิอาหม |
เสร็จสมบูรณ์ | 8th-17th century[2] |
ลักษณะจำเพาะ | |
วัด | 6 |
อนุสรณ์ | 8 |
เว็บไซต์ | |
www |
ในเดือนกรกฎาคม 2015 ศาลสูงอินเดียได้มีคำสั่งให้โอนการบริหารจัดการดูแลมนเทียรจากคณะกรรมการ Kamakhya Debutter Board ไปยังสมาคม Bordeuri Samaj[8]
โครงสร้างอาคารของมนเทียรนั้นถูกสร้างและปฏิสังขรณ์หลายต่อหลายครั้งในระหว่างศตวรรษที่ 8–17 ซึ่งทำให้เกิดงานศิลปกรรมที่ผสมผสารูปแบบพื้นถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รูปแบบนี้บางครั้งเรียกว่าเป็น ศิลปะนิลจัล (Nilachal type) อันหมายถึงมนเทียรที่มีโดมทรงกลมบนฐานอาคารทรงกางเขน (hemispherical dome on a cruciform base)[9] ภายในมนเทียรประกอบด้วยสี่โถงหลัก ๆ คือ ครรภคฤห์ และ มณฑป สามจุด ได้แก่ จลันตะ (calanta), ปัญจรัตนะ และ นาฏมนเทียร
อ้างอิง
แก้- ↑ "Along with the inscriptional and literary evidence, the archaeological remains of the Kamakhya temple, which stands on top of the Nilacala, testify that the Mlecchas gave a significant impetus to construct or reconstruct the Kamakhya temple." (Shin 2010:8)
- ↑ "it is certain that in the pit at the back of the main shrine of the temple of Kamakhya we can see the remains of at least three different periods of construction, ranging in dates from the eighth to the seventeenth century A.D." (Banerji 1925, p. 101)
- ↑ Suresh Kant Sharma, Usha Sharma,Discovery of North-East India, 2005
- ↑ "About Kamakhya Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-19. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
- ↑ (Urban 2008, p. 500)
- ↑ "About Kamakhya Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2014. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
- ↑ (Shin 2010, p. 4)
- ↑ Kashyap, Samudra Gupta, As SC directs the return of old order at Kamakhya, looking back, and ahead
- ↑ (Sarma 1988:124)