ตับเต่านา

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Hydrocharis morsus-ranae)
ตับเต่านา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Alismatales
วงศ์: Hydrocharitaceae
สกุล: Hydrocharis
สปีชีส์: H.  morsus-ranae
ชื่อทวินาม
Hydrocharis morsus-ranae
L., 1753[1]
ชื่อพ้อง[1]
  • Hydrocharis dubia
    (Blume) Backer, 1925
รูปวาดตับเต่านา

ตับเต่านา หรือ ผักตับเต่า, ตับเต่าน้ำ, บัวฮาวาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrocharis morsus-ranae; อังกฤษ: Frogbit, ในอเมริกาเหนือเรียก Common Frogbit หรือ European Frogbit) เป็นพืชลอยน้ำ อายุหลายฤดู จัดอยู่ในสกุล Hydrocharis วงศ์ Hydrocharitaceae ขึ้นตามแหล่งน้ำตื้น ๆ แหล่งน้ำนิ่งทั่วไป หรือในนา มีไหลทอดเลื้อย ถ้าน้ำตื้นจะมีรากยึดดินใต้น้ำ ใบโผล่เหนือน้ำหรือลอยที่ผิวน้ำ ตับเต่านามีการกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปและเอเชีย พบได้ที่ความสูง 0–1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล สำหรับประเทศไทยพบได้ทุกภาค

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ต้นเจริญเติบโตอยู่ในน้ำ มีรากและสามารถแตกไหลเป็นเส้นสีขาว เกิดเป็นกระจุกทางด้านล่างของกลุ่มใบ ปลายไหลเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ ใบโผล่เหนือน้ำหรือลอยที่ผิวน้ำ รูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้าง 2.5–7.5 เซนติเมตร ยาว 2.5–6 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจค่อนข้างกลม ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีจางกว่า และกลางใบจะพองออกคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงลำต้น ในฤดูแล้งเมื่อมีน้ำน้อย ก้านใบจะสั้นลง ใบจะแตกออกที่ข้อของลำต้น

ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มี 3 กลีบ ออกตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียเกิดแยกกันคนละดอก มีใบประดับหุ้มดอกตัวผู้และก้านดอกตัวผู้จะเรียวยาวกว่าดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้ 9–12 อัน รังไข่รูปยาวรี ยาว 5–6 มิลลิเมตร ติดผลคล้ายตะขบฝรั่ง แต่ก้านผลใหญ่กว่า เป็นรูปทรงกระบอกมี 6 สัน

ตับเต่านาขยายพันธุ์โดยวิธีการแตกไหล หรือใช้เมล็ด

ประโยชน์ แก้

  • ต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก
  • สามารถใช้แก้ลม แก้เสมหะ บำรุงธาตุไฟให้บริบูรณ์
  • ใช้เป็นไม้ประดับหรือปลูกในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อช่วยคลุมผิวน้ำ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Hydrocharis morsus-ranae L., Australian Plant Name Index (APNI) (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตับเต่านา   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ตับเต่านา ที่วิกิสปีชีส์