กองกำลังตำรวจฮ่องกง

(เปลี่ยนทางจาก Hong Kong Police Force)

กองกำลังตำรวจฮ่องกง (จีน: 香港警務處; อังกฤษ: Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: HKPF) เป็นหน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายปฐมภูมิ และราชการข้อบังคับที่ใหญ่ที่สุดภายใต้กองบัญชาการความมั่นคงของฮ่องกง ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลฮ่องกงของบริเตนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 มีคำเรียก 'หลวง' มอบให้เมื่อกองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความพยายามในการปราบปรามการจลาจลคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1967 ครั้นแล้ว กองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อังกฤษ: Royal Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: RHKP) ได้เปลี่ยนกลับเป็นชื่อเดิมหลังจากโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน[4]

กองกำลังตำรวจฮ่องกง
ชื่อทางการตำรวจฮ่องกง
อักษรย่อHKPF
คำขวัญรับใช้ฮ่องกงด้วยเกียรติ, หน้าที่ และความภักดี
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งค.ศ. 1844
เจ้าหน้าที่36,681 นาย (ค.ศ. 2018)[1]
งบประมาณรายปี20.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ค.ศ. 2019–20)[2]
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการฮ่องกง
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่กองบัญชาการตำรวจ
1 ถนนอาร์เซนอล หว่านไจ๋ ฮ่องกง

เจ้าหน้าที่ตำรวจ32,416 นาย (ค.ศ. 2018)[1]
ไม่ใช่เจ้าหน้าที่4,265 นาย (ค.ศ. 2018)[1]
ผู้บริหารหน่วยงาน
หน่วยงานปกครองกองบัญชาการความมั่นคง
หน่วย
  • การปฏิบัติการและการสนับสนุน
  • อาชญากรรมและความมั่นคง
  • บุคลากรและการฝึกอบรม
  • บริการจัดการ
  • การเงิน, การบริหาร และการวางแผน
เว็บไซต์
police.gov.hk
กองกำลังตำรวจฮ่องกง
อักษรจีนตัวเต็ม香港警務處
อักษรจีนตัวย่อ香港警务处
ตำรวจฮ่องกง
ภาษาจีน香港警察
กองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง
อักษรจีนตัวเต็ม皇家香港警務處
อักษรจีนตัวย่อ皇家香港警务处

ตามหลักการของหนึ่งประเทศ สองระบบ กองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความเป็นอิสระอย่างเป็นทางการจากเขตอำนาจของกระทรวงตำรวจสาธารณะของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งอาจไม่ก้าวก่ายการบังคับใช้กฎหมายของฮ่องกง เจ้าหน้าที่กองกำลังตำรวจฮ่องกงทุกคนมีงานทำในฐานะข้าราชการ และดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเป็นกลางทางการเมืองของพวกเขา

กองกำลังตำรวจฮ่องกงประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประมาณ 34,000 คน รวมถึงกองกำลังตำรวจกองหนุนฮ่องกง, ข้าราชการพลเรือน และตำรวจทางทะเล (3,000 นายและเรือ 143 ลำใน ค.ศ. 2009) นี่แสดงถึงอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อพลเมือง ที่สูงเป็นอันดับสองของโลก[5]

ประวัติ แก้

สถานีตำรวจกลางตามประวัติศาสตร์

กองกำลังตำรวจได้ให้บริการที่ฮ่องกงตั้งแต่ไม่นานหลังจากที่เกาะถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมใน ค.ศ. 1841 ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1841 ซึ่งเป็น 12 สัปดาห์หลังจากบริติชขึ้นฝั่งในฮ่องกง กัปตัน ชาลส์ เอลเลียต ได้สถาปนาผู้มีอำนาจการตำรวจในอาณานิคมใหม่ โดยมอบอำนาจกัปตัน วิลเลียม เคน เพื่อบังคับใช้กฎหมายชิง ในความเคารพของคนในท้องถิ่น และ "กฎหมายตำรวจบริติช" สำหรับ "ผู้ที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง"[6] เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1842 การจัดระเบียบกองกำลังตำรวจ (ยังอยู่ภายใต้การดูแลของเคนซึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาเช่นกัน) ก็นำอาชญากรมาขึ้นศาลก่อนการพิจารณาคดีเป็นประจำ[6]: 17  บทบาทของเคนในฐานะหัวหน้าตำรวจสิ้นสุดลงเมื่อผู้อำนวยการคนแรกได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 คือกัปตัน ฮาลี แห่งทหาราบพื้นเมืองมัทราสที่ 41[6]: 40–41  การจัดตั้งกองกำลังอย่างเป็นทางการได้ถูกประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844[7]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยึดครองฮ่องกง และกองกำลังตำรวจฮ่องกงถูกยุบชั่วคราว

คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการตั้งต้นของฮ่องกง 40 ปีสู่ความมีชื่อเสียงระดับโลก ในช่วงเวลานั้นตำรวจฮ่องกงได้จัดการกับปัญหาจำนวนมากที่ท้าทายเสถียรภาพของฮ่องกง ระหว่าง ค.ศ. 1949 ถึง 1989 ฮ่องกงต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจำนวนมากจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค.ศ. 1958–1962 ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้คนบนเรือเวียดนามจำนวนมากเดินทางมาถึงฮ่องกง นับเป็นความท้าทายประการแรกสำหรับตำรวจน้ำ, ประการที่สองสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมค่ายพักแรมหลายสิบแห่งในอาณาบริเวณแห่งนี้ และสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องส่งพวกเขากลับประเทศ กองกำลังดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คำเรียก ‘หลวง’ ใน ค.ศ. 1969 เพื่อจัดการกับการจลาจลในฮ่องกง ค.ศ. 1967 — โดยเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 皇家香港)[ต้องการอ้างอิง]

ใน ค.ศ. 1974 คณะกรรมการอิสระต่อต้านการทุจริต (ICAC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้อำนาจรัฐบาลในวงกว้างในการสืบสวนสอบสวนการทุจริต[8] ในช่วงเปลี่ยนคริสต์ทศวรรษ 1980 กองกำลังตำรวจฮ่องกงได้เริ่มทำการตลาดด้วยตัวมันเองในฐานะ "ดีที่สุดของเอเชีย"[9]

การสรรหาบุคคลชาวยุโรปเข้ากองกำลังสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1994[10] และใน ค.ศ. 1995 ตำรวจหลวงฮ่องกงรับผิดชอบในการลาดตระเวนชายแดนร่วมกับจีน ซึ่งก่อน ค.ศ. 1995 กองทัพบกสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการตระเวนชายแดน กองกำลังตำรวจนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการส่งมอบอำนาจอธิปไตยใน ค.ศ. 1997 และยังคงประกอบพิธีชักธงในทุก ๆ วันครบรอบปี[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการมอบอำนาจอธิปไตย กองกำลังตำรวจจึงตัดคำว่า "หลวง" ออกจากชื่อ

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 กองกำลังตำรวจมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2014 และการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2019[11][12] หลังจากที่เติ้ง ปิ่งเฉียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 กองกำลังตำรวจได้เปลี่ยนคำขวัญจาก "เราให้บริการด้วยความภาคภูมิใจและห่วงใย" ซึ่งใช้มากว่า 20 ปีเป็น "รับใช้ฮ่องกงด้วยเกียรติ, หน้าที่ และความภักดี"[13] หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ได้มุ่งเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะได้รับความนิยมจากรัฐบาลกลางของจีน[14]

ข้อพิพาท แก้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 กองกำลังตำรวจฮ่องกงต้องเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และคริสต์ทศวรรษ 1960 กองกำลังดังกล่าวได้ต่อสู้กับปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสินบนจากสารเสพติดที่รวบรวมไว้ และการดำเนินการเกี่ยวกับการพนันที่ผิดกฎหมาย[15] การทุจริตของตำรวจกลายเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อผู้บัญชาการสั่งการสอบสวนเพื่อทำลายวัฒนธรรมการทุจริต ทำให้เจ้าหน้าที่สี่สิบคนต้องหนีจากฮ่องกงด้วยเงินสดมากกว่า 80 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อคน)[15][16]

อาวุธยุทโธปกรณ์ แก้

ปืนพก แก้

ปืนลูกซอง แก้

ปืนกลมือ แก้

ปืนเล็กยาว แก้

ยุทโธปกรณ์อื่น ๆ แก้

  • Tear Gas
  • Tesla Gun

กำลังพลที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Police in Figures 2018". Hong Kong Police Force. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  2. "Estimates for the year ending 31 March 2019: Head 122" (PDF). Financial Services and the Treasury Bureau. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  3. "China's State Council Appoints New Police Chief in Hong Kong". New York Times. 18 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.[ลิงก์เสีย]
  4. Carroll, John M. (2007). A Concise History of Hong Kong. Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-3422-7.
  5. "Organisation" (PDF). Hong Kong Police Force.
  6. 6.0 6.1 6.2 Norton-Kyshe, James William (1898). History of the Laws and Courts of Hong Kong. Vol. I. London: T Fisher Unwin.
  7. "History". Hong Kong Police Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-02. สืบค้นเมื่อ 2020-01-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. "About ICAC: Brief History”, Hong Kong Independent Commission Against Corruption (http://www.icac.org.hk/en/about/history/index.html เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน : retrieved 15 March 2017).
  9. Sinclair, Kevin. (1983). Asia's Finest: An Illustrated Account of the Royal Hong Kong police. Unicorn: London. ISBN 978-9622320024
  10. Leung, Christy (2017-11-05). "Is there a future for foreign police officers in Hong Kong?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22. The force stopped hiring from overseas in 1994[...]
  11. "Police fired at least 3 teargas canisters". Apple Daily (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-02. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  12. "Police fire tear gas and baton charge thousands of Occupy Central protesters". South China Morning Post. 29 September 2014. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  13. "New top cop spells out plan of action". The Standard. 20 November 2019.
  14. "Borrowed time". The Economist. 23 November 2019. p. 24.
  15. 15.0 15.1 McCoy, Alfred (1980). Drug Traffic: Narcotics and Organised Crime in Australia เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sydney Australia: Harper & Row Pty Ltd. p. 33. ISBN 0063120313
  16. "Police chief who tore the mask of corruption from force", South China Morning Post (http://www.scmp.com/article/517892/police-chief-who-tore-mask-corruption-force เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน : 27 September 2015).
  •   บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Hong Kong – The Facts, published by the Information Services Department, Hong Kong Special Administrative Region Government.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้