ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์

(เปลี่ยนทางจาก History of Ireland)

ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ (อังกฤษ: History of Ireland) การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ครั้งแรกในไอร์แลนด์เริ่มขึ้นราว 8000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อหมู่ชนของระบบสังคมล่าสัตว์-เก็บพืชผักเริ่มเดินทางเข้ามาจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอาจจะโดยทางสะพานแผ่นดิน[1]ที่เคยเชื่อมระหว่างสองทวีป หลักฐานทางโบราณคดีของประชากรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็น แต่ผู้สืบเชื้อสายจากคนกลุ่มนี้และต่อมาของกลุ่มคนที่โยกย้ายเข้ามาจากคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้ทิ้งร่องรอยของแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ของยุคหินใหม่เอาไว้ เช่นอนุสรณ์นิวเกรนจ์[2][3] การมาถึงของนักบุญแพทริกและผู้เผยแพร่ศาสนาในต้นจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสต์ศาสนาก็เข้ามาแทนที่ลัทธิพหุเทวนิยมของเคลติคที่มาสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงในปี ค.ศ. 600

ไอร์แลนด์ราว ค.ศ. 1014 ที่ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ที่เป็นอริต่อกัน

ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 800 และอีกกว่าหนึ่งร้อยปีหลังจากนั้น ไวกิงก็เข้ามารุกรานไอร์แลนด์ และสร้างความวุ่นวายและความเสียหายให้แก่วัฒนธรรมของสำนักสงฆ์และกลุ่มตระกูลท้องถิ่นต่างๆ บนเกาะไอร์แลนด์ แต่กระนั้นสถาบันทั้งสองก็พิสูจน์ตนเองว่ามีความมั่นคงพอที่จะเอาตัวรอดและสามารถผสานกลืนไปกับวัฒนธรรมผู้ที่เข้ามารุกรานได้ การเข้ามาของอัศวินรับจ้างแคมโบร-นอร์มันภายใต้ริชาร์ด เดอ แคลร์ เอิร์ลแห่งเพมโบรคที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า "Strongbow" ในปี ค.ศ. 1169 เป็นจุดเริ่มต้นของการตกอยู่ใต้อำนาจของนอร์มันและต่อมาของอังกฤษ ที่ดำเนินต่อมาอีกกว่า 700 ปี ราชบัลลังก์อังกฤษมิได้แสดงอำนาจการควบคุมเกาะไอร์แลนด์อย่างเต็มที่มาจนกระทั่งหลังจากการปฏิรูปอังกฤษ เมื่อความสวามิภักดิ์ของรัฐบริวารในไอร์แลนด์เริ่มเป็นปัญหาขึ้น ซึ่งกลายเป็นชนวนในการดำเนินการรณรงค์ทางการทหารของราชอาณาจักรอังกฤษในไอร์แลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1534 ถึงปี ค.ศ. 1691 ในช่วงเดียวกันนี้ก็เป็นช่วงที่อังกฤษดำเนินนโยบายการสร้างนิคมในไอร์แลนด์ ที่นำไปสู่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นชาวอังกฤษและชาวสกอตแลนด์ที่ถือนิกายโปรเตสแตนต์เป็นจำนวนพัน เมื่อไอร์แลนด์ของกอลได้รับความพ่ายแพ้ทั้งทางด้านการทหารและทางด้านการเมืองเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้ว ก็เป็นที่เห็นกันได้ชัดเจนว่าปัญหาของความแตกต่างของการนับถือศาสนาต่างนิกายเป็นชนวนอันสำคัญที่แบ่งแยกไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมาความขัดแย้งที่เกิดจากนิกายนิยม[4] ก็กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์

การล้มล้างฝ่ายเสียงข้างมากที่เป็นโรมันคาทอลิกในรัฐสภาไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1613 เป็นผลมาจากจัดระบบเขตการปกครองใหม่ โดยการการก่อตั้งเขตการปกครองใหม่ๆ ขึ้น โดยแต่ละเขตใหม่ก็จะมีโปรเตสแตนต์เป็นเสียงข้างมาก เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกที่คือ 85% ของประชากรไอร์แลนด์ขณะนั้นก็ถูกห้ามไม่ให้มีบทบาทในรัฐสภาไอร์แลนด์ อำนาจทางการเมืองทั้งหมดจึงตกอยู่ในมือของผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษ และโดยเฉพาะสถาบันโปรเตสแตนต์ทางการของไอร์แลนด์ (นิกายเชิร์ชออฟไอร์แลนด์) ผู้เป็นชนส่วนน้อย ขณะที่ชนส่วนมากที่เป็นโรมันคาทอลิกประสบกับความทุกข์ยากทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ในปี ค.ศ. 1801สภาสามัญไอร์แลนด์ก็ถูกยกเลิก และไอร์แลนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ และผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกก็ยังคงถูกห้ามมิให้มีสิทธิในกันได้รับเลือกตั้งในสภาใหม่จนกระทั่งเมื่อมีการดำเนินการปลดแอกคาทอลิกขึ้นในปี ค.ศ. 1829

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1880 พรรคไอริชพาร์เลียเมนทรีก็พยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการปกครองตนเอง โดยการดำเนินกระบวนการทางธรรมนูญทางรัฐสภา ที่ในที่สุดก็ได้รับพระราชบัญญัติเพื่อการปกครองตนเอง ค.ศ. 1914 แม้จะได้รับการระงับไปชั่วคราวเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้น

ในปี ค.ศ. 1922 หลังจากสงครามอิสรภาพไอร์แลนด์ และการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์แล้วส่วนที่ใหญ่กว่าของเกาะไอร์แลนด์ก็แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร กลายมาเป็นเสรีรัฐไอร์แลนด์ — และหลังจากปี ค.ศ. 1948 ก็กลายมาเป็นสาธารณรัฐ, ไอร์แลนด์ เคานตี้หกเคานตี้ทางตอนเหนือสุดที่เรียกกันว่าไอร์แลนด์เหนือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร จากนั้นก็ตามด้วยสงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์เหนือหลังจากนั้นก็จะเป็นแต่ความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างของผู้นับถือศาสนาเดียวกันแต่ต่างนิกาย -- กลุ่มชาตินิยมไอร์แลนด์ (ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรมันคาทอลิก) กับ กลุ่มสหภาพไอร์แลนด์ (ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโปรเตสแตนต์) ความขัดแย้งปะทุขึ้นเป็น "ความยุ่งยากไอร์แลนด์" (The Troubles) ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และมายุติลงเมื่อมีการลงนามในข้อตกลงเบลฟาสต์สามสิบปีต่อมา

อ้างอิง

แก้
  1. Moody, T.W. & Martin, F.X., eds. (1995). The Course of Irish History. Roberts Rinehart. pp. 31–32. ISBN 1-56833-175-4. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. History news netwok 2004-09-09. Retrieved 2007-04-01.
  3. Myths of British ancestry เก็บถาวร 2006-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Stephen Oppenheimer. October 2006, Special report. Retrieved 2007-04-01.
  4. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
  • Irish History, Séamus Mac Annaidh, Bath: Paragon, 1999, ISBN 0-7525-6139-1
  • Irish Kings and High Kings, Francis John Byrne, Dublin, 1973, ISBN 0-7134-1304-2
  • A New History of Ireland: I - PreHistoric and Early Ireland, ed. Daibhi O Croinin. 2005, ISBN 0-19-821737-4
  • A New History of Ireland: II- Medieval Ireland 1169-1534, ed. Art Cosgrove. 1987.
  • Braudel, Fernand, The Perspective of the World, vol III of Civilization and Capitalism (1979, in English 1985), ISBN 0-06-015317-2
  • Plumb, J.H., England in the 18th Century, 1973: "The Irish Empire"

บรรณานุกรม

แก้
  • S. J. Connolly (editor) The Oxford Companion to Irish History (Oxford University Press, 2000)
  • Tim Pat Coogan De Valera (Hutchinson, 1993)
  • Norman Davies The Isles: A History (Macmillan, 1999)
  • Patrick J. Duffy, The Nature of the Medieval Frontier in Ireland, in Studia Hibernica 23 & 23, 1982-83, pp.21-38; Gaelic Ireland c.1250-c.1650:Land, Lordship & Settlement, 2001
  • Nancy Edwards, The archaeology of early medieval Ireland (London, Batsford 1990).
  • R. F. Foster Modern Ireland, 1600-1972
  • B.J. Graham, Anglo-Norman settlement in County Meath, RIA Proc. 1975; Medieval Irish Settlement, Historical Geography Research Series, No. 3, Norwich, 1980
  • J. J. Lee The Modernisation of Irish Society 1848-1918 (Gill and Macmillan)
  • J.F. Lydon, The problem of the frontier in medieval Ireland, in Topic 13, 1967; The Lordship of Ireland in the Middle Ages, 1972;
  • F. S. L. Lyons Ireland Since the Famine
  • Dorothy McCardle The Irish Republic
  • T. W. Moody and F. X. Martin "The Course of Irish History" Fourth Edition (Lanham, Maryland: Roberts Rinehart Publishers, 2001).
  • James H. Murphy Abject Loyalty: Nationalism and Monarchy in Ireland During the Reign of Queen Victoria (Cork University Press, 2001)
  • http://www.ucc.ie/celt/published/E900003-001/ - the 1921 Treaty debates online.
  • John A. Murphy Ireland in the Twentieth Century (Gill and Macmillan)
  • Kenneth Nicholls, Gaelic and gaelicised Ireland, 1972
  • Frank Pakenham, (Lord Longford) Peace by Ordeal
  • Alan J. Ward The Irish Constitutional Tradition: Responsible Government & Modern Ireland 1782-1992 (Irish Academic Press, 1994)
  • Robert Kee The Green Flag Volumes 1-3 (The Most Distressful Country, The Bold Fenian Men, Ourselves Alone)
  • Carmel McCaffrey and Leo Eaton In Search of Ancient Ireland: the origins of the Irish from Neolithic Times to the Coming of the English (Ivan R Dee, 2002)
  • Carmel McCaffrey In Search of Ireland's Heroes: the Story of the Irish from the English Invasion to the Present Day (Ivan R Dee, 2006)
  • Hugh F. Kearney Ireland:Contested Ideas of Nationalism and History (NYU Press, 2007)
  • Nicholas Canny "The Elizabethan Conquest of Ireland"(London, 1976) ISBN 0-85527-034-9.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้