เดอะทรับเบิลส์

(เปลี่ยนทางจาก The Troubles)

เดอะทรับเบิลส์ (อังกฤษ: The Troubles) เป็นความขัดแย้งทางชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์[13][14][15][16] ในไอร์แลนด์เหนือระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990[17] ความขัดแย้งนี้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติว่า ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ[18][19][20][21] บางครั้งเดอะทรับเบิลส์ถูกอธิบายว่าเป็นสงครามไร้รูปแบบ[22][23][24] หรือความขัดแย้งระดับต่ำ[25][26][27] เกิดขึ้นช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และทั่วไปถือว่าจบลงด้วยความตกลงกูดฟรายเดย์ในปี ค.ศ. 1998[2][3][28][29][30] ถึงแม้ความขัดแย้งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไอร์แลนด์เหนือ แต่ความรุนแรงแพร่ขยายไปยังประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ และยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นบางคราว

เดอะทรับเบิลส์
a map showing the outline of Ireland in the colour green with the capitals of the North and South marked on it
แผนที่รัฐศาสตร์ของไอร์แลนด์
วันที่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 – ค.ศ. 1998[1][2][3][4]
สถานที่
ไอร์แลนด์เหนือ
ความรุนแรงกระจายไปยังไอร์แลนด์ อังกฤษ และยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นครั้งคราว
ผล
คู่สงคราม

กองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐ:

กำลังกึ่งทหารฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ:

กำลังกึ่งทหารฝ่ายภักดีอัลสเตอร์:

ความสูญเสีย

กองทัพสหราชอาณาจักร: 705
∟(รวม UDR)
RUC: 301
NIPS: 24
TA: 7
ตำรวจสหราชอาณาจักรอื่น ๆ: 6
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร: 4
ราชนาวี: 2
รวม: 1,049[8]


กองทัพบกไอร์แลนด์: 1
Gardaí: 9
IPS: 1
รวม: 11[8]
PIRA: 292
INLA: 38
OIRA: 27
RIRA: 2
IPLO: 9
รวม: 368[8]
UDA: 91
UVF: 62
RHC: 4
UR: 2
LVF: 3
UPV: 1[9]
รวม: 162[8]
พลเรือนถูกสังหาร: 1,840[10]
(1,935 รวมอดีตพลรบ)[8]
เสียชีวิตรวม: 3,532[10]
บาดเจ็บรวม: 47,500+[11]
ความสูญเสียรวม: ~50,000[12]

เดอะทรับเบิลส์เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมที่ถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์[31] ทั้งยังมีมิติด้านกลุ่มชาติพันธุ์และนิกายนิยม[32] อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้คำ โปรเตสแตนต์ และ คาทอลิก เพื่อกล่าวถึงสองฝ่าย แต่ความขัดแย้งนี้มิใช่ความขัดแย้งทางศาสนา[13][33] เดอะทรับเบิลส์มีมูลเหตุจากสถานะทางรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์เหนือ ฝ่ายนิยมสหภาพ (Unionists) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอัลสเตอร์ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือคงอยู่กับสหราชอาณาจักร ขณะที่ฝ่ายชาตินิยมไอร์แลนด์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไอริชที่นับถือนิกายคาทอลิกต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือแยกจากสหราชอาณาจักรไปรวมกับไอร์แลนด์

ความขัดแย้งเริ่มขึ้นระหว่างการรณรงค์ของสมาคมสิทธิพลเมืองไอร์แลนด์เหนือเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อชาวคาทอลิก/ชาตินิยมที่เป็นชนกลุ่มน้อย จากรัฐบาลโปรเตสแตนต์/นิยมสหภาพและกองกำลังตำรวจอัลสเตอร์[34][35] ผู้ประท้วงถูกเจ้าหน้าที่ปราบปรามอย่างรุนแรง และถูกฝ่ายภักดีอัลสเตอร์ (Ulster loyalists หรือ loyalists) ขบวนการทางการเมืองที่มีอุดมการณ์คล้ายฝ่ายนิยมสหภาพทำร้าย ความตึงเครียดถูกยกระดับจนนำไปสู่การจลาจลรุนแรงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 และสหราชอาณาจักรส่งทหารเข้ามาประจำการในไอร์แลนด์เหนือในปฏิบัติการแบนเนอร์ อันเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยาวนานที่สุดของกองทัพบกสหราชอาณาจักร[36] มีการตั้งแนวสันติภาพเพื่อแยกชุมชนสองฝ่ายในบางพื้นที่ ในช่วงแรกชาวคาทอลิกบางส่วนยินดีที่ทหารสหราชอาณาจักรเข้ามาดูแล ด้วยมองว่ามีความเป็นกลางกว่ากำลังตำรวจในพื้นที่ แต่หลังเกิดเหตุวันอาทิตย์ทมิฬในปี ค.ศ. 1972 มุมมองต่อทหารก็เปลี่ยนเป็นศัตรูและเอนเอียง[37]

คู่ขัดแย้งหลักในเดอะทรับเบิลส์ประกอบด้วยกำลังกึ่งทหารที่นิยมสาธารณรัฐ ได้แก่ กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์เฉพาะกาลและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติไอร์แลนด์, กำลังกึ่งทหารที่เป็นฝ่ายภักดี ได้แก่ กองกำลังอาสาอัลสเตอร์และสมาคมป้องกันอัลสเตอร์ และกองกำลังรักษาความมั่นคงของสหราชอาณาจักร รวมถึงนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ขณะที่กำลังรักษาความมั่นคงของไอร์แลนด์มีบทบาทเล็กน้อยในความขัดแย้งนี้ ฝ่ายสาธารณรัฐใช้ยุทธวิธีกองโจรในการโจมตีกองกำลังสหราชอาณาจักร ตลอดจนลอบวางระเบิดโครงสร้างพื้นฐาน พาณิชย์และการปกครอง ขณะที่ฝ่ายภักดีมุ่งเป้าฝ่ายสาธารณรัฐ/ชาตินิยม และโจมตีชุมชนคาทอลิกเพื่อเป็นการแก้แค้น ระหว่างที่ความขัดแย้งดำเนินอยู่มีการตอบโต้ไปมาอย่างรุนแรงระหว่างทั้งสองฝ่ายหรือแม้แต่ในฝ่ายเดียวกัน ส่วนกองกำลังรักษาความมั่นคงของสหราชอาณาจักรทำหน้าที่ดูแลความสงบ ปราบปรามฝ่ายสาธารณรัฐเป็นหลัก และฮั้วกับฝ่ายภักดีอย่างกว้างขวาง เดอะทรับเบิลส์เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการจลาจล การประท้วง และการดื้อแพ่งหลายหน นำไปสู่การแยกชุมชนของสองฝ่ายและจัดตั้งเขตหวงห้ามชั่วคราวในหลายพื้นที่

มีผู้เสียชีวิตในเดอะทรับเบิลส์มากกว่า 3,500 คน คิดเป็นพลเรือน 52% กองกำลังสหราชอาณาจักร 32% และกำลังกึ่งทหาร 16%[8] ฝ่ายสาธารณรัฐมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิต 60% ตามด้วยฝ่ายภักดี 30% และกองกำลังสหราชอาณาจักร 10%[38] ยังคงมีความรุนแรงเป็นระยะหลังมีการลงนามในความตกลงกูดฟรายเดย์ในปี ค.ศ. 1998 เช่น การโจมตีแบบการลงโทษ[39] และการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ของฝ่ายสาธารณรัฐบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับความตกลงดังกล่าว[3][29][40]

อ้างอิง แก้

  1. Melaugh, Martin (3 February 2006). "Frequently Asked Questions – The Northern Ireland Conflict". Conflict Archive on the Internet. Ulster University. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  2. 2.0 2.1 Aughey, Arthur (2005). The Politics of Northern Ireland: Beyond the Belfast Agreement. London New York: Routledge. p. 7. ISBN 978-0-415-32788-6. OCLC 55962335.
  3. 3.0 3.1 3.2 Holland, Jack (August 1999). Hope Against History: The Course of Conflict in Northern Ireland. Henry Holt and Company. p. 221. ISBN 978-0-8050-6087-4. The troubles were over, but the killing continued. Some of the heirs to Ireland's violent traditions refused to give up their inheritance.
  4. Gillespie, Gordon (2008). Historical Dictionary of the Northern Ireland Conflict. Scarecrow Press. p. 250. ISBN 978-0-8108-5583-0.
  5. Taylor, Peter (1997). "Chapter 21: Stalemate". Behind the Mask: The IRA and Sinn Féin. New York: TV Books. pp. 246–61. ISBN 978-1-57500-061-9. OCLC 38012191.
  6. Cox, Michael; Guelke, Adrian; Stephen, Fiona (2006). A Farewell to Arms? Beyond the Good Friday Agreement. Manchester University Press. p. 213. ISBN 978-0-7190-7115-7.
  7. Ministry of Defence Annual Report and Accounts 2006–2007 (PDF) (Report). Ministry of Defence. 23 July 2007. HC 697. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Sutton, Malcolm. "Sutton Index of Deaths". Conflict Archive on the Internet. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  9. Melaugh, Martin. "CAIN: Abstracts of Organisations – 'U'". Conflict Archive on the Internet. Ulster University.
  10. 10.0 10.1 Sutton, Malcolm. "Sutton Index of Deaths – Status Summary". Conflict Archive on the Internet.
  11. Melaugh, Mertin; Lynn, Brendan; McKenna, F. "Northern Ireland Society – Security and Defence". Conflict Archive on the Internet. Ulster University.
  12. "History – The Troubles – Violence". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 May 2013.
  13. 13.0 13.1 Mitchell, Claire (2013). Religion, Identity and Politics in Northern Ireland. Ashgate Publishing. p. 5. The most popular school of thought on religion is encapsulated in McGarry and O'Leary's Explaining Northern Ireland (1995), and it is echoed by Coulter (1999) and Clayton (1998). The central argument is that religion is an ethnic marker, but that it is not generally politically relevant in and of itself. Instead, ethnonationalism lies at the root of the conflict. Hayes and McAllister (1999a) point out that this represents something of an academic consensus.
  14. John McGarry & Brendan O'Leary (15 June 1995). Explaining Northern Ireland. Wiley-Blackwell. p. 18. ISBN 978-0-631-18349-5.
  15. Dermot Keogh, บ.ก. (28 January 1994). Northern Ireland and the Politics of Reconciliation. Cambridge University Press. pp. 55–59. ISBN 978-0-521-45933-4.
  16. John Coakley. "Ethnic Conflict and the Two-State Solution: The Irish Experience of Partition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 February 2012. สืบค้นเมื่อ 15 February 2009. ...these attitudes are not rooted particularly in religious belief, but rather in underlying ethnonational identity patterns.
  17. "What You Need to Know About The Troubles". Imperial War Museums (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
  18. Melaugh, Martin; Lynn, Brendan. "Glossary of Terms on Northern Ireland Conflict". Conflict Archive on the Internet. Ulster University. The term 'the Troubles' is a euphemism used by people in Ireland for the present conflict. The term has been used before to describe other periods of Irish history. On the CAIN web site the terms 'Northern Ireland conflict' and 'the Troubles', are used interchangeably.
  19. McEvoy, Joanne (2008). The politics of Northern Ireland. Edinburgh: Edinburgh University Press. p. 1. ISBN 978-0-7486-2501-7. OCLC 232570935. The Northern Ireland conflict, known locally as 'the Troubles', endured for three decades and claimed the lives of more than 3,500 people.
  20. McKittrick, David; McVea, David (2001). Making Sense of the Troubles: A History of the Northern Ireland Conflict (Rev ed.). Penguin Books. ISBN 978-0-14-100305-4.
  21. Edwards, Aaron; McGrattan, Cillian (2012). The Northern Ireland Conflict: A Beginner's Guide. Oneworld Publications. ISBN 978-1-78074-171-0.
  22. Lesley-Dixon, Kenneth (2018). Northern Ireland: The Troubles: From The Provos to The Det. Pen and Sword Books. p. 13.
  23. Schaeffer, Robert (1999). Severed States: Dilemmas of Democracy in a Divided World. Rowman & Littlefield. p. 152.
  24. Rainey, Mark (12 November 2016). "Special Branch officer's insider view of Northern Ireland's 'secret war'". The News Letter. Johnston Publishing (NI).
  25. Taylor, Peter (26 September 2014). "Who Won The War? Revisiting NI on 20th anniversary of ceasefires". BBC News. สืบค้นเมื่อ 26 September 2014.
  26. "Troubles 'not war' motion passed". BBC. 18 February 2008. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  27. Hennessey, Thomas (2001). The Northern Ireland peace process: ending the troubles?. Palgrave Macmillan. pp. 48. ISBN 978-0-312-23949-7.
  28. Gillespie, Gordon (November 2007). Historical Dictionary of the Northern Ireland Conflict. Scarecrow Press. p. 250. ISBN 978-0-8108-5583-0.
  29. 29.0 29.1 Elliott, Marianne (2007). The Long Road to Peace in Northern Ireland: Peace Lectures from the Institute of Irish Studies at Liverpool University (2 ed.). Liverpool University Press. pp. 2, 188. ISBN 978-1-84631-065-2.
  30. Goodspeed, Michael (2002). When Reason Fails: Portraits of Armies at War : America, Britain, Israel, and the Future. Greenwood Publishing Group. pp. 44, 61. ISBN 0-275-97378-6.
  31. English, Richard (1 January 2005). Armed Struggle: The History of the IRA (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517753-4.
  32. Storey, Michael L. (2004). Representing the Troubles in Irish Short Fiction. The Catholic University of America Press. p. 149. ISBN 978-0-8132-1366-8.
  33. Richard Jenkins (1997). Rethinking Ethnicity: Arguments and Explorations. SAGE Publications. p. 120. It should, I think, be apparent that the Northern Irish conflict is not a religious conflict... Although religion has a place—and indeed an important one—in the repertoire of conflict in Northern Ireland, the majority of participants see the situation as primarily concerned with matters of politics and nationalism, not religion. And there is no reason to disagree with them.
  34. Richard English. The State: Historical and Political Dimensions, Charles Townshend, 1998, Routledge, p. 96; ISBN 0-415-15477-4.
  35. Dominic Bryan. Orange Parades: The Politics of Ritual, Tradition and Control, Pluto Press (2000), p. 94; ISBN 0-7453-1413-9.
  36. "The Troubles: How 1969 violence led to Army's longest campaign". BBC News, 14 August 2019.
  37. Operation Banner, alphahistory.com. Retrieved 18 June 2016.
  38. "Sutton Index of Deaths: Summary of Organisation responsible". Conflict Archive on the Internet (CAIN). Ulster University. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
  39. Editor, Gerry Moriarty Northern (5 August 2019). "Northern Ireland: Eighty-one 'punishment attacks' in past year". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2019. {{cite news}}: |last1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  40. "Draft List of Deaths Related to the Conflict (2003–present)". สืบค้นเมื่อ 31 July 2008.