แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส

ชุดคอนเสิร์ตร่วมระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส
(เปลี่ยนทางจาก Grammy X RS : 2K Celebration Concert)

แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส (อังกฤษ: Grammy RS Concerts) เป็นคอนเสิร์ตชุดที่จัดขึ้นร่วมกันเป็นครั้งแรกของบริษัทประกอบธุรกิจเพลงขนาดใหญ่ของประเทศไทยทั้ง 2 บริษัท คือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงทุนร่วมกันในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส (อังกฤษ: Across The Universe) แต่ต่อมาทั้ง 2 ฝ่าย ได้ให้บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจดนตรีโดยตรง คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด เป็นผู้ร่วมทุนแทนในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค (อังกฤษ: Across The Universe Project) โดยมีแผนจัดคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 – 2568 และทุกคอนเสิร์ตจัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี รวมถึงเผยแพร่ย้อนหลังทางแอมะซอนไพรม์วิดีโอ

แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส
คอนเสิร์ตชุดไตรภาคโดยศิลปินจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส
สถานที่จัดอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
วันเริ่มต้นการแสดงครั้งที่ 1 : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ทีมโปรดิวเซอร์กิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค โดยจีเอ็มเอ็ม มิวสิค (ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) และอาร์เอส มิวสิค (ในเครืออาร์เอส)

ประวัติ

แก้

แนวคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส เกิดขึ้นจากผู้บริหารรุ่นใหม่ของทั้ง 2 บริษัท คือ ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของอาร์เอส ตอบรับเสียงเรียกร้องของผู้บริโภคที่มีมาอย่างยาวนานว่าต้องการให้ศิลปินจากทั้ง 2 ค่าย อยู่บนเวทีเดียวกัน โดยได้เริ่มต้นพูดคุยกันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี โดยที่ประธานกรรมการของทั้ง 2 บริษัท (ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ของอาร์เอส) ต่างรับรู้และให้พูดคุยกันเอง แต่เนื่องจากยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม ความร่วมมือดังกล่าวจึงยังไม่เกิดขึ้น[1] จนกระทั่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย คลี่คลายลง และอาร์เอสเริ่มกลับมาทำธุรกิจเพลงอีกครั้ง[2] ทั้ง 2 บริษัทจึงจัดการประชุมขึ้น จนกระทั่งบรรลุข้อตกลงความร่วมมือในที่สุด[3]

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 ยุทธนา บุญอ้อม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจการแสดง ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และผู้จัดคอนเสิร์ตชื่อดังของประเทศไทย ได้โพสต์ลงในช่องทางสื่อสังคมส่วนตัวของเขา และระบุใจความสำคัญว่า จะมีการจัดคอนเสิร์ตร่วมกันระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ภายในปีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการร่วมมือกันระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส เป็นครั้งแรก จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความสนใจให้แก่วงการเพลงไทย[4] โดยทั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ได้จดทะเบียนจัดตั้งกิจการร่วมค้าขึ้นในชื่อ อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส ขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[5] เพื่อดำเนินการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะ[6] โดยทั้ง 2 บริษัทถือหุ้นในกิจการร่วมค้าด้วยสัดส่วนฝ่ายละ 50% เท่ากัน[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส ได้ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวชุดคอนเสิร์ตชื่อว่า แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส อย่างเป็นทางการ ที่โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ โดยคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นโครงการไตรภาคของทั้ง 2 บริษัท ที่จะจัดในรูปแบบคอนเสิร์ตชุด และเน้นการแสดงของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากค่ายเพลงใหญ่ทั้ง 2 ค่ายเพลง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 100 คน ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนวดนตรี[7] รวมถึงมีการสลับเพลงร้องข้ามค่าย จับคู่ศิลปินข้ามค่าย โดยมีแผนจัดคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี (พ.ศ. 2566 - 2568) และทุกคอนเสิร์ตจัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[8] รวมถึงมีการเผยแพร่บันทึกการแสดงสดย้อนหลังในช่องทางบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตที่แอมะซอนไพรม์วิดีโอ[9] โดยทั้ง 2 บริษัทจะแบ่งงานกันทำในสิ่งที่แต่ละบริษัทถนัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ดูแลการจำหน่ายบัตรเข้าชมคอนเสิร์ต (ร่วมกับไทยทิกเก็ตเมเจอร์)[2] และมอบหมายให้จีเอ็มเอ็ม โชว์ รับผิดชอบในการผลิตและสร้างสรรค์ทุกคอนเสิร์ตทั้งหมด[10] ส่วนอาร์เอสดูแลภาพรวม เช่น การควบคุมงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น[2] ซึ่งในปีแรกคือ พ.ศ. 2566 เน้นจัดคอนเสิร์ตรวบรวมศิลปินที่มีชื่อเสียงในช่วงยุค 90 และยุค 2000 เป็นหลัก จำนวน 3 คอนเสิร์ต ซึ่งแต่ละคอนเสิร์ตจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน[11] โดยใช้เงินลงทุนปีละ 220 ล้านบาท[12] คาดว่ากิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส จะมีรายได้ในปีแรกจำนวน 220 ล้านบาท[8] โดยเป็นกำไรปีละ 100 ล้านบาท[12] และคาดว่าภายใน 3 ปีจะมีรายได้จำนวน 660-750 ล้านบาท และมีกำไรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของรายได้รวม[13] หลังจากนั้นจะพิจารณาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจต่อไป[12]

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ได้หยุดการดำเนินงานทางตรงในกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โดยเปลี่ยนมาให้บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับดนตรีของทั้ง 2 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค และ อาร์เอส มิวสิค ทำสัญญาร่วมดำเนินงานกันแทนในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค เพื่อให้สอดคล้องกับแผนของทั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ในการนำบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับดนตรีข้างต้นเข้าสู่กระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่สัดส่วนยังคงเป็นฝ่ายละ 50% เท่ากันเช่นเดิม[14]

รายชื่อคอนเสิร์ต

แก้
ปี วันที่แสดง ชื่อคอนเสิร์ต สถานที่แสดง จำนวนรอบ อ้างอิง
พ.ศ. 2566 29-30 กรกฎาคม ไนน์ตีส์เวอร์ซารี (90's Versary) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี 2 [15]
9-10 กันยายน ทูเคเซเลเบรชัน (2K Celebration) 2 [16]
28-29 ตุลาคม ฮิตฮันเดรด (HIT100) 2 [17]
พ.ศ. 2567 11-12 พฤษภาคม ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู (HIT100 Vol. 2) 2 [18]
26 ตุลาคม แดนซ์อารีน่า (Dance Arena) 1

พ.ศ. 2566

แก้

ไนน์ตีส์เวอร์ซารี

แก้

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส ไนน์ตีส์เวอร์ซารี คอนเสิร์ต (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy X RS : 90's Versary Concert) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งแรก โดยรวบรวมบทเพลงและศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุค 90 ของทั้ง 2 ค่ายเพลงมาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงเมื่อวันที่ 29-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[15] โดยบัตรการแสดงจำหน่ายหมดทุกที่นั่งตั้งแต่วันเปิดจำหน่ายบัตรวันแรก[19] คิดเป็นยอดผู้ชมจำนวน 20,000 คน[20] เทปบันทึกการแสดงสดของคอนเสิร์ตครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ทางไพรม์วิดีโอเมื่อวันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน[21]

รายชื่อศิลปิน
แก้

ทูเคเซเลเบรชัน

แก้

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส ทูเคเซเลเบรชัน คอนเสิร์ต (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy X RS : 2K Celebration Concert) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 2 โดยรวบรวมบทเพลงและศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุค Y2K คือยุค 2000 ของทั้ง 2 ค่ายเพลงมาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงในวันที่ 9-10 กันยายน พ.ศ. 2566[16] เทปบันทึกการแสดงสดของคอนเสิร์ตครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ทางไพรม์วิดีโอเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ปีเดียวกัน

รายชื่อศิลปิน
แก้

ฮิตฮันเดรด

แก้

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ฮิตฮันเดรด (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy RS Concerts HIT100) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 3 โดยรวบรวมบทเพลงที่มีชื่อเสียงของศิลปินในยุค 90 และยุค 2000 จากทั้ง 2 ค่ายเพลง รวมจำนวน 100 เพลง มาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงในวันที่ 28-29 ตุลาคม พ.ศ. 2566[17]

รายชื่อศิลปิน
แก้

พ.ศ. 2567

แก้

ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู

แก้

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy RS Concerts HIT100 Vol.2) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 4 โดยรวบรวมบทเพลงที่มีชื่อเสียงของศิลปินในยุค 90 และยุค 2000 จากทั้ง 2 ค่ายเพลง รวมจำนวน 100 เพลง มาทำการแสดงบนเวทีเดียวกันเป็นครั้งที่ 2 แต่แตกต่างจากครั้งแรกตรงที่มีการแบ่งชุดศิลปินออกเป็น 5 ชุด จัดแสดงในวันที่ 11-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[18]

รายชื่อศิลปิน
แก้
ชื่อตอน รายชื่อศิลปิน
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีผลงานกับทั้ง 2 ค่าย อาร์เอส
Rock 90’s
90’s Gentlemen สบชัย ไกรยูรเสน
Mother Battle ธนพร แวกประยูร
Fire Featuring ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์
Rock So Bad Sad So Hit

แดนซ์อารีน่า

แก้

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แดนซ์อารีน่า แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Dance Arena Grammy RS Concerts) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 5 โดยรวบรวมบทเพลงเต้น เพลงจังหวะเร็ว สนุกสนาน จากทั้ง 2 ค่ายเพลง มาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เพียงรอบเดียว

รายชื่อศิลปิน
แก้

พ.ศ. 2568

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Jan (2023-03-28). "เปิดที่มาปรากฏการณ์ Grammy x RS ซีรีส์คอนเสิร์ตไตรภาค จับเทรนด์ 90s – Y2K เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 TopTen (2023-03-28). "เปิดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ 'Grammy x RS' แม้เป็นคู่แข่งแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรู". Positioning Magazine. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. เจียรวนาลี, ศิวะภาค (2023-04-10). "กลยุทธ์เบื้องหลัง Grammy RS Concerts ที่คุณอาจไม่ทันสังเกตในวันแถลงข่าว". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "#GrammyRSConcerts มาแน่! "ป๋าเต็ด" โพสต์ยืนยันพร้อมแคปชั่นสุดฮือฮา". สนุก.คอม. 2023-03-21. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  5. "หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ". งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) (PDF) (Report). อาร์เอส. 31 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
  6. รินวงษ์, สาวิตรี (2023-03-21). ""GRAMMY x RS" ร่วมทุนตั้งกิจการร่วมค้า "อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส" ลุยธุรกิจเพลง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  7. "ชมภาพ งานแถลงข่าว GRAMMY RS CONCERTS จัดเต็ม 3 คอนเสิร์ตใหญ่ปีนี้". กระปุก.คอม. 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  8. 8.0 8.1 Jan (2023-03-28). "เตรียมกดบัตร! Grammy x RS ร่วมทุน (JV) จัดซีรีส์คอนเสิร์ต ยาว 3 ปี เอาใจแฟนเพลงยุค 90 ยุค 2000 ปีนี้มี 3 คอนเสิร์ต เริ่ม ก.ค.นี้". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  9. "ชมย้อนหลังคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ Grammy X RS ที่ Prime Video 7 ก.ย.นี้". อมรินทร์ทีวี. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-27.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "40 ปีที่รอคอย! GMMxRS จับมือเปิดโปรเจค "GRAMMY RS CONCERTS" จัดเต็ม 3 คอนเสิร์ตใหญ่ปีนี้!!". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ศิวะพรพันธ์, สุพัฒน์ (2023-03-28). "สรุปแถลง Grammy RS Concerts ซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ จัดต่อเนื่อง 3 ปี เริ่มเลยปีนี้ 3 ครั้ง". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  12. 12.0 12.1 12.2 ทุนภิรมย์, วนิดา (2023-03-29). "แกรมมี่ X อาร์เอส การซินเนอร์จีของอุตสาหกรรมเพลง". ผู้จัดการ 360 องศา. สืบค้นเมื่อ 2023-07-03.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ""แกรมมี่" จูงมือ "อาร์เอส" ขึ้นเวที ร่วมทุนคอนเสิร์ต 3 ปีหวัง 750 ล้าน". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
  14. พร้อมศรี, ชลยา (2023-08-04). "สารสนเทศรายการจําหน่ายไปซึงสินทรัพย์ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เรื่อง การเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering) และการนำหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่: 2. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
  15. 15.0 15.1 "แกรมมี่&อาร์เอส สร้างประวัติศาสตร์ ใน GRAMMY X RS : 90s Versary Concert". ไทยรัฐ. 2023-05-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  16. 16.0 16.1 ศิวะพรพันธ์, สุพัฒน์ (2023-06-09). "วัยรุ่น Y2K เตรียมพร้อม! GRAMMY X RS: 2K Celebration Concert ที่ยกศิลปินร่วมยุคมาแบบแน่นเวที เปิดจองบัตร 1 ก.ค. นี้". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
  17. 17.0 17.1 "อย่าพลาด! "ไทยประกันชีวิต PRESENTS GRAMMY X RS : HIT100 CONCERTS" คอนเสิร์ตส่งท้ายปลายปี". สำนักข่าว ไอ เอ็น เอ็น. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-31.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 "GRAMMY RS CONCERTS HIT100 VOL.2 คอนเสิร์ตระดับตำนาน รวมเพลงฮิตตั้งแต่ยุค 80's/ 90's/ 2K". สนุก.คอม. 13 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "ปิดจอง! บัตรคอน "GRAMMY X RS 90's " เกลี้ยงวันแรก รอมันส์สุดเหวี่ยง". ข่าวหุ้นธุรกิจ. 2023-06-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ""แกรมมี่-อาร์เอส" กำไรทะลุเป้า คอนเสิร์ตแรก 90's Versary จองแสนที่นั่ง". ไทยรัฐ. 2023-08-02. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
  21. "Prime Video เตรียมส่งต่อความสนุกจากคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์วงการเพลงไทย"Grammy X RS: 90's Versary Concert" ให้รับชมย้อนหลังแบบเอ็กซ์คลูซีฟได้ ทาง Prime Video เท่านั้น". Independent News Network. 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้