เกมฟรีก

(เปลี่ยนทางจาก Game Freak)

บริษัทเกมฟรีก (ญี่ปุ่น: 株式会社ゲームフリークโรมาจิKabushiki gaisha Gēmu Furīku; อังกฤษ: Game Freak Inc.) เป็นบริษัทผู้พัฒนาวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 และเป็นบริษัทที่สร้างวิดีโอเกมชุดที่โด่งดังไปทั่วโลกโปเกมอน

บริษัทเกมฟรีก
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมวิดีโอเกม
ก่อตั้ง26 เมษายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
ผู้ก่อตั้งซาโตชิ ทาจิริ
เค็น ซุงิโมริ
สำนักงานใหญ่โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์โปเกมอน
พนักงาน
108 (พ.ศ. 2559)[1]
บริษัทในเครือโคอาเกมส์
เว็บไซต์www.gamefreak.co.jp

ประวัติ แก้

ก่อนเป็นบริษัท เกมฟรีกเคยเป็นนิตยสารวิดีโอเกมตีพิมพ์เอง สร้างโดยซาโตชิ ทาจิริและเคน ซุงิโมริ ในปี พ.ศ. 2523 ทาจิริเขียนและแก้ไขข้อความและซุงิโมริเป็นผู้วาดภาพ ทาจิริยังใช้ "เกมฟรีก" เป็นนามปากกาเมื่อครั้งที่เขาเป็นนักเขียนอิสระให้กับสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตยสารแฟมิลีคอมพิวเตอร์แมกาซีน และแฟมิคอมสึชิง[2][3]

ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 ทาจิริและซุงิโมริก่อตั้งบริษัทพัฒนาวิดีโอเกมในชื่อเดียวกัน[4][5][6][7] หนึ่งในเกมแรกของบริษัทเกมฟรีก คือเกม ควินตี เกมแนวแอ็กชันแก้ปริศนาบนเครื่องแฟมิคอม ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือในชื่อ เมนเดลพาเลซ เกมชุดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ โปเกมอน (ญี่ปุ่น: ポケモンโรมาจิPokemon) คำย่อโรมาจิของตราสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอส์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスターโรมาจิPoketto Monsutāทับศัพท์: Pocket Monsters)[8] จำหน่ายโดยนินเท็นโดในประเทศญี่ปุ่น อเมริกาเหนือ และยุโรป

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เกมฟรีกซื้อกิจการบริษัทโคอาเกมส์ (Koa Games) บริษัทพัฒนาเกมมือถือ[9]

เกมที่พัฒนา แก้

ปี ชื่อเกม จำหน่ายโดย ระบบปฏิบัติการ
2532 เมนเดลพาเลซ นัมโคญี่ปุ่น, ฮัดสันซอฟท์อเมริกาเหนือ แฟมิคอม
2534 สมาร์ตบอล โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ญี่ปุ่น ซูเปอร์แฟมิคอม
โยชิ นินเท็นโด แฟมิคอม, เกมบอย
2535 พ่อมดน้อยแสนกล ทัลลูต เซก้า เมก้าไดรฟ์
2536 มาริโอและวาริโอ นินเท็นโด ซูเปอร์แฟมิคอม
2537 โนนตัน ทู อิชโช: คูรู-คูรู พัซเซิล วิกตอร์ อินเตอร์แอคทีฟ ซอฟต์แวร์ เกมบอย, ซูเปอร์แฟมิคอม
พัลส์แมน เซก้า เมก้าไดรฟ์
2539 โปเกมอน เรด และ กรีน นินเท็นโด เกมบอย
โปเกมอน บลู นินเท็นโด เกมบอย
บาซาร์ เดะ โกซารุ โนะ เกม เดะ โกซารุ เอ็นอีซี พีซีเอนจิน
2540 บูชิ เซริวเดน: ฟูทาริ โนะ ยูชะ ทีแอนด์อี ซอฟท์ ซูเปอร์แฟมิคอม
2541 กล่องเกมบอย นินเท็นโด เกมบอย
โปเกมอน เยลโลว์
โปเกมอน เรด และ บลู
2542 โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ นินเท็นโด เกมบอยคัลเลอร์
คลิกเมดิก โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ญี่ปุ่น เพลย์สเตชัน
2543 โปเกมอน คริสตัล นินเท็นโด เกมบอยคัลเลอร์
2545 โปเกมอน รูบี และ แซฟไฟร์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
เกมบอยอัดวานซ์
2547 โปเกมอน ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
เกมบอยอัดวานซ์
โปเกมอน เอเมอรัลด์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
เกมบอยอัดวานซ์
2548 ดริลโดเซอร์ นินเท็นโด เกมบอยอัดวานซ์
2549 โปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด ดีเอส
2551 โปเกมอน แพลทินัม นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด ดีเอส
2552 โปเกมอน ฮาร์ตโกลด์ และ โซลซิลเวอร์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด ดีเอส
2553 โปเกมอน แบล็ก และ ไวต์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด ดีเอส
2555 โปเกมอน แบล็ก2 และ ไวต์2 นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด ดีเอส
ฮาร์โมไนต์ นินเท็นโด นินเท็นโด 3ดีเอส
2556 พ็อกเก็ตการ์ดจ็อกกี[10] เกมฟรีกญี่ปุ่น, นินเท็นโดทั่วโลก นินเท็นโด 3ดีเอส, ไอโอเอส, แอนดรอยด์
โปเกมอน เอกซ์ และ วาย นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด 3ดีเอส
2557 โปเกมอน โอเมการูบี และ แอลฟาแซฟไฟร์
2558 เทมโปเดอะแบดแอสเอลเลแฟนต์ เซก้า เอกซ์บอกซ์วัน, เพลย์สเตชัน 4, วินโดวส์
2559 โปเกมอน ซัน และ มูน นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด 3ดีเอส
2560 กิกะเรคเกอร์ ไรซิงสตาร์เกมส์ วินโดวส์
โปเกมอน อัลตราซัน และ อัลตรามูน นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโด 3ดีเอส
2561 โปเกมอน เควสต์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโดสวิตช์, ไอโอเอส, แอนดรอยด์
โปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู! และ เล็ตส์โกอีวุย! นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโดสวิตช์
2562 กิกะเรคเกอร์ออลต์[11] ไรซิงสตาร์เกมส์ เพลย์สเตชัน 4 , เอกซ์บอกซ์วัน, นินเท็นโดสวิตช์
ลิตเติลทาวน์ฮีโร [12] เกมฟรีก นินเท็นโดสวิตช์
โปเกมอน ซอร์ด และ ชีลด์ นินเท็นโด
เดอะโปเกมอนคอมพานี
นินเท็นโดสวิตช์

อ้างอิง แก้

  1. 会社概要 (ภาษาญี่ปุ่น). Game Freak Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ June 13, 2016.
  2. Satoshi Tajiri (1989-01-06). ぼくたちゲーセン野郎. Family Computer Magazine (ภาษาญี่ปุ่น): 114-115. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
  3. Satoshi Tajiri (1986-08-01). ビデヲゲーム通信. Biweekly Famicom Journal (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
  4. Kohler, Chris (2010-04-19). "Pokémon Creators' Fanzine Fetches High Price". Wired.
  5. "COLUMN: 'Game Mag Weaseling': Just Checking In". GameSetWatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2016-02-08.
  6. Previous post Next post (2010-04-19). "Pokémon Creators' Fanzine Fetches High Price | GameLife". Wired.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  7. Gifford, Kevin (2008-04-07). "COLUMN: 'Game Mag Weaseling': Just Checking In". GameSetWatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  8. Swider, Matt. "The Pokemon Series Pokedex". Gaming Target. Gaming Target. สืบค้นเมื่อ February 28, 2007.
  9. "Pokémon Developer Game Freak Has Purchased a Mobile Game Development Company". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-02-08.
  10. "Pocket Card Jockey for Nintendo 3DS". Nintendo of America, Inc. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
  11. Good, Owen (January 18, 2019). "Game Freak's Giga Wrecker is coming to consoles in 2019". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 19, 2019.
  12. "Game Freak Files For "Little Town Hero" Trademark". Game Informer. Aug 14, 2019. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้