เค็ง ซูงิโมริ

(เปลี่ยนทางจาก เค็น ซุงิโมริ)

เค็ง ซูงิโมริ (ญี่ปุ่น: 杉森 建โรมาจิSugimori Ken เกิด 27 มกราคม ค.ศ. 1966) เป็นนักออกแบบวิดีโอเกม นักวาดภาพ ศิลปินมังงะ และผู้กำกับชาวญี่ปุ่น[1] เขามีชื่อเสียงโดดเด่นจากการเป็นผู้ออกแบบและกำกับศิลป์ให้กับแฟรนไชส์โปเกมอน ซูงิโมริยังได้รับเครดิตเป็นผู้กำกับศิลป์ให้กับแฟรนไชส์อื่น ๆ เช่น พัลส์แมน ด้วย[2] ซูงิโมริออกแบบและวาดโปเกมอนดั้งเดิม 151 ตัวด้วยตนเอง[3] เขาทำงานให้กับภาพยนตร์โปเกมอนหลายเรื่อง การ์ดเกม และเกมอื่น ๆ เช่น เกมชุดซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส

เค็ง ซูงิโมริ
เกิดเค็ง ซูงิโมริ
(1966-01-27) 27 มกราคม ค.ศ. 1966 (58 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
มีชื่อเสียงจากนักออกแบบวิดีโอเกม
ผลงานเด่นโปเกมอน; พัลส์แมน; ดริลล์โดเซอร์

การทำงาน

แก้

ตั้งแต่ ค.ศ. 1981 ถึง ค.ศ. 1986 ซูงิโมริวาดภาพให้กับแฟนซีนเกี่ยวกับเกมชื่อว่าเกมฟรีก ริเริ่มโดยซาโตชิ ทาจิริ[3] ซูงิโมริพบนิตยสารฉบับนี้ในร้านค้าโดจินชิ และตัดสินใจขอมีส่วนร่วม[4] ในที่สุด ทั้งสองคนตัดสินใจขายแบบเกมตู้ให้กับนัมโค พวกเขาปรับปรุงบริษัทเกมฟรีกให้เป็นบริษัทพัฒนาเกมและสร้างเกมเมนเดลพาเลซขึ้นมา[5] ซูงิโมริเป็นผู้ออกแบบและกำกับศิลป์ให้กับแฟรนไชส์โปเกมอน และวาดโปเกมอนดั้งเดิม 151 ตัวด้วยตนเอง[3] เขายังทำทำงานให้กับภาพยนตร์โปเกมอนหลายเรื่อง การ์ดเกม และเกมอื่น ๆ ด้วย

ในเกมโปเกมอนภาคแบล็กและไวต์ ซูงิโมริดูแลพนักงาน 17 คนในการออกแบบตัวละครใหม่ให้กับเกม แม้ว่าเขามักจะวาดภาพฉบับสมบูรณ์ด้วยตนเอง เขาได้รับแรงบันดาลใจจากการดูสัตว์ชนิดต่าง ๆ ในตู้ปลาและสวนสัตว์[6] ซูงิโมริยังเขียนและวาดภาพมังงะภาคแรก รวมถึงมังงะที่จำหน่ายพร้อมกับการสั่งเกมก่อนกำหนดของเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน: เอกซ์พลอเรอส์ออฟไทม์และเอกซ์พลอเรอส์ออฟดาร์กเนส[7] เมื่อเขาเริ่มทำตัวละครใหม่ การทำงานของเขาจะเป็นการร่างภาพ จากนั้นร่างคร่าว ๆ บนกระดาษฟิล์มขณะขัดเงาและทำให้ภาพวาดดูมีฝีมือมากขึ้น หลังจากนั้น เขาวาดตัวละครอีกหลายครั้ง ปรับเปลี่ยนสัดส่วนจนกระทั่งเขารู้สึกพอใจ[8]

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.siliconera.com/2014/06/05/manga-artist-game-designer-ken-sugimoris-work-pokmon/
  2. Thomas, Lucas (23 July 2009). "Pulseman Review". IGN. News Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 27 January 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 Gifford, Kevin (7 April 2008). "'Game Mag Weaseling': Just Checking In". GameSetWatch. Think Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 27 January 2010.
  4. Kohler, Chris (2004). Power-up: How Japanese Video Games Gave the World an Extra Life. BradyGames. p. 238. ISBN 0-7440-0424-1.
  5. Barnholt, Ray (30 July 2008). "25 Sorta Significant Famicom Games: #19". 1UP.com. UGO Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 27 January 2010.
  6. Iwata, Satoru (2010). "DSで2作目の完全新作をつくること". Iwata Asks (ภาษาญี่ปุ่น). Kyoto, Japan: Nintendo. p. 2. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  7. Staff (13 March 2008). "Pokemon Pre-Order Offer". IGN. News Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 27 January 2010.
  8. "Game Freak on Pokemon!". Computer and Video Games. Future Publishing. 30 May 2003. สืบค้นเมื่อ 25 September 2010.