ไดโอรามา (อัลบั้ม)

(เปลี่ยนทางจาก Diorama (album))

ไดโอรามา (อังกฤษ: Diorama) คือสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 4 ของซิลเวอร์แชร์ วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากออสเตรเลีย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยค่ายอีเลเว็น อัลบั้มนี้เป็นผลงานการโปรดิวซ์ร่วมกันของดาเนียล จอห์นส และเดวิด บอตทริลล์ ในขณะที่เดวิดทำงานให้กับอัลบั้มต่าง ๆ ของวงดนตรีอื่น ๆ ทำให้ ไดโอรามา สร้างชื่อเสียงการเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับจอห์นส นักร้องนำของวงเป็นครั้งแรก

ไดโอรามา
ภาพปกอัลบั้ม ไดโอรามา
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด31 มีนาคม พ.ศ. 2545
บันทึกเสียงบ้านดาเนียล จอห์นส, สตูดิโอ 301 และสตูดิโอแมนโกรฟ ประเทศออสเตรเลีย
เดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2544
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก, อาร์ตร็อก
ความยาว57:13
ค่ายเพลงอีเลเว็น/ เวอร์จิน(ออสเตรเลีย)
แอตแลนติก (สหรัฐอเมริกา)
โปรดิวเซอร์เดวิด บอตทริลล์, ดาเนียล จอห์นส
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของซิลเวอร์แชร์
เดอะเบสต์ออฟ ชุดที่ 1
(2543)เดอะเบสต์ออฟ ชุดที่ 1String Module Error: Match not found
ไดโอรามา
(2545)
ราริตีส์ 1994 - 1999
(2545)ราริตีส์ 1994 - 1999String Module Error: Match not found
ซิงเกิลจากไดโอรามา
  1. "เดอะเกรเทสวิว"
    จำหน่าย: 28 มกราคม พ.ศ. 2545
  2. "วิทเอาต์ยู"
    จำหน่าย: 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
  3. "เลิฟยัวร์ไลฟ์"
    จำหน่าย: 2 กันยายน พ.ศ. 2545
  4. "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส"
    จำหน่าย: พ.ศ. 2545
  5. "อะครอสเดอะไนต์"
    จำหน่าย: 11 มีนาคม พ.ศ. 2546

จอห์นสประพันธ์บทเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มนี้โดยใช้เปียโน แทนที่ปกติเขาจะใช้กีตาร์ ในระหว่างที่วงพักร้อนยาว 12 เดือนภายหลังการออกอัลบั้ม นีออนบอลรูม อัลบั้มสตูดิโอชุดล่าสุดของพวกเขาในขณะนั้น ซิลเวอร์แชร์ทำงานร่วมกับแวน ไดก์ พาร์กสในอัลบั้ม ไดโอรามา อัลบั้มนี้บรรจุเพลงที่ใช้ดนตรีออร์เคสตรา และแนวเพาเวอร์บัลลาด ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงงานด้านดนตรีของพวกเขาในอดีตซึ่งใช้กีตาร์เป็น เครื่องดนตรีหลัก ชื่ออัลบั้มนี้ต้องการสื่อถึงความหมายว่า "โลกซึ่งอยู่ภายในโลก"[11] โดยมีซิงเกิลจากอัลบั้มนี้กว่า 5 ซิงเกิล ประกอบไปด้วย "เดอะเกรเทสวิว", "วิทเอาต์ยู", "เลิฟยัวร์ไลฟ์", "อะครอสเดอะไนต์", และ "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" โดยมีเพียงเพลง "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" เท่านั้นที่ออกเผยแพร่ในรูปแบบซิงเกิลวิทยุ โดยเพลงนี้ขึ้นลำดับในชาร์ตเออาร์ไอเอ

ไดโอรามา ประสบความสำเร็จในอันดับบนชาร์ต แต่การวิพากษ์วิจารณ์กลับเป็นไปในทางตรงข้าม ไม่เหมือนกับอัลบั้มก่อน ๆ ของพวกเขา อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอัลบั้มของสมาพันธ์อุตสาหกรรมดนตรีแห่งออสเตรเลีย อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 3 แผ่นจากเออาร์ไอเอ สำหรับยอดขายกว่า 210,000 ชุด และได้รับรางวัลเออาร์ไอเอกว่า 5 รางวัล ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเออาร์ไอเอในปี พ.ศ. 2546 สาขา "อัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดแห่งปี" และมีเพลงจากอัลบั้มนี้ 3 เพลงที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลกว่าอีก 2 ปี

การผลิตและบันทึกเสียง

แก้

ในอัลบั้ม ไดโอรามา ซิลเวอร์แชร์ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์คนใหม่คือ เดวิด บอตทริลล์ ซึ่งมาแทนนิก ลอเนย์ แม้ว่านิกจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับซิลเวอร์แชร์ใน 3 อัลบั้มก่อนหน้านี้ จอห์นส นักร้องนำของวงเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว และกล่าวว่าเขาต้องการ "คนที่เข้าใจว่าเขาต้องการไปในทิศทางใด"[12] จอห์นสเชื่อว่าอัลบั้ม ไดโอรามา จะเป็นอัลบั้มที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไปหรือไม่ก็เป็นอัลบั้มที่เกลียดไปเลย"[12] และต้องการโปรดิวเซอร์ที่เข้าใจทิศทางใหม่ของวง เขาสัมภาษณ์ผู้สมัครหลายคน และท้ายที่สุดก็เลือกเดวิดมาร่วมงานโปรดิวซ์ให้กับเขา[12]

จอห์นสเริ่มต้นการบันทึกเสียง 8 เพลง ลบไฟล์เพลงที่พวกเขาคิดว่าคล้ายกับเพลงของอัลบั้มก่อน ๆ อย่าง นีออนบอลรูม เขาทิ้งทั้งความมั่นคงและด้านมืดจากอัลบั้มก่อน ๆ ของเขาออกไป แล้วเริ่มต้นสร้างสรรค์ดนตรีที่ดีขึ้นใหม่อีกครั้ง[13] ไดโอรามา แสดงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ อิทธิพลเพลงโพสต์-กรันจ์หนัก ๆ ในอัลบั้มก่อนๆ กลายเป็นเพลงแนวสตริง และฮอร์นทั้งหมด และเพิ่มความซับซ้อนในโครงสร้างดนตรี จอห์นสรู้สึกดีที่จะเปลี่ยนแนวดนตรีทั้งอัลบั้ม มากกว่าที่จะเปลี่ยนในแค่บางเพลง การค้นหาช่วยให้เขาได้รับความรักในดนตรีกลับคืนมา ซึ่งความรู้สึกนี้ลดลงในวันที่ผ่านมาของเขาที่ทำเพลงแนวกรันจ์[12] จอห์นประพันธ์เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มด้วยเปียโน โดยเป็นครั้งแรกที่เขาใช้เครื่องดนตรีดังกล่าวในการประพันธ์เพลง และสร้างดนตรีในอัลบั้ม ไดโอรามา การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคนิคการประพันธ์เพลงครั้งนี้มีผลกระทบที่สำคัญมาก ในส่วนของดนตรีของอัลบั้ม จอห์นสให้ความเห็นเรื่องความแตกต่างเรื่องความกังวาลของเสียงเขาเมื่อเล่น กับเปียโนเปรียบเทียบกับกีตาร์[13] เขายังทำงานร่วมกับผู้พัฒนาอัลบั้มอื่น ๆ อาทิ แวน ไดก์ พาร์กส (เดอะบีชบอยส์, ยูทู) ร่วมทำงานในด้านการเรียบเรียงดนตรีออร์เครสตรา ทั้งสองใช้เวลาส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงในการอธิบายดนตรีในเชิงอุปมาอุปไมย จอห์นสอธิบายให้ปาร์กสว่าเสียงดนตรีออร์เคสตราที่ค่อย ๆ ดังขึ้นเปรียบ เสมือน"คลื่นทะเล" และเสียงของไวโอลินเปรียบเสมือน "ฝูงนก"[14] ทั้งสองอุปมาประสบการณ์การทำงานร่วมของพวกเขาว่า "ตื่นเต้นมาก"[14] โดยดีวีดี ใช้ชื่อว่า อะครอสส์เดอะไนต์: เดอะครีเอชันออฟไดโอรามา ซึ่งออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 นำโดยบทสัมภาษณ์ของจอห์นสและปาร์กส[15]

มีหลายเพลงใน ไดโอรามา ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟนในขณะนั้นของจอห์นส นาตาลี อิมบรูเลีย แต่เขาก็ระมัดระวังที่อาจตีความผิดเกี่ยวกับเพลง เขาพูดว่า "ทุกคนจะคิดว่าเนื้อเพลงเกี่ยวกับใครบางคนในด้านสว่าง จะเป็นเธอ" และก็เอ่ยอีกว่ามีคนอื่นที่เขาใส่ใจและเขียนลงในเพลง[16] จอห์นสปฏิเสธข่าวลือว่าเขาตั้งใจเขียนเพลงให้อิมบลูเลียร้อง[15]

ซิลเวอร์แชร์ตั้งใจจะออกทัวร์เพื่อสนับสนุนการออกอัลบั้ม ไดโอรามา แต่แผนก็ถูกหยุดไปเมื่อจอห์นเกิดอาการปวดข้อ เป็นเหตุให้ช่วงต่อบวมและทำให้เขาเล่นกีตาร์และร้องเพลงอย่างเจ็บปวดอย่างมาก[17][18] หลังจากที่วงแสดงเพลง "เดอะเกรเทสวิว" ที่งานแจกรางวัลแอเรียปี 2002 จอห์นสพูดว่าเขาต้องการ "ที่จะแสดง 11 เพลงจาก ไดโอรามา ซักครั้งหนึ่งต่อหน้าคนดู" ก่อนที่อัลบั้มจะหยุดไป[15] เขาเดินทางไปแคลิฟอร์เนียไปรับการรักษาอาการปวดข้อ รวมทั้งการกายภาพบำบัดรายวัน[18]

การออกจำหน่ายอัลบั้มและซิงเกิล

แก้

อัลบั้ม ไดโอรามา ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยค่ายอีเลฟเว็น[6] ไดโอรามา ขึ้นสู่ชาร์ตอัลบั้มเออาร์ไอ อันดับที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 14 เมษายน ปีเดียวกัน ทำให้ซิลเวอร์แชร์มีอัลบั้มขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งเป็นอัลบั้มที่ 4[19] อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 3 แผ่นโดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมดนตรีแห่งออสเตรเลีย[20] สำหรับยอดขายกว่า 210,000 ชุด[21] อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดในอันดับที่ 7 ในนิวซีแลนด์, อันดับที่ 13 ในออสเตรีย, อันดับที่ 40 ในสวิตเซอร์แลนด์ และอันดับที่ 116 ในฝรั่งเศส[19] ไดโอรามา ขึ้นอันดับสูงสุดของชาร์ต บิลบอร์ด 200 ของสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 91[22]

"เดอะเกรเทสวิว" (The Greatest View) เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ โดยออกจำหน่ายล่วงหน้าก่อนออกจำหน่ายอัลบั้มเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2545 ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 3 ในออสเตรเลีย ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ[23] และขึ้นอันดับสูงสุดที่ 4 ในนิวซีแลนด์ และแคนาดา[24] ต่อมาเพลงนี้ได้นำมาออกจำหน่ายใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม ยังโมเดิร์น[25] อัลบั้มต่อมาของวงนี้เพลงนี้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 36 ในชาร์ตฮอตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในนิตยสารบิลบอร์ด ในปี พ.ศ. 2550[22] จอห์นสประพันธ์เพลง "เดอะเกรเทสวิว" เป็นตัวแทนทัศนคติของเขาต่อสื่อในแง่มุมต่าง ๆ[26] เพลงนี้ไม่ได้มีเจตนาในการแสดงออกถึงความก้าวร้าว แต่เป็นความตรงไปตรงมาในความเห็นเกี่ยวกับความบ้าของสื่อรอบ ๆ วงของเขาตลอดหลายปีที่ผ่านมา[26]

ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เพลง "วิทเอาต์ยู" ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบั้ม ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 8 ในออสเตรเลีย แต่ตกลงมาที่อันดับ 29 ในสัปดาห์ต่อมา และอยู่บนชาร์ตนาน 5 สัปดาห์[28] เพลงนี้ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกโดยคริส โจนนาว มือเบสของวง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เมื่อเขาประกาศกับแฟนเพลงว่าทางวง "มีที่เก็บเพลงเพียงเล็กน้อย" หนึ่งในนั้นคือเพลง "วิทเอาต์ยู"[29] หลังจากนั้นก็ได้ออกซิงเกิล "เลิฟยัวร์ไลฟ์" (Luv Your Life) ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 20 ในออสเตรเลียหลังการออกจำหน่ายในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545[30] แรงบันดาลใจในบทเพลงนี้มาจากช่วงการบำบัดของจอห์นส โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิด "มันมีคนในโลกที่ต้องการการบำบัดแต่ไม่สามารถทนการบำบัดได้"[16] จอห์นสประพันธ์เพลงนี้ระหว่างที่เขาฟังนักบำบัด[16] ในระหว่างการแสดงเชปเพิร์ดสบุชเอมไพร์ที่ลอนดอน จอห์นสพูดหยอกล้อว่าเพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" เขามอบให้แก่ "หญิงทุกคนของเขา"[27]

"อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" ออกเผยแพร่ต่อจากเพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" ในรูปแบบซิงเกิลวิทยุ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในชาร์ต เพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้ม ไดโอรามา อันเป็นเพลงที่มีความยาวมากที่สุดถึง 9:53 นาที[19] ซิงเกิลสุดท้าย "อะครอสเดอะไนต์" ออกจำหน่ายในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในเวลากว่า 9 ชั่วโมงในคืนที่จอห์นสนอนไม่หลับ[26] ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 24 ในชาร์ตของออสเตรเลีย[31] ปาร์กดำเนินการเรียบเรียงดนตรี นำโดยคีย์บอร์ดแฝดและกลุ่มดนตรีเครื่องสาย[26][32] หลังจากนั้นทางวงได้เริ่มต้นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ อะครอสเดอะไนต์ เพื่อสนับสนุนอัลบั้มดังกล่าว[33]

การตอบรับ

แก้

ไดโอรามา ได้คะแนนร้อยละ 71 จากเว็บไซต์เมตาคริติกจากผู้วิจารณ์ 9 คน[34] ผู้ฟังสถานีวิทยุทริเปิลเจ (Triple J) คลื่นวิทยุในประเทศออสเตรเลียลงคะแนนให้อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งใน 10 อันดับอัลบั้มแห่งปี 2002 ขณะที่โรซี บีตัน และแกบี บราวน์เจ้าหน้าที่ของทริเปิลเจให้อันดับอัลบั้มนี้ในอันดับที่ 3 และ 5 ตามลำดับ[35]

โรลลิงสโตน นิตยสารดนตรีให้ดาวแก่อัลบั้ม ไดโอรามา 3 จาก 5 ดาว และ มาร์ก เคมป์ นักวิจารณ์ได้ยกย่องพัฒนาการทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ กล่าวว่าวงนี้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก มีความอิสระทางดนตรี แตกต่างจากผลงานอัลบั้ม ฟรอกสตอมป์ อัลบั้มแรกของพวกเขา มาร์กกล่าวชมถึงการ "เรียบเรียงดนตรีในแบบวงออร์เคสตรา, การเปลี่ยนช่วงทำนองเพลงอย่างที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และเป็นเพลงป็อปที่ให้ความรู้สึกประหลาด" เช่นเดียวกับปาร์กส ผู้เรียบเรียงดนตรีที่ตั้งใจให้ดนตรีของอัลบั้มนี้ "กว้างและหนาขึ้น" เขาโต้แย้งว่าความแข็งแกร่งของอัลบั้มเกิดขึ้นมาพร้อมกับความมั่นใจของจอห์น ส ผลลัพธ์คือผลงานคุณภาพในเพลง "เวิลด์อัปพอนยัวร์โชวเดอร์" "ทูนาอินเดอะไบรน" และ "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" อย่างไรก็ตามเพลง "วิทเอาต์ยู" แสดงให้เห็นถึงแนวเพลงเดิมของซิลเวอร์แชร์ จากบทวิจารณ์ของมาร์ก ยังระบุว่า "เป็นท่อนฮุกอย่างเอ็มทีวีชอบ"[8]

แบรดลีย์ ทอร์รีโน นักวิจารณ์จากเว็บไซต์ออลมิวสิกให้ดาวแก่อัลบั้ม ไดโอรามา 4 ดวง และให้เป็นอัลบั้มคัดสรรของออลมิวสิก เขาเริ่มต้นบทวิจารณ์ด้วยพัฒนาการทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ที่พัฒนาขึ้นจากอัลบั้ม ฟรอกสตอมป์ ว่าน่าประทับใจ และอัลบั้ม ไดโอรามา ทำให้เห็นว่าวงนี้ในที่สุดก็เติบโตได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง ในการนี้งานสร้างของบอตทริลล์ ก็ได้รับการยกย่องเทียบกับผลงานของบิกคันทรีและยูทู ขณะที่จอห์นส "เสียงอันอวบอิ่มและสำเนียงติดหูอย่างน่าตกใจ ที่ขาดความเพลิดเพลินไปในผลงานชุดแรก ๆ ของพวกเขา" สำหรับคำวิจารณ์โดยทอร์รีโนกับ 2 เพลงในอัลบั้ม เขาอธิบายว่า ได้รับอิทธิพลจากกูกูดอลส์ ในเพลง "วิทเอาต์ยู" แต่เป็นการหักมุมที่ไม่น่าต้อนรับ และรู้สึกว่าในเพลง "วันเวย์มูล" วงจะกลับไปสู่ดนตรีกรันจ์ของพวกเขา[5]

เจมส์ แจม จากนิตยสาร เอ็นเอ็มอี วิจารณ์อัลบั้ม ไดโอรามา ว่าเป็น "ผลผลิตเพลงร็อกออสเตรเลียที่เหนือความคาดหมาย" เจมส์เปรียบเทียบซิลเวอร์แชร์กับไบรอัน อดัมส์ ในความพยายาม "ความเสี่ยงในการเสนอแนวดนตรีใหม่" "ทูนาอินไบรน์" ที่ "ดูเสแสร้งและอวดเบ่ง" ขณะที่เขามองภาพรวมอัลบั้มว่า "ไม่น่าเกลียด" โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมาของวง เจมส์ยังกล่าวต่อไปว่า "วงนี้ไม่พยายามที่มีสาระดนตรีให้ดูเป็นผู้ใหญ่ แต่แค่ต้องการให้ผู้ใหญ่ประทับใจมากกว่า"[5]

นิกกิ ทรานเตอร์ จากเว็บไซต์เพลงป็อป ป็อปแมตเตอร์ส กล่าวว่าอัลบั้มมีความเป็นผู้ใหญ่ และยกย่องทุกอย่างตั้งแต่ปกอัลบั้มไปถึงเมโลดี้เพลงป็อปที่ละเมียดละไม" ทรานเตอร์กล่าวยกย่องอัลบั้ม ไดโอรามา ที่แตกต่างจากภาพดนตรีออสเตรเลียที่ "คล้ายคลึงกันมาก" เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเป็นเพลงในขั้นดี เธอคือว่าเพลง "เดอะเกรเทสวิว" เป็นเพลงที่อิสระจาก "เสียงอู้อี้ของวงออเคสตรา" และเพลง "อาฟเตอร์ออฟดีสเยียรส์" ปกคลุมไปด้วยเสียงของฮอร์น เนื้อเพลงที่ใคร่ครวญและนุ่มนวล และเสียงขับร้องที่ไม่อาจลืมเลือนได้"[6]

ร็อบ โอ'คอนเนอร์ จากเว็บไซต์ ยาฮู! วิจารณ์อัลบั้ม ไดโอรามา ในเชิงบวก กล่าวว่าอัลบั้มนี้มีพัฒนาการขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับอัลบั้มที่พวกเขาออก ในสมัยมัธยม เพลงป็อปในอัลบั้มได้แก่เพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" และ "ทูมัชออฟนอตอีนาฟ" เป็นเพลงที่ลื่นไหล และร็อบก็ยกย่องจอห์นสสำหรับ "การกระซิบเนื้อเพลงที่สง่าและบอบบาง" ซึ่งในอดีตจะเป็นการ "ตะโกนในความกังวล" นอกจากนั้นยังเปรียบเทียบดนตรีคล้ายกับเอลเลียต สมิธ คำวิจารณ์หลักของอัลบั้มนี้ยังคง "พยายามผูกพันกับกรันจ์" เขารู้สึกว่าการละทิ้งความรู้สึกจะทำให้วงพัฒนาได้อย่างเต็มที่[10]

ชาร์ตและรางวัล

แก้

ไดโอรามา ขึ้นชาร์ตในอันดับสูงสุดของชาร์ตออสเตรเลีย อยู่บนชาร์ตอัลบั้มเออาร์ไอเอนาน ประมาณ 50 สัปดาห์ โดยอยู่อันดับที่ 1 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่อัลบั้มอยู่บนชาร์ตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 สัปดาห์ แม้จะขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดที่ 7 ในนิวซีแลนด์

ชาร์ต อันดับ
สูงสุด
รางวัล
ออสเตรเลีย 1[19]
Platinum[20]
นิวซีแลนด์ 7[19]
ออสเตรีย 13[19]
สวิตเซอร์แลนด์ 40[19]
ฝรั่งเศส 116[19]
บิลบอร์ด 200 91[22]

รายชื่อเพลง

แก้
  1. "Across the Night" – 5:37
  2. "The Greatest View" – 4:06
  3. "Without You" – 5:17
  4. "World Upon Your Shoulders" – 4:37
  5. "One Way Mule" – 4:15
  6. "Tuna in the Brine" – 5:40
  7. "Too Much of Not Enough" – 4:43
  8. "Luv Your Life" – 4:29
  9. "The Lever" – 4:22
  10. "My Favourite Thing" – 4:14
  11. "After All These Years" – 9:53

คณะผู้สร้างอัลบั้ม

แก้

บุคคลสนับสนุน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Bradley Torreano. "Diorama > Overview". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
  2. "Silverchair: Diorama". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.[ลิงก์เสีย]
  3. Darryl Sterdan. "Silverchair: Diorama". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  4. Russell Baillie. "Silverchair: Diorama". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  5. 5.0 5.1 5.2 James Jam (9 August 2002). "Over-produced Aussie rock". NME. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
  6. 6.0 6.1 6.2 Nikki Tranter (6 September 2002). "Silverchair: Diorama". PopMatters. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
  7. "Review: Diorama". Q (August 2002): 133.
  8. 8.0 8.1 Mark Kemp (8 August 2002). "Silverchair: Diorama". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
  9. "Silverchair: Diorama". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.[ลิงก์เสีย]
  10. 10.0 10.1 Rob O'Connor (8 June 2002). "Diorama". Yahoo! Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  11. "Silverchair - Biography". Chairpage.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 David John Farinella (1 January 2003). "Silverchair's Diorama". Mix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-03-21.
  13. 13.0 13.1 Mark Neilsen (23 April 2002). "Another Point of View". Drum Media.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Coming of Age". Guitar Player. August 2002.
  15. 15.0 15.1 15.2 David Anderson (21 October 2002). "Silver lining". The Sun-Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-05-10.
  16. 16.0 16.1 16.2 Kathy McCabe. "Daniel Johns' debt to Natalie". The Daily Telegraph.
  17. "Dr Kerryn Phelps, Health Editor, with Steve Leibmann, Channel Nine, 'Today'". Australian Medical Association. 6 May 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  18. 18.0 18.1 Patrick Donovan (17 October 2002). "Guitarist takes life as it comes". Music Writer.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 "Silverchair - Diorama". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  20. 20.0 20.1 "ARIA Charts - Accreditations - 2002 Albums". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  21. "Accreditations". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
  22. 22.0 22.1 22.2 "Diorama > Charts & Awards > Billboard Albums". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  23. "ARIA Charts - Accreditations - 2002 Singles". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  24. "Silverchair - The Greatest View". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  25. "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Singles". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 Jennifer Weir. "Silverchair - Luving life at last". Rock Sound.
  27. 27.0 27.1 "Silver Side Up". Kerrang!. 21 June 2003.
  28. "Silverchair - Without You". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  29. Sorelle Saidman (14 December 1999). "Silverchair Plays Last Gig Before Its 2000 Time-Out". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  30. "Silverchair - Luv Your Life". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  31. "Silverchair - Across The Night". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  32. David Fricke (20 May 2003). "Silverchair See Past Tomorrow". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
  33. Robyn Doreian. "Silverchair Live! - Rock Sound". Rock Sound.
  34. "Silverchair: Diorama (2002)". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
  35. "Best Albums of 2002". Triple J. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.