เอเอช-1 คอบรา

(เปลี่ยนทางจาก Bell AH-1 Cobra)

เอเอช-1 คอบรา (อังกฤษ: AH-1 Cobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองใบพัด หนึ่งเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทเบลล์ มันใช้เครื่องยนต์และระบบใบพัดแบบเดียวกันกับยูเอช-1 ไอโรควอยส์ ในบางครั้งเอเอช-1 จะหมายถึงฮิวอี้คอบราหรือสเนค

เอเอช-1 คอบรา
เอเอช-1 คอบรา
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์จู่โจม
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตเบลล์ เฮลิคอปเตอร์
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพบกสหรัฐ
กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น
กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
กองทัพอากาศอิสราเอล
กองทัพบกไทย
จำนวนที่ผลิต1,116 ลำ
ประวัติ
สร้างเมื่อพ.ศ. 2510-ปัจจุบัน
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2510
เที่ยวบินแรก7 กันยายน พ.ศ. 2508
พัฒนาจากยูเอช-1 ไอโรควอยส์
สายการผลิตเอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา
เบลล์ 309 คิงคอบรา

เอเอช-1 เป็นกองกำลังหลักในกองบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐแต่ก็ถูกแทนที่โดยเอเอช-64 อาพาชี่ รุ่นที่พัฒนายังคงทำการบินต่อไปในหลายๆ ประเทศที่ใช้มัน เอเอช-1 แบบสองเครื่องยนต์ยังคงประจำการในกองนาวิกโยธินสหรัฐในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลัก

การพัฒนา

แก้

ภูมิหลัง

แก้

การพัฒนาที่ใกล้เคียงกับเบลล์เอเอช-1 มากที่สุดก็คือยูเอช-1 ไอโรควอยส์ที่เป็นต้นกำเนิดของเฮลิคอปเตอร์ยุคใหม่อันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเวียดนามและยังคงเป็นหนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ที่มีจำนวนมากที่สุดที่ยังประจำการอยู่ทุกวันนี้

ยูเอช-1 ได้สร้างทฤษฎีของทหารอากาศขึ้นมาในฐานะยุทธวิธีแบบใหม่ที่สามารถส่งกองกำลังของสหรัฐข้ามพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง ไม่เหมือนแต่ก่อนที่พวกมันไม่สามารถรบได้เป็นเวลานานและพวกมันก็ไม่สามารถคงตำแหน่งเอาไว้ได้ แผนก็คือทหารจะถูกขนส่งโดยกองบินยูเอช- ฮิวอี้เป็นระยะทางไกลเพื่อต่อสู้กับศัตรูในที่และเวลาที่ต้องการ[1]

ไม่นานมันก็ชัดเจนว่าเฮลิคอปเตอร์ขนทหารที่ไร้อาวุธนั้นตกเป็นเป้าของเวียดกงและกองทัพเวียดนามเหนือ โดยเฉพาะเมื่อต้องลงจอดเพื่อส่งทหารลง โดยปราศจากการสนับสนุนจากปืนใหญ่และกองกำลังพื้นดิน หนทางเดียวก็คือการช่วยจากทางอากาศด้วยเครื่องจักรที่สามารถคุ้มกันเฮลิคอปเตอร์ขนส่งได้และสามารถร่อนเหนือพื้นดินได้ในขณะที่ต่อสู้ ในปีพ.ศ. 2505 ยูเอช-1เอที่ติดอาวุธจำนวนไม่มากนักได้ถูกใช้เพื่อคุ้มกัน มันมีปืนกลและจรวดเป็นอาวุธ[2]

การขยายตัวอย่างมากของกองทัพอเมริกันในเวียดนามได้สร้างยุคใหม่ของสงครามจากอากาศ เฮลิคอปเตอร์ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในยุทธวิธีของสหรัฐ

เบลล์ 207 ไซโอซ์สเกาท์

แก้
 
เบลล์แบบ 207 ไซโอซ์สเกาท์

เบลล์ได้ทำการค้นหาเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์จู่โจมมาตั้งแต่ช่วงปลายปีพ.ศ. 2493 และได้สร้างต้นแบบจำลองของเฮลิคอปเตอร์ดี 255 เอาไว้โดยใช้ชื่อว่า"ไอโรควอยส์วอริเออร์" ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 เบลล์ได้แสดงแบบจำลองให้กับทางกองทัพโดยหวังที่จะเรียกร้องขอทุนในการพัฒนาต่อไป ดี 255 ไอโรควอยส์วอริเออร์ได้ถูกวางแผนให้สร้างเพื่อเป็นอากาศยานจู่โจมที่มีพื้นฐานจากยูเอช-1บีและส่วนประกอบใหม่ๆ อย่างความผอมบาง ที่นั่งคู่ ห้องนักบินแบบเรียงกัน มันยังมีเครื่องยิงระเบิดในป้อมที่ส่วนจมูกของมันและปีกสำหรับติดตั้งจรวดหรือขีปนาวุธต่อต้านยานเกราะ เอสเอส-10[3]

กองทัพสนใจและได้ทำสัญญากับเบลล์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2505 เบลล์ได้ดัดแปลงแบบ 47 ซึ่งนำไปสู่แบบ 207 ไซโอซ์สเกาท์ซึ่งได้บินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506[4] ไซโอซ์สเกาท์มีทุกอย่างที่ทำให้มันกลายเป็นเฮลิคอปเตอร์ยุคใหม่ ซึ่งมีทั้งที่นั่งแบบเรียงตามหลังปีกสำหรับอาวุธ และป้อมปืนที่ตรงส่วนคาง หลังจากการประเมินไซโอซ์สเกาท์ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2507 กองทัพก็พอใจแต่ยังเชื่ออีกด้วยว่าไซโอซ์สเกาท์นั้นมีขนาดเล็ก อำนาจการยิงต่ำ ไม่ครอบคลุม และเปราะบางเกินไปที่จะนำมาใช้จริงๆ[4]

เอเอเอฟเอสเอส

แก้

ทางออกของกองทัพต่อจุดอ่อนของไซโอซ์สเกาท์คือการเริ่มการแข่งขันระบบการยิงสนับสนุนทางอากาศ (Advanced Aerial Fire Support System, AAFSS)[4] เอเอเอฟเอสเอสได้นำมาสู่เอเอช-56 ชียีนของบริษัทล็อกฮีด มันเป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมขนาดหนักซึ่งซับซ้อนและแพงเกินไปจนถูกยกเลิกในพ.ศ. 2515[4] โครงการชียีนได้พัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตและแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ยอดเยี่ยมแต่ก็ไม่เคยได้ถูกนำมาใช้งานจริงๆ มันทำหน้าที่เป็นเฮลิคอปเตอร์รบที่สำคัญ

แบบ 209

แก้
 
ต้นแบบของ Bell-209 ในAF-1 Cobra ซีรีส์ส

ในช่วงเวลาเดียวกันถึงแม้ว่ากองทัพจะพึงพอใจในเอเอเอฟเอสเอสซึ่งเบลล์เฮลิคอปเตอร์ไม่ได้ถูกคัดเลือก เบลล์ยังคงอยู่กับความคิดเดิมของพวกเขาในการสร้างเฮลิคอปเตอร์จู่โจมที่มีขนาดเล็กและเบากว่า[4] ในเดินมกราคม พ.ศ. 2508 เบลล์ได้ลงทุนเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างแบบใหม่

ระบบใบพัด 540 ของยูเอช-1ซีได้พัฒนาขึ้นโดยระบบเพิ่มความเสถียรในการควบคุม (Stability Control Augmentation System, SCAS) และเครื่องยนต์ ที53 ของยูเอช-1 พร้อมกับแบบของไซโอซ์สเกาท์ เบลล์จึงได้สร้างแบบ 209 ออกมา[4] แบบ 209 ของเบลล์ได้ผสมแบบจำลองมากมายของ"ไอโรควอยส์"[5]

ในเวียดนาม เหตุการ์ได้เพิ่มความต้องการในแบบ 209 การโจมตีกองกำลังของสหรัฐเพิ่มขึ้นและเมื่อสิ้นสุดพ.ศ. 2508 ทหารราบของสหรัฐในเวียดนามก็เพิ่มขึ้นถึง 50,000 นาย[4]

ในปีพ.ศ. 2508 ยังเป็นปีสิ้นสุดของการคัดเลือกเอเอเอฟเอสเอสแต่โครงการก็ต้องติดขัดทางด้านเทคนิคและปัญหาทางการเมือง กองทัพบกสหรัฐต้องการเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบขั้วคราวในเวียดนามและขอให้บริษัทห้าบริษัทสร้างทางออกอย่างรวดเร็ว ผลที่ได้คือเอซีเอช-47เอของโบอิ่ง เอชเอช-2ซี โทมาฮอว์คของคาแมน 16เอช พาธไฟน์เดอร์ ไซคอสกี้ เอส-61 และเบลล์ 209[4]

ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2508 เบลล์ได้ทำต้นแบบออกมาและสี่วันให้หลังมันก็ได้ขึ้นบิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2509 แบบ 209 ก็ได้รับเลือก จากนั้นกองทัพก็ทำสัญญาในการสร้างแบบ 209 ทั้งสิ้น 110 เครื่อง[4]

เบลล์ 209 ถูกใช้ในอีกหกปีต่อมาเพื่อทดลองอาวุธและอุปกรณ์ มันได้ถูกดัดแปลงเป็นเอเอช-1 แบบพื้นฐานในพ.ศ. 2513 แบบทดสอบถูกปลดเข้าสู่พิพิธภัณฑ์[5]

เข้าสู่การผลิต

แก้

แบบของเบลล์ 209 ได้ถูกดัดแปลงเพื่อเข้าสู่การผลิต ขาหยั่งแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยแบบใหม่ที่ตายตัว ใบพัดแบบกว้างได้ถูกนำมาใช้ เพื่อการผลิตกระจกครอบห้องนักบินแบบเก่าได้ถูกแทนที่ด้วยกระจกกันกระสุนซึ่งทีความทนทานสูง[5]

ประวัติการใช้งาน

แก้
 
Bell AH-1G ในเวียดนาม
 
AH-1Qเอเอช-1คิว คอบราที่ฟอร์ทฮูด เท็กซัส
 
แบบล่าสุดของAH-1 Cobra ในงานไอแอลเอในเบอร์ลินเมื่อพ.ศ. 2549

สหรัฐฯ

แก้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2510 เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบราเครื่องแรกได้ถูกสร้างขึ้นมา มันมีพื้นฐานเดิมมาจากยูเอช-เอช เอเอช-1 ถูกมองในทันทีว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์ในสายเอช-1

เอเอช-1 คอบราถูกใช้โดยกองทัพในปีพ.ศ. 2511 และจนสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ฮิวอี้คอบรานั้นให้การยิงสนับสนุนแก่กองกำลังภาคพื้นดิน คอยคุ้มกันเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงพลและมีบทบาทอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งเป็นป้อมจรวดทางอากาศอีกด้วย พวกมันยังถูกใช้สร้างทีม"ฮันเตอร์คิลเลอร์"โดยคู่กับเฮลิคอปเตอร์สอดแนมแบบโอเอช-6เอ ทีมจะมีโอเอช-6 หนึ่งลำที่บินอย่างช้าๆ และต่ำเพื่อหากองกำลังของศัตรู หากโอเอช-6 ดึงดูดการยิงจากศัตรูคอบราก็จะสามารถเข้าโจมตีศัตรูที่เผยตัวออกมาได้[5] เบลล์ได้สร้างเอเอช-1จีจำนวน 1,116 เครื่องให้แก่กองทัพบกสหรัฐฯ ระหว่างปีพ.ศ. 2510 และพ.ศ. 2516 และคอบราได้ปฏิบัติการเป็นล้านชั่มโมงในเวียดนาม[4]

นาวิกโยธินสหรัฐฯ ใช้เอเอช-1จี คอบราในเวียดนามไม่นานนักก่อนที่จะต้องการเอเอช-1เจ คอบราแบบสองเครื่องยนต์

คอบราของกองทัพบกยังมีส่วนร่วมในการรุกรานเกรนาดาในปีพ.ศ. 2526 โดยการทำหน้าที่ยิงสนับสนุนและคุ้มกัน คอบราของกองทัพบกได้มีส่วนร่วมในการบุกคลองปานามาในปีพ.ศ. 2532[5]

ในสงครามอ่าวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533-2534 คอบราและซีคอบราทำหน้าที่สนับสนุน นาวิกโยธินสหรัฐฯ ใช้ซีคอบรา 91 เครื่องและกองทัพบกสหรัฐฯ ใช้คอบรา 140 เครื่องซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เครื่องยนต์กรองทราย เอเอช-1 สามลำตกในอุบัติเหตุขณะต่อสู้และหลังจากนั้น[5] คอบราได้ทำลายยานเกราะและเป้าหมายนับร้อยของอิรักถึงแม้ว่ากองทัพจะใช้มันเพื่อลาดตระเวนและสอดแนมก็ตาม

คอบราของกองทัพบกได้สนับสนุนการแทรกแซงความมีมนุษยธรรมในโซมาเลีย พวกมันถูกใช้โดยสหรัฐฯ ในช่วงการรุกรานเฮติในปีพ.ศ. 2537 คอบราของสหรัฐฯ ยังคงถูกใช้ตลอดปีพ.ศ. 2533[5]

เอเอช-1 คอบรายังคงประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ โดยมักใช้โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในสงครามอิรักและในอัฟกานิสถาน กองทัพบกสหรัฐฯเลิกใช้เอเอช-1 ในพ.ศ. 2533 และปลดเอเอช-1 จากประจำการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 และมอบพวกมันให้กับนาโต้[4][6] กองทัพบกเลิกใช้เอเอช-1 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 เอเอช-1 ที่ถูกปลดประจำการถูกส่งต่อไปให้กับประเทศอื่นและกรมป่าไม้ของสหรัฐฯ[4]

อิสราเอล

แก้

ตั้งแต่กลางจนถึงปลายปีพ.ศ. 2513 ที่เลบานอนเป็นแนวหน้าที่มีการตื่นตัวมากที่สุดของอิสราเอลความสามารถและอาวุธที่ไม่เหมือนใครของคอบราทำให้มันเหมาะกับภัยคุกคามเลบานอนและไอเอเอฟ คอบราได้ทำการต่อสู้มากว่า 20 ปี การโจมตีโดยใช้คอบราครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522

คอบรายังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยกองทัพอากาศอิสราเอลในสงครามเลบานอนปีพ.ศ. 2525 เพื่อทำลายที่มั่นและยานเกราะของซีเรีย คอบราของกองทัพอากาศได้ทำลายยานเกราะของซีเรียเป็นโหล รวมทั้งรถถังที-72ของโซเวียตอีกมาก ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการทางตอนเหนือของเลบานอนคอบราได้ปฏิบัติการมากมายเพื่อต่อต้านฮิซบัลเลาะห์

ปากีสถาน

แก้

กองทัพบกปากีสถานยังได้ใช้เอเอช-1 เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลักในช่วงกลางและปลายปีพ.ศ. 2513 ในการจลาจลในแคว้นวาซิริสถานได้แสดงให้เห็นเอเอช-1 ของปากีสถานต่อสู้กับกลุ่มตาลีบันและอัลกออิดะห์

ตุรกี

แก้

กองทัพตุรกีได้ใช้เอเอช-1 ในปฏิบัติการต่อต้านฝ่ายกบฏเคิร์ดทั้งในสองฝากของชายแดนอิรัก

แบบอื่นๆ

แก้

แบบหนึ่งเครื่องยนต์

แก้
 
AF-1S ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น
 
Bell-209 ของกรมป่าไม้สหรัฐฯ
เบลล์209
ต้นแบบเดิมจากเอเอช-1จีที่มีขาหยั่งลงจอด รุ่นนี้ยังถูกใช้โดยเอฟเอเอเพื่อใช้ดับไฟป่า
เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบรา
เริ่มผลิตในปีพ.ศ. 2509 สำหรับกองทัพบกสหรัฐฯ ด้วยเครื่องยนต์เอฟโค ไลคอมมิ่ง ที53-13 เทอร์โบชาฟท์หนึ่งเครื่อง
เจเอเอช1จี ฮิวอี้คอบรา
เฮลิคอปเตอร์สำหรับการทดสอบอาวุธที่รวมทั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์และปืนใหญ่หลายลำกล้อง[7]
ทีเอช-1จี ฮิวอี้คอบรา
แบบสองที่นั่งเพื่อการฝึก[7] ความแตกต่างที่ชัดเจนก็คือการควบคุมไฮโดรลิกพิเศษในด้านหน้าของห้องนักบินเพื่อทำให้ความได้เปรียบทางกลไกเท่ากับห้องนักบินด้านหลัง
ซี-14 ฮิวอี้คอบรา
แบบที่กองทัพเรือสเปนโดยใช้ชื่อว่าเอเอช-1จี[7]
วายเอเอช-1คิว
เอเอช-1จีจำนวนแปดเครื่องที่มีหน่วยกล้องส่องทางไกล (Telescopic Sight Unit) แบบเอ็กซ์เอ็ม26 และเครื่องยิงขีนาวุธเอ็ม56 ทีดับบลิวโอสี่ลูกสองชุด[5]
เอเอช-1คิว ฮิวอี้คอบรา
ติดตั้งระบบรองของขีปนาวุธเอ็ม65 โทว์/คอบรา หน่วยกล้องส่องทางไกล (Telescopic Sight Unit) และกล้องสะท้อนกลับแบบเอ็ม73 ในอนาคตทั้งหมดจะติดตั้งระบบทีเอสยูและระบบรองของขีปนาวุธโทว์
วายเอเอช-1อาร์
มีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์ที53-แอล-703 โดยไม่มีระบบโทว์[5]
วายเอเอช-1เอส
เอเอช-1คิวแยยพัฒนาที่มีระบบโทว์[5]
เอเอช-1เอส
เส้นหลังของเอเอช-1เอสคือรุ่นพัฒนาของเอเอช-1คิวที่มีเครื่องยนต์ที53-แอล-703 เทอร์โบชาฟท์ เอเอช-1เอสยังหมายถึง"อมพรูฟ เอเอช-1เอส" "เอเอช-1เอส โมดิไฟเดด" หรือ "เอเอช-1เอส (เอ็มโอดี)" ก่อนปีพ.ศ. 2531 (ก่อนพ.ศ. 2531 อากาศยานที่พัฒนาแล้วทั้งหมดจะถูกจัดว่าเป็นแบบหนึ่งของเอเอช-1เอส)
เอเอช-1พี
ผลิตออกมา 100 เครื่องพร้อมกับใบพัดแบบผสม ห้องนักบินที่เป็นกระจกราบ เอเอช-1พียังหมายถึง"โปรดักชั่น เอเอช-1เอส" หรือ "เอเอช-1เอส (พีอาร์โอดี) ก่อนปีพ.ศ. 2531 การพัฒนาเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นขั้นแรกของโครงการพัฒนาเอเอช-1เอส
เอเอช-1อี
ผลิตออกมา 98 เครื่องพร้อมกับระบบอาวุธคอบราแบบพัฒนา (Enhanced Cobra Armament System) โดยมีระบบอาวุธรองแบบเอ็ม97เอ1 ที่มีปืนใหญ่แบบเอ็ม197 สามลำกล้องขนาด 20 ม.ม. เอเอช-1อียังหมายถึง"อัพกันเนด เอเอช-1เอส" หรือ "เอเอช-1เอส (อีซีเอเอส) ก่อนปีพ.ศ. 2531 การพัฒนาเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นขั้นที่สองของโครงการพัฒนาเอเอช-1เอส เอเอช-1อีไม่มีระบบจัดการจรวดแบบสำรองแบบเอ็ม147 (Rocket Management Subsystem) และไม่สามารถยิงจรวดขนาด 2.75 นิ้วได้[5]
เอเอช-1เอฟ
ผลิตออกมา 143 เครื่องและ 387 ถูกเปลี่ยนให้เป็นเอเอช-1จี คอบรา เอเอช-1เอฟรวมทั้งขั้นแรกและขั้นที่สองจนกลายเป็นเอเอช-1เอสพร้อมการกลับมาของระบบอาร์เอ็มเอสแบบเอ็ม147 ระบบข้อมูลอากาศสำรองแบบเอ็ม143 (Air Data Subsystem) เลเซอร์หาระยะและติดตาม ตัวรบกวนอินฟราเรดติดตั้งอยู่เหนือท่อไอเสีย และระบบลดอินฟราเรดของท่อไอเสีย เอเอช-1เอฟยังหมายถึง"โมเดิร์นไนซ์เซด เอเอช-1เอส" "เอเอช-1เอส โมเดิร์นไนซ์เซดคอบรา" หรือ "เอเอช-1เอส (เอ็มซี)" ก่อนปีพ.ศ. 2531
แบบ 249
เป็นรุ่นทดลองที่รับรองระบบสี่ใบพัดและเครื่องยนต์เพื่มอัตราและอุปกรณ์ทดลองที่รวมทั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์[5]
เบลล์ 309 คิงคอบรา
เป็นรุ่นทดลองที่มีขุมพลังเป็นเครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที55-แอล-7ซีหนึ่งเครื่องยนต์[8]

แบบสองเครื่องยนต์

แก้
สำหรับเอเอช-1เจ เอเอช-1ที เอเอช-1ดับบลิว เอเอช-1ซีและแบบที่มีสองเครื่องยนต์อื่นๆ ดูเอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา

ประเทศผู้ใช้งาน

แก้

ผู้ใช้ในปัจจุบัน

แก้
 
AF-1F Cobra สามลำของอิสราเอลเหนือมาซาดา
 
AH-1F ทบ.ไทย
  บาห์เรน
  • กองทัพอากาศบาเรียนมีเครื่องเอเอช-1พีจำนวน 24 เครื่องและเครื่องทีเอเอช-1พีสำหรับฝึกจำนวน 6 เครื่อง[5] ในปีพ.ศ. 2551 มีเครื่องเอเอช-อีจำนวน 10 เครื่อง เอเอช-1พีจำนวน 6 เครื่อง และทีเอเอช-1พี 6 เครื่องในคลังแสง[9]
  อิสราเอล
  • กองทัพอากาศอิสราเอลมีเครื่องเอเอช-1 ไวเปอร์จำนวน 55 เครื่อง ประกอบด้วยแบบเอส/เอฟ/จีในคลังแสงในปีพ.ศ. 2551[9]
  ญี่ปุ่น
  • กองกำลังป้องกันของญี่ปุ่นได้รับเอเอช-1อีจำนวน 2 เครื่อง[5] และเอเอช-1เอส คอบราจำนวน 89 เครื่องที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมฟูจิตั้งแต่พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2543[10]
  จอร์แดน
  • กองทัพอากาศจอร์แดนได้รับเอเอช-1เอสจำนวน24 เครื่องและเอเอช-1เอฟจำนวน 9 เครื่อง[5] ในปีพ.ศ. 2551 จอร์แดนมีเอเอช-1เอสจำนวน 22 เครื่องและเอเอช-1 เอฟ คอบรา 9 เครื่องในประจำการ[9]
  ปากีสถาน
  • กองทัพบกปากีสถานได้รับเอเอช-1เอส คอบราจำนวน 20 เครื่องในปีพ.ศ. 2523 (ต่อมาได้พัฒนาเป็นเอเอช-1เอฟ) และได้สั่งเอเอช-1เอฟเพิ่มอีกในปีพ.ศ. 2548[5] ปากีสถานมีเอเอช-1เอสและเอเอช-1เอฟ 39 ลำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[11] ล่าสุดปากีสถานได้สั่งคอบราเพิ่มอีกในปีพ.ศ. 2551
  เกาหลีใต้
  • กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีได้รับเอเอช-1เอสจำนวน 42 เครื่องและเอเอช-1เอฟจำนวน 20 เครื่อง[4] เกาหลีมีเอเอช-1เอฟ/เจเข้าประจำการอยู่ 29 เครื่องในปีพ.ศ. 2551[11]
  ไทย
  • กองทัพบกไทยได้รับเอเอช-1เอฟจำนวน 4 เครื่องในปีพ.ศ. 2533[5] กองทัพบกไทยมีเอเอช-1เอฟอยู่ในประจำการ 3 เครื่องในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และได้จัดซื้อและซ่อมคืนสภาพรุ่นเดียวกันมาอีก 4 ลำในปี พ.ศ. 2556 รวมเป็น 7 ลำที่ใช้งานได้ [11]
  ตุรกี
  • กองทัพบกตุรกีได้รับเอเอช-1พี/เอส คอบราจำนวน 32 เครื่องที่ใช้แล้ว พวกมันถูกพัฒนาเป็นเอเอช-1เอฟ[4] กองทัพบกตุรกีมีเอเอช-1 คอบราจำนวน 23 เครื่องในคลังแสงเมื่อปีพ.ศ. 2551[9]
  สหรัฐ
  • หน่วยดับไฟป่าของสหรัฐมีเอเอช-1เอฟจำนวน 25 เครื่อง

อดีตผู้ใช้

แก้
  สเปน
  • กองทัพเรือสเปนได้ซื้อเอเอช-1จีจำนวนแปดลำโดยใช้ชื่อว่า"ซี-14" มีจำนวนทั้งสิ้นสี่ลำสูญหายในอุบัติเหตุ ที่เหลือถูกปลดประจำการและส่งกลับให้สหรัฐแต่มีหนึ่งลำถูกเก็บไว้ที่สเปน
  สหรัฐ
  • กองทัพบกสหรัฐแทนที่เอเอช-1 ด้วยเอเอช-64 อาพาชี่
  • กองนาวิกโยธินสหรัฐเคยใช้เอเอช-1จี ก่อนที่จะมีเอเอช-1เจ

รายละเอียด

แก้

เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบรา

แก้
 
  • ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วยหรือพลปืน 1
  • ความยาว 13.4 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 13.4 เมตร
  • ความสูง 4.1 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 2,754 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,309 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที53-แอล-13 เทอร์โบชาฟท์ 1 เครื่อง 1,100 แรงม้า
  • ระบบใบพัด ใบพัดหลักสองใบ
  • ความเร็วสูงสุด 352 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 574 กิโลเมตร
  • เพดานบิน 11,400 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 1,230 ฟุตต่อนาที
  • อาวุธ
    • ปืนหลายลำกล้อง 7.62 ม.ม. 2 กระบอกหรือเครื่องยิงระเบิดขนาด 40 ม.ม. 2 กระบอก
    • จรวดขนาด 2.75 นิ้ว 7 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม158 หรือ 19 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม 200
    • ป้อมปืนแบบเอ็ม 18 ขนาด 7.62 ม.ม.

เอเอช-เอฟ "โมเดิร์นไนซ์เซด" คอบรา

แก้
 
  • ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วยหรือพลปืน 1
  • ความยาว 13.6 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 13.6 เมตร
  • ความสูง 4.1 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 2,993 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,500 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที53-แอล-703 เทอร์โบชาฟท์ 1 เครื่อง 1,800 แรงม้า
  • ระบบใบพัด ใบพัดหลักสองใบ
  • ความเร็วสูงสุด 227 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 510 กิโลเมตร
  • เพดานบิน 12,200 ฟุต
  • อัตราไต่ระดับ 1,620 ฟุตต่อนาที
  • อาวุธ
    • ปืนกลแกทลิ่งเอ็ม197 แบบสามลำกล้องขนาด 20 ม.ม.
    • จรวดไฮดรา 70 ขนาด 2.75 นิ้ว 7 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม260 หรือ 19 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม261
    • ขีปนาวุธโทว์ 4 หรือ 8 ลูกในเครื่องยิงจรวดสองเครื่อง

อ้างอิง

แก้
  1. Wheeler 1987, pp. 62-64.
  2. Wheeler 1987, pp. 57-62, 64-65.
  3. Verier 1990, pp. 12-17.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 Donald, David and March, Daniel. Modern Battlefield Warplanes. AIRtime Publishing Inc, 2004. ISBN 1-880588-76-5.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 Bishop, Chris. Huey Cobra Gunships. Osprey Publishing, 2006. ISBN 1-84176-984-3.
  6. Army retires Cobras from active force เก็บถาวร 2015-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, U.S. Army, March 31, 1999.
  7. 7.0 7.1 7.2 Donald, David. The Complete Encyclopedia of World Aircraft. Barnes & Nobel Books, 1997. ISBN 0-7607-0592-5.
  8. Model 309 Kingcobra / Model 409 AAH (YAH-63), Vectorsite.net
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Military Aircraft Inventory". 2008 Aerospace Source Book. Aviation Week and Space Technology, January 28, 2008.
  10. "Apache wins Japan deal", Flight International, 4 September, 2001.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.