หลอดเลือดแดงเบซิลาร์

(เปลี่ยนทางจาก Basilar artery)

หลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (อังกฤษ: Basilar artery) เป็นหนึ่งในหลอดเลือดแดงที่นำเลือดขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง โดยจะทอดตัวอยู่ที่บริเวณฐานของสมอง เป็นหลอดเลือดหนึ่งในระบบเวอทีบรอลเบซิลาร์ (Vertebral basilar system) ที่นำเลือดขึ้นไปยังส่วนหลังของเซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยจะไปเชื่อมต่อกับเลือดที่มาจากส่วนหน้าซึ่งเป็นแขนงต่อมาจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal Carotid artery)

หลอดเลือดแดงเบซิลาร์
หลอดเลือดแดงเบซิลาร์พาดผ่านแนวกลางของก้านสมองด้านหน้า เกิดจากการรวมกันของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอลด้านซ้ายและขวา
แผนภาพแสดงการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณฐานของสมอง (มองจากด้านล่าง) หลอดเลือดแดงเบซิลาร์สิ้นสุดโดยแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงสมองใหญ่ด้านล่างซ้าย และขวา
รายละเอียด
จากหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล
แขนงหลอดเลือดแดงพอนส์, หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (AICA) และ หลอดเลือดแดงสมองน้อยส่วนบน, สิ้นสุดเป็น หลอดเลือดแดงสมองใหญ่ส่วนหลัง
เลี้ยงพอนส์, แนวด้านบนและด้านล่างของสมองน้อย.
ตัวระบุ
ภาษาละตินArteria basilaris
MeSHD001488
TA98A12.2.07.081
TA24548
FMA50542
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โครงสร้าง

แก้

หลอดเลือดแดงเบซิลาร์ เกิดจากการรวมกันของ หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) ทั้งสองเส้น ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างก้านสมองส่วนท้าย (เมดัลลา) และพอนส์ และระหว่างเส้นประสาทแอบดิวเซนต์ (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 หรือ CN VI)

โดยหลอดเลือดนี้จะวิ่งขึ้นไปเหนือกว่าร่องเบซิลาร์ (basilar sulcus) ที่อยู่บริเวณพอนส์ส่วนหน้า แล้วจะสิ้นสุดที่บริเวณรอยต่อระหว่างสมองส่วนกลาง (Midbrain) และพอนส์ โดยแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงสองเส้น นั่นคือ หลอดเลือดแดงสมองใหญ่ด้านหลัง (posterior cerebral artery)

หลอดเลือดแดงที่แตกแขนงจากหลอดเลือดแดงเบซิลาร์โดยเรียงลำดับจากด้านบน (Caudal:บนสุด) ไปล่าง (Rostral) มีดังน

  • หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (anterior inferior cerebellar artery)
  • หลอดเลือดแดงห้องหูชั้นใน (labyrinthine artery) (น้อยกว่า 15% ของประชากรที่จะแตกแขนงออกจากหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ ในประชากรส่วนใหญ่หลอดเลือดนี้มักจะแตกแขนงออกจากหลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (Anterior inferior cerebellar artery)
  • หลอดเลือดแดงพอนส์ (pontine arteries)
  • หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านบน (superior cerebellar artery)

ความเกี่ยวข้องทางคลินิก

แก้

หากผู้ป่วยเกิดอาการหลอดเลือดเบซิลาร์ตีบ แตก ตัน ฉับพลัน หรือที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จะนำไปสู่สภาวะร่างกายอัมพาตทั้งตัว หรือกลุ่มอาการ LIS (Locked-in syndrome) ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ทั้งตัว พูดไม่ได้ แต่จะยังสามารถกรอกลูกตาได้

รูปภาพเพิ่มเติม

แก้
ภาพแสดงกายวิภาคของหลอดเลือดแดง
 
มุมมองด้านขวา: หลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal carotid artery) (หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่วิ่งพาดผ่านลำคอต่อจากหลอดเลือดแดงคอมมอนแคโรทิด (Common carotid artery)), หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) (อยู่ถัดจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิดไปทางด้านซ้ายของภาพ วิ่งแทรกอยู่ในลำกระดูกสันหลัง)
มุมมองด้านขวา: หลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal carotid artery) (หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่วิ่งพาดผ่านลำคอต่อจากหลอดเลือดแดงคอมมอนแคโรทิด (Common carotid artery)), หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) (อยู่ถัดจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิดไปทางด้านซ้ายของภาพ วิ่งแทรกอยู่ในลำกระดูกสันหลัง) 
 
เซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (ฺBasilar artery) คือหลอดเลือดที่ถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินเส้นที่อยู่บริเวณตรงกลางภาพด้านล่างสุดที่มีลักษณะวิ่งตรง ก่อนที่จะแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดสมองใหญ่ด้านหลังสองเส้นซ้าย-ขวา (Posterior cerebral artery)
เซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (ฺBasilar artery) คือหลอดเลือดที่ถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินเส้นที่อยู่บริเวณตรงกลางภาพด้านล่างสุดที่มีลักษณะวิ่งตรง ก่อนที่จะแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดสมองใหญ่ด้านหลังสองเส้นซ้าย-ขวา (Posterior cerebral artery) 
 
มุมมองจากด้านล่าง: ภาพแสดงหลอดเลือดแดงที่อยู่บริเวณฐานของสมอง หลอดเลือดเบซิลาร์อยู่บริเวณตรงกลางของภาพ ระบุด้วยคำว่า basilar art. ซีกขวาของสมอง (ด้านซ้ายของภาพ) แสดงสมองที่ตัดส่วนสมองน้อย และส่วนหนึ่งของกลีบขมับของสมองใหญ่ (Temporal lobe) ออก
มุมมองจากด้านล่าง: ภาพแสดงหลอดเลือดแดงที่อยู่บริเวณฐานของสมอง หลอดเลือดเบซิลาร์อยู่บริเวณตรงกลางของภาพ ระบุด้วยคำว่า basilar art. ซีกขวาของสมอง (ด้านซ้ายของภาพ) แสดงสมองที่ตัดส่วนสมองน้อย และส่วนหนึ่งของกลีบขมับของสมองใหญ่ (Temporal lobe) ออก 

อ้างอิง

แก้